หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลที่ใช้ในการฝังกลบ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-3-018ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลที่ใช้ในการฝังกลบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถอธิบายวิธีการดำเนินการฝังกลบและอธิบายลักษณะการใช้งานเครื่องจักรกลที่ใช้ในการฝังกลบ ระบุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการควบคุมเครื่องจักรกล ตรวจสอบอันตรายและความเสี่ยงของพื้นที่ดำเนินการฝังกลบ ดำเนินการฝังกลบโดยการ เกลี่ย บดอัด กลบ/ปิดหลุมฝังกลบตามแผนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ รวมถึงสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลทั้งก่อนและหลังการดำเนินการฝังกลบ และรายงานผลการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02203.01 เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน 1. อธิบายวิธีการดำเนินการฝังกลบตามแผนการปฏิบัติงาน 02203.01.01 83563
02203.01 เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน 2. อธิบายลักษณะการใช้งานเครื่องจักรกลตามคู่มือประจำเครื่องจักรกล 02203.01.02 83564
02203.01 เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน 3. ระบุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการควบคุมเครื่องจักรกล 02203.01.03 83565
02203.01 เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน 4. ตรวจสภาพเครื่องจักรกลเบื้องต้นก่อนใช้งาน 02203.01.04 83566
02203.01 เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน 5. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล 02203.01.05 83567
02203.02 ดำเนินการฝังกลบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ 1. เกลี่ย และบดอัดของเสียตามแผนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ 02203.02.01 83568
02203.02 ดำเนินการฝังกลบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ 2. กลบ/ปิดหลุมฝังกลบตามแผนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ 02203.02.02 83569
02203.02 ดำเนินการฝังกลบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ 3. ใช้งานเครื่องจักรกลระหว่างผู้ควบคุมเครื่องจักรกลได้อย่างปลอดภัย 02203.02.03 83570
02203.02 ดำเนินการฝังกลบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ 4. บันทึกผลการดำเนินงาน 02203.02.04 83571
02203.03 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องจักรกลหลังใช้งาน 1. ตรวจสภาพเครื่องจักรกลเบื้องต้นหลังใช้งาน 02203.03.01 83572
02203.03 ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องจักรกลหลังใช้งาน 2. รายงานผลการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลแก่หัวหน้างาน 02203.03.02 83573

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการใช้งานเครื่องจักรกลสำหรับการดำเนินการฝังกลบ




2. ทักษะการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานในจุดต่างๆ และผู้ควบคุมเครื่องจักรกล รวมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมเครื่องจักรกล




3. ทักษะการสังเกต เพื่อตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลเบื้องต้นก่อนและหลังใช้งาน และเพื่อตรวจสอบอันตรายและความเสี่ยงของพื้นที่ดำเนินการฝังกลบ




4. ทักษะการเขียนเพื่อบันทึกผลการดำเนินการ หรือรายงานผลการตรวจสอบ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการดำเนินการฝังกลบ




2. วิธีการขับและควบคุมเครื่องจักรกล




3. วิธีการตรวจสอบสภาพเครื่องจักรกลก่อนและหลังใช้งาน 




4. อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการควบคุมเครื่องจักรกล และวิธีการป้องกัน




5. ความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่ฝังกลบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่ฝังกลบ (ถ้ามี)




3. ผลสอบข้อเขียน (ปรนัย)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการฝังกลบตามแผนการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 


15. ขอบเขต (Range Statement)


การดำเนินการฝังกลบตามแผนการปฏิบัติงาน ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 3 อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบ นี้เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการดำเนินการฝังกลบ การดำเนินการฝังกลบซึ่งประกอบด้วยการเกลี่ยและบดอัดของเสีย กลบ/ปิดหลุมฝังกลบ และการตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องจักรกลหลังใช้งาน




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงาน เช่น เกลี่ยและบดอัดของเสีย กลบ/ปิดหลุมฝังกลบ




3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการใช้งานเครื่องจักรอย่างปลอดภัย




4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. การดำเนินการฝังกลบ หมายถึง การนำของเสียมาเทกองในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ โดยเริ่มจากเมื่อรถเก็บขนของเสียเทของเสียลงในบริเวณที่กำหนดแล้ว รถตัก-ดันของเสียเริ่มนำของเสียดังกล่าวมาใส่ในบริเวณที่กำหนดให้เป็นจุดฝังกลบมูลฝอย (Cell) เมื่อของเสียถูกทำมาบรรจุใส่ในเซลล์เต็มระดับที่ต้องการแล้ว จากนั้นรถบดอัดจะเริ่มดำเนินการบดอัดของเสียในเซลล์ให้แน่นและเรียบ หลังจากนั้นจึงกลบทับหน้าด้วยดิน 




2. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการฝังกลบ ได้แก่ รถหรือเครื่องจักรที่จำเป็นในการดำเนินการฝังกลบที่ต้องทำงานในแต่ละวัน เช่น รถตัก-รถดัน (Dozer) รถบดอัด (Landfill compactor) รถขุดไฮโดรลิค รถบรรทุกดิน (Dump truck) เป็นต้น




3. ลักษณะการใช้งานของเครื่องจักรกล เช่น รถดันตีนตะขาบ (Dozer) เป็นเครื่องจักรกลพื้นฐาน สามารถใช้งานได้หลายประเภท มีกำลังขับเคลื่อนสูง เคลื่อนที่โดยใช้ตีนตะขาบ ติดตั้งใบมีดสำหรับดันไว้บริเวณด้านหน้า ใช้ในการดัน เคลื่อนย้ายของเสีย และวัสดุปิดทับจากบริเวณเทกองไปยังบริเวณฝังกลบ และปิดทับ รวมถึงเกลี่ยกระจายมูลฝอย และวัสดุปิดทับให้เป็นชั้นบางๆ 




4. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึงอุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น หมวกนิรภัย รองเท้าเซฟตี้ ถุงมือนิรภัย และที่อุดหู




5. แผนการปฏิบัติงาน หมายแผนการดำเนินการฝังกลบของเสีย ประกอบด้วยการฝังกลบรายวัน การฝังกลบทับระหว่างชั้น การกลบทับชั้นสุดท้าย และอาจหมายรวมถึง การขนย้ายขยะ การวางท่อก๊าซเมื่อฝังกลบขยะเสร็จในแต่ละชั้น การวางท่อน้ำระบายน้ำชะขยะเพิ่มเติม เป็นต้น




6. การตรวจสอบสภาพของเครื่องจักรกลเบื้องต้นหลังใช้งาน หมายถึง การตรวจสภาพทั่วไปของเครื่องจักรกล ทำความสะอาดเครื่องจักรกล การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น เป็นการตรวจสอบสภาพรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน เช่น การเขี่ยเศษดิน หรือเศษวัสดุต่างๆ ที่ติดตามอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เฟรมตีนตะขาบ บุ้งกี๋ เป็นต้น และอาจหมายรวมถึงการตรวจเช็ค ปรับแต่ง ซ่อมแซม เปลี่ยน ซ่อมใหญ่ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ดำเนินการฝังกลบของเสียตามขั้นตอนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบ




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.3 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องจักรกลหลังใช้งาน




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ