หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลที่ใช้ในการฝังกลบ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-2-019ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลที่ใช้ในการฝังกลบ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถอธิบายวิธีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลตามคู่มือ วิเคราะห์ปัญหาความเสียหายของเครื่องจักรกล ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลพร้อมทั้งใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการซ่อมบำรุงรักษา รวมถึงบันทึกและรายงานผลการซ่อมบำรุงรักษา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นต่อหัวหน้างานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02204.01 ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 1. อธิบายวิธีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลตามคู่มือ 02204.01.01 83574
02204.01 ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 2. วิเคราะห์ปัญหาความเสียหายของเครื่องจักรกล 02204.01.02 83575
02204.01 ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 3. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับซ่อมบำรุงรักษา 02204.01.03 83576
02204.01 ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 4. ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลตามคู่มือ 02204.01.04 83577
02204.02 จัดทำรายงานการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 1. บันทึกการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 02204.02.01 83578
02204.02 จัดทำรายงานการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 2. รายงานผลการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลแก่หัวหน้างาน 02204.02.02 83579
02204.02 จัดทำรายงานการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 3. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นแก่หัวหน้างานได้ 02204.02.03 83580

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการใช้คู่มือประจำเครื่องจักรกล




2. ทักษะการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลตามคู่มือ




3. ทักษะการใช้เครื่องมือซ่อมบำรุงรักษาตามคู่มือ




4. ทักษะการเขียนรายงานเพื่อบันทึกหรือรายงานผลการซ่อมบำรุงรักษา




5. ทักษะการวิเคราะห์ปัญหาความเสียหายของเครื่องจักรกล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรตามคู่มือ




2. วิธีการใช้เครื่องมือซ่อมบำรุงรักษา




3. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. เอกสารรับรองประสบการณ์ทำงาน




2. ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2. ประกาศนียบัตรรับรองการผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือตามแผนการปฏิบัติการของสถานที่ฝังกลบ (ถ้ามี)




3. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




4. ผลการสอบข้อเขียน (อัตนัย) 




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการบำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องจักรกล และจัดทำรายงานการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรกล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) และ ผลการสอบข้อเขียน (อัตนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)


การบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรกล ในระดับชั้นคุณวุฒิที่ 3 อาชีพผู้ดูแลการจัดการของเสียชุมชนในสถานที่ฝังกลบนี้ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ซ่อมแซมเครื่องจักรกล และจัดทำรายงานการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรกลที่ใช้ในการดำเนินการฝังกลบ 




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานบำรุงรักษา และซ่อมแซมเครื่องจักรกล




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการทำงาน




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. เครื่องจักรกล เป็นเครื่องจักรกลที่ใช้ในการฝังกลบ ได้แก่ รถหรือเครื่องจักรที่จำเป็นในการดำเนินการฝังกลบที่ต้องทำงานในแต่ละวัน เช่น รถตัก-รถดัน (Dozer) รถบดอัด (Landfill compactor) รถขุดไฮโดรลิค รถบรรทุกดิน (Dump truck) เป็นต้น




2. คู่มือ หมายถึง คู่มือการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เป็นคู่มือซึ่งจัดทำโดยหน่วยงานนั้นๆ หรือจัดทำโดยบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรกล




3. ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล หมายถึง การรักษาดูแลตรวจสอบสภาพ ซ่อมแซม และป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดการเสียหายก่อนกำหนดหรือเรียกว่าให้เครื่องจักรกลอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อยู่ตลอดเวลาและยาวนาน เช่น ตรวจระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อพักตรวจความตึงของสายพาน อัดจาระบีตามจุดต่างๆ หากเห็นว่าจารบีเริ่มแห้ง เป็นต้น




4. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หมายถึง อุปกรณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น หมวกนิรภัย รองเท้าเซฟตี้ ถุงมือนิรภัย และที่อุดหู




5. บันทึกการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เป็นการบันทึกผลการซ่อมบำรุงรักษาในเอกสาร เช่น ใบแจ้งงาน บันทึกการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลที่มีรายละเอียดครอบคลุมถึง ชื่อเครื่องจักรกล หมายเลขเครื่องจักรกล ตำแหน่งที่ตรวจ และวิธีการตรวจ รายละเอียดการตรวจเช็ค เป็นต้น 




6. รายงานผลการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เช่น รายงานการบำรุงรักษาและการตรวจเช็คเครื่องจักรกลประจำวัน และรายละเอียดการซ่อมเครื่องจักรกล เป็นต้น




7. ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การศึกษากฎระเบียบและเครื่องหมายต่างๆ การแต่งกายรัดกุม กลัดกระดุม ปลดนาฬิกา เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย จัดทำรายงานการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล




1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. ข้อสอบข้อเขียน (อัตนัย)




3. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)




ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



 


ยินดีต้อนรับ