หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คัดแยกของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-2-011ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คัดแยกของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้คัดแยกของเสียชุมชนในสถานที่จัดการของเสีย


1 9612 คนงานคัดแยกขยะ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้เกี่ยวกับชนิดและประเภทของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและรีไซเคิลได้ รวมทั้งความเป็นอันตรายจากการคัดแยกของเสีย สามารถระบุสภาพของเสียที่ไม่เหมาะกับการคัดแยกเพื่อนำไปรีไซเคิล และเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดแยกของเสียชุมชนที่รีไซเคิลได้ รวมถึงภาชนะบรรจุของเสียรีไซเคิลที่ผ่านการคัดแยก สามารถบอกขั้นตอนการคัดแยกของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและรีไซเคิลได้ รวมทั้งเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการคัดแยกของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้ คัดแยกของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้ บรรจุของเสียชุนชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้ซึ่งผ่านการคัดแยกตามประเภทของเสียด้วยภาชนะบรรจุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 9612 : พนักงาน/คนงานคัดแยกขยะ (ISCO,2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02103.01 เตรียมความพร้อมก่อนคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 1. ระบุชนิดของเสียชุมชนที่รีไซเคิลได้ 02103.01.01 83484
02103.01 เตรียมความพร้อมก่อนคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 2. ระบุประเภทของเสียชุมชนที่รีไซเคิลได้ 02103.01.02 83485
02103.01 เตรียมความพร้อมก่อนคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 3. ระบุความเป็นอันตรายที่เกิดขึ้นจากการคัดแยกของเสียชุมชนที่รีไซเคิลได้ประเภทต่างๆ 02103.01.03 83486
02103.01 เตรียมความพร้อมก่อนคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 4. ระบุสภาพของเสียที่ไม่เหมาะกับการคัดแยกเพื่อนำไปรีไซเคิล 02103.01.04 83487
02103.01 เตรียมความพร้อมก่อนคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 5. เตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดแยก และภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่รีไซเคิลได้ 02103.01.05 83488
02103.02 คัคแยกของเสียไม่อันตรายที่ รีไซเคิลได้ 1. อธิบายขั้นตอนการคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 02103.02.01 83489
02103.02 คัคแยกของเสียไม่อันตรายที่ รีไซเคิลได้ 2. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้อย่างถูกต้อง 02103.02.02 83490
02103.02 คัคแยกของเสียไม่อันตรายที่ รีไซเคิลได้ 3 ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ ในการคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 02103.02.03 83491
02103.02 คัคแยกของเสียไม่อันตรายที่ รีไซเคิลได้ 4. คัดแยกของเสียไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้ 02103.02.04 83492
02103.02 คัคแยกของเสียไม่อันตรายที่ รีไซเคิลได้ 5. บรรจุของเสียที่คัดแยกแล้วตามประเภท ลงภาชนะบรรจุได้อย่างถูกต้อง 02103.02.05 83493

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


02101 เตรียมความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ ก่อนการคัดแยกของเสียชุมชน




02102 คัดแยกของเสียชุมชนประเภทที่ไม่เป็นอันตรายและที่เป็นอันตราย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการสังเกต เช่น สัญลักษณ์ ป้าย ฉลาก 
2. ทักษะการจำแนกวัตถุสิ่งของที่ปะปนกัน 
3. ทักษะการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์สำหรับหยิบ จับ ตัด แยก เคลื่อนย้ายวัตถุ 
4. ทักษะการเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนัก
5. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ประเภท/ชนิดของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้
2. ขั้นตอนการดำเนินการคัดแยกของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้ของหน่วยงาน
3. วิธีการจัดเก็บของเสียชุมชนใส่ภาชนะบรรจุ
4. ความอันตรายที่เกิดจากกระบวนการคัดแยกของเสียชุมชน
5. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน
6. ความหมายฉลาก ป้ายสัญลักษณ์ เครื่องหมาย แสดงประเภทของวัตถุสิ่งของ
7. วิธีการจำแนกลักษณะ ประเภท ของเสียชุมชนที่ไม่อันตรายรีไซเคิลได้
8. วิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการคัดแยกของเสียชุมชนที่รีไซเคิลได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)
2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา
2. ผลการสอบผ่านข้อเขียน (ปรนัย)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการคัดแยกของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลได้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตของการคัดแยกของเสียชุมชนไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ในหน่วยสมรรถนะนี้ จะเริ่มด้วยการเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์เพื่อใช้ในการคัดแยก โดยผู้คัดแยกจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนทำการคัดแยกของเสียชุมชน คัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ ซึ่งในการดำเนินการคัดแยกผู้คัดแยกจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นอันตรายที่เกิดจากการคัดแยก เพื่อป้องกันอัตรายที่อาจเกิดขึ้น สามารถเลือกใช้ภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่รีไซเคิลให้เหมาะสมตามประเภทของเสียที่คัดแยกได้ 
(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถระบุประเภทของเสียชุมชนที่ไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ 
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ฉลาก สัญลักษณ์ที่แสดงบนของเสีย 
3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถระบุอุปกรณ์และภาชนะบรรจุของเสียที่คัดแยกแล้วตามชนิดที่รีไซเคิลได้
4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้ ได้แก่ ของเสียชุมชนประเภทเศษพลาสติก เศษยาง เศษโลหะ เศษแก้วและเศษกระดาษ 
2. พลาสติกรีไซเคิล เช่น เศษพลาสติกรวม ขวดน้ำ(PET) ขวด(PVC) ถุงพลาสติก สายยางพลาสติก จุกพลาสติก รองเท้าพลาสติก(PVC)  ท่อพลาสติก เป็นต้น
3. โลหะรีไซเคิล เช่น เศษเหล็ก ลวดสลิง เหล็กขี้กลึง กระป๋องโลหะ สังกะสี ทองแดง ทองเหลือง เศษอะลูมิเนียม เหล็กเส้น เหล็กตะปู เหล็กแผ่น เป็นต้น 
4. เศษแก้วรีไซเคิล เช่น ขวดแก้วสีใส สีชา สีเขียวทุกชนิด เศษแก้วสีใส สีอื่นๆ ทุกชนิด เศษกระจก เป็นต้น
5. เศษกระดาษรีไซเคิล เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษสมุดหนังสือ กระดาษแข็ง กระดาษย่อยโรงพิมพ์ ถุงกระดาษ  กระดาษขาว เป็นต้น
6. สถานะทางกายภาพของของเสีย หมายถึง ของเสียที่แห้ง ของเสียที่เปียกน้ำหรือมีความชื้นสูงต้องไปทำให้แห้งก่อน นำไปคัดแยก ของเสียที่เป็นของแข็งหรือที่เป็นของเหลว
7. เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการคัดแยก ได้แก่ เลื่อย แม่เหล็ก คีมหนีบ คีมจับ มีด กรรไกร ไม้คีบ ค้อน ประแจ เครื่องชั่ง หัวตัด รถเข็น เชือก และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เป็นต้น 
8. ภาชนะบรรจุ ได้แก่ ลังไม้ ถังเหล็ก ถังพลาสติก ถุงพลาสติก ตระกร้า ถุงกระสอบ เป็นต้น
9. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ แว่นตา หมวก ถุงเท้า รองเท้า เสื้อผ้าสะท้อนแสง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เตรียมความพร้อมก่อนคัดแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้

    1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย คัคแยกของเสียไม่อันตรายที่รีไซเคิลได้

    1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ