หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการขนส่งของเสียชุมชน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-2-004ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการขนส่งของเสียชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้เก็บรวบรวมและขนส่งของเสียชุมชน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับการขับขี่ยานพาหนะรวบรวมของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและที่เป็นอันตรายตามเส้นที่กำหนด และการส่งมอบของเสียชุมชนที่รวบรวมส่งให้กับสถานที่จัดการของเสียชุมชน โดยจะสามารถบอกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ยานพาหนะขนส่งของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย บอกวิธีการเปิดและปิดสัญญาณไฟรถเพื่อแจ้งเตือนทั้งขณะจอดรวบรวมขนถ่ายของเสียและขับขี่ยานพาหนะในขณะปฏิบัติงาน สามารถขับขี่ยานพาหนะที่บรรทุกของเสียชุมชนไปส่งยังสถานที่จัดการของเสียชุมชน หากเกิดอุบัติเหตุสามารถปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินตามขั้นตอนของหน่วยงานได้ถูกต้อง สามารถส่งมอบของเสียชุมชนให้สถานที่จัดการ ซึ่งต้องทำตรวจสอบข้อมูลของเสียชุมชนที่ดำเนินการขนส่งก่อนส่งมอบ ส่งมอบของเสียชุมชน ณ จุดรองรับของสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน พร้อมทั้งบันทึกรายละเอียดการส่งมอบของเสียชุมชน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 8322 : พนักงาน/คนขับรถบรรทุกขยะ(ขนาดเล็ก) (ISCO,2008)รหัสอาชีพ 8332 : พนักงาน/คนขับรถบรรทุกขยะ ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป (ISCO,2008)รหัสอาชีพ 9611 : คนงานเก็บขยะ/คนงานประจำรถขยะ  (ISCO,2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 25602. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “กำหนดมาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอยทั่วไปเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง พ.ศ. 2560”3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง “การขนสงวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2546”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01104.01 ขับขี่ยานพาหนะรวบรวมของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ตามเส้นทางที่กำหนด 1. บอกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ยานพาหนะขนส่งของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย 01104.01.01 83424
01104.01 ขับขี่ยานพาหนะรวบรวมของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ตามเส้นทางที่กำหนด 2. ชี้แจงวิธีการเปิด-ปิดสัญญาณไฟรถเพื่อแจ้งเตือน ทั้งขณะจอดรวบรวมขนถ่ายของเสียและขับขี่ยานพาหนะ 01104.01.02 83425
01104.01 ขับขี่ยานพาหนะรวบรวมของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ตามเส้นทางที่กำหนด 3. ขับยานพาหนะบรรทุกของเสียชุมชนไปส่งยังสถานที่รับจัดการของเสีย 01104.01.03 83426
01104.01 ขับขี่ยานพาหนะรวบรวมของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ตามเส้นทางที่กำหนด 4. ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง 01104.01.04 83427
01104.02 ส่งมอบของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ให้กับสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน 1. ตรวจสอบข้อมูลของเสียชุมชนที่ดำเนินการขนส่งก่อนส่งมอบ 01104.02.01 83428
01104.02 ส่งมอบของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ให้กับสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน 2. ส่งมอบของเสียลงจากพาหนะ ณ จุดรองรับ ของสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน 01104.02.02 83429
01104.02 ส่งมอบของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ให้กับสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน 3. ส่งมอบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตรายให้กับสถานที่รับจัดการของเสียอันตราย(กรณีเป็นของเสียอันตราย) 01104.02.03 83430
01104.02 ส่งมอบของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ให้กับสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน 4. บันทึกรายละเอียดการส่งมอบ 01104.02.04 83431

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะในการขับขี่รถบรรทุกสิ่งของตามกฎหมายจราจร
2. ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ เครื่องมือประจำพาหนะ รวมถึงสามารถบำรุงรักษาพาหนะ เครื่องมือ/อุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน
3. ทักษะการสังเกต การตรวจสอบข้อมูลของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและอันตราย
4. ทักษะการทำงาน ในที่แสงสว่างน้อย (ตอนกลางคืนหรือเช้าตรู่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. กฎหมายจราจรและข้อบังคับการกรมขนส่งทางบก
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการขนส่งของเสีย
3. วิธีการเปิด-ปิดสัญญาณไฟและวิธีการแจ้งเตือนด้วยสัญญาณไฟรถยนต์
4. ความรู้เกี่ยวเส้นทางการขนส่งของเสียชุมชน เช่น พิกัดสถานที่ และสภาพแวดล้อมของถนน
5. วิธีการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนอันตรายส่วนบุคคล 
6. วิธีใช้อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียก่อนการขับขี่ยานพาหนะ
7. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน 
8. วิธีการปฏิบัติเมื่ออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งของเสีย การตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1. หนังสือรับรองประสบการณ์การเป็นพนักงานขับรถยนต์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ปี (ถ้ามี)
2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย) 
2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก (ชนิดที่ 2 - 4)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ ดำเนินการขนส่งของเสียชุมชน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ 
(ง) วิธีการประเมิน
1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติการ ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค 
2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตในการดำเนินการขนส่งของเสียชุมชน ครอบคลุมทั้งการขับขี่ยานพาหนะบรรทุกรวบรวมของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและที่เป็นอันตรายตามเส้นทางที่กำหนดและทำการส่งมอบของเสียชุมชนให้กับสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน ในการทำงานผู้ปฏิบัติงานจะต้องการขับขี่ยานพาหนะสำหรับการรวบรวมของเสียชุมชนตามเส้นทางที่หน่วยงานกำหนด จอดยานพาหนะพร้อมให้สัญญาณไฟรถยนต์ที่จุดรวบรวมของเสียชุมชนเพื่อทำการรวบรวมขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นยานพาหนะ ขับขี่ยานพาหนะที่บรรทุกของเสียชุมชนไปส่งยังสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน ซึ่งถ้าหากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่งผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถ ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินตามขั้นตอนของหน่วยงานได้อย่างถูกต้อง ในการส่งมอบของเสียชุมชนผู้ปฏิบัติงานจะตรวจสอบข้อมูลของเสียชุมชนที่ดำเนินการขนส่งก่อนการส่งมอบ แล้วจึงมอบของเสียชุมชน ณ จุดรองรับของสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน พร้อมทั้งส่งมอบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตรายให้กับสถานที่รับจัดการของเสียอันตราย(กรณีเป็นของเสียอันตราย) และบันทึกรายละเอียดการส่งมอบของเสียชุมชน
(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อบังคับของการใช้ทางสัญจรในการขนส่งของกรมขนส่งทางบก
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย
3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้เกิดการตกหล่น/รั่วไหลของเสียอันตรายชุมชนในระหว่างดำเนินการขนส่งของเสีย 
4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. ยานพาหนะ หมายถึง ยานยนต์ที่ใช้ในบรรทุกเพื่อการเก็บรวบรวมขนส่งของเสียชุมชนไปส่งยังสถานที่จัดการของเสียชุมชน 
2. สถานที่จัดการของเสีย อาทิเช่น โรงงานคัดแยกของเสียชุมชน หลุมฝังกลบ เตาเผา เป็นต้น
3. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ แว่นตานิรภัย รองเท้า วิทยุสื่อสาร เสื้อผ้า เสื้อสะท้อนแสง หมวกนิรภัย เป็นต้น
4. ของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย เช่น หลอดไฟฟ้า แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่านไฟฉาย กระป๋องบรรจุสารเคมี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
5. เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมและขนถ่ายของเสียชุมชน ประกอบด้วย ครีมจับ ที่คีบไม้กวาด ที่ตักขยะ คราด จอบ เสียม กระบะใส่ของ รถเข็น เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียชุมชนจากยานพาหนะ  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และเครื่องมือที่ใช้ในการขนถ่ายของเสียชุมชน
6. อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่น เช่น ผ้าใบคลุม ตะแกรง ตาข่ายกันปลิว ภาชนะรองน้ำชะขยะ เป็นต้น
7. ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินของหน่วยงาน ซึ่งมีกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1) กรณีรถบรรทุกของเสียเกิดอุบัติเหตุ ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของหน่วยงาน เช่น โทรศัพท์ แจ้งหรือติดต่อหัวหน้างานหรือผู้ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ให้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อทำการประเมินสถานการณ์เป็นลำดับแรก
2) กรณีของเสียตกหล่น/รั่วไหลระหว่างการขนส่ง ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของหน่วยงาน เช่น ให้ผู้ปฏิบัติจอดยานพาหนะ และโทรศัพท์แจ้งหรือติดต่อหัวหน้างานหรือผู้ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ให้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อทำการประเมินสถานการณ์เป็นลำดับแรก
8. รายละเอียดการส่งมอบ ประกอบด้วย ปริมาณ ประเภท วันที่ส่ง สถานที่จัดส่ง เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ขับขี่ยานพาหนะรวบรวมของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ตามเส้นทางที่กำหนด

    1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ส่งมอบของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย ให้กับสถานที่รับจัดการของเสียชุมชน

    1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 

    ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ