หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-2-003ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้เก็บรวบรวมและขนส่งของเสียชุมชน


1 9611 คนเก็บขยะและวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเตรียมการขนถ่ายและทำการขนถ่ายของเสียชุมชุนที่เป็นอันตราย ขึ้นและลงยานพาหนะได้ ต้องสามารถบอกประเภทและความเป็นอันตรายของของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย โดยดูจากฉลาก ป้ายสัญลักษณ์ เครื่องหมายเตือนแสดงความเป็นอันตราย รวมถึงอธิบายวิธีการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย การเลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ขนถ่าย ภาชนะที่ใช้บรรจุของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายอย่างเหมาะสม ตรวจสอบสภาพของภาชนะที่ใช้บรรจุของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนและหลังการบรรจุของเสีย สามารถทำการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ การจัดวางตำแหน่งของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายบนยานพาหนะตามประเภทความเป็นอันตรายได้อย่างถูกต้อง ใช้อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายก่อนการขับขี่ ทำความสะอาดจุดรวบรวมของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายหลังจากขนถ่ายของเสียชุมชน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 9611 : คนงานเก็บขยะ/คนงานประจำรถขยะ  (ISCO,2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 25602. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “กำหนดมาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอยทั่วไปเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง พ.ศ. 2560”3. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง “การขนสงวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2546”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01103.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 1. บอกประเภทของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายได้จากฉลาก ป้ายสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายเตือนแสดงความเป็นอันตรายที่ติดอยู่กับของเสียชุมชน 01103.01.01 83412
01103.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 2. บอกความเป็นอันตรายของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย จากฉลาก ป้ายสัญลักษณ์เครื่องหมายเตือนแสดงความเป็นอันตราย 01103.01.02 83413
01103.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 3. อธิบายวิธีการจัดการของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย 01103.01.03 83414
01103.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 4. เลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายก่อนการขึ้นและลงยานพาหนะ 01103.01.04 83415
01103.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 5. เลือกใช้ภาชนะที่ใช้บรรจุของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายที่เหมาะสม 01103.01.05 83416
01103.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการสัมผัสของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย 01103.02.01 83417
01103.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 2. ตรวจสอบสภาพของภาชนะบรรจุที่ใช้บรรจุของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนและหลังบรรจุของเสียอันตราย 01103.02.02 83418
01103.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 3. รวบรวมของเสียชุมชุนที่เป็นอันตรายใส่ภาชนะบรรจุของเสีย 01103.02.03 83419
01103.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 4. ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะด้วยวิธีที่ไม่ใช้เครื่องมือและวิธีที่ใช้เครื่องมือ 01103.02.04 83420
01103.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 5. จัดวางของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายบนยานพาหนะตามประเภทความเป็นอันตราย 01103.02.05 83421
01103.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 6. ใช้อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายจากยานพาหนะก่อนการขับขี่ 01103.02.06 83422
01103.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 7. ทำความสะอาด ณ จุดรวบรวมของเสียหลังจากทำการขนถ่ายของเสียชุมชนเสร็จสิ้น 01103.02.07 83423

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


01101 เตรียมความพร้อมก่อนการขนส่งของเสียชุมชน
01102 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงพาหนะ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการสังเกต วัตถุ ความสะอาด สิ่งผิดปรกติ เป็นต้น
2. ทักษะการจำแนกประเภทและลักษณะของเสียที่เป็นอันตราย 
3. ทักษะการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ทำความสะอาด 
4. ทักษะการยกสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักขึ้นและลงยานพาหนะ
5. ทักษะการใช้อุปกรณ์/เครื่องจักรช่วยยกสิ่งของที่มีน้ำหนัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการยกหรือขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย ตามประเภทลักษณะภาชนะบรรจุขึ้นและลงพาหนะด้วยวิธีที่ไม่ใช้เครื่องมือ และวิธีที่ใช้เครื่องมือ
2. วิธีการจัดวางภาชนะบรรจุของเสียชุมชนในพื้นที่จำกัด และการจัดวางตำแหน่งของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายตามประเภทความเป็นอันตราย
3. วิธีการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนอันตรายบุคคล 
4. วิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียที่เป็นอันตราย
5. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน
6. ประเภทของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายและไม่อันตราย
7. ความอันตรายจากการสัมผัสของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย
8. วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นเมื่อพบการรั่วไหลของของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)



  หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน (ถ้ามี)

    2. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

    2. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับรวบรวมขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้น-ลงยานพาหนะ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)

         ขอบเขตในการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายในหน่วยสมรรถนะนี้ เริ่มจาก การเตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ โดยการบอกประเภท ความเป็นอันตรายของเสียชุมชน จากฉลากป้าย หรือเครื่องหมายเตือนความอันตราย อธิบายวิธีการขนถ่าย การเลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ และภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายที่ใช้ในการรวบรวมและขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะให้เหมาะสม  หลังจากนั้นจะดำเนินการรวบรวมขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ตรวจสอบสภาพภาชนะบรรจุที่ใช้ของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายให้ปลอดภัยก่อนเริ่มการดำเนินการ โดยทำการรวบรวมของเสียชุมชนใส่ภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่เตรียมไว้และทำการขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นยานพาหนะ วางจัดเรียงของเสียชุมชนที่บรรจุใส่ภาชนะบนยานพาชนะตามความอันตราย หลังจากขนถ่ายของเสียชุมชนแล้วเสร็จ ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันของเสียชุมชนรั่วไหล/ตกหล่นจากยานพาหนะก่อนการขับขี่ออกจากจุดรวบรวมของเสียชุมชน และทำความสะอาดจุดรวบรวมของเสียชุมชนที่ทำการขนถ่ายของเสียชุมชน

(ก) คำแนะนำ

    1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายวิธีการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย บอกลักษณะของเสียชุมชนประเภทที่ไม่เป็นอันตรายและอันตราย วิธีการขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นและลงยานพาหนะ ด้วยวิธีการที่ไม่ใช้เครื่องมือและวิธีที่ใช้เครื่องมือได้

    2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้เกิดการหกหล่นหรือปนเปื้อน ในระหว่างการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย

    3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ของเสียอันตรายชุมชน เช่น หลอดไฟฟ้า แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่านไฟฉาย กระป๋องบรรจุสารเคมี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

    2. ความเป็นอันตรายของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย คือ ติดไฟได้ ระเบิดได้ กัดกร่อน เป็นพิษ แหลมคม เป็นต้น

    3. วิธีการจัดการของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย หมายถึง การจัดการ/บำบัดของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายก่อนการขนถ่ายขึ้นลงยานพาหนะ เพื่อป้องกันการสัมผัสหรือรับความอันตรายจากของเสีย

    4. ภาชนะที่ใช้บรรจุของเสียชุมชนที่เป็นอันตราย เช่น ถุงพลาสติก กระสอบ ถังพลาสติก ถังโลหะ ลังไม้ ที่ปิดมิดชิด หรือที่ทำขึ้นพิเศษเพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารพิษอันตราย เป็นต้น

    5. เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมและขนถ่ายของเสียชุมชน ประกอบด้วย ครีมจับ ที่คีบไม้กวาด ที่ตักขยะ คราด จอบ เสียม กระบะใส่ของ รถเข็น เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียชุมชนจากยานพาหนะ  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และเครื่องมือที่ใช้ในการขนถ่ายของเสียชุมชน

    6. อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่น เช่น ผ้าใบคลุม ตะแกรง ตาข่ายกันปลิว ภาชนะรองน้ำชะขยะ เป็นต้น

    7. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ รองเท้า แว่นตานิรภัย เข็มขัด หมวก เป็นต้น 

    8. เครื่องมือที่ใช้ในการขนถ่ายของเสียชุมชน เช่น แม่แรงยก รอกยก รถยกสิ่งของ อุปกรณ์ไฮดรอลิก เป็นต้น 

    9. การขนถ่ายของเสียชุมชนโดยวิธีที่ไม่ใช้เครื่องมือ หมายถึง การใช้แรงงานคนยกในการขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นและลงยานพาหนะ

    10. วิธีการจัดวาง เป็นการจัดวางของเสียอันตรายชุมชนที่บรรจุในภาชนะอย่างเป็นระเบียบปลอดภัยจากความอันตรายบนยานพาหนะ รวมถึงการจัดวางในสถานที่จัดเก็บให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงความปลอดภัย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อยเตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ

   1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

   2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

   ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะขนถ่ายของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ

   1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

   2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 

   ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ