หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลง ยานพาหนะ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-CWM-1-002ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลง ยานพาหนะ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้เก็บรวบรวมและขนส่งของเสียชุมชน


1 9611 คนเก็บขยะและวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถบอกประเภทของของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตรายได้ บอกวิธีการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตราย พร้อมทั้งเลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมขนถ่ายของเสียชุมชนรวมถึงภาชนะที่ใช้ในการบรรจุของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายตามลักษณะของเสียชุมชน สามารถที่จะขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะรวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายจากยานพาหนะก่อนการขับขี่ และทำความสะอาด ณ จุดรวบรวบของเสียหลังจากทำการขนถ่ายของเสียชุมชนเสร็จสิ้น 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัสอาชีพ 9611 : คนงานเก็บขยะ/คนงานประจำรถขยะ  (ISCO,2008)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 25602. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “กำหนดมาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอยทั่วไปเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง พ.ศ. 2560”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01102.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 1. บอกประเภทของเสียชุมชนที่ไม่อันตราย/อันตรายเบื้องต้นที่พบณ ที่แหล่งรวบรวมของเสีย 01102.01.01 83403
01102.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 2. บอกวิธีการขนถ่ายของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ณ ที่แหล่งรวบรวมของเสีย 01102.01.02 83404
01102.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 3. เลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมและขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายก่อนขึ้นและลงยานพาหนะได้อย่างถูกต้อง 01102.01.03 83405
01102.01 เตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 4. เลือกใช้ภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่ไม่อันตรายตามลักษณะของเสีย 01102.01.04 83406
01102.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลก่อนการสัมผัสของเสียชุมชนได้ 01102.02.01 83407
01102.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 2. รวบรวมของเสียชุมชุนที่ไม่เป็นอันตรายใส่ภาชนะบรรจุของเสีย 01102.02.02 83408
01102.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 3. ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายที่บรรจุใส่ภาชนะบรรจุแล้วณ จุดรวบรวมขึ้นและลงยานพาหนะด้วยวิธีที่ไม่ใช้เครื่องมือและวิธีที่ใช้เครื่องมือได้ 01102.02.03 83409
01102.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 4. ใช้อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายจากยานพาหนะก่อนการขับขี่ 01102.02.04 83410
01102.02 ขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ 5. ทำความสะอาด ณ จุดรวบรวมของเสียหลังจากทำการขนถ่ายของเสียชุมชนเสร็จสิ้น 01102.02.05 83411

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ทักษะการสังเกต วัตถุ ความสะอาด สิ่งผิดปรกติ เป็นต้น




2. ทักษะการจำแนกประเภทและลักษณะของเสีย 




3. ทักษะการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ทำความสะอาด




4. ทักษะการยกสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักขึ้นและลงยานพาหนะ




5. ทักษะการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ช่วยยกสิ่งของที่มีน้ำหนัก

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. วิธีการยกหรือขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตราย ตามประเภทลักษณะภาชนะบรรจุขึ้นและลงยานพาหนะด้วยวิธีที่ไม่ใช้เครื่องมือ และวิธีที่ใช้เครื่องมือ




2. วิธีการจัดวางภาชนะบรรจุในพื้นที่จำกัด




3. วิธีการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนอันตรายส่วนบุคคล 




4. วิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียที่ไม่เป็นอันตราย




5. ข้อบังคับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน




6. ประเภทของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายและเป็นอันตราย




7. ประเภทของภาชนะบรรจุที่ใช้ในการรวบรวมของเสียตามลักษณะของเสีย




8. ประเภทของเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมของเสียชุมชน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


หลักฐานที่ต้องการประกอบด้วยหลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) และหลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) คำแนะนำในการประเมิน และวิธีการประเมิน ซึ่งควรจะพิจารณาร่วมกัน




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1. ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับรวบรวมขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้




(ง) วิธีการประเมิน




1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ ผลการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค




2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ ผลการสอบข้อเขียน (ปรนัย)


15. ขอบเขต (Range Statement)


ขอบเขตในการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายในหน่วยสมรรถนะนี้ เริ่มจาก การเตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ โดยการบอกประเภทของเสียชุมชน วิธีการขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นลงยานพาหนะ และการเลือกใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ ในการรวบรวมและขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นยานพาหนะให้เหมาะสม หลังจากนั้นจะดำเนินการรวบรวมขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตราย ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนเริ่มการดำเนินการ โดยทำการรวบรวมของเสียชุมชนใส่ภาชนะบรรจุของเสียชุมชนที่เตรียมไว้และทำการขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นยานพาหนะ หลังจากขนถ่ายของเสียชุมชนแล้วเสร็จ ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันของเสียชุมชนรั่วไหล/ตกหล่นจากยานพาหนะก่อนการขับขี่ออกจากจุดรวบรวมของเสียชุมชน และทำความสะอาดจุดรวบรวมของเสียชุมชนที่ทำการขนถ่าย 




(ก) คำแนะนำ




1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถบอกวิธีการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตราย บอกลักษณะของเสียชุมชนประเภทที่ไม่เป็นอันตรายและอันตราย เป็นของแข็งหรือของเหลว วิธีการขนถ่ายขึ้นและลงยานพาหนะ ด้วยวิธีการที่ไม่ใช้เครื่องมือและวิธีที่ใช้เครื่องมือได้




2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันไม่ให้ของเสียชุมชนเกิดการรั่วไหล/ตกหล่น ในระหว่างการขนส่งของเสียชุมชน




3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




1. ของเสียชุมชนที่เป็นอันตรายเบื้องต้น เช่น หลอดไฟ ภาชนะบรรจุสารเคมี แบตเตอรี่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์(เครื่องใช้ไฟฟ้า) เป็นต้น




2. ภาชนะที่ใช้บรรจุของเสีย ประกอบด้วย ถุงพลาสติก ถุงกระสอบ ถังพลาสติก ถังโลหะ ลังไม้ เป็นต้น




3. เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมและขนถ่ายของเสียชุมชน ประกอบด้วย ครีมจับ ที่คีบ ไม้กวาด ที่ตักขยะ คราด จอบ เสียม กระบะใส่ของ รถเข็น เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่นของเสียชุมชนจากยานพาหนะ  อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และเครื่องมือที่ใช้ในการขนถ่ายของเสียชุมชน




4. อุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหล/ตกหล่น เช่น ผ้าคลุมกัน ตะแกรง ตาข่ายกันปลิว ภาชนะรองน้ำชะขยะ เป็นต้น




5. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ รองเท้า แว่นตานิรภัย เข็มขัด หมวก เป็นต้น 




6. เครื่องมือที่ใช้ในการขนถ่ายของเสียชุมชน เช่น แม่แรงยก รอกยก รถยกสิ่งของ อุปกรณ์ไฮดรอลิก เป็นต้น 




7. การขนถ่ายของเสียชุมชนโดยวิธีที่ไม่ใช้เครื่องมือ หมายถึง การใช้แรงงานคนยกในการขนถ่ายของเสียชุมชนขึ้นและลงยานพาหนะ




8. วิธีการจัดวาง เป็นการจัดวางของเสียชุมชนที่บรรจุในภาชนะ อย่างเป็นระเบียบบนยานพาหนะไม่ให้เกิดการตกหล่นและจัดระเบียบพื้นที่การบรรจุของเสียชุมชน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อยเตรียมการขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ

      1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

      2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย) 

      ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อยขนถ่ายของเสียชุมชนที่ไม่เป็นอันตรายขึ้นและลงยานพาหนะ

    1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

    2. ข้อสอบข้อเขียน (ปรนัย)

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ