หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-133ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน มาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น ไม้สับ (Wood chip) และมาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ และมีทักษะได้แก่ สามารถกำหนดแนวทางการจัดการและตัดโค่น สวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุไม้ยางพาราที่ได้มาจากการจัดการตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) ได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) ได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น เฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C141 ผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน 1) อธิบายมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนได้ C141.01 83310
C141 ผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน 2) กำหนดแนวทางการจัดการและตัดโค่น สวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง C141.02 83311
C141 ผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน 3) ระบุไม้ยางพาราที่ได้มาจากการจัดการตามมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง C141.03 83312
C142 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) 1) อธิบายมาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip ได้ C142.01 83313
C142 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) 2) กำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip(by product จากต้นยาง) ได้อย่างถูกต้อง C142.02 83314
C142 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นไม้สับ (Wood chip) 3) ระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip ได้อย่างถูกต้อง C142.03 83315
C143 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ 1) อธิบายมาตรฐานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ C143.01 83316
C143 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ 2) กำหนดแนวทางผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง C143.02 83317
C143 ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ 3) ระบุไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้อย่างถูกต้อง C143.03 83318

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด ตัดสินใจเลือก ระบุ ในการการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาด




3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการผลิตไม้ยางพาราเพื่อการตลาดให้ถูกต้อง




4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในการผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน




2) มีความรู้ในการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip




3) มีความรู้ในการผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          1.ผลิตไม้ยางพาราได้มาตรฐานและคุณภาพตามมาตรฐานการจัดการอย่างยั่งยืน




          การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน




          - มาตรฐานการจัดการป่าอย่างยั่งยืนตามแนวทางที่ FSC กำหนดไว้ว่าต้องมีพื้นที่อนุรักษ์อย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่สวนไม้ที่ขอรับรอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืนต่อไป




          - 10 หลักการสำคัญในการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน (มาตรฐาน FSC)




          1. การปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการของมาตรฐาน FSC




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย สนธิสัญญาภายในประเทศและต่างประเทศต่างอย่างเคร่งคัด รวมไปถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษีอย่างถูกต้อง และต้องมีการจัดทำแผนและกระบวนการป้องกันพื้นที่สวนป่าอย่างชัดเจน




          2. การเคารพต่อสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์ที่สวนป่าและการรับผิดชอบตามกฎหมาย




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีหลักฐานการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนป่าอย่างถูกต้อง อาทิเช่น โฉนดที่ดินและส.ป.ก. การบริหารสวนป่าต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่ของชุมชนท่องถิ่น




          3. การเคารพต่อสิทธิชนพื้นเมือง




          เกษตรกรและผู้ผลิตไม้แปรรูปหรือผลิตภัณฑ์ไม้ต้องเคารพสิทธิในการครอบครองและการจัดการป่าไม้ของคนพื้นเมือง และจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ร้ายต่อชนพื้นเมือง เช่นแหล่งที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนพื้นเมือง




          4. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและการเคารพต่อสิทธิของพนักงาน




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องรักษาและส่งเสริมความเป็นอยู่ของพนักงานและชุมชนท้องถิ่นในด้านสังคม เศรษฐกิจและสวัสดิการความปลอดภัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสในการจ้างงาน การฝึกอบรม สิทธิต่าง ๆของพนักงาน และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่น




          5. การบริหารจัดการผลประโยชน์จากสวนป่า




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากสวนป่าให้เกิดประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นเน้นความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ พร้อมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมในขณะเดียวกัน ดังนั้นการจัดการสวนป่าควรลดความสูญเสียของผลผลิตในขั้นตอนต่าง ๆให้ได้มากที่สุด และจำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาพื้นที่ที่มีความสำคัญและเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ที่จะช่วยเสริมคุณค่าและการใช้ประโยชน์ของป่าไม้และทรัพยากรต่าง ๆ




          6. การป้องกันดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าการอยู่ร่วมกัน ทรัพยากรดินและน้ำ ระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะพิเศษและเปราะบาง รวมไปถึงความสมดุลทางนิเวศและความสมบูรณ์ของป่าไม้ ผ่านทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการจัดระบบป้องกันหรือลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและชัดเจน




          7. การจัดทำแผนการจัดการและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องแผนการจัดการสวนป่าที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งแผนการตรวจสอบนี้ต้องมีเป้าหมายระยะสั้นและยาวรวมถึงวิธีการปฏิบัติงานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการอย่างละเอียด




          8. การตรวจสอบติดตามและการศึกษาวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องดำเนินการตรวจสอบติดตามพร้อมศึกษาวิเคราะห์สวนป่าอย่างใกล้ชิดและเหมาะสมกับขนาดและปัจจัยต่าง ๆของสวนป่า ซึ่งต้องมีการเปรียบเทียบผลและศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง พร้อมเก็บข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆเกี่ยวกับสวนป่าไว้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบและศึกษาต่อในอนาคต




          9. การฟื้นฟูป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงด้านการอนุรักษ์




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องอนุรักษ์บำรุงและส่งเสริมคุณลักษณะของพื้นที่ป่าไม้ และต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆในการดำเนินกิจกรรมใด ๆที่เกี่ยวข้องกับสวนป่าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีการตรวจสอบ และกำหนดระบบการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่สำคัญนี้ พร้อมมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ




          10. การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง




          กลุ่มจัดการป่าไม้ต้องมีการวางแผนการจัดการพื้นที่สวนป่าให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมดที่ผ่านมา และต้องส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าธรรมชาติ และลดแรงกดดันต่อป่าทรัพยากรธรรมชาติให้ได้มากที่สุด




          2.แนวทางการจัดการและตัดโค่นสวนยางพารา




          การโค่นไม้ยางพาราของเกษตรกรนั้นเกิดขึ้นเมื่อผลผลิตของน้ำยางพาราลดน้อยลงจนไม่คุ้มค่ากับการกรีดน้ำยางอีกต่อไป ตามระเบียบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เกษตรกรเจ้าของสวนยางจะต้องยื่นขออนุญาตตัดโค่นและได้รับอนุญาตจากกองทุนสวนยางก่อน จากนั้นเกษตรกรจึงจะทำการติดต่อขายไม้กับนายหน้ารับซื้อไม้พ่อค้าคนกลาง หรือเจ้าหน้าที่จัดหาวัตถุดิบของโรงงานแปรรูปไม้ เมื่อตกลงราคาและนัดแนะเวลาการเข้าตัดโค่นกันได้แล้วผู้รับซื้อจำเป็นต้องจ้างทีมตัดโค่นเข้าไปตัดโค่นในสวนยางของเกษตรกร เนื่องจากการคัดโค่นไม้เป็นงานที่มีอันตรายจึงต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญสูงและ ที่สำคัญเครื่องมือ หลักที่ใช้ในการตัดโค่น เช่น เลื่อยโซ่ยนต์ นั้นเป็นเครื่องมือควบคุมตาม พรบ. เลื่อยโซ่ยนต์ ที่ต้องได้รับการ อนุญาตจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเสียก่อนจึงจะสามารถครอบครองเลื่อยได้




          การโค่นไม้ยางพาราในภาคใต้ส่วนใหญ่ทำในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม โดยการตัดโค่น ไม้ยางพารามีละต้นโดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์คัดที่โคนต้นหรือใช้รถแบคโฮดันต้นยางให้ล้ม จากนั้นทำการตัด ริดกิ่งไม้ โดยใช้มีดและชักลากไม้มายังจุดตัดท่อนโดยการใช้รถแบคโฮ ในกรณีที่พื้นที่มีลักษณะลาดชันทำให้รถแบคโฮเข้า ไม่ได้ก็จะมีการนำช้างเข้ามาชักลาก-ลำเลียงไม้มายังตำแหน่งที่ต้องการ สำหรับการตัดท่อนไม้ยางพารามักใช้ เลื่อยโซ่ยนต์ตัดท่อนไม้โดยแยกตามขนาดที่โรงงานไม้รับซื้อ ได้แก่ ไม้ท่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 8 นิ้ว และ 5-8 นิ้ว สำหรับป้อนโรงเลื่อย ไม้ท่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 5-3 นิ้ว สำหรับป้อนโรงงานผลติแผ่น ใบไม้อัดและแผ่นชิ้นไม้อัด ที่เหลือเป็นกิ่งไม้และปลายไม้จะถูกขายสำหรับเป็นไม้ฟืนหรือนำไปผลิตถ่าน สำหรับการลำเลี้ยงไม้ยางพาราที่ตัดโค่นแล้วมักจะทำการลำเลี้ยงโดยใช้แรงงานคนขึ้นรถกระบะหรือรถบรรทุก (ความเหมาะสมขั้นอยู่กับความธุระกันดารในแต่ละพื้นที่) ส่วนรากของไม้ยางพาราเกษตรอาจจะว่าจ้างทีมตัดโค่นขุดหรือ ดันรากหรือตอไม้ขั้นมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ขายในรูปของฟืน หรือขายให้กับโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวล แต่หากรากไม้หรือตอไม้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้ได้แต่ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เกษตรกรก็เลือกที่จะใช้วิธีกองรวมและเผาในพื้นที่




          3.ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip




          การผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็น Wood chip ซึ่งเป็นไม้สับคุณภาพดีที่ผลิตจากไม้ยางพารา นำมาผ่านกระบวนการสับย่อยให้กลายเป็นชิ้นเล็ก เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนน้ำมันในอุตสาหกรรม ต่าง ๆ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านการให้ค่าความชื้นต่ำ ให้ความร้อนสูง ราคาไม่สูงมาก อีกทั้งยังมีวัตถุดิบออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ Wood Chip กลายเป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากตลาดในปัจจุบัน




          คุณสมบัติ/Specification




          - ค่าความร้อน/Gross Calorific Value 2,700 - 3,300 kcal/kg




          - ค่าความชื้น/Moisture Content 35 %




          - ขี้เถ้า/Ash Content 6 - 10%




          - ขนาด/Size 25x25-50x50mm.




          ข้อดีของเชื้อเพลิงไม้สับ




          1. ให้พลังงานความร้อนสูง




          2. ค่าความชื้นต่ำกว่าไม้สับทั่วไป




          3. เป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน (Global Warming) เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาชีวมวลจะถูกหมุนเวียนกลับไปใช้โดยพืชเพื่อสังเคราะห์แสง (Carbon Offset)




          4. ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเชื้อเพลิงพลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมันเตา (Fuel Oil) ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ก๊าซหุงต้ม (LPG)




4.ผลิตไม้ยางพาราเพื่อแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์



          ไม้ยางพาราถูกใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์หลายรูปแบบจากเฟอร์นิเจอร์ภายใน เช่น ชุดโต๊ะอาหาร เฟอร์นิเจอร์รับแขก ตู้ รวมไปถึงชุดสนาม (ในสวน) เฟอร์นิเจอร์ ไม้ยางพาราส่งออกทั้งในรูปแบบของการประกอบสำเร็จ กึ่งสำเร็จรูป (Semi-knock-down) หรือ แยกส่วนประกอบ (Complete-knock-down) จากการที่สีครีมธรรมชาติของไม้ยางพาราและคุณภาพในการทำสีย้อม ทำให้ไม้ยางพาราของไทยเป็นที่ยอมรับของตลาดส่งออก สำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพาราสามารถ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทำการผลิตโดยใช้ไม้ยางพารา (Solid) และไม้ต่อด้วยกาว และอีกกลุ่มหนึ่งเชี่ยวชาญ ในเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ไม้ประกอบ (ชิ้นส่วนไม้อัด วีเนียร์MDF และปาร์ติเคิลบอร์ด) เช่น เก้าอี้ และโต๊ะเตี้ยสามชิ้น ซึ่งขาโต๊ะทำจากไม้ท่อนแปรรูป หน้าโต๊ะและที่นั่งเป็นไม้ต่อแผ่นด้วยกาว ชิ้นส่วนโค้งของผนังหลังเก้าอี้ทำด้วย ไม้อัดวีเนียร์ ในปัจจุบัน พบว่าความต้องการเฟอร์นิเจอร์ใช้ไม้อัดโค้งจากชิ้นส่วนวีเนียร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความสวยงามและเทคโนโลยีการผลิตที่ทำให้มีความคงทนมากขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ