หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-130ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน มาตรฐานผลิตน้ำยางสดกรมวิชาการเกษตร วิธีการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร วิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสด หลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตน้ำยางสด และมีทักษะได้แก่ สามารถกำหนดและเลือกวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง สามารถผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกวิธี สามารถกำหนดสารเคมีในการรักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดสถานที่จัดเก็บผลผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้องและสามารถตรวจสอบคุณภาพน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดและเลือกวิธีการและอุปกรณ์ตามหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C111 ผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร 1) อธิบายมาตรฐานผลิตน้ำยางสดกรมวิชาการเกษตรได้ C111.01 83276
C111 ผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร 2) อธิบายวิธีการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรได้ C111.02 83277
C111 ผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร 3) กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C111.03 83278
C111 ผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร 4) เลือกวัสดุ อุปกรณ์ การผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C111.04 83279
C111 ผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร 5) ดำเนินการผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกวิธี C111.05 83280
C112 รักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน 1) อธิบายวิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดได้ C112.01 83281
C112 รักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน 2) ระบุสารเคมีที่ใช้ในการรักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C112.02 83282
C112 รักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน 3) ระบุสถานที่จัดเก็บผลผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C112.03 83283
C112 รักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน 4) ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C112.04 83284
C113 ปฏิบัติตามสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด 1) อธิบายหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตน้ำยางสดได้ C113.01 83285
C113 ปฏิบัติตามสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด 2) กำหนดวิธีการและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C113.02 83286
C113 ปฏิบัติตามสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด 3) เลือกวิธีการและอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามหลักการขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของการผลิตน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C113.03 83287
C113 ปฏิบัติตามสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด 4) ดำเนินการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง C113.04 83288

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการจัดการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด รักษา และตัดสินใจเลือกแนวทางการปฏิบัติงานการจัดการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรได้แก่ รักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และ สุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานจัดการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรให้ถูกต้อง



          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร




          2) มีความรู้ในสุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด




          3) มีความรู้ในการเตรียมคุณภาพผลผลิตน้ำยางสด




          4) มีความรู้ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำยางสด




          5) มีความรู้ในวิธีการหาค่า DRC ของน้ำยาง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการจัดการผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          1.ผลิตน้ำยางสดตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตร




          น้ำยางที่กรีดได้จากต้นจะเรียกว่าน้ำยางสด (field latex) น้ำยางที่ได้จากต้นยางมีลักษณะเป็นเม็ดยางเล็ก ๆ กระจายอยู่ในน้ำ (emulsion) มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว มีสภาพเป็นคอลลอยด์ มีปริมาณของแข็งประมาณร้อยละ 30-40 pH 6.5-7 น้ำยางมีความหนาแน่นประมาณ 0.975-0.980 กรัมต่อมิลลิลิตร มีความหนืด 12-15 เซนติพอยส์ ส่วนประกอบในน้ำยางสดแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ




          1.ส่วนที่เป็นเนื้อยาง 35%




          2.ส่วนที่ไม่ใช่ยาง 65%




          2.1 ส่วนที่เป็นน้ำ 55%




          2.2 ส่วนของลูทอยด์ 10%




          น้ำยางสดที่กรีดได้จากต้นยาง จะคงสภาพความเป็นน้ำยางอยู่ได้ไม่เกิน 6 ชั่วโมง เนื่องจากแบคทีเรียในอากาศ และจากเปลือกของต้นยางขณะกรีดยางจะลงไปในน้ำยาง และกินสารอาหารที่อยู่ในน้ำยาง เช่น โปรตีน น้ำตาล ฟอสโฟไลปิด โดยแบคทีเรียจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลังจากแบคทีเรียกินสารอาหาร คือ จะเกิดการย่อยสลายได้เป็นก๊าซชนิดต่าง ๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เริ่มเกิดการบูดเน่าและส่งกลิ่นเหม็น การที่มีกรดที่ระเหยง่ายเหล่านี้ในน้ำยางเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้ค่า pH ของน้ำยางเปลี่ยนแปลงลดลง ดังนั้นน้ำยางจึงเกิดการสูญเสียสภาพ ซึ่งสังเกตได้จาก น้ำยางจะค่อย ๆ หนืดขึ้น เนื่องจากอนุภาคของยางเริ่มจับตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ และจับตัวเป็นก้อนใหญ่ขึ้น จนน้ำยางสูญเสียสภาพโดยน้ำยางจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเนื้อยาง และส่วนที่เป็นเซรุ่ม ดังนั้นเพื่อป้องกันการสูญเสียสภาพของน้ำยางไม่ให้อนุภาคของเม็ดยางเกิดการรวมตัวกันเองตามธรรมชาติ จึงมีการใส่สารเคมีลงไปในน้ำยางเพื่อเก็บรักษาน้ำยางให้คงสภาพเป็นของเหลว โดยสารเคมีที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำยางเรียกว่า สารป้องกันการจับตัว (Anticoagulant) ได้แก่ แอมโมเนีย โซเดียมซัลไฟด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นต้น  เพื่อที่รักษาน้ำยางไม่ให้เสียสูญเสียสภาพ




          การนำยางธรรมชาติไปใช้งานมีอยู่ 2 รูปแบบคือ รูปแบบน้ำยาง และรูปแบบยางแห้ง ในรูปแบบน้ำยางนั้นน้ำยางสดจะถูกนำมาแยกน้ำออกเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของเนื้อยางขั้นตอนหนึ่งก่อนด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมคือการใช้เครื่องเซนตริฟิวส์ ในขณะที่การเตรียมยางแห้งนั้นมักจะใช้วิธีการใส่กรดอะซิติกลงในน้ำยางสด การใส่กรดอะซิติกเจือจางลงในน้ำยาง ทำให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน เกิดการแยกชั้นระหว่างเนื้อยางและน้ำ ส่วนน้ำที่ปนอยู่ในยางจะถูกกำจัดออกไปโดยการรีดด้วยลูกกลิ้ง 2 ลูกกลิ้ง วิธีการหลัก ๆ ที่จะทำให้ยางแห้งสนิทมี 2 วิธีคือ การรมควันยาง และการทำยางเครพ แต่เนื่องจากยางผลิตได้มาจากเกษตรกรจากแหล่งที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องมีการแบ่งชั้นของยางตามความบริสุทธิ์ของยางนั้น ๆ




          รักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสดตามวัตถุประสงค์การใช้งาน




          2.วิธีการรักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสด




          น้ำยางสดที่ได้จากสวนยางจะยังคงสภาพเป็นของเหลวอยู่ได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมงหลังจากนั้นจะเริ่มจับตัวเป็นเม็ดพริก (ยางบูด) อันเนื่องจากสาเหตุหลายประการจำเป็นต้องเติมสารเคมีรักษาน้ำยางไว้ เพื่อป้องกันน้ำยางจับตัวก่อนกำหนด โดยน้ำยางสดที่ส่งโรงงานยางดิบประเภทต่าง ๆ จะมีการใช้สารรักษาสภาพน้ำยางที่แตกต่างกัน เช่น น้ำยางสดสำหรับส่งโรงงานน้ำยางข้น ต้องใช้สารรักษาสภาพน้ำยางที่สามารถคงความสดได้เป็นระยะเวลายาวนาน เพื่อไม่ให้น้ำยางบูด ซึ่งสารที่นิยมใช้คือแอมโมเนีย เนื่องจากประสิทธิภาพสูง ใช้ในอัตรา 0.3% - 0.5% ต่อน้ำหนักน้ำยางสด แต่เนื่องจากน้ำยางสดที่นำไปปั่นเป็นน้ำยางข้นต้องใช้เวลาเก็บก่อนปั่นอีก 1 วัน เพื่อตกตะกอนแมกนีเซียม การเพิ่มปริมาณแอมโมเนีย เพื่อลดความบูดหรือกรดไขมันระเหยได้ (Volatile Fatty Acid, VFA No.) นั้นไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องใช้แอมโมเนียร่วมกับ TMTD/ZnO หรือที่เรียก ยาขาว ในอัตรา 0.025% ต่อน้ำหนักน้ำยางสด จะสามารถควบคุมกรดไขมันระเหยได้ ให้ต่ำกว่า 0.02 ไว้ได้นานถึง 3 วัน ซึ่งสารที่ใช้รักษาสภาพน้ำยางสดแบบนี้ เหมาะสำหรับน้ำยางสดที่ส่งขายยังโรงงานผลิตน้ำยางข้นเท่านั้น เพราะหากจะนำมาผลิตเป็นยางแผ่นดิบหรือยางแผ่นรมควัน จำเป็นต้องใช้ปริมาณกรดมาก ยางที่จับตัวจะแข็ง รีดยาง จะทำให้แผ่นยางขาดสปริง นอกจากนี้แผ่นยางเหนียวและมีสีคล้ำ เมื่อวางซ้อนทับกันจะดึงหรือลอกออกยาก ส่วนสารเคมีที่ใช้รักษาสภาพน้ำยางสดสำหรับผลิตยางแผ่นรมควัน แนะนำให้ใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ใช้โซเดียมซัลไฟต์ ในอัตรา 0.05% ต่อน้ำหนักน้ำยางสด หรือสารละลายแอมโมเนียในอัตรา 0.03% ต่อน้ำหนักน้ำยางสด สามารถรักษาสภาพน้ำยางได้นานถึง 6 ชั่วโมง




          สำหรับน้ำยางสดที่นำไปผลิตเป็นยางแท่ง STR5L ยางเกรดนี้เป็นยางแท่งชั้นพิเศษที่ต้องการสีของยางจางกว่ายางแผ่นอบแห้ง การรักษาสภาพของน้ำยางสด จึงต้องพิจารณาถึงสารเคมีที่ใช้อย่างรอบคอบ การใช้โซเดียมซัลไฟต์ 0.05% ต่อน้ำหนักน้ำยางสด สามารถรักษาสภาพได้นาน 4 ชั่วโมง และถ้าต้องการให้สีจางเป็นพิเศษ อาจใช้แอมโมเนียร่วมกับกรดบอริก ในอัตรา 0.05% : 0.05% ต่อน้ำหนักน้ำยางสด สามารถรักษาสภาพน้ำยางสดได้นานถึง 40 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องใช้ร่วมกับโซเดียมเมตะไบซัลไฟต์ จะช่วยให้สีจางได้ตามต้องการ




          ดังนั้น การใช้สารรักษาสภาพน้ำยางสดจะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและเหมาะสม คำนึงถึงสมบัติทางกายภาพของยางที่ผลิตได้ หากใช้สารรักษาสภาพที่ไม่เหมาะสมกับการนำไปแปรรูปเป็นยางดิบชนิดนั้น ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน




          สารเคมีในการรักษาคุณภาพผลผลิตน้ำยางสด




          1.แอมโมเนีย เป็นของเหลวและก๊าซ ไม่มีสี กลิ่นฉุนจัด เป็นอันตรายต่อผิวหนังและประสาทตา ละลายได้ทั้งในน้ำ แอลกอฮอล์ และอีเธอร์ ในท้องตลาดมีจำหน่าย 2 แบบ เป็นก๊าซและสารละลายมีความเข้มข้นของ แอมโมเนียประมาณ 30%




          - วิธีเตรียมและใช้แอมโมเนีย




          ใช้แอมโมเนียชนิดสารละลาย 30% จำนวน 3 กิโลกรัม ผสมน้ำ 50 ลิตร (ลดลงตามส่วนที่จำเป็นต้องใช้) จะได้แอมโมเนียเข้มข้นประมาณ 2%




          ใช้แอมโมเนียเข้มข้น 2% จำนวน 10 ซี.ซี. ต่อน้ำยางสด 1 ลิตร หรือหยดในถ้วยรองรับน้ำยาง ถ้วนละ 2-3 หยด




          2.โซเดียมซัลไฟท์ เป็นผงหรือผนึกสีขาว รสเค็มเหมือนเกลือ มีกลิ่นกำมะถัน ละลายในน้ำ และละลายในแอลกอฮอล์ได้เล็กน้อย ในท้องตลาดมีจำหน่ายเป็นผงสีขาวบรรจุในภาชนะที่มีฝาปิด




          - วิธีเตรียมและใช้โซเดียมซัลไฟท์




          เตรียมโซเดียมซัลไฟท์ 2 ช้อนแกง ผสมน้ำครึ่งลิตร แล้วน้ำโซเดียมซัลไฟท์ที่ผสมน้ำแล้วหยดลงในถ้วยรองรับน้ำยางถ้วยละ 2-3 หยด หรือใส่ในถังรวมน้ำยางโดยใช้โซเดียมซัลไฟท์ผสมน้ำแล้ว 1 ส่วน ต่อน้ำยาง 64 ส่วน โดยน้ำหนัก อย่าใส่โซเดียมซัลไฟท์ในถังที่ทำด้วยโลหะ และอย่าใส่ปริมาณมากเกินไปจะทำให้ยางเหนียวเหนอะหนะ นอกจากใช้สารเคมีเพื่อรักษาสภาพน้ำยางสดให้อยู่นานแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆที่มีส่วนสำคัญในการรักษาสภาพน้ำยาง เช่น




          1.รักษาความสะอาดในแปลงยาง




          2.ภาชนะต่าง ๆ เช่น ถ้วยรองรับน้ำยาง ถังเก็บน้ำยาง มีดกรีดยางจะต้องสะอาด




          3.พยายามอย่าให้สิ่งแปลกปลอม เช่น เปลือกยาง ใบไม้ หรือดิน ทรายปะปนลงในน้ำยางที่จับตัวแล้ว บางส่วนไม่ควรผสมลงในน้ำยางที่อยู่ในสภาพดี




          4.รวบรวมน้ำยางและเติมสารเคมีถนอมน้ำยางให้เร็วที่สุด




          สุขอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด




          3.ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสด




          ในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขั้นพื้นฐานในการผลิตน้ำยางสดใช้หลักและแนวคิดการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน(SHE)




          1) แนวคิดเรื่อง การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน(SHE)




          “ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” หมายความว่าการกระทำหรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจหรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงานสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น มีการใช้แรงงานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น ความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ใช้แรงงานในการทำงาน จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนต้องตระหนักและใส่ใจตลอดเวลาเพราะผลจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือผลของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น นอกจากจะก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ตนเองแล้ว ยังส่งผลกระทบไปถึง บุตร ภรรยา พ่อแม่พี่น้องอีกด้วย ซึ่งเป็นความสูญเสียที่เกินกว่าที่คาดคิดหรือเรียกกลับคืนมาได้บางครั้งอุบัติเหตุยังทิ้งร่องรอยของความข่มขื่นเอาไว้อีกตลอดชีวิต เช่น ความพิการ ความเจ็บปวดทรมาน บางธุรกิจอุตสาหกรรม อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอาจหมายถึงความสิ้นเนื้อประดาตัว 6 ไม่เพียงแต่ขององค์กร ยังมีผลต่อสภาพแวดล้อมและสังคมโดยรอบอีกด้วย เช่น ไฟไหม้โรงงาน ระเบิด พนักงานและชุมชนโดยรอบได้รับสารอันตราย ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้การดำเนินงานด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อลดอุบัติเหตุและการสูญเสีย ใน สถานประกอบกิจการนั้น เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก นายจ้างหรือฝ่ายบริหารมีความมุ่งมั่น และเป็นผู้นำที่ต้องการให้พนักงาน หรือสถานประกอบการ ของตนมีความปลอดภัย การจัดการทางด้านความปลอดภัยย่อมดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และง่าย มากยิ่งขึ้น การจัดการ คือ กระบวนการที่จะบรรลุความสำเร็จ ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล โดยการวางแผนการจัดองค์กร การนำและการควบคุม ในปัจจุบันภาครัฐได้ออก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 21 มิถุนายน 2549 ข้อกำหนด ของกฎหมายในหลายๆ หัวข้อทำให้สถานประกอบการต้องหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการ ทางด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท างานมากยิ่งขึ้น ในหลายสถาน ประกอบการเลือกที่จะจัดทำระบบทางด้านความปลอดภัย โดยอาศัยมาตรฐานจากกระทรวง อุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และใช้มาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม18001: 2542) เป็นแนวทางใน การนำไปปฏิบัติทั้งนี้มิได้มีจุดมุ่งหมายเพียงการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการ ทำงาน แต่ยังครอบคลุมถึงแนวทางในการป้องกันมิให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและอุบัติเหตุต่างๆ ต่อ ผู้ปฏิบัติงาน และสังคมโดยรอบ




          2) ลักษณะงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย




          คณะกรรมการร่วมระหว่างองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization; ILO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) ได้กำหนด จุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไว้ดังนี้คือ 1) การส่งเสริมและดำรงไว้ (promotion and maintenance) ซึ่งความสมบูรณ์ที่สุดของ สุขภาพร่างกายจิตใจและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบอาชีพในทุกอาชีพ 2) การป้องกัน (prevention) ไม่ให้ผู้ประกอบอาชีพมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือ ผิดปกติอันมีสาเหตุมาจากสภาพหรือสภาวะในการท างานต่างๆ 3) การป้องกันคุ้มครอง (protection) ผู้ประกอบอาชีพไม่ให้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย ซึ่ง จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพขึ้นได 4) การจัดงาน (placing) ให้ผู้ประกอบอาชีพได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ ความ สามารถของร่างกายและจิตใจของเขา 5) การปรับ (adaptation) งานให้เหมาะสมกับคน และการปรับคนให้เหมาะสมกับ สภาพการทำงาน




          3) แนวคิดพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554




          การกำกับดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการท างานในประเทศไทย ได้มีพัฒนาการตามยุค สมัยเรื่อยมา โดยมีการออกกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ด้านแรงงาน รวมทั้ง สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการท างานเป็นมาตรฐานขั้นต่ำใช้สำหรับการบริหารจัดการในสถานประกอบ กิจการ เพื่อคุ้มครองให้ลูกจ้างทำงานอย่างปลอดภัย โดยวิวัฒนาการของกฎหมายด้าน ความปลอดภัยในการท างานเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2515 โดยมีการออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 เป็นต้นมา กระทรวงมหาดไทย ได้ออกประกาศ กระทรวงมหาดไทยกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับลูกจ้าง และ พัฒนามาเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในหมวดที่ 8 เรื่อง ความปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเป็นกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัย สุขภาพอนามัย และสวัสดิการของลูกจ้างที่ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันการพัฒนางานทางด้านความปลอดภัยในการท างานของ ประเทศไทยภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 นั้นยังมีปัญหาอุปสรรคมากมาย ดังนั้น กระทรวงแรงงานจึงได้ประกาศกฎหมายใหม่ คือ พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เพื่อให้ทันสมัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและการจัดการในเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงานในปัจจุบัน ดังนั้น นายจ้างหรือผู้ที่ ท างานด้านความปลอดภัย รวมทั้งผู้ใช้แรงงานควรจะต้องศึกษาถึงข้อกำหนดต่างๆ ในข้อกฎหมาย เพื่อจะได้วางแผนงานการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงาน ให้สอดคล้องกับ พรบ.ความ ปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553 เล่มที่ 128 ตอนที่ 4ก. ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 17 มกราคม 2554 มาตรา 3 ให้ยกเลิกหมวด 8 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 100-107 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ