หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจคุณภาพยางพาราก่อนซื้อ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-136ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจคุณภาพยางพาราก่อนซื้อ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการรับซื้อผลผลิตยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการรับซื้อผลผลิตยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการรับซื้อผลผลิตยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C171 ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ 1) อธิบายคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้ C171.01 83351
C171 ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้ C171.02 83352
C171 ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ 3) อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C171.03 83353
C171 ตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อ 4) ดำเนินการตรวจคุณภาพน้ำยางสดก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C171.04 83354
C172 ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ 1) อธิบายคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้ C172.01 83355
C172 ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้ C172.02 83356
C172 ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ 3) อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C172.03 83357
C172 ตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อ 4) ดำเนินการตรวจคุณภาพยางแผ่นดิบก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C172.04 83358
C173 ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ 1) อธิบายคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้ C173.01 83359
C173 ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้ C173.02 83360
C173 ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ 3) อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C173.03 83361
C173 ตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ 4) ดำเนินการตรวจคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C173.04 83362
C174 ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ 1) อธิบายคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้ C174.01 83363
C174 ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้ C174.02 83364
C174 ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ 3) อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C174.03 83365
C174 ตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ 4) ดำเนินการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C174.04 83366
C175 ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ 1) อธิบายคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้ C175.01 83367
C175 ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้ C175.02 83368
C175 ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ 3) อธิบายขั้นตอนการตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C175.03 83369
C175 ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ 4) ดำเนินการตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อได้อย่างถูกต้อง C175.04 83370

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลตรวจคุณภาพยางพาราก่อนซื้อ ได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพ




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด รักษาและตัดสินใจเลือกในการจัดการตรวจคุณภาพ ได้แก่ ขั้นตอนในการตรวจคุณภาพยางพาราก่อนซื้อได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพ




3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานให้ถูกต้อง




4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในวิธีการตรวจคุณภาพยางก่อนซื้อตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรได้แก่  ยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพ




2) มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจสอบคุณภาพยางก่อนซื้อ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




3) ผลการสอบข้อเขียน




4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




1) การสอบข้อเขียน




2) การสอบสัมภาษณ์




3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ




          1.การตรวจสอบคุณภาพน้ำยางสด




          การหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยาง จะหาเป็นค่าของเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง โดยคิดเทียบจากน้ำยาง 100 ส่วนว่า จะมีเนื้อยางแห้งอยู่กี่ส่วน ซึ่งวิธีการหาสามารถกระทำได้หลายวิธี แต่ที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน มี 2 วิธี คือ 1) วิธีใช้เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะและ 2) วิธีชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่าง หรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ




          1) วิธีใช้เครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะเครื่องมือวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำยาง เรียกว่า“เมโทรแลค” หรือ “ลาเทคโซมิเตอร์”เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยอาศัยค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำยาง มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนก้านและส่วนกระเปาะ ที่ก้านจะมีขีดกำหนดค่าเนื้อยางแห้งไว้ โดยจะมี 2 ระบบ คือ ระบบอังกฤษ ซึ่งจะบอกค่าเป็นปอนด์ / แกลลอน และระบบเมตริกซึ่งจะบอกค่าเป็นกรัมต่อลิตร โดยค่าปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำจะอยู่ด้านล่างค่าสูงจะอยู่ด้านบน ซึ่งหมายความว่า




          เมโทรแลคจะจมลงไปในน้ำยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งต่ำทั้งนี้เพราะยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งสูงจะมีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าน้ำยางที่มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งต่ำ




          การใช้เมโทรแลควัดหาปริมาณเนื้อยางแห้งยางแห้งในน้ำยางนั้น ส่วนใหญ่โรงงานแปรรูปยางจะใช้วัดหาค่าปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางที่ทางการโรงงานรวบรวมได้ เพื่อผลประโยชน์ในการคิดคำนวนน้ำและน้ำกรดที่จะผสมใส่ลงไปในน้ำยาง เพื่อให้ยางจับตัวกันอย่างสมบูรณ์ และมีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่โรงงานต้องการ ค่าปริมาณเนื้อยางแห้งที่วัดได้จึงไม่ถูกต้องนักเมื่อเทียบกับวิธีชั่งน้ำหนักยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการอย่างไรก็ตามการหาปริมาณเนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยใช้เมโทรแลคนี้ทำได้ง่ายสะดวก รู้ผลทันที จึงมีคนนำมาประยุกต์ใช้ในการซื้อขายน้ำยาง ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งได้ และรับจ่ายเงินได้ทันทีที่มีการซื้อขาย




          2) ขั้นตอนการหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางโดยใช้เมโทรแลคก่อนใช้เมโทรแลคในการวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง ต้องเตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้วัดให้พร้อม ซึ่งได้แก่ เมโทรแลค กระบอกตวงสำหรับใส่น้ำยางเพื่อใช้วัดโดยเมโทรแลค ถาดหรือตะแกรงสำหรับรองกระบอกตวงเพื่อรับน้ำยางที่ล้นกระบอกตวงเมื่อใส่เมโทรแลค และน้ำสะอาด จากนั้นนำเมโทรแลค แช่ลงในกระบอกบรรจุน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ เพื่อควบคุมอุณหภูมิให้คงที่และลดแรงตึงผิว แล้วจึงใช้วัดค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งตามขั้นตอน ดังนี้




          1.ตักตัวอย่างน้ำยางที่ต้องการวัด 1 ส่วน (ประมาณ 250 – 300 ซี.ซี.) ผสมกับน้ำสะอาด 2 ส่วน กวนให้เข้ากันดี แล้วเทใส่ในกระบอกตวงให้เต็มจนล้น




          2.เป่าฟองอากาศที่ลอยอยู่บนผิวน้ำยางในกระบอกตวงออกให้หมดแล้วค่อย ๆ หย่อนเมโทรแลคลงไปในกระบอกตวง ปล่อยให้ลอยเป็นอิสระ




          3.อ่านค่าที่ก้านของเมโทรแลค บริเวณที่ผิวน้ำยางตัดกับก้าน เมโทรแลค หลังจากที่เมโทรลอยตัวนิ่งแล้ว




          4.นำค่าที่อ่านได้ไปคูณด้วย 3 ก็จะได้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางตัวอย่างที่ใช้วัดออกมา




          3) วิธีชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่าง หรือ วิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ




          วิธีนี้เป็นวิธีวัดหาค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยใช้หลักความจริงในการดำเนินงาน คือ นำน้ำยางไปทำให้แห้งให้เหลือแต่เฉพาะเนื้อยาง แล้วนำไปชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบระหว่างน้ำยางก่อนที่จะนำไปทำให้แห้ง กับเนื้อยางที่แห้งแล้วว่าเป็นเท่าไร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ออกมาก็จะได้ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยาง เช่นน้ำยาง 100 กรัม นำไปทำเป็นยางแผ่นแล้วอบให้แห้ง จะได้ยางแผ่นหนัก 35 กรัม นั่นคือ น้ำยางนั้นมีค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง 35 % สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่1) ตู้อบตัวอย่างยาง 2) เครื่องชั่งละเอียด ทศนิยมอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง ชั่งน้ำหนักได้สูงสุดไม่เกิน 200 กรัม 3) จักรรีดยาง ขนาดเล็ก 4) ถ้วยพลาสติกใส่ตัวอย่างน้ำยาง 5) ถ้วยอลูมิเนียม ใส่ตัวอย่างยางเข้าตู้อบ 6) น้ำกรดอะซิติก ความเข้มข้น 2 %และ 7) น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาด




          4) ขั้นตอนการหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งโดยการชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ




          การหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง โดยการชั่งน้ำหนักของยางตัวอย่างหรือวิธีมาตรฐานในห้องปฏิบัติการ มีขั้นตอนดำเนินงาน 10 ขั้นตอนดังนี้




          1.สุ่มตักตัวอย่างน้ำยางที่ต้องการหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง




          2.ชั่งตัวอย่างน้ำยางในถ้วยพลาสติก ถ้วยละ 10 กรัม (ชั่งถ้วยพลาสติกก่อน ถ้าถ้วยพลาสติกหนัก 8.5 กรัม ก็ให้ใส่นำยางลงไป ชั่งเป็น 18.5 กรัม)




          3. เติมน้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดผสมลงในตัวอย่างน้ำยาง ประมาณ 20 ซี.ซี.




          4. เติมน้ำกรดอะซีติก ความเข้มข้น 2% ลงไปอีกประมาณ 15 - 20 ซี.ซี. คนให้เข้ากัน




          5. ตั้งทิ้งไว้ให้ยางจับตัวประมาณ 30 นาที




          6. นำยางที่จับตัวสมบูรณ์แล้ว ไปรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ ความหนาไม่เกิน 2 มม.




          7. ล้างแผ่นยางที่รีดจนบางได้ที่แล้วให้สะอาด




          8. นำแผ่นยางที่ล้างสะอาดแล้ว ไปอบให้แห้งในตู้อบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลาอบ 16 ชั่วโมง




          9. นำแผ่นยางที่อบแห้งแล้วออกจากตู้อบ ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปชั่งน้ำหนัก พร้อมบันทึกน้ำยางแห้งไว้




          10. คำนวณหาเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งจากสูตรเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง = (น้ำหนักยางแห้ง×100)/น้ำหนักน้ำยางสด




          5) การตรวจสอบคุณภาพยางแผ่นดิบ ในการตรวจสอบคุณภาพยางแผ่นดิบนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องทราบถึงคุณภาพยางแผ่นดิบละมาตรฐานชั้นยางแผ่นดิบและมาตรฐานชั้นยางแผ่นรมควัน ดังรายละเอียดดังนี้




          1) คุณภาพของยางแผ่นดิบ แบ่งได้ 5 ลักษณะ ได้แก่




          1 ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 1,000 – 1,200 กรัม มีความยืดหยุ่นดี เนื้อยางแห้งใส สีสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สีคล้ำ โปร่งแสง พอสมควร และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 3%




          2. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 3 – 5%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 1,000 – 1,500 มีความยืดหยุ่นดี สีสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สีคล้ำ ไม่โปร่งแสง และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 5%




          3. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 5 – 7%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศและสิ่งสกปรกอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีความยืดหยุ่นดี สีคล้ำหรือด่างดำ ไม่โปร่งแสง มีราดำ หรือราสนิมเปื้อนในยางเล็กน้อย และมีลายดอกเห็นเด่นชัดมีความชื้นไม่เกิน 7%




          4. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 7 – 10%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศและสิ่งสกปรกอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีความยืดหยุ่นดี สีคล้ำหรือด่างดำ ไม่โปร่งแสง มีราดำ หรือราสนิมเปื้อนในยางเล็กน้อย และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 10%




          5. ยางแผ่นดิบคุณภาพดี (ความชื้น 10 – 15%) ลักษณะ ยางแผ่นมีความสะอาด และมีฟองอากาศและสิ่งสกปรกอยู่ในแผ่นยางได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยาง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 38-46 CM ยาว 80-90 CM หนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร มีความยืดหยุ่นดี สีคล้ำหรือด่างดำ ไม่โปร่งแสง มีราดำ หรือราสนิมเปื้อนในยางเล็กน้อย และมีลายดอกเห็นเด่นชัด มีความชื้นไม่เกิน 15%




          2) มาตรฐานชั้นยางแผ่นดิบ




          1. ยางแผ่นดิบคุณภาพชั้น 1 ต้องมีเนื้อยางใสตลอดแผ่น มีความชื้นเพียง 2-3 เปอร์เซ็นต์ มีสีสม่ำเสมอและปราศจากฟองอากาศ สะอาดตลอดทั้งแผ่น ความหนาของแผ่นยาง 2.8-3.2 มิลลิเมตร ขนาดของแผ่นยาง 38-46 x 80 x 90 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยต่อแผ่น 800-1,200 กรัม มีความยืดหยุ่นดี มีลายดอกของลูกกลิ้งบดเด่นชัดตลอดทั้งแผ่น และสามารถรมควันให้แห้งได้ภายใน 5 วัน




          2. ยางแผ่นดิบคุณภาพชั้น 2 มีเนื้อใสตลอดทั้งแผ่น มีความชื้นสูงขึ้นเล็กน้อยที่ 3-4 เปอร์เซ็นต์ มีรอยด่างดำได้บ้างเล็กน้อย และให้มีฟองอากาศได้เล็กน้อยเช่นเดียวกัน ความหนาของแผ่น 3-4 มิลลิเมตร ขนาดของแผ่นต้องเท่ากับยางแผ่นดิบคุณภาพ 1 น้ำหนักต่อแผ่น 1,000-1,200 กรัม มีความยืดหยุ่นดี สามารถรมควันให้แห้งภายใน 6-7 วัน




          3. ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 เนื้อยางสีไม่โปร่งใส มีความชื้น 6-7 เปอร์เซ็นต์ มีสิ่งเจือปนและฟองอากาศได้บ้างเล็กน้อย ความหนาของแผ่นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร น้ำหนักยางแผ่นไม่เกินแผ่นละ 1,500 กรัม ขนาดของแผ่นต้องมีมาตรฐานเดียวกัน และรมควันให้แห้งได้ไม่เกิน 10 วัน




          4. ส่วนยางแผ่นดิบคุณภาพต่ำกว่าคุณภาพ 3 หรือยางคละ ลักษณะแผ่นยางจะแห้งไม่สม่ำเสมอทั้งแผ่น ความชื้นไม่เกิน 8 เปอร์เซ็นต์ มีสิ่งเจือปนได้มากกว่ายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ขนาดของแผ่นไม่สวยงาม มีความกว้างและยาวไม่แน่นอน สีของแผ่นค่อนข้างทึบไม่โปร่งใส มีฟองอากาศเจือปนมาก




          3) มาตรฐานชั้นยางแผ่นรมควันสำหรับมาตรฐานยางแผ่นรมควันชั้น 1 – 3 (ไม่อัดก้อน) มีคุณสมบัติดังนี้




          ชั้นที่ 1 : แห้ง เนื้อแข็ง ไม่มีจุดพอง ไม่มีกรวดทรายปน ไม่มีสิ่งปนเปื้อน ไม่มีตำหนิ ไม่มีราสนิม




          ชั้นที่ 2 : แห้ง เนื้อแข็ง ไม่มีจุดพอง ไม่มีกรวดทรายปน ไม่มีสิ่งปนเปื้อน ไม่มีตำหนิ




          ชั้นที่ 3 : แห้ง เนื้อแข็ง ไม่มีจุดพอง ไม่มีกรวดทรายปน ไม่มีสิ่งปนเปื้อน




          การขึ้นราของยางแผ่นรมควัน




          ชั้น 1 : ต้องไม่มีรา หรือมีเล็กน้อย เฉพาะผิวแผ่นยางที่ใช้ห่อชั้น 2 : มีราสนิมได้บ้าง มีราที่แผ่นยางที่ใช้ห่อ แต่ต้องไม่เกิน 5% ของตัวอย่างที่ใช้ตรวจชั้น 3 : มีราสนิมได้บ้าง มีราที่แผ่นยางที่ใช้ห่อ แต่ต้องไม่เกิน 10% ของตัวอย่างที่ใช้ตรวจ




          ตำหนิยางแผ่นรมควันที่ยอมรับได้




          ชั้นที่ 1 : ฟองอากาศเท่าหัวเข็มหมุดกระจายทั่วแผ่น มีจุดดำๆของเปลือกไม้เล็กน้อย




          ชั้นที่ 2 : ฟองอากาศเท่าหัวเข็มหมุดกระจายทั่วแผ่น มีจุดดำๆของเปลือกไม้เล็กน้อย




          ชั้นที่ 3 : ฟองอากาศเท่าหัวเข็มหมุดกระจายทั่วแผ่น มีจุดดำๆของเปลือกไม้เล็กน้อย มีรอยด่างเล็กน้อย




          ตำหนิยางแผ่นรมควันที่ยอมรับไม่ได้




          ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3: ยางเหนียวเยิ้ม ยางแก่ไฟ ยางไหม้ ยางอ่อนรมควัน ยางแก่รมควัน ยางทึบ ยางเนื้ออ่อน




          4) การตรวจสอบคุณภาพยางก้อนถ้วยก่อนซื้อ สำหรับการตรวจสอบคุณภาพยางก้อนถ้วย ต้องใช้การพิจารณาคุณภาพเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ของตลาดกลาง เพราะผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดกลางยางพาราถือว่าได้รับการตรวจสอบคุณภาพยางในเบื้องต้น จนสามารถให้ความเชื่อมมั่นต่อผู้ซื้อที่ไม่ต้องเห็นคุณภาพของยางก่อนการประมูล โดยผู้ขายและผู้ซื้อเห็นด้วยว่าควรแบ่งคุณภาพของยางก้อนถ้วยเป็นยางคละตามแนวทางการปฏิบัติของสถาบันเกษตรกรในจังหวัดเพราะราคายางก้อนถ้วยควรมีเพียงราคาเดียวและมีมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวกัน การแบ่งชั้นคุณภาพยางก้อนถ้วยแบ่งเป็น 2 คุณภาพ และให้ผู้ประมูลเสนอราคาตามคุณภาพเพื่อให้เห็นความแตกต่างด้านราคา ซึ่งจะใช้การนับจำนวนวันในระบบกรีด 2 วันเว้น 1 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของเกษตรกรในท้องถิ่น  ตามตาราง




          ตารางแสดงการนับจำนวนมีดกรีด (ระบบกรีด 2 วันเว้น 1 วัน)











































 วันที่



1



2



3



4



5



6



7



8



9



10



11



12



13



14



15



มีด



1



2



หยุด



3



4



หยุด



5



6



หยุด



7



8



หยุด



9



10



ขาย





          ยางก้อนถ้วยคุณภาพหนึ่ง คือ ยางจำนวน 8 มีดขึ้นไป หรือยางก้อนถ้วยที่เก็บ 6 มีด แต่ใช้ระยะเวลาจัดเก็บ 12 วันขึ้นไป เป็นยางก้อนที่เกิดจากน้ำยางสดจับตัวในถ้วยรับน้ำยางและเป็นยาง ก้อนถ้วยที่สะอาดทั้งภายในและภายนอกก้อน ต้องปราศจากสิ่งเจือปนหรือสิ่งปลอมปน เช่น ขี้เปลือกเศษยาง เปลือกไม้ หิน ดิน ทราย หรือวัสดุปลอดปนใด ๆ รวมถึงไม่กรีดทับหน้ายางก่อนนำมาขาย




          ยางก้อนถ้วยคุณภาพสอง คือ ยางจำนวน 6 มีดขึ้นไป แต่ไม่ถึง 8 มีด และใช้ระยะเวลาจัดเก็บประมาณ 9 - 10 วัน จับดูนุ่ม มีเศษสิ่งสกปรกเจือปนอยู่เล็กน้อย และไม่กรีดทับหน้ายางก่อนนำมาขาย




          5) การตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ




          สำหรับการตรวจคุณภาพไม้ยางพารา ต้องทราบคุณลักษณะของไม้ยางพาราที่มีคุณภาพก่อน




1. ลักษณะคุณภาพไม้ยางพารา โดยทั่วไป คุณภาพไม้ยางพารา มีลักษณะดังนี้




          1.ไม้ยางพาราที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตต้องเป็นไม้ยางพาราเกรด C อัดน้ำยาอบแห้งกันแมลงกินเนื้อไม้ มีความชื้นอยู่ระหว่าง 10-20%




          2.ขนาดไม้ต้องได้ตามมาตรฐานที่กำหนด




          3.ไม้จะต้องไม่มีตาใหญ่หรือแผลในเนื้อไม้




          4.ไม้มีลักษณะตรง ไม่โก่งงอ ไม่ผุและเป็นรูไม้สีดำ




          5.ไม้ต้องไม่มีรอยแตกหักจนอาจส่งผลถึงความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์




          6.ไม้ต้องไม่มีแมลง ปลวก




          7.ลวดยิงต้องมีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน ไม่ขาดหรือแตกหักง่าย และไม่ขึ้นสนิม




          8.ตะปูต้องมีความเหนียว แข็งแรง ทนทาน ไม่ขาดหรือแตกหักง่าย และไม่ขึ้นสนิม




2. ขั้นตอนการตรวจคุณภาพไม้ยางพาราก่อนซื้อ




          1. ตรวจนับจำนวนต้นยางทั้งหมดในสวนของเกษตรกรเอง และนำมาคำนวณหาจำนวนต้นต่อไร่




          2. สุ่มวัดการเจริญเติบโตของต้นยาง จำนวน 1 ไร่ โดยวัดขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม.




          3. นำข้อมูลการเจริญเติบโตที่วัดได้ มาหา




          4. นำตัวเลขการเจริญเติบโตที่ได้จากข้อ 3 มาใช้คำนวณหาน้ำหนักสดของต้นยางจากสมการ y  = 11.34X - 344.6 โดยที่ X คือ ขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม.




          5. นำตัวเลขน้ำหนักต้นยางที่ได้ มาคูณกับจำนวนต้นต่อไร่ก็จะได้น้ำหนักรวมต่อไร่




          6. นำตัวเลขน้ำหนักรวมต่อไร่มาคูณกับพื้นที่ทั้งหมดก็จะได้น้ำหนักของไม้ยางทั้งสวน




          6) ตรวจคุณภาพยางเครพก่อนซื้อ




          การตรวจสอบคุณภาพยางเครพ มีวิธีการตรวจโดยดูจากลักษณะของชั้นคุณภาพยางเครพ ดังนี้




          1. ยางเครพชั้น 1 มีลักษณะที่ควรตรวจได้แก่ ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่น ต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตรและมีขนาดสม่ำเสมอทั้งแผ่น ผิวของแผ่นยางดูเรียบ สวยงามไม่ขรุขระจนเกินไปและไม่เหนียวเยิ้ม ไม่มีจุดขาวบนแผ่นยาง และเนื้อยาง แผ่นยางมีสีน้ำตาลตลอดทั้งแผ่น มีความสะอาดตลอดแผ่น ไม่มีวัตถุปลอมปนและสิ่งปนเปื้อนใดๆ แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตร มีความชื้นในแผ่นยางไม่เกิน 1.5% แผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี  ไม่เปื่อยขาดง่าย




          2. ยางเครพชั้น 2 มีลักษณะที่ควรตรวจ ได้แก่ ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่น ต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตร ลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตรมีขนาดสม่ำเสมอทั้งแผ่น ผิวของแผ่นยางดูเรียบ สวยงามไม่ขรุขระจนเกินไปและไม่เหนียวเยิ้ม อนุญาตให้มีจุดขาวบนแผ่นยางได้ไม่เกินขนาดเมล็ดถั่วเขียว แผ่นยางมีสีน้ำตาล อนุญาตให้มี ริ้วรอยได้บ้างเล็กน้อย มีความสะอาดตลอดแผ่นยาง อนุญาตให้มีเปลือกไม้ละเอียดปนเปื้อนได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตรแผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี  ไม่เปื่อยขาดง่าย




          3. ยางเครพชั้น 3 ลักษณะที่ควรตรวจ ได้แก่ ความหนาของแผ่นยางตลอดทั้งแผ่นต้องไม่เกิน 5 มิลลิเมตรลักษณะเม็ดยางในแผ่นมีขนาดไม่เกิน 3 มิลลิเมตรหรือใหญ่กว่าปะปนได้บ้างเล็กน้อย ผิวของแผ่นยางดูเรียบพอประมาณและยางมีความเหนียวแน่นแข็งแรงดี ไม่มีรอยเหนียวเยิ้ม อนุญาตให้มีจุดขาวบนแผ่นยางได้ไม่เกินขนาดเมล็ดถั่วเขียว แผ่นยางมีสีน้ำตาลมีจุดดำคล้ำและริ้วรอยได้บ้างกระจายอยู่ทั่วไป แผ่นยางมีความสะอาดอนุญาตให้มีเปลือกไม้ละเอียดปนเปื้อนได้บ้างเล็กน้อย แผ่นยางมีความยาว 5-10 เมตรแผ่นยางมีความเหนียวแน่นดี ไม่เปื่อยขาดง่า



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ