หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รับซื้อผลผลิตยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-135ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รับซื้อผลผลิตยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการแปรรูปผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการรับซื้อผลผลิตยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C161 รับซื้อน้ำยางสด 1) อธิบายแหล่งรับซื้อน้ำยางสดได้ C161.01 83331
C161 รับซื้อน้ำยางสด 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C161.02 83332
C161 รับซื้อน้ำยางสด 3) อธิบายขั้นตอนการรับซื้อน้ำยางสดได้อย่างถูกต้อง C161.03 83333
C161 รับซื้อน้ำยางสด 4) ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อน้ำยางสดได้ C161.04 83334
C162 รับซื้อยางแผ่นดิบ 1) อธิบายแหล่งรับซื้อยางแผ่นดิบได้ C162.01 83335
C162 รับซื้อยางแผ่นดิบ 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อยางแผ่นดิบได้อย่างถูกต้อง C162.02 83336
C162 รับซื้อยางแผ่นดิบ 3) อธิบายขั้นตอนการรับซื้อยางแผ่นดิบได้อย่างถูกต้อง C162.03 83337
C162 รับซื้อยางแผ่นดิบ 4) ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อยางแผ่นดิบได้ C162.04 83338
C163 รับซื้อยางก้อนถ้วย 1) อธิบายแหล่งรับซื้อยางก้อนถ้วยได้ C163.01 83339
C163 รับซื้อยางก้อนถ้วย 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง C163.02 83340
C163 รับซื้อยางก้อนถ้วย 3) อธิบายขั้นตอนการรับซื้อยางก้อนถ้วยได้อย่างถูกต้อง C163.03 83341
C163 รับซื้อยางก้อนถ้วย 4) ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อยางก้อนถ้วยได้ C163.04 83342
C164 รับซื้อไม้ยางพารา 1) อธิบายแหล่งรับซื้อไม้ยางพาราได้ C164.01 83343
C164 รับซื้อไม้ยางพารา 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อไม้ยางพาราได้อย่างถูกต้อง C164.02 83344
C164 รับซื้อไม้ยางพารา 3) อธิบายขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพาราได้อย่างถูกต้อง C164.03 83345
C164 รับซื้อไม้ยางพารา 4) ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อไม้ยางพาราได้ C164.04 83346
C165 รับซื้อยางเครพ 1) อธิบายแหล่งรับซื้อยางเครพได้ C165.01 83347
C165 รับซื้อยางเครพ 2) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการรับซื้อยางเครพได้อย่างถูกต้อง C165.02 83348
C165 รับซื้อยางเครพ 3) อธิบายขั้นตอนการรับซื้อยางเครพได้อย่างถูกต้อง C165.03 83349
C165 รับซื้อยางเครพ 4) ดำเนินการตัดสินใจเลือกแหล่งรับซื้อยางเครพได้ C165.04 83350

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการรับซื้อผลผลิตยาง




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด รักษาและตัดสินใจเลือกในการรับซื้อผลผลิตยางได้แก่ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ไม้ยางพาราและยางเครพตามมาตรฐานกรมวิชาการเกษตรได้แก่ ผลิตและรักษาคุณภาพยางเครพ




3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานให้ถูกต้อง




4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในขั้นตอนการรับซื้อผลผลิตยางพาราได้ตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร




2) มีความรู้ในการเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือในการรับซื้อผลผลิตยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




3) ผลการสอบข้อเขียน




4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




1) การสอบข้อเขียน




2) การสอบสัมภาษณ์




3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ




          1. การรับซื้อยางพารา




          ยางพาราที่รับซื้อมีหลายรูปแบบ  ทั้งน้ำยางพาราดิบ ยางก้อนถ้วย ยางแผ่น และยางแปรรูปประเภทต่างๆ ซึ่งคุณต้องมีที่ส่งขายอย่างแน่นอนและจ่ายเงินคล่อง เวลารับซื้อยางพาราต้องรู้จักยางพาราเป็นอย่างดีเพราะมักจะมีการปลอมปน   ผู้รับซื้อยางได้รับความเดือดร้อนจากการที่ผู้ที่นำน้ำยางมาขายโดยเฉพาะขี้ ยางมีการใส่ดินหิน ทราย และแป้งบางชนิดในก้อนยางเพื่อเพิ่มน้ำหนัก โดยล่าสุดตนเองก็โดนด้วย เมื่อนำไปขายบริษัทกลับถูกบริษัทส่งคืนมาจำนวน 1.5 ตัน โดยบอกว่ามีทั้งดินและแป้งปลอมปนมาจำนวนมากโดย  เพราะแรงงานที่กรีดยางเป็นคนทำ หรือเจ้าของสวนตั้งใจปลอมปนเองก็มี  ดังนั้น จึงอยากฝากเตือนไปยังผู้ที่รับซื้อยางทุกราย ไม่ว่าจะเป็นยางแผ่น ขี้ยางหรือน้ำยางสด ให้ตรวจสอบก่อนทำการรับซื้อ โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้ารายใหม่ ๆ ที่เพิ่งจะเริ่มเข้ามารับซื้อ ให้สังเกตลูกค้าว่าเป็นใครมาจากไหน พร้อมทั้งตรวจดูเนื้อยางด้วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ หากไม่แน่ใจให้ใช้มีดผ่าดูก่อนว่ามีอะไรผสมหรือไม่ เพราะนอกจากคนในพื้นที่นำยางมาขายแล้ว ยังมีคนนอกพื้นที่มาขายด้วย โดยเฉพาะผู้รับซื้อหน้าใหม่อาจจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนเหล่านี้ได้ เนื่องจากผู้ค้ารายเก่า ๆ ส่วนมากจะโดนกันไปถ้วนหน้าจึงมีความระมัดระวัง กลุ่มคนดังกล่าวจึงมุ่งไปที่ผู้ค้ารายใหม่เป็นเป้าหมายหลักในการหลอกลวงแทนถ้าคุณจะเป็นผู้รับซื้อยางพาราจะต้อง




          1 รู้จักยางพาราดีมากๆ ว่า น้ำยางคุณภาพดีเป็นอย่างไร  ยางถ้วยที่ปลอมปนหรือใส่วัสดุบางอย่างมามีลักษณะและทดสอบได้อย่างไร  ยางแผ่นคุณภาพดีมีลักษณะอย่างไร




          2 มีโรงเรือน ที่เก็บเพียงพอและปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อัคคีภัย อาจจะต้องมีการทำประกันถ้ามีการเก็บตุนจำนวนมากระยะยาว




          3 มีทุนในการดำเนินการมากพอสามารถที่จะรอราคาได้เพื่อไปนำไปขายต่อ




          4 ถ้ามีรถไปรับซื้อถึงสวนได้ก็ยิ่งดีมากเพราะจะได้ขาประจำและไม่ถูกหลอก




          5 คุณจะขายต่อไห้ใคร ราคาใด ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆหรือทำได้เลย เพราะมีคนตามราคาอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้ารู้ข้อมูลภายในของการขึ้นลงราคายางคุณจะได้เปรียบกว่าคนอื่นที่จะตัดสินใจกักตุนหรือขายออกไป




          6 ข้อสุดท้ายที่ต้องนำมาพิจารณามากคือ อิทธิพลในท้องถิ่น เนื่องจากมีผู้ประกอบการแบบคุณหลายคนอาจจะมีความขัดแย้งได้ง่าย ถ้าเราไปอยู่แบบโดดเดี่ยวต้องระวังให้มากเพราะแค่เขากลั่นแกล้งเผาโกดังเราก็เจ๊ง




          2. การรับซื้อน้ำยางสด




          การซื้อน้ำยางแบบปรอทนั้นเป็นวิธีที่ง่ายไม่ซับซับซ้อนเหมือนกับแบบอบแห้งเพราะมีขั้นตอนการทำไม่เยอะ ซึ่งขั้นตอนมีดังนี้ อย่างแรกคือ ตักน้ำยางสดมา 1 จอกก่อนแล้วทำการใส่น้ำลงไปในกรวยที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ใส่ปรอทลงไป แล้วก็ดูเปอร์เซ็นของมันว่าอยู่ในระดับใด สังเกตง่ายๆคือถ้าหากว่าน้ำยางนั้นเหลวเปอร์เซ็นของมันก็จะต่ำแต่ถ้าหากน้ำยางนั้นข้นทำให้เปอร์เซ็นนั้นสูงขึ้นตามลำดับและเกณฑ์ในการดูเปอร์เซ็นนั้นก็ดูว่าปรอทนั้นขึ้นที่ตัวเลขใดก็นำมาคูณกับน้ำหนักได้เลยและเกณฑ์ของปรอทมีดังนี้  ถ้าหากตัวเลขของปรอทอยู่ที่ 50 = 20%   100 = 30%   150 = 40%   200 = 50%   250 = 60%  และภายใน 100 – 250 ก็จะมีขีดเป็นช่องๆลงไปอีก โดยให้ในแต่ละขีดนั้นมีค่าเป็น 2




          3. การรับซื้อยางแผ่นดิบ




          ขั้นตอนการบริการซื้อขายยางแผ่นดิบที่ตลาดกลาง




          1. การลงทะเบียน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 14.00 น. ผู้ขายยางยื่นบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรสมาชิกตลาดกลางและหมายเลขรหัสที่ตลาดกลางออกให้ต่อเจ้าหน้าที่ลง ทะเบียนที่จุดลงทะเบียนพร้อมแจ้งน้ำหนักยาง และรับบัตรคิวการ ลงทะเบียนผู้ขายเป็นการแสดงความจำนงในการขายยางของผู้ขายนั้นเอง




          2. การคัดคุณภาพยาง เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุณภาพจะคัดคุณภาพยางในขณะที่ผู้ขายนำยางลงวาง บนแผงเหล็กรองยาง ที่ตลาดกลางจัดเตรียมไว้ให้ ยางแผ่นที่ไม่ได้คุณภาพหรือคุณภาพ ต่ำกว่ามาตรฐานของตลาดกลาง จะถูกคัดออกไปไม่อนุญาต ให้ลงขายในตลาดกลาง การคัดคุณภาพ ในหนึ่งมัดยางหากตรวจพบยางแผ่นคุณภาพต่ำ ตั้งแต่ 1 แผ่นขึ้นไปจะคัดออกทั้งมัดยาง




          3. การชั่งน้ำหนักยาง ยางที่ผ่ายการคัดคุณภาพจะได้รับการชั่งน้ำหนักโดยเจ้าหน้าที่ ชั่งยางของตลาดกลางเท่านั้น เป็นผู้ชั่งพร้อมบันทึกน้ำหนัก และคุณภาพของยางเป็น ราย ๆ ไป




          4. การประมูลยาง เจ้าหน้าที่ฝ่ายประมูลจะรวบรวมปริมาณยางในแต่ละครั้งการประมูลแจ้งไปยังผู้ ประกอบการเพื่อเสนอราคาประมูล โดยจะเริ่มตั้งแต่เวลา 09.25 –10.30 น. ผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุดเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับยางไปในแต่ละครั้ง ที่ประมูล




          5. การจ่ายเงินค่ายาง เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินจะจ่ายค่ายางให้ผู้ขายตามจำนวนน้ำหนัก คุณภาพ และราคาที่ประมูลได้ โดยจะจ่ายเป็นเช็คเงินสด หรือโอนผ่านบัญชีธนาคาร หรือเงินสด




          6. การส่งมอบยาง ผู้ประกอบการที่ชนะการประมูลหรือผู้ประมูลยางได้ต้องรีบจัดส่ง รถบรรทุกยางมารับยางที่ตลาดกลางโดยรับน้ำหนัก ณ ตลาดกลางให้เสร็จสิ้นภายใน วันที่ประมูลได้หรือในวันถัดไป 1 วัน




          ระเบียบการซื้อขายยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน)




          1. ผู้ขายยางเป็นชาวสวนยาง/ผู้รวบรวมยางในท้องถิ่น และสถาบันเกษตรกร




          2. ผู้ซื้อยางเป็นผู้ส่งออก โรงงานแปรรูปยาง โรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและพ่อค้ายาง




          3. ผู้ซื้อและผู้ขายยางต้องลงทะเบียนก่อนการใช้บริการของตลาดกลาง




          4. ชนิดยางที่ซื้อขายเป็นยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน) กรณียางแผ่นดิบผู้ขายต้องจัดยางแผ่นดิบเป็นมัด ๆ ละประมาณ 15-20 แผ่น




          5. ยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน) ที่นำมาขายที่ตลาดกลางจะต้องมีคุณภาพ ตรงตามมาตรฐานที่สถาบันวิจัยยางกำหนด และเจ้าหน้าที่ของตลาดกลางเท่านั้นที่เป็นผู้คัดคุณภาพ




          6. การชั่งน้ำหนักยาง




          6.1 ตลาดกลางเป็นผู้ให้บริการเครื่องชั่งมาตรฐานและเครื่องชั่งน้ำหนักรถยนต์ บรรทุกยางทั้งคันระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องชั่งมาตรฐานที่ผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงพาณิชย์.2 เจ้าหน้าที่ของตลาดกลางเท่านั้นที่เป็นผู้ชั่งและควบคุมการชั่ง




          6.3 เจ้าหน้าที่ของตลาดกลางจะคัดคุณภาพยางพร้อมกับการชั่งน้ำหนักยางไปด้วย กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบสิ่งแปลกปลอมในแผ่นยางหรือมัดยางจะดำเนินการปรับลด คุณภาพยางหรือถ้าเป็นยางแผ่นรมควัน (ไม่อัดก้อน)




          7. การซื้อขายใช้วิธีการประมูลยาง




          7.1 ยางที่มีคุณภาพเดียวกันจะนำเข้าประมูลพร้อมกัน




          7.2 ราคายางที่ประมูลเป็นราคา ณ ตลาดกลาง ไม่รวมค่าขนส่ง




          7.3 การประมูลยางในแต่ละครั้งผู้ประมูลที่ให้ราคาสูงสุด จะเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนั้น กรณีมีผู้ประมูลให้ราคาสูงสุดเท่ากัน ให้สิทธิประมูลก่อนเป็นผู้ชนะการประมูล




          7.4 การประมูลยาง ผู้ซื้อสามารถยื่นประมูลด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์หรือทางโทรสารก็ได้




          8. ตลาดกลางจะทดรองจ่ายเงินค่ายางเป็นเงินสด/เช็คเงินสด/โอนเงินเข้าบัญชี ให้กับผู้ขาย ยางไปก่อน




          9. ตลาดกลางจะเป็นผู้จัดการส่งมอบยาง ผู้ประมูลยางสามารถรับยางหลังจากได้จ่ายเงินให้ผู้ขายเรียบร้อยแล้ว ส่วนการขนส่งยางผู้ประมูลได้เป็นผู้ดำเนินการเองทั้งสิ้น




          10. กรณีไม่ตกลงซื้อขาย ผู้ขายยางสามารถดำเนินการดังนี้




          10.1 รอการประมูลครั้งต่อไป




          10.2 ฝากยางที่ตลาดกลาง




          10.3 นำยางออกนอกตลาดกลาง




          11. บริการสัปดาห์ละ 4 วัน (วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี 08.30-14.00 )




          12. ค่าบริการไม่มี




          3) ขั้นตอนการบริการซื้อขายยางแผ่นดิบที่ตลาดยางสกย.




          ตลาดยาง สกย. มีลักษณะเป็นระบบตลาดท้องถิ่น เป็นตลาดยางที่ซื้อขายโดยมีการส่ง มอบยาง (Physical Market) ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการจาก สกย. เพื่อให้ เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรในความดูแลของ สกย. รวบรวมผลผลิตยางและนำมาขาย โดยวิธีการประมูลทั่วไป หรือประมูลระบบตลาดยางอิเล็กทรอนิกส์ หรือประมูลแบบ Paper Rubber Market หรือวิธีตกลงราคา หรือตลาดข้อตกลง ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างทางเลือก ให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถขายยางได้ในราคาที่เป็นธรรม ซึ่งมีทั้งตลาดในที่ตั้ง ของสำนักงานฯ และ ณ จุดรวบรวมยางในที่ตั้งของกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ปัจจุบัน สกย. ได้ จัดตั้งและดำเนินการตลาดยาง สกย. จำนวนทั้งสิ้น 108 ตลาด ตลาดยาง สกย. ดำเนินการจัดตลาดโดยมีรูปแบบการซื้อขายยาง ดังนี้




          1. ประมูลทั่วไป โดยนำยางเข้าสู่ที่ตั้งของตลาด หรือจุดรวบรวมยาง ผ่านการคัดชั้น และ ชั่งน้ำหนัก และรับราคาจากการประมูลแข่งขันกันของผู้ซื้อ 2. Paper Rubber Market โดยทำการคัดชั้นและชั่งน้ำหนักยาง ณ จุดรวบรวมยาง หรือ ที่ตั้งสถาบันเกษตรกร น าตัวเลขปริมาณ คุณภาพและชนิดผลผลิต ท าการประมูลผ่านระบบสื่อสารของตลาด 3. ตกลงราคา โดยรวบรวมยางพร้อมตรวจสอบคุณภาพ และน้ำหนัก ณ ที่ตั้งตลาด หรือ จุดรวบรวมยาง แล้วส่งผลผลิตยางให้ผู้ซื้อที่ตกลงราคาซื้อไว้ก่อน โดยกำหนดราคาร่วมกัน หรืออ้างอิง ราคาจากตลาดกลางยางพารา 4. ข้อตกลง โดยรวบรวมยางพร้อมตรวจสอบคุณภาพ และน้ำหนัก ณ ที่ตั้งตลาด หรือ จุดรวบรวม ตามชนิด ปริมาณ และกำหนดส่งมอบในข้อตกลงที่เจรจาไว้ก่อนแล้ว ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ผ่านตลาดยาง สกย. 5. ประมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือตลาดยางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการประมูลผ่าน ระบบอินเตอร์เน็ต โดยผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคาขั้นต่ำ และผู้ประมูลต้องประมูลราคาเพิ่มจากราคาขั้นต่ำ ครั้งละไม่น้อยกว่า 5 สตางค์ ภายในเวลาที่กำหนด




          4. การรับซื้อยางก้อนถ้วย




          การซื้อขายยางก้อนถ้วยพ่อค้าจะประเมินราคาจากเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่อยู่ในก้อนยาง โดยยางกรีด 2 มีด แล้วนำไปผึ่งไว้นาน 3 วัน  ยางก้อนถ้วยจะมีความชื้นเฉลี่ย 45%  มีปริมาณเนื้อยางแห้ง 55%  ซึ่งจะคิดราคาอ้างอิงจากราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เป็นหลัก  ถ้ายางก้อนถ้วยสกปรก  หรือมีขี้เปลือกและสิ่งปะปนจะถูกหักราคากิโลกรัมละ 5 - 10 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของสิ่งปะปน  ดังนั้น เกษตรกรควรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมและได้รับผลตอบแทนสูง  ทั้งยังช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยางแท่งของไทยเกิดความมั่นคงมากยิ่งขึ้น




          5. การรับซื้อไม้ยางพารา




          5.1 รูปแบบการรับซื้อไม้ยางพารา ช่องทางการรับซื้อไม้ยางและขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพารา




          รูปแบบการซื้อไม้ยางโดยทั่วไป สามารถบ่างได้ 2 รูปแบบคือ 1โรงงานเลื่อยแปรรูปรับซื้อไม้ยางจากพ่อค้าคนกลางหรือตนตัดไม้ 2 คนตัดไม้ยางมารับซื้อไม้ยางพาราจากเจ้าของสวน  สำหรับช่องทางการรับซื้อไม้ยางและขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพารายังสามารถแบ่งได้ 3 ช่องทางได้แก่




          1) นายหน้าเป็นผู้รับซื้อ วิธีการนี้เริ่มจากเกษตรกรที่ต้องการขายต้นยางจะติดต่อนายหน้าที่เป็น คนกลางเพื่อให้ติดต่อพ่อค้าคนกลางมารับซื้อไม้ของเกษตรกร โดยนายหน้าจะทำการติดต่อพ่อค้าที่จะรับซื้อต้น ยางมาตีราคาไม้มากกว่า 2 ราย จากนั้นพ่อค้าแต่ละรายก็จะเสนอราคาให้ชาวสวนต่อรองราคา เมื่อตกลงราคา เรียบร้อยจะมีการทำสัญญาซื้อขายที่มีระยะเวลา 3-6 เดือน ในปัจจุบันการขายผ่าน นายหน้ามีน้อยลง เนื่องจากเกษตรกรต้องการขายโดยตรงกับพ่อค้าหรือตัวแทนจากโรงงาน และที่สำคัญ ไม่ต้องการโดนหักค่านายหน้า




          2) พ่อค้าหรือตัวแทนของโรงงานที่รับซื้อไม้ยาง โดยพ่อค้าหรือตัวแทนของโรงงานที่รับซื้อไม้ยาง ทราบชื่อของ เกษตรกรที่ต้องการขายไม้ยางพาราจากบัญชีรายชื่อผู้แจ้งขอสงเคราะห์ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวน ยางท้องที่ พ่อค้าหรือตัวแทนของโรงงานจะทำการติดต่อของซื้อต้นยางโดยตรงจากเกษตรกร จากนั้นทำการยื่น ข้อเสนอและต่อรองราคากัน เมื่อตกลงราคากันได้การซื้อขายก็ดำเนินการโดยมีการทำสัญญา วางมัดจำ และ จ่ายเงินก่อนท าการโค่นไม้ในสวนหรือในกรณีที่เกษตรกรเป็นผู้ติดต่อให้พ่อค้ามารับซื้อ การติดต่ออาจจะติดต่อ หลายรายหรือรายเดียวก็ได้เพื่อตีราคาไม้ การซื้อขายจะเป็นไปในรูปแบบเดียวกันเมื่อตกลงกันได้




          3) โรงงานที่รับซื้อไม้จากเกษตรกรโดยตรง กรณีที่โรงงานไม้แปรรูปมีความต้องการไม้ในปริมาณมาก ทาง โรงงานจะทำการส่งพนักงานที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนไปทำการติดต่อซื้อไม้จากเกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เงินทุนใน การซื้อจะเป็นของโรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ตัวแทนของโรงงานไม่จำเป็นต้องเป็นพนักงานของบริษัท อาจเป็นพ่อค้าที่ ท าหน้าที่เป็นตัวแทนในการจัดหาวัตถุดิบให้กับโรงงานไม้แปรรูป โดยไม้ทั้งหมดที่ซื้อมาได้พ่อค้าที่เป็นตัวแทน จะท าการขายให้กับโรงงานทั้งหมด




          5.2 ราคาไม้ยางพารากับรูปแบบการรับซื้อไม้ยาง




          โดยทั่วไปรูปแบบการซื้อไม้ยางเป็นตัวกำหนดราคาไม้ยางพารา เช่น




          1) ราคาไม้ยางที่โรงงานเลื่อยแปรรูปซื้อจากรถที่เอาไปส่ง  โรงงานจะซื้อไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้ว ขึ้นไป (บางโรงงานลดเหลือเล็กสุด 4 นิ้ว แต่ต้องคละกับไม้โตในสัดส่วนพอประมาณ) ความยาวท่อนละ 1.10 เมตร เป็นราคาต่อกิโลกรัม ราคาจะอยู่ระหว่าง กก.ละ 1.50 - 4.50 บาท ราคาจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความต้องการของโรงงานกับปริมาณของที่มี (Demand - Supply) หน้าแล้งราคาถูก หน้าฝนราคาแพง เพราะสวนที่อยู่ห่างจากถนนใหญ่เข้าไปตัดไม่ได้  แต่หน้าแล้งเข้าได้หมดทุกสวนราคาก็จะถูก  ดังนั้นใครมีสวนยางที่จะโค่น ติดถนนใหญ่เข้าออกสะดวก แนะนำให้ขายในช่วงหน้าฝนซึ่งโรงงานจะให้ราคาดี เมื่อโรงงานให้ราคาดี คนตัดไม้ที่ซื้อจากสวนก็จะให้ราคาดีไปด้วย




          2) ราคาไม้ยางที่คนตัดไม้ยางซื้อจากสวน  คนที่ซื้อจะเอาไปขายที่โรงงานเลื่อยแปรรูปตามข้อ 1 อีกที ราคาที่ซื้อ จะใช้วิธีประเมินจากปริมาณและคุณภาพไม้ยาง  ดังได้กล่าวไว้ในข้อแรก ไม้ยางขนาดโตๆ เป็นไม้ที่ต้องการของโรงงาน แต่ไม้ขนาดเล็กก็สามารถถัวเฉลี่ยได้  ดังนั้นถ้าไม้โตมีมาก ราคาก็จะดี  ถ้าไม้เล็กมีมากกว่า ราคาก็จะถูกกดลงมา  ต้องไม่ลืมว่าคนตัดไม้ต้องจ่ายค่าแรงงาน, ค่าน้ำมันรถ, ค่าน้ำมันเลื่อยโซ่ยนต์,




ค่านายหน้า ค่าผ่านทาง เป็นต้น ดังนั้นคนซื้อไม้จากเจ้าของสวนก็จะประเมินราคาที่เผื่อต้นทุนและกำไรไว้ด้วย ต้นยางขนาดโตๆ ไร่ละประมาณ 60-70 ต้น  ย่อมราคาดีกว่า สวนยางที่ได้ขนาดเท่ากัน แต่ปริมาณเพียงไร่ละ 40-50 ต้น  อีกประเด็นที่สำคัญมาก คือ ฝีมือในการขายและการแข่งขันในพื้นที่ ถ้าการแข่งขันสูง ราคาก็จะดี แต่ถ้าโดนผูกขาด ก็จะถูกกดราคา  ส่วนคนที่มีลูกล่อลูกชนในการเสนอราคาขายและสามารถยืนราคาได้ดี ย่อมได้ราคาดีกว่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การตกลงจะซื้อขายไม้ยางพารา ขอแนะนำให้ทำสัญญาให้ชัดเจน โดยการตกลงซื้อขายต้องมีมัดจำ และมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ถ้าเลยเวลาแล้วยังไม่ชำระเงินทั้งหมด ก็ถือว่าสละสิทธิ์ ยึดเงินมัดจำและบอกขายเจ้าอื่นได้ทันที  กรณีเช่นนี้มีตัวอย่าง  คือตกลงจะซื้อไม้ยางราคาสามแสนบาท วางมัดจำเสร็จ ไม่ยอมเข้าโค่นไม้สักที จะปลูกยางต่อก็เตรียมดินไม่ได้  เงินก็ยังไม่ได้ มีแต่เงินมัดจำ 5% ซึ่งน้อยนิด กรณีดังกล่าว ติดที่ไม่ได้ตกลงเรื่องเงื่อนเวลาครับ




          5.3 ขั้นตอนการรับซื้อไม้ยางพารา




          1. ตรวจนับจำนวนต้นยางทั้งหมดในสวนของเกษตรกรเอง และนำมาคำนวณหาจำนวนต้นต่อไร่ (เช่นเกษตรมีพื้นที่ปลูกยาง 7 ไร่ และนับจำนวนต้นยางได้ 455 ต้น ดังนั้นเกษตรกรจะมีจำนวนต้นยางเฉลี่ย 65 ต้น/ไร่)




          2. สุ่มวัดการเจริญเติบโตของต้นยาง จำนวน 1 ไร่ (ตามจำนวนที่ได้จากข้อม 1) โดยวัดขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม. (เช่น เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกยาง 7 ไร่ นับจำนวนต้นยางได้ 455 ต้น เฉลี่ย 65 ต้น/ไร่ ดังนั้นเกษตรกรต้องวัดต้นยางจำนวน 65 ต้น โดยทำการสุ่มให้ทั่วแปลง)




          3. นำข้อมูลการเจริญเติบโตที่วัดได้ มาหาค่าเฉลี่ย (เช่นเกษตรกรวัดการเจริญเติบโตของต้นยางทั้งหมด 65 ต้น ก็นำตัวเลขทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วย 65 ก็จะได้ขนาดของต้นยางเฉลี่ยต่อไร่)




          4. นำตัวเลขการเจริญเติบโตที่ได้จากข้อ 3 มาใช้คำนวณหาน้ำหนักสดของต้นยางจากสมการ y = 11.34X - 344.6 โดยที่ X คือ ขนาดรอบลำต้นที่ระดับความสูง 150 ซม. (เช่น หาค่าเฉลี่ยของต้นยางได้ 70 ซม.แล้วให้นำตัวเลขมาเข้าสูตร จะได้ y = 11.34(70) - 344.6 เมื่อคำนวณแล้วจะได้ y = 449.2 ดังนั้น ต้นยาง 1 ต้น จะมีน้ำหนัก 449.2 กก.)




          5. นำตัวเลขน้ำหนักต้นยางที่ได้ มาคูณกับจำนวนต้นต่อไร่ก็จะได้น้ำหนักรวมต่อไร่ (เช่น 449.2 X 65 = 29,198 กก. หรือคิดเป็นประมาณ 29.2 ตัน)




          6. นำตัวเลขน้ำหนักรวมต่อไร่มาคูณกับพื้นที่ทั้งหมดก็จะได้น้ำหนักของไม้ยางทั้งสวน (เช่น 29.2 X 7  = 204.4 ตัน)




          5.4 การรับซื้อยางเครพ




          ในการรับซื้อยางเครพ โดยทั่วไปผู้ซื้อยางพาราต้องซื้อใน 2 รูปแบบ คือ ซื้อยางในรูปยางเครพโดยตรง และซื้อยางก้อนถ้วยแล้วนำไปผลิตเป็นยางเครพ สำหรับการซื้อยางก้อนถ้วยไปผลิตเป็นยางเครพนั้นมีขั้นตอนโดย ผู้ซื้อจะรับซื้อยางก้อนถ้วยจากชาวบ้านเดือนละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 23 ตัน ซึ่งแต่ละครั้งจะรับซื้อห่างกัน 15 วัน ยางก้อนจะกำหนดการซื้อไว้ที่ 6-8 มีด โดยจะรับซื้อให้ราคาสูงกว่าลานประมูลยางก้อนถ้วยประมาณ 0.50 - 1 บาท


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ