หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-5-139ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการตลาดยางพาราขั้นต้น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางเพิ่มมูลค่ายางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน วิธีการเตรียมน้ำยางข้นชนิดครีม และมีทักษะได้แก่ สามารถระบุข้อดีของการเตรียมน้ำยางเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราได้ สามารถระบุอุปกรณ์และสารเคมีสำหรับเตรียมน้ำยางข้น สามารถเตรียมน้ำยางข้นชนิดครีมเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปน้ำยางข้น สามารถระบุขั้นตอนการแปรรูปน้ำยางดิบเป็นน้ำยางข้นและสามารถแปรรูปน้ำยางข้นเป็นผลิตภัณฑ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C231 ผลิตภัณฑ์ที่มาจากน้ำยาง 1) อธิบายวิธีการเตรียมน้ำยางข้นชนิดครีมได้อย่างถูกต้อง C231.01 83389
C231 ผลิตภัณฑ์ที่มาจากน้ำยาง 2) ระบุข้อดีของการเตรียมน้ำยางเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราได้ C231.02 83390
C231 ผลิตภัณฑ์ที่มาจากน้ำยาง 3) ระบุอุปกรณ์และสารเคมีสำหรับเตรียมน้ำยางข้นได้อย่างถูกต้อง C231.03 83391
C231 ผลิตภัณฑ์ที่มาจากน้ำยาง 4) ดำเนินการเตรียมน้ำยางข้นชนิดครีมเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราได้อย่างถูกต้อง C231.04 83392
C232 แปรรูปน้ำยางข้นเป็นผลิตภัณฑ์ 1) ระบุชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปน้ำยางข้นได้อย่างถูกต้อง C232.01 83393
C232 แปรรูปน้ำยางข้นเป็นผลิตภัณฑ์ 2) ระบุขั้นตอนการแปรรูปน้ำยางข้นเป็นผลิตภัณฑ์ได้ C232.02 83394
C232 แปรรูปน้ำยางข้นเป็นผลิตภัณฑ์ 3) ดำเนินการแปรรูปน้ำยางข้นเป็นผลิตภัณฑ์ได้ C232.03 83395

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผล




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น แยกความแตกต่าง เพื่อประเมินแนวทางการปฏิบัติงาน




3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานให้ถูกต้อง




4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเตรียมอุปกรณ์ในการผลิตยางแผ่นดิบ




2) มีความรู้ความสามารถในการผลิตยางแผ่นดิบอย่างถูกต้อง




3) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมคุณภาพผลผลิตยางแผ่นดิบ




4) ตรวจสอบการผลิตยางแผ่นดิบได้อย่างถูกต้อง




5) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระดับคุณภาพยางแผ่นดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




3) ผลการสอบข้อเขียน




4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




1) การสอบข้อเขียน




2) การสอบสัมภาษณ์




3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางเพิ่มมูลค่ายางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          1. การเตรียมน้ำยางข้นชนิดครีม




          น้ำยางข้น (อังกฤษ: Concentrated latex) หมายถึง น้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้น โดยน้ำยางธรรมชาติที่ผ่านกระบวนการเพิ่มความเข้มข้นแล้วจะมีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 55-65 ซึ่งสูงกว่าน้ำยางสดที่มีปริมาณเนื้อยางประมาณร้อยละ 25-30 ทำให้สามารถทำการขนส่งได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก




          น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในอุตสาหกรรมหลายประเภท โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการชุบหรือจุ่ม (dipping products) เช่น ถุงมือทางการแพทย์ ถุงมือใช้งานในบ้าน ถุงยางอนามัย และลูกโป่ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำยางข้นปริมาณสูงในการทำผลิตภัณฑ์สายยางยืด และยางฟองน้ำ ปัจจุบันน้ำยางข้นส่วนใหญ่ผลิตโดยใช้กระบวนการปั่นแยก (centrifuged process) ซึ่งต้องใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ และใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบคือ น้ำยางสด ปริมาณมาก นอกเหนือจากกระบวนการผลิตน้ำยางข้นด้วยวิธีการดังกล่าวแล้วยังมีการผลิตโดยวิธีการทำให้น้ำยางเกิดการแยกชั้นด้วยการเกิดครีม (creaming process) โดยการใช้สารก่อครีม (creaming agent) ช่วยเร่งการแยกของชั้นของยางและน้ำ (หางน้ำยาง)      โดยไม่ต้องใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือที่มีความซับซ้อน ใช้เงินลงทุนไม่มากนักและมีจุดเด่นคือใช้พลังงานในการผลิตต่ำ เหมาะสำหรับการผลิตระดับกลุ่มเกษตรกรหรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก สามารถผลิตน้ำยางข้นใช้เองได้




          อุปกรณ์และสารเคมีสำหรับเตรียมน้ำยางข้น ได้แก่ น้ำยางสด สารรักษาสภาพ: แอมโมเนีย สารรักษาสภาพเสริม: ZnO และ TMTD สารลดปริมาณแมกนีเซี่ยม: ไดแอมโมเนียฟอสเฟต สารก่อครีม ทำให้เกิดการแยกชั้น: ไฮดร็อกซิลเอทิล เซลลูโลส สารรักษาความเสถียร สารก่อครีมเสริม ถังตกตะกอนแมกนีเซียม ถังกวนสารละลายของสารก่อครีม ถังผสมน้ำยางสดกับสารก่อครีม ถังแยกชั้น และถังเก็บน้ำยาง




          วิธีการผลิตน้ำยางข้น ประกอบด้วย 4 วิธี คือ




          1. การระเหยเอาน้ำออก วิธีนี้มีการจดสิทธิบัตรเมื่อปี ค.ศ.1924 โดยมีเพียงบริษัทเดียวที่ทำผลิตออกจำหน่าย คือ Revertex Company และน้ำยางที่ได้มีชื่อทางการค้าว่า Revertex วิธีนี้เป็นการแยกเอาน้ำออกแต่เพียงอย่างเดียว จึงได้น้ำยางที่มีของแข็งสูงถึงร้อยละ 70-75 และของแข็งที่ไม่ใช่ยาง (non-rubber substances) อยู่มาก น้ำยางข้นที่ผลิตโดยวิธีนี้เหมาะสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์กาว




          2. การปั่นน้ำยาง ได้มีการจดสิทธิบัตรครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1923 โดย Utermark เป็นวิธีการผลิตที่ต้องลงทุนสูง สามารถผลิตยางข้นได้อย่างรวดเร็ว และเป็นวิธีการที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมปัจจุบัน




          3. การแยกด้วยไฟฟ้า ได้มีการจดสิทธิบัตรครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1941 โดย E. A. Murphy, F. J. Paton และ John Ansell ของบริษัท Dunlop ซึ่งวิธีการนี้ ต้องใช้ไฟฟ้าและเมมเบรนในการแยกน้ำยาง แต่สามารถท้าการผลิตได้ นานต่อเนื่องหลายวัน โดยผลผลิตที่ได้อยู่ที่ 2 แกลลอนต่อชั่วโมง ทำให้ไม่นิยมใช้กับน้ำยางธรรมชาติ แต่สามารถ นำไปใช้กับน้ำยางคลอโรพรีนได้




          4. การเกิดครีม ได้มีการจดสิทธิบัตรครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1924 โดย Traube เป็นวิธีการผลิตน้ำยางข้นที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือราคาแพง เหมาะสมกับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก




          - วิธีผลิตน้ำยางข้นแบบครีมอาศัยหลักการที่อนุภาคของยางเบากว่าน้ำ ถ้าตั้งทิ้งไว้อนุภาคของยางจะลอยแยกออกมา เป็นไปตามกฎของ Stokes แต่การที่ ห้อนุภาคของยางแยกออกมาเองค่อนข้างใช้เวลานาน จึงจำเป็นต้องใช้สารก่อครีม (creaming agent) ช่วย ได้แก่ gum bragacarth, sodium aginate, tragon seed gum, ammonium aginate, locust bean gum และ pectin สารก่อครีมเหล่านี้จะไปเคลือบผิวอนุภาคยางทำให้การแยกตัวของอนุภาคยางเกิดเป็นครีมอยู่ผิวหน้าน้ำยางได้เร็วขึ้น ขั้นตอนการทำน้ำยางข้นชนิดครีม มีดังนี้




          - หาความเข้มข้นของน้ำยางสด




          - นำน้ำยางสด (แมกนีเซียมต่ำ) มาใส่สารครีมมิ่ง ปริมาณ 0.3% ในส่วนของน้ำ




          - กวนให้สารครีมมิ่งละลาย ตั้งทิ้งไว้ 24-40 ชั่วโมง




          - กรองหรือไขชั้นน้ำทิ้ง เหลือเฉพาะชั้นน้ำยาง ก็จะได้น้ำยางข้นชนิดครีม




          - ปรับปริมาณเนื้อยางและความเข้มข้นของแอมโมเนียภายหลัง




          - ความเข้มข้นของเนื้อยางจะสูงประมาณร้อยละ 55 ในช่วงระยะเวลา 18 ชั่วโมง ในการทำน้ำยางข้นโดยวิธีการทำครีม หากต้องการเนื้อยางสูงถึงร้อยละ 60 ต้องตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 4-5 วัน




          2. ข้อดีของการทำน้ำยางข้นชนิดครีม




                    1.ยางครีมที่ได้มีความเสถียรค่อนข้างสูงโดยกระบวนการผลิตน้ำยางครีมที่ได้จากผลการวิจัยเป็นกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนและใช้พลังงานในการผลิตต่ำ




                    2.ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร และผู้สนใจทั่วไปสามารถนำกระบวนการผลิตน้ำยางข้นชนิดครีมไปประยุกต์ใช้ในการผลิตน้ำยางข้นขึ้นใช้เองจากน้ำยางสด




                    3.สามารถนำน้ำยางข้นไปต่อยอดในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ยางฟองน้ำถุงมือ เป็นต้น




          3. การแปรรูปน้ำยางข้นชนิดคริมเป็นผลิตภัณฑ์




          - ขั้นตอนการแปรรูปน้ำยางเป็นหมอนยางพารา




                    1. การปั่นน้ำยางข้น ใช้น้ำยาง 60 เปอร์เซ็นต์ ชั่ง 8-10 กิโลกรัม นำไปปั่นกวนในถังสแตนเลส เติมน้ำยาส่วนผสม 3 ชนิด ตามอัตราส่วน เริ่มจาก ผสมฟองสบู่ปั่นประมาณ 30 นาที ให้พองฟู น้ำใส จากนั้นใส่กำมะถันป้องกันเชื้อรา กันบูด กวนให้เข้ากันอีก 2 นาที และใส่สารที่ช่วยให้แข็งตัว คงรูป ไม่ยุบตัว กวนต่ออีก 1.40 นาที




                    2. การเทใส่บล็อกหรือแบบพิมพ์ นำน้ำยางที่กวนแล้วเทใส่บล็อกรูปหมอน ปาดน้ำยางให้เรียบ ปิดฝาทิ้งไว้ให้ยางแข็งตัว 15 นาที




                    3. การอบไอน้ำ นำหมอนออกจากบล็อกใส่ตู้อบ อุณหภูมิ 100 องศาเซียลเซียส ใช้เวลา 30 นาที อบไอน้ำให้แห้ง หมอนจะพองฟู นำไปล้างน้ำ




                    4. การล้างทำความสะอาด-ตากลม ล้างน้ำให้สะอาดในถังซีเมนต์ 3-4 ครั้ง และนำไปสลัดให้แห้งด้วยเครื่องปั่นแห้ง (เครื่องซักผ้า) ประมาณ 15 นาที และนำไปผึ่งลมบนแผงตะแกรงเป่าลมด้วยพัดลมขนาดใหญ่ให้แห้ง ใช้เวลา 18 ชั่วโมง




                    5. การอบให้แห้งสนิท สร้างโรงอบใส่แผ่นกระเบื้องพลาสติกใสให้มีแสงแดดลอดเข้ามา ทำชั้นวางหมอน ให้โปร่งและใช้พัดลมเป่าช่วยให้แห้งสนิทขึ้นอีก 7 วัน




                    6. การอบแห้งอีกครั้ง นำหมอนจากโรงอบเข้าตู้อบอุณหภูมิ 60-70 องศาเซียลเซียส ใช้เวลา 6 ชั่วโมงอีกครั้งให้แห้งสนิท และตัดแต่งขอบหมอนให้เรียบสวย เศษยางตัดจากขอบจะนำไปตัดชิ้นเล็กทำหมอนขนาดเล็กได้




                    7. การบรรจุแพ็กเกจจิ้ง นำหมอนที่อบแห้งเข้าโกดัง วัดความชื้นและแพ็กใส่ถุงสุญญากาศทันที เพื่อป้องกันเชื้อรา หมอนจะหดตัวบาง สะดวกพกพา จากนั้นนำไปใส่ปลอกตัวหมอน ปลอกหมอนพร้อมใช้งาน




          4. ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปน้ำยางข้น































































ถุงมือแพทย์ทั้งชนิดฆ่าเชื้อและไม่ฆ่าเชื้อ





ถุงมือสำหรับงานอุตสาหกรรม





ถุงมือทั่วไป





เส้นด้ายยางยืด





ถุงยางอนามัย และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ





ผลิตภัณฑ์ล้อ





เสื้อผ้า





สายรัด





ฟูกที่นอน





เกรียวยาง





ของเล่น





แผ่นอัดข้อต่อ





ผลิตภัณฑ์สำหรับประตู





ผลิตภัณฑ์สำหรับรถยนต์





เบ้าพิมพ์





บอลลูน





พื้นรองเท้า





 




 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ