หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความรู้ นวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-5-138ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความรู้ นวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการตลาดยางพาราขั้นต้น



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านยางพารา การจัดการความรู้และนวัตกรรมด้านยางพาราประโยชน์การจัดการความรู้และนวัตกรรมด้านยางพารา และขั้นตอนการทำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราแต่ละประเภท และมีทักษะได้แก่ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลค้นคว้าที่เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างถูกต้อง สามารถค้นคว้า และวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยยางพารา ศึกษามูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมยางพาราแต่ละประเภท และประยุกต์ใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมการผลิตยางพาราแต่ละประเภทได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C221 จัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 1) ระบุแหล่งข้อมูลค้นคว้าที่เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างถูกต้อง C221.01 83382
C221 จัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 2) ดำเนินการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลวิจัยด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราได้ C221.02 83383
C221 จัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 3) ดำเนินการจัดการข้อมูลด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราได้ C221.03 83384
C221 จัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 4) ดำเนินการวิเคราะห์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ C221.04 83385
C222 ปฏิบัติตามแนวการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 1) อธิบายขั้นตอนการนำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราแต่ละประเภทมาใช้ประโยชน์ได้ C222.01 83386
C222 ปฏิบัติตามแนวการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 2) อธิบายแนวทางการใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมยางพาราแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง C222.02 83387
C222 ปฏิบัติตามแนวการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 3) ดำเนินการประยุกต์การใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราแต่ละประเภทได้ C222.03 83388

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการจัดการความรู้นวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น  แยกความแตกต่าง ศึกษาค้นคว้า ประยุกต์ และประเมินการจัดการความรู้นวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า




3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการจัดการความรู้นวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า




4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตภัณฑ์ยางพารา




2) มีความรู้ในการวิจัย ค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา




3) มีความรู้ในขั้นตอนการการทำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราแต่ละประเภทได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




3) ผลการสอบข้อเขียน




4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




1) การสอบข้อเขียน




2) การสอบสัมภาษณ์




3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการจัดการความรู้ นวัตกรรมยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




1. แหล่งข้อมูลค้นคว้าที่เกี่ยวกับนวัตกรรมด้านยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า




          โดยทั่วไปสามารถแบ่งแหล่งข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ โดยในประเทศภาครัฐ ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางปลายน้ำ ของกระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา ระบบสารสนเทศการยางแห่งประเทศไทย ข้อมูลงานวิจัยจากสำนักงาน และสถาบันวิจัยของรัฐเช่น องค์กรของที่สังกัดกระทรวงเกษตร เช่นการยางแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตร สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศ เช่นสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา เป็นต้น ตลอดจนสารสนเทศจากสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางปลายน้ำ สำหรับภาคเอกชนสามารถค้นคว้าได้จากข้อมูลของบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางปลายน้ำ




          เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาความรู้จากระบบสารสนเทศที่องค์กรและหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้สร้างขึ้น




          2. ดำเนินการจัดการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา




          1. ถุงมือผ้าเคลือบยาง มีคุณสมบัติป้องกันการบาดคม บาดเฉือน นำไปใช้งานด้านเกษตรกรรม ประมง ก่อสร้าง และอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์มีทั้งชนิดหนาและชนิดบาง โดยน้ำยางจะช่วยเพิ่มความทนทานให้แก่ถุงมือ ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ยางได้มากขึ้นกว่า 10 เท่า ด้วยน้ำยาง 1 กิโลกรัม สามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือผ้าเคลือบยางได้ถึง 30 คู่ ทั้งนี้หากในอนาคตสามารถขยายการผลิตไปสู่อุตสาหกรรมโดยใช้เครื่องจักรแบบต่อเนื่องที่มีกำลังการผลิตเดือนละ 500,000 คู่ จะมีปริมาณการใช้น้ำยางข้นต่อเดือนประมาณ 16.7 ตัน (คิดเป็นปริมาณน้ำยางสด 33.4 ตัน) 300 คู่/8 ชั่วโมง (จากเดิมที่ใช้แรงงานคนจะชุบได้ 50 คู่/วัน/คน)




          2. แผ่นยางปูพื้น ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มีคุณสมบัติเป็นไปตาม มอก. 2377-2551 สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มยางพาราได้ถึง 2-4 เท่า ช่วยลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์แผ่นยางปูพื้น ปัจจุบันนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานจริงที่โรงพยาบาลวังจันทร์ จังหวัดระยอง เพื่อใช้ฝึกกายภาพสำหรับหัดเดินของผู้ป่วย และฝึกพัฒนาการเด็กเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนและคนไข้ที่เข้ามารับการรักษา




          3. ที่นอนและหมอนยางพารา วว. ใช้เทคโนโลยีด้านนวัตกรรมวัสดุในการพัฒนาเป็นที่นอนและหมอนสุคนธบำบัด โดยร่วมกับการใช้กลิ่นที่สกัดจากพืชชนิดต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมให้นอนหลับง่าย ปรับอารมณ์ให้สมดุลและสงบ ช่วยผ่อนคลาย อาทิเช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นหญ้าแฝก และกลิ่นจัสมิน (มะลิ) เป็นต้น โดยสามารถเพิ่มมูลค่าน้ำยางพาราได้ 3-5 เท่า




          4. ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติ ประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ 1. ชั้นป้องกันการกัดเซาะจากบล็อกประสานรูปแบบใหม่ที่ปรับปรุงคุณสมบัติด้วยน้ำยางพารา สามารถก่อสร้างได้ง่าย ต้นทุนถูก และ 2. ชั้นกรองจากผ้าเคลือบน้ำยางพารา ทำหน้าที่กักเก็บดินไม่ให้ถูกชะออกจากบริเวณตลิ่งและในขณะเดียวกันมีความสามารถยอมให้น้ำซึมผ่านชั้นวัสดุได้ เพื่อลดแรงดันน้ำที่ไหลออกจากดินตามแนวตลิ่ง โดยชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งสามารถส่งเสริมให้เกิดการสะสมและการสร้างชั้นตะกอนดินบนแผ่นวัสดุ ซึ่งพืชสามารถเจริญเติบโตโดยมีรากช่วยยึดโยงเสริมความแข็งแรงให้กับแนวตลิ่งได้




          5. เครื่องขึ้นรูปแผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ สำหรับใช้พิมพ์รูปแบบเท้าเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยการนำน้ำยางพาราข้นมาพัฒนาเป็นถุงแบบพิมพ์รอยเท้า เพื่อใช้ในการทำแผ่นเสริมรองเท้าให้เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีลักษณะเท้าไม่เข้ากับมาตรฐานหรือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการดูแลสุขภาพและเล่นกีฬา ให้สวมใส่ได้สบายและถูกสุขลักษณะในการเดิน ช่วยส่งเสริมให้เกิดมูลค่าของน้ำยางข้นได้ถึง 10 เท่าตัว มีต้นทุนการผลิตเครื่องถูกกว่าท้องตลาด 75% ทดแทนการนำเข้าที่มีราคาหลายแสนบาท




          3. ตัวอย่างแนวปฏิบัติการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราวิธีการผลิตถุงมือผ้าเคลือบยาง




          1) นำน้ำยางสดที่มีความเข้มข้นระหว่าง 38-41% มาผสมกับสารเคมีตามสูตรจนได้ที่




          2) ใส่ถุงมือกับแบบไม้ที่ออกแบบมาพิเศษเป็นรูปนิ้วมือ ที่สามารถใส่ได้ทั้ง 5 นิ้ว




          3) นำถุงมือที่สวมกับแบบไม้มาจุ่มในน้ำยางที่ผสมแล้ว




          4) นำเข้าไปอบในเตาอบ 4 ชั่วโมง




          5) แกะถุงมือออกจากแบบไม้แล้วแพ็คกิ้งให้สวยงาม




          วิธีการผลิตหมอนยางพารา




          1. การปั่นน้ำยางข้น ใช้น้ำยาง 60 เปอร์เซ็นต์ ชั่ง 8-10 กิโลกรัม นำไปปั่นกวนในถังสแตนเลส




          เติมน้ำยาส่วนผสม 3 ชนิด ตามอัตราส่วน เริ่มจาก ผสมฟองสบู่ปั่นประมาณ 30 นาที ให้พองฟู น้ำใส จากนั้นใส่กำมะถันป้องกันเชื้อรา กันบูด กวนให้เข้ากันอีก 2 นาที และใส่สารที่ช่วยให้แข็งตัว คงรูป ไม่ยุบตัว กวนต่ออีก40 นาที




          2. การเทใส่บล็อกหรือแบบพิมพ์ นำน้ำยางที่กวนแล้วเทใส่บล็อกรูปหมอน ปาดน้ำยางให้เรียบ ปิดฝาทิ้งไว้ให้ยางแข็งตัว 15 นาที




          3. การอบไอน้ำ นำหมอนออกจากบล็อกใส่ตู้อบ อุณหภูมิ 100 องศาเซียลเซียส ใช้เวลา 30 นาที อบไอน้ำให้แห้ง หมอนจะพองฟู นำไปล้างน้ำ




          4. การล้างทำความสะอาด-ตากลม ล้างน้ำให้สะอาดในถังซีเมนต์ 3-4 ครั้ง และนำไปสลัดให้แห้งด้วยเครื่องปั่นแห้ง (เครื่องซักผ้า) ประมาณ 15 นาที และนำไปผึ่งลมบนแผงตะแกรงเป่าลมด้วยพัดลมขนาดใหญ่ให้แห้ง ใช้เวลา 18 ชั่วโมง




          5. การอบให้แห้งสนิท สร้างโรงอบใส่แผ่นกระเบื้องพลาสติกใสให้มีแสงแดดลอดเข้ามา ทำชั้นวางหมอน ให้โปร่งและใช้พัดลมเป่าช่วยให้แห้งสนิทขึ้นอีก 7 วัน




          6. การอบแห้งอีกครั้ง นำหมอนจากโรงอบเข้าตู้อบอุณหภูมิ 60-70 องศาเซียลเซียส ใช้เวลา 6 ชั่วโมงอีกครั้งให้แห้งสนิท และตัดแต่งขอบหมอนให้เรียบสวย เศษยางตัดจากขอบจะนำไปตัดชิ้นเล็กทำหมอนขนาดเล็กได้




          7. การบรรจุแพ็กเกจจิ้ง นำหมอนที่อบแห้งเข้าโกดัง วัดความชื้น และแพ็กใส่ถุงสุญญากาศทันที เพื่อป้องกันเชื้อรา หมอนจะหดตัวบาง สะดวกพกพา จากนั้นนำไปใส่ปลอกตัวหมอน ปลอกหมอนพร้อมใช้งาน




          มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ถุงมือผ้าเคลือบยาง




          ปัจจุบันถุงมือชุบน้ำยางของวิสาหกิจชุมชนบ้านในสวนกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะมีจุดเด่นที่เนื้อยางอ่อนนิ่ม ไม่ระคายมือ ซัก-ตากแดดได้ ทนทานกว่าถุงมือชุบน้ำยางทั่วไป เพราะผ่านการปรับปรุงสูตรน้ำยางมาอย่างดี ถุงมือมี 2 แบบ คือ ชุบธรรมดา และหนาพิเศษ เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ




          4. มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์หมอนยางพารา




          1) การแข่งขันกับตลาดใหญ่ที่ผลิตจำนวนมาก ๆ ทำให้ต้นทุนต่ำ จึงตั้งราคาขายได้ต่ำกว่า และมีบางรายแข่งขันตัดราคากันเอง ทำให้หมอนไม่มีคุณภาพ เสียหายกับผู้ผลิตในภาพรวม




          2) การตลาดระยะยาวยังไม่แน่นอน เนื่องจากมีการผลิตกันแพร่หลาย ตลาดผู้ซื้อจะไม่ทำสัญญาออเดอร์ระยะยาว ทำให้ไม่มั่นใจที่จะลงทุนขยายการผลิต




          3) ยังไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รับรองสินค้าที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย ทำให้ทำตลาดต่างประเทศยาก แม้จะมีตลาดยุโรปสนใจ แต่การส่งตลาดต่างประเทศต้องมี มอก. รับรอง และ




          4) สหกรณ์มีเงินทุนหมุนเวียนน้อย เนื่องจากสหกรณ์เองทำธุรกิจตัวแทนนำเข้าปลอกหมอนทั่วประเทศต้องมีเงินทุนสต๊อกผ้า รวมทั้งการจ่ายค่าแรง ทำให้ต้องชะลอเรื่องการขยายการผลิตออกไป




          5.วิเคราะห์ เพื่อประยุกต์การใช้ประโยชน์ของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางพาราแต่ละประเภท




          1. ยางยานพาหนะ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดของประเทศได้แก่ ล้อรถยนต์ ล้อเครื่องบิน ล้อรถจักรยายนต์ ล้อรถจักรยาน และล้อรถอื่นๆ ทั้งยางนอกและยาง ใน รวมถึงยางอะไหล่รถยนต์




          2. ยางยืดและยางรัดของ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ยางธรรมชาติจำนวนมากในส่วนผสมยางยืดใช้ใน อุตสาหกรรมตัดเย็บ เสื้อผ้าต่างๆ ส่วนยางรัดของก็ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน




          3. ถุงมือยางทางการแพทย์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกรองจากยางยานพาหนะ ถุงมือยางที่ผลิตในประเทศไทย ประกอบด้วย ถุงมือตรวจโรค และถุงมือผ่าตัด สำหรับวัตถุดิบยาง ธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตถุงมือยาง เป็นนํ้ายาง




          4. รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา รองเท้ายางและพื้นรองเท้าที่ทำจากยางธรรมชาติรวมทั้งอุปกรณ์กีฬาบางชนิด มี ส่วนผสมที่เป็นยางธรรมชาติและผลิตในประเทศไทย




          5. สายพานลำเลียง ใช้งานในการลำเลียงของหนักชนิดต่าง ๆ มีขนาดตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึง 1.5 เมตร ผลิตภัณฑ์ยางกลุ่มนี้มีการนำเข้ามากกว่าการส่งออก โดยในปี 2549 มีมูลค่าการส่งออก 1,057 ล้านบาท และนำเข้า 1,620 ล้านบาท ในการผลิตสายพานใช้ยางปีละประมาณ 1,318 ตัน เป็นยางแผ่นรมควันชั้น1,3,5และยางแท่ง STR XL, 20




          6. ผลิตภัณฑ์ฟองนํ้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากนํ้ายางข้น ส่วนใหญ่ ผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ




          7. สื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ จะใช้วัสดุจำพวกยางและนำเข้าจากต่างประเทศ ให้ความรู้สึกในการปฏิบัติงานเหมือนของจริง ยางพาราสามารถนำไปใช้ผลิตสื่อการสอน การฝึก ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างเช่นกันโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางฟองนํ้า เช่น โมเดล ร่างกายมนุษย์ สัตว์ แขนเทียม สำหรับฝึกทางการแพทย์ เป็นต้น




          8. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในงานก่อสร้างและวิศวกรรม




          8.1 ยางรองคอสะพาน (Elastomeric Bearings for Bridges) หรือแผ่นยางรองคอสะพาน (Rubber Bridge Bearigs) แบ่งตามชนิดของยางที่ใช้ผลิตเป็น 2 ประเภท คือ ยางรองคอสะพาน ทำจากยางสังเคราะห์ Polychloroprene, (CR) or Neoprene และทำจากยางธรรมชาติ (Natural Rubber, NR) ซึ่งทั้ง 2 ประเภท มีทั้งแบบ แผ่นยางล้วน(Plain) และแบบที่มีวัสดุเสริมแรง (Laminated) สำหรับการเลือกใช้ยางตามประเภท ชนิด และแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับการกําหนดมาตรฐานของผู้ออกแบบและ / หรือของผู้ก่อสร้าง




          8.2 แผ่นยางกันนํ้าซึม (Water Stop) ทำหน้าที่เหมือนปะเก็นของงานคอนกรีต ใช้ป้องกันการขยายตัว หรือ หด ตัวของคอนกรีต เพื่อไม่ให้นํ้ารั่วซึมหรือผ่านได้ ในงานก่อสร้างทั่วไป เช่น คอนกรีต คานสะพาน อาคารชั้นใต้ดิน ดาดฟ้า เป็นต้น รวมทั้งงานก่อสร้างที่โครงสร้างต้องสัมผัสกับนํ้าตลอดเวลา เช่น แท้งค์นํ้า บ่อบำบัดนํ้าเสีย สระว่ายนํ้า คลองส่งนํ้า เขื่อนและฝาย เป็นต้น




          8.3 ยางกันชนหรือกันกระแทก (Rubber of Rubber Bumper) ใช้เป็นเครื่องป้องกันการเฉี่ยวหรือการกระแทก ของเรือ หรือรถเมื่อเข้าจอดเทียบท่า ใช้วัตถุดิบผลิตได้ทั้งยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์




          8.4 ยางคั่นรอยต่อคอนกรีต (Rubber Hose for Joint of Rubber Sealant) มีลักษณะเป็นท่อยางขนาดเล็กมี รูกลางตลอดความยาว ใช้อุดรอยต่อด้านล่างของคอนกรีตของสะพาน หรือรอยต่อระหว่างคานสะพานกันตอม่อของ สะพานก่อนการหยอดยางมะตอย วัตถุดิบที่ใช้ผลิตทั้งจากยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ แต่มักมีการกำหนดให้ใช้ยางสังเคราะห์




          8.5 บล็อกยางปูพื้น (Rubber Block) ใช้ปูพื้นแทนอิฐบล็อกคอนกรีต บล็อกยางมีข้อได้เปรียบบล็อกคอนกรีตคือ เบากว่า ผิวมีสปริง ยืดหยุ่นได้เวลาลื่นล้มจึงไม่บาดเจ็บมากและไม่เป็นแผล ส่วนใหญ่มักผลิตจากยางธรรมชาติผสมกับยางรีเคลมธรรมชาติหรือสังเคราะห์ ปัจจุบันยังไม่ค่อยนิยมใช้ยางบล็อกปูพื้นเพราะราคาค่อนข้างสูงกว่าบล็อกคอนกรีต




          8.6 แผ่นยางปูอ่างเก็บน้ำ (Rubber Water Confine) เป็นผลิตภัณฑ์ยางที่สามารถใช้ยางธรรมชาติปูรองสระ เพื่อเก็บกักน้ำบนผิวดินที่เก็บน้ำไม่ได้ เช่น ดินปนทราย ดินลูกรัง โดยมีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย ได้พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2529 และสามารถพัฒนาได้กว้างขวาง ได้แก่ ใช้เก็บกักน้ำสำหรับเกษตรกร ใช้งานในสนาม กอล์ฟและรีสอร์ท ใช้ในงานชลประทาน บ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ โดยทั่วไป วัตถุดิบที่ใช้ในการปูสระกักเก็บน้ำสามารถใช้เป็นยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ หรือ พลาสติก หรือผ้าใบเคลือบยาง




          8.7 ฝายยาง (Rubber Dam) หรือเขื่อนยางส่วนใหญ่ผลิตจากยางสังเคราะห์แต่ผู้ผลิตให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะใช้วิธีการเคลือบชั้นนอกของตัวฝายยางด้วยยางสังเคราะห์ และภายในใช้ยางธรรมชาติแต่ความเป็นไปได้นี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใช้อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่ค่อยเป็นที่สนใจของผู้ผลิตภายในประเทศ เพราะมีผู้ใช้จำกัดเพียงกรมชลประทานและมีราคาสูง แต่ข้อดีของฝายยางธรรมชาติ คือสามารถปรับระดับความสูงของฝายได้ตามความ เหมาะสมของระดับน้ำ ซึ่งสามารถลดแรงกระแทกจากน้ำหลากและช่วยระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมล้มตลิ่ง อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดน้ำล้นหน้าฝาย ป้องกันตะกอนทราย ตกตะกอนหน้าฝายได้ นอกจากนี้ในฝายที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำจะสามารถป้องกันน้ำเค็มรุกลํ้าเข้ามาในพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่อยู่อาศัยอีก ทั้งฝายยางยังทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำเค็มได้ ดีกว่าบานประตูระบายน้ำที่ทำด้วยเหล็ก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ศึกษาสูตรผลิตแผ่นฝายยางโดยการใช้ยางธรรมชาติผสมยางสังเคราะห์ EPEM 




          8.8 แผ่นยางปูพื้น (Rubber Floor Mat) ส่วนใหญ่ผลิตจากยางธรรมชาติ ใช้ปูพื้นหรือทางเดินบนอาคาร โรงงาน สำนักงาน สนามบินใช้ได้ทั้งพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดเอียง เพื่อป้องกันการลื่น และลดเสียงที่เกิดจากการเดิน หรือการกระแทก




          9.การใช้ยางพาราผสมยางมะตอยสำหรับทำผิวถนน ปัจจุบันการคมนาคมขนส่งมีความสำคัญและมีการขยายตัวมาก โดยเฉพาะถนนถือเป็นปัจจัยหลักของการคมนาคมแลถนน แต่มักจะประสบปัญหาในเรื่องเกิดการชำรุดเสียหายเร็ว กว่าปกติ การปรับปรุงสมบัติของยางมะตอยให้ใช้ในงานทางให้ดีขึ้นจะช่วยให้ถนนมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยใช้ (http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/used/01-03.php)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ