หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการตลาดผลผลิตยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-4-137ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการตลาดผลผลิตยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการตลาดผลผลิตยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการตลาดยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ประเภทและกลไกด้านการตลาดยางพารา (ยางแผ่นดิบ น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย) วัสดุอุปกรณ์ หรือยานพาหนะในการขนส่งผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาด และวิธีการวิธีการขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาดที่ถูกต้องได้ และทักษะได้แก่ สามารถ กำหนด เลือก และดำเนินการรูปแบบและกลไกการตลาดที่เหมาะสมกับประเภทผลผลิตได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุแหล่งข้อมูล ค้นคว้าข้อมูล และเปรียบเทียบข้อมูลการตลาดยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถตัดสินใจขายผลผลิตยางพาราได้ สามารถเลือกวิธีกาiและดำเนินการขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาดได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C211 ดำเนินการจัดการตลาดผลผลิตยางพารา 1) อธิบายประเภทหรือกลไกด้านการตลาดยางพารา (ยางแผ่นดิบ น้ำยางสด ยางก้อนถ้วย) ได้ C211.01 83371
C211 ดำเนินการจัดการตลาดผลผลิตยางพารา 2) เลือกรูปแบบหรือกลไกการตลาดที่เหมาะสมกับประเภทผลผลิตได้อย่างถูกต้อง C211.02 83372
C211 ดำเนินการจัดการตลาดผลผลิตยางพารา 3) ดำเนินการตามรูปแบบหรือกลไกการตลาดที่เหมาะสมกับประเภทผลผลิตได้อย่างถูกต้อง C211.03 83373
C212 วิเคราะห์ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและขายให้ได้มูลค่าสูงสุด 1) ค้นคว้าข้อมูลการตลาดยางพาราได้ C212.01 83374
C212 วิเคราะห์ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและขายให้ได้มูลค่าสูงสุด 2) วิเคราะห์ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม C212.02 83375
C212 วิเคราะห์ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและขายให้ได้มูลค่าสูงสุด 3) วิเคราะห์ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม C212.03 83376
C212 วิเคราะห์ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและขายให้ได้มูลค่าสูงสุด 4) ดำเนินการในการตัดสินใจขายผลผลิตยางพาราได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม C212.04 83377
C213 ขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาด 1) อธิบายวัสดุอุปกรณ์ หรือยานพาหนะในการขนส่งผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาดได้ C213.01 83378
C213 ขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาด 2) อธิบายวิธีการขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาดได้อย่างถูกต้อง C213.02 83379
C213 ขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาด 3) เลือกวิธีการขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาดได้อย่างถูกต้อง C213.03 83380
C213 ขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาด 4) ดำเนินการขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาดได้อย่างถูกต้อง C213.04 83381

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการจัดการตลาดผลผลิตยางพารา




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด ระบุ ค้นคว้า เปรียบเทียบ ตัดสินใจเลือก และดำเนินการการจัดการตลาดผลผลิตยางพารา




3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการจัดการตลาดผลผลิตยางพาราให้ถูกต้อง




4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในรูปแบบ และกลไกตลาดยางพารา




2) มีความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นปัจจัยการตลาดยางพาราเพื่อขายให้ได้มูลค่าสูงสุด



3) มีความรู้ในการเตรียมและการขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาดที่ถูกต้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




1) การสอบข้อเขียน




2) การสอบสัมภาษณ์




3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการจัดการตลาดผลผลิตยางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          ตลาดผลผลิตยางพารา




          - ประเภทการตลาดยางพารา




          ระบบตลาดยางของประเทศไทย มี 3 ระบบ คือ ระบบตลาดท้องถิ่น ระบบตลาดกลาง ยางพารา และระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดยางที่ซื้อขายโดยมีการส่งมอบจริง (physical market) สำหรับตลาดยางภายในประเทศ แบ่งออกเป็นระบบตลาดท้องถิ่น และระบบตลาดกลางยางพารา




          1. ระบบตลาดยางท้องถิ่น เป็นระบบตลาดที่ชาวสวนยางส่วนใหญ่ขายยางผ่านระบบนี้ จะเห็นได้จากประมาณร้อยละ 94 ของ ปริมาณยางทั้งประเทศซื้อขายผ่านตลาดท้องถิ่น ได้แก่ ร้านค้ายาง กระจายอยู่ในจังหวัดที่เป็นพื้นที่ปลูก ยางทั่วประเทศ ประกอบด้วยพ่อค้ารับซื้อยางหลายระดับ เริ่มตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน/ตำบล ระดับอำเภอและ ระดับจังหวัด โรงงานแปรรูปยางซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ส่งออกยางด้วย โดยทั่วไปจะรับซื้อยางจากพ่อค้า รายใหญ่ระดับอำเภอหรือจังหวัด นอกจากนี้หลายจังหวัดมีการรวมกลุ่มขายยางและจัดตั้งสหกรณ์ในบาง จังหวัดทางภาคใต้ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อผลิตยางแผ่นรมควัน




          2. ระบบตลาดกลางยางพารา เริ่มเกิดขึ้นประเทศไทย เมื่อปี 2534 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ให้บริการซื้อขายยางประเภทต่าง ๆโดยวิธีประมูล เช่น ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ยางแผ่นผึ่งแห้ง ให้บริการซื้อขายยางผ่านห้องค้ายางและยังให้บริการสนเทศข้อมูลด้านยาง มีการซื้อขายยางผ่านระบบนี้ประมาณร้อยละ 6 ของปริมาณยางทั้งประเทศ




          3. ระบบตลาดซื้อขายล่วงหน้า ได้เปิดดำเนินการซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) เมื่อเดือน พฤษภาคม 2547 เป็นการซื้อขายสัญญาล่วงหน้า




          วิจัยการตลาดยางพาราเพื่อขายให้ได้มูลค่าสูงสุด




          - การตลาด




          ในปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่ของโลกมาผลิต ยางล้อรถยนต์ในประเทศ ได้แก่ บริษัท Michelin, Bridgestone และ Goodyear ซึ่งต่างส่งออกสินค้าสำเร็จรูป คือ ยางล้อรถยนต์ปริมาณมากในแต่ละปีเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท แต่ปริมาณส่งออกของบริษัทเหล่านี้เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิตจากโรงงานในประเทศอื่นรวมกันแล้ว ก็ยังเป็นปริมาณที่น้อยมาก เมื่อไทยมีต้นทุนการผลิตในประเทศที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ และมีปัจจัยบวกหลายเรื่อง จึงยังมีโอกาสสูงที่บริษัทเหล่านี้จะย้ายฐานการผลิตมาที่ไทยเพิ่มขึ้น เราจะต้องฉวยโอกาสอันนี้ และเราต้องอาศัยขีดความสามารถด้านการตลาดของบริษัทเหล่านี้ขาย ยางพาราของเราในรูปของสินค้าสำเร็จรูป บริษัทมีตราสินค้าที่ดีมีเครือข่ายการขายทั่วโลก สินค้าของบริษัทมีชื่อเสียง สามารถขายได้ง่าย ดังนั้น การดึงให้บริษัทเหล่านี้มาผลิตสินค้าในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้รวดเร็ว และในระยะเวลาอันสั้น




          2.ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมขายให้ได้มูลค่าสูงสุด




          สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลการตลาดยางพาราเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมขายให้ได้มูลค่าสูงสุด  โดยทั่วไปจะทำการวิเคราะห์ปัจจัยหลัก ได้แก่ สถานการณ์ การผลิต การส่งออก ภาวะราคายางพาราในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปริมาณความต้องการบริโภค นโยบายยางทั้งในและต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อตลาด สินค้าที่ทดแทนยางพาราเช่น ทิศทางราคาน้ำมันที่ผลิตเป็นยางสังเคราะห์ สถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองของโลก ความเสี่ยงอันเกิดจากภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อการตลาดยางพารา เป็นต้น




          3.การขนส่งผลผลิตยางพาราเพื่อเข้าสู่ตลาด




          ในการขนส่งยางพาราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนแรก เป็นช่วงตั้งแต่เกษตรกรจนถึงพ่อค้าคนกลาง ส่วนที่สอง คือ การขนส่งตั้งแต่พ่อค้าคนกลางไปจนถึงโรงงานแปรรูป และส่วนที่สาม เป็นการขนส่งตั้งแต่โรงงานแปรรูป ไปให้ผู้บริโภคในประเทศและส่งออก




          ส่วนแรก การขนส่งตั้งแต่เกษตรกรจนถึงพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมีหลายระดับด้วยกัน เช่น พ่อค้าเร่ พ่อค้าคนกลางท้องถิ่น หรือพ่อค้าในเมือง โดยเกษตรกรจะขายให้ใคร อย่างไร ขึ้นอยู่กับรูปแบบ และปริมาณของผลผลิตที่เกษตรกรขาย เช่น หากขายน้ำยางสด เกษตรกรก็จะขายทุกวันที่มีการกรีด เนื่องจากน้ำยางสดไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน แต่หากเกษตรกรขายในรูปแบบยางแผ่นดิบ ก็มักจะรอ ให้มีปริมาณระดับหนึ่ง เพื่อให้คุ้มต่อการนำไปขายในแต่ละครั้ง




          - พ่อค้าเร่ มักใช้จักรยานยนต์หรือรถบรรทุกขนาดเล็กเข้าไปรับซื้อยางจาก ในสวนเกษตรกรที่มักมีการคมนาคมที่ไม่สะดวก แล้วนำไปขายต่อให้กับพ่อค้าในหมู่บ้านหรือในเมือง ปริมาณการซื้อขายไม่มาก




          - พ่อค้ายางในหมู่บ้าน จะมีร้านค้าที่แน่นอน โดยรับซื้อยางจากพ่อค้าเร่ และเกษตรกรรายย่อยในท้องที่ และนำไปขายให้กับพ่อค้าในเมือง หรือหากมีโรงงานอยู่ใกล้เคียง ก็นำไปขายให้กับโรงงานแปรรูป




          - พ่อค้าในเมือง เป็นพ่อค้ารายใหญ่ รับซื้อยางจากเกษตรกร และพ่อค้าทุกระดับต้องมีใบอนุญาตตามกฎหมาย รับซื้อยางในปริมาณมาก โดยแต่ละวันมีมากกว่า 1,000 กิโลกรัม




          ส่วนที่สอง การขนส่งตั้งแต่พ่อค้าคนกลางไปจนถึงโรงงานแปรรูป ส่วนใหญ่จะมีปริมาณมาก เลือกใช้รถบรรทุก 10 ล้อ หรือ 6 ล้อในการขนส่งยางพาราที่รวบรวมได้ไปให้โรงงานแปรรูปในจังหวัด




          ส่วนที่สาม การขนส่งตั้งแต่โรงงานแปรรูปไปจนถึงผู้บริโภคในประเทศและส่งออก ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้




          - การขนส่งยางพาราจากโรงงานแปรรูปไปยังผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ เช่น โรงงานผลิตยางรถยนต์ โรงงานผลิตถุงมือยาง โรงงานผลิตถุงยางอนามัย เป็นต้น การขนส่งเป็นการขนส่งทางถนน มักใช้รถบรรทุก หรือรถหัวลาก




          - การขนส่งจากโรงงานแปรรูปไปยังท่าเรือส่งออก หรือด่านศุลกากร




          จะเห็นได้ว่าการขนส่งสินค้าในประเทศ ส่วนใหญ่ยังใช้ระบบการขนส่งทางถนน จึงมีข้อจำกัดทางด้านปริมาณการขนส่งในแต่ละครั้ง และต้นทุนค่าขนส่งที่สูงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนการ ขนส่งทางน้ำและทางราง ซึ่งเป็นวิธีขนส่งที่ประหยัดกว่าของไทยยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ การส่งออกยางจากภาคใต้ มักขนส่งยางภายในประเทศไปยังท่าเรือกรุงเทพฯ ท่าเรือแหลมฉบัง หรือขนส่งผ่านด่านปะดังเบซาร์ไปออกที่ท่าเรือปีนัง ของมาเลเซีย แทนที่จะใช้ท่าเรือสงขลาที่อยู่ใกล้เคียง เนื่องจากค่าระวางเรือที่ท่าเรือสงขลาในปัจจุบันสูงกว่าปีนังเท่าตัว จากสาเหตุที่มีตู้สินค้านำเข้าจากจีนเข้าไทยที่สงขลาน้อย จึงมีตู้ส่งออกน้อย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ