หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-6-129ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านระบบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการจัดการสวนยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย และกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ และมีทักษะได้แก่ สามารถกำหนดวิธีการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช ได้ สามารถดำเนินการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดวิธีการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ได้และสามารถดำเนินการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B291 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช. 1) อธิบายกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัยได้ B291.01 145907
B291 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช. 2) กำหนดวิธีการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช ได้ B291.02 145908
B291 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช. 3) ดำเนินการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง B291.03 145909
B292 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 1) อธิบายกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ได้ B292.01 145910
B292 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 2) กำหนดวิธีการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ได้ B292.02 145911
B292 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 3) ดำเนินการทำสวนยางให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ได้อย่างถูกวิธี B292.03 145912
B292 ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 4) ดำเนินการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีโดยไม่ส่งผลกระทบต่อแปลงข้างเคียงได้อย่างถูกวิธี B292.04 145913

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์  และการสรุปผล เกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการจัดการสวนยางพารา




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น และดำเนินการเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการจัดการสวนยางพารา ได้แก่ เกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับการจัดการสวนยางพาราให้ถูกต้อง




          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช




          2) มีความรู้ในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวกับการจัดการสวนยางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




1.ข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรปลอดภัย (GAP) มกอช.




          1) เกษตรปลอดภัย




          คุณสมบัติของผู้ขอใบรับรองแหล่งผลิตพืชตามมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ GAP พืช มี 3 แบบ ดังต่อไปนี้




          1.1 เกษตรกร ต้องมีคุณสมบัติคือ




          - ต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิ์ครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของ หรือผู้ถือครองสิทธิ์ให้ดำเนินการผลิตพืช




          - เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย




          - เป็นผู้สมัครใจขอการรับรอง และยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองแหล่งผลิตพืช ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด




          - ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรอง จากกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยรับรองใด ๆ ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าของกรมวิชาการเกษตร เว้นเสียแต่พ้นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ถูกเพิกถอนการรับรองแล้ว




          1.2 นิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติคือ




          - ต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิ์ครอบครองพื้นที่การผลิตหรือเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของหรือผู้ครองสิทธิ์ให้ดำเนินการผลิตพืช




          - ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมายไทย




          - เป็นนิติบุคคลที่สมัครใจขอการรับรอง และยินดีจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับรองแหล่งผลิต GAP พืชที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด




          - ไม่เป็นนิติบุคคลที่ถูกเพิกถอนการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยรับรองใด ๆที่มีมาตรฐานเทียบเท่าของกรมวิชาการเกษตร เว้นเสียแต่พ้นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ถูกเพิกถอนการรับรอง




          1.3 กลุ่มเกษตรกร ต้องมีคุณสมบัติคือ




          - สมาชิกของกลุ่มต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิ์ครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าของ หรือผู้ถือครองสิทธิ์ให้ดำเนินการผลิตพืช




          - เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หรือหากเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับภาครัฐต้องมีสมาชิกในกลุ่มที่ขอรับรอง ตั้งแต่ 5 รายขึ้นไป




          - กลุ่มอาจจะดำเนินการโดยสมาชิกที่รวมกลุ่มกันเพื่อทำการเพาะปลูก หรือดำเนินการโดยนิติบุคคล หรือองค์กรอิสระซึ่งเป็นองค์กรที่รับผิดชอบกลุ่มเกษตรกร/เกษตรกร  โดยเป็นผู้รับซื้อ จัดจำหน่าย หรือส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ของกลุ่มเกษตรกร / เกษตรกรที่ทำการผลิตให้




          - เป็นกลุ่มที่สมัครใจขอการรับรอง และยินดีจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด




          - ไม่เป็นกลุ่มที่ถูกเพิกถอนการรับรองจากกรมวิชาการเกษตรหรือหน่วยรับรองใด ๆ ที่มีมาตรฐานเทียบเท่าของกรมวิชาการเกษตร เว้นแต่พ้นระยะเวลา  1 ปี นับจากวันที่ถูกเพิกถอนการรับรอง




          ผู้ยื่นคำขอการรับรองแหล่งผลิต GAP พืชที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น จะต้องไปยื่นใบสมัครคำขอรับรองที่สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่การเกษตรในพื้นที่จะมีการเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ  แล้วสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่ก็จะส่งผู้ที่ผ่านการเตรียมความพร้อมจะเป็นแปลงเกษตรที่ดีและเหมาะสมทางระบบออนไลน์ไปที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นผู้ตรวจรับรอง




          เมื่อกรมวิชาการเกษตรได้รับรายชื่อที่อยู่ของแปลงแล้วก็จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปประเมินแปลงของเกษตรกรในพื้นที่โดยมีการตรวจประเมินในสิ่งต่าง ๆดังต่อไปนี้คือ




          1) แหล่งน้ำ น้ำที่ใช้ต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค หรือไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมี และโลหะหนักที่เป็นอันตราย




          2) พื้นที่ปลูก ต้องเป็นพื้นที่ซึ่งไม่มีความเสี่ยงจากวัตถุอันตรายและจุลินทรีย์ ที่จะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลิตผล




          3) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ต้องใช้เฉพาะที่มีการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรอย่างถูกต้อง และไม่ใช้วัตถุอันตรายที่ประกาศห้ามใช้ มีการใช้ตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดและมีการเก็บดูแลวัตถุอันตรายต่าง ๆที่ถูกต้องและปลอดภัย




          4) สถานที่เก็บรักษาผลผลิต อุปกรณ์ต่าง ๆ ยานพาหะนะในการขนย้ายผลผลิตต้องมีคุณสมบัติป้องกันการปนเปื้อนของ วัตถุอันตราย ศัตรูพืช และพาหะของโรค รวมทั้งต้องมีการขนย้ายผลผลิตด้วยความระมัดระวัง




          5) การบันทึกสิ่งที่ปฏิบัติต่างในแปลง ต้องมีบันทึกการใช้สารเคมี วัตถุอันตรายทางการเกษตร มีบันทึกการตรวจโรคแมลงศัตรูพืชในแต่ละระยะของการเจริญเติบโตของพืช มีการบันทึกวิธีการดำเนินงานการจัดการต่าง ๆในแปลง




          6) ผลผลิตต้องปลอดจากศัตรูพืช มีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามคำแนะนำและผลผลิตที่คัดแยกต้องไม่มีโรคและแมลง




          7) การจัดการผลผลิตเพื่อให้ได้คุณภาพนั้นต้องมีการวางแผนการจัดการคุณภาพผลผลิตพืชและมีการบันทึกข้อมูลการดำเนินการต่าง ๆ ถ้ามีผลผลิตที่ไม่ได้คุณภาพต้องมีการคัดแยกออก




          8) การเก็บเกี่ยวและวิธีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต้องมีการควบคุมไม่ให้ก่อความเสียหายแก่ผลผลิตเช่นการเก็บจากแปลง การขนย้าย การคัดแยก การบรรจุ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุณภาพดีและปราศจากการปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค




          เมื่อเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรได้ประเมินแปลงแล้วก็จะส่งหลักฐานการประเมินต่าง ๆ




          ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรมวิชาการเกษตรพิจารณา ให้ใบรับรอง Q ระยะเวลาดำเนินการขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและการเตรียมความพร้อมของเกษตรผลที่ได้จากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)




          ผลที่ได้จากการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)




          1.ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ




          2.เกษตรกรผู้ผลิตมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย




          3.ผู้บริโภคเชื่อมั่นในสินค้าทางการเกษตรของประเทศไทย




          4.รักษาสภาพแวดล้อม และเกิดระบบการผลิตสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน




          5.ลดต้นทุนการผลิตจากการเลิกใช้สารเคมี




          6.ทำการเกษตรได้ต่อเนื่องด้วยระบบนิเวศที่สมบูรณ์




2.กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์




มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.




2.1 หลักการทั่วไป




          มาตรฐาน




          2.1.1 ห้ามใช้สารเคมีทุกชนิด ไม่ว่า จะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนสังเคราะห์ 2.1.2 ไม่อนุญาตการผลิตพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิค




          2.1.3 ห้ามใช้วัสดุนาโนทุกชนิดในการผลติและแปรรูปผลผลติเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งใช้บรรจุภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร




          2.1.4 ในกรณีที่ผู้ผลิตยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่การผลิตทุกแปลงให้เป็นเกษตรอินทรีย์ แปลงที่ทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมี/ทั่วไปที่ไม่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ต้องสามารถแบ่งแยกกันได้อย่างชัดเจน และพื้นที่การผลิตทุกแปลงที่อยู่ในครอบครองของผู้ผลิตต้องได้รับการตรวจสอบจาก มกท.




          2.1.5 พื้นที่การผลิตที่ได้รับการรับรองเป็นเกษตรอินทรีย์แล้ว จะต้องไม่ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์และเกษตรเคมีกลับไปกลับมา ทั้งนี้ มกท. อาจไม่พิจารณารับรองพื้นที่การผลิตแปลงใหม่ให้ ถ้าพื้นที่การผลิตแปลงเดิมเลิกทำเกษตรอินทรีย์โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร




          2.1.6 พื้นที่การผลิตที่ใช้ทำเกษตรอินทรีย์ต้องไม่เป็นพื้นที่ที่มาจากการเปิดป่าชั้นต้น และระบบนิเวศดั้งเดิม (primary ecosystem)




          2.1.7 มกท. อาจพิจารณาไม่รับรองผู้ผลิตที่ทำการเปิดพื้นที่ป่าสาธารณะมาทำการเกษตรอินทรีย์ ทั้งนี้ มกท. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาเป็นกรณีไป




          2.1.8 ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการผลิตภายในฟาร์ม เช่น การลดหรือขยายพื้นที่การผลิต การเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูก การเพิ่มชนิดพืชที่ขอรับรอง ฯลฯ ผู้ผลิตจะต้องแจ้งให้ มกท. ทราบโดยทันที




          2.1.9 ผู้ผลิตต้องดูแลและชี้แจงให้ลูกจ้าง หรือผู้รับผิดชอบการผลิต หรือ ผู้รับช่วงการผลิติซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอินทรีย์ได้ เข้าใจรายละเอียดการปฏิบัติตามมาตรฐานและเงื่อนไขในการรับรองมาตรฐาน




          2.1.10 ผู้ผลิติต้องจัดทำบันทึกให้ชัดเจน ให้ทาง มกท. สามารถตรวจสอบได้




          1) บันทึกการผลิต ครอบคลุม การปลูกการดูแลรักษา รายละเอียดการใช้ปัจจัยการผลิต การเก็บเกี่ยว และการปลูกพืชหลังการเก็บเกี่ยว




          2) บันทึกและ/หรือเอกสารการซื้อปัจจัยการผลิต ที่แสดงให้เห็นแหล่งที่มา ชนิด และปริมาณ




          3) บันทึกการขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องระบุ “อินทรีย์” หรือ “มกท.” กำกับไว้ในเอกสารขาย




          4) ผู้ผลิตและผู้ประกอบการจะต้องทำบันทึกข้อร้องเรียนที่ได้รับ และการแก้ไขข้อร้องเรียนให้ มกท. สามารถตรวจสอบได้




          2.2 ระบบนิเวศภายในฟาร์ม




          มาตรฐาน




          2.2.1 ผู้ผลิตต้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพภายในฟาร์ม โดยพยายามรักษาและฟื้นฟูบริเวณที่เป็นแหล่งอาศัยของพืชและสัตว์หลากหลายชนิดเอาไว้อย่างน้อย 5% ของพื้นที่การผลิต บริเวณดังกล่าว ได้แก่ ป่าใช้สอยในไร่นา ป่าบุ่ง ป่าทาม พุ่มไม้หรือต้นไม้ใหญ่ในนา แนวพุ่มไม้บริเวณเขตแดนพื้นที่ สวนไม้ผลผสมผสาน ร่องน้ำในฟาร์ม บ่อปลาธรรมชาติ และพื้นที่ว่างเปล่าที่ปล่อยให้พืชขึ้นตามธรรมชาติ




          2.3 สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์




          มาตรฐาน




          2.3.1 ห้ามใช้สิ่งมีชีวิตดีดแปรพันธุ์ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์ในกระบวนการผลิตและแปรรูปเกษตรอินทรีย์




          2.3.2 ปัจจัยการผลิต สารปรุงแต่ง สารช่วยแปรรูปและส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อินทรีย์ทุกชนิด ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปอีก 1 ขั้นตอนของการผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าแหล่งที่มาของวัตถุดิบ ไม่ได้มาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่มาจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม




          2.3.3 ในกรณีที่ผู้ประกอบการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารสัตว์ที่มีความเสี่ยงในเรื่องสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุวิศวกรรม ผู้ประกอบการจะต้องมีมาตรการในการยืนยันว่า ผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารสัตว์ดังกล่าวไม่ได้ผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม โดยผู้ประกอบการอาจขอหนังสือยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ได ้ผลิตมาจากกระบวนการ หรือโดยใช้สิ่งมีชีวิติดัดแปลงพันธุกรรม




          2.3.4 ในกรณีที่มีการตรวจสอบพบว่าผลิตผลอินทรีย์ได้รับการปนเปื้อนจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์ โดยที่ผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจและไม่สามารถควบคุมได้ มกท. อาจพิจารณาไม่รับรองผลิตผลดังกล่าว รวมทั้งฟาร์มที่ทำการผลิต




          2.3.5 ในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้ปรับเปลี่ยนฟาร์มทั้งหมดเป็นเกษตรอินทรีย์ การผลิตในแปลงเกษตรเคมี/ทั่วไปที่ไม่ขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต้องไม่ใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์




          2.4 ระยะการปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์




          มาตรฐาน




          2.4.1 พื้นที่การผลิตที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต้องผ่าน ระยะปรับเปลี่ยนโดยช่วงเวลาดังกล่าว ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. และได้รับการตรวจและรับรองจาก มกท. แต่ผลิตผลที่ได้จากพืชที่ปลูกในช่วงระยะปรับเปลี่ยนนี้จะยังไม่สามารถจำหน่ายเป็นผลิตผลอินทรีย์ได้




          วันที่สมัครขอให้มีการรับรองมาตรฐานฯให้นับเป็นวันที่ 1 ของการเริ่มต้นของการเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์หรือเป็นวันเริ่มต้นของระยะการปรับเปลี่ยน โดยเกษตรกรต้องเริ่มปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. นับตั้งแต่วันดังกล่าว




          2.4.2 ในกรณีที่เป็นการผลิตพืชล้มลุก (ผัก และพืชไร่ ) ช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจะใช้เวลา12 เดือน โดยผลิตผลของพืชที่ปลูกในวันที่พ้นระยะการปรับเปลี่ยนแล้ว จะสามารถจำหน่ายเป็น "ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์"




          และสามารถใช้ตรา มกท. ได้




          ยกเว้น พืชผักหลายฤดูเช่น ผักพื้นบ้าน กล้วย มะละกอ ฯลฯ อนุญาตให้สามารถเก็บเกี่ยวผลิตผลและจำหน่ายเป็น "ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์" ได้หลังจากพ้นระยะการปรับเปลี่ยน 12 เดือนแล้ว




          2.4.3 ในกรณีที่เป็นการผลิตไม้ยืนต้น ช่วงระยะการปรับเปลี่ยนจะใช้เวลา 18 เดือน โดยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในวันที่พ้นระยะการปรับเปลี่ยนแล้ว จะสามารถจำหน่ายเป็น "ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์" และสามารถใช้ตรา มกท. ได้




          2.4.4 ในกรณีที่เป็นการผลิตพืชเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป กำหนดระยะปรับเปลี่ยนตามมาตรฐานการผลิตพืชของสหภาพยุโรป ดังนี้ พืชล้มลุกมีระยะปรับเปลี่ยน 24 เดือนและ พืชยืนต้นมีระยะปรับเปลี่ยน 36 เดือน




          2.4.5 ในกรณีทีมีการใช้ปัจจัยการผลติต้องห้ามในพื้นที่ฟาร์มมาก่อนสมัครขอรับรองกับ มกท. ผลผลิตที่จะสามารถขายเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ จะต้องเป็นผลิตผลที่เก็บเกี่ยวหลังจาก 36 เดือนนับแต่มีการใช้ปัจจัยการผลิตต้องห้ามเป็นครั้งสุดท้าย




          2.4.6 มกท. อาจจะกำหนดระยะการปรับเปลี่ยนให้เพิ่มขึ้นได้ โดยพิจารณาจากประวัติการใช้สารเคมีในฟาร์ม ปัญหาการปนเปื้อนมลพิษในพื้นที่นั้น และมาตรการในการจัดการสารเคมีทางการเกษตรหรือมลพิษที่ปนเปื้อนในฟาร์ม




          2.4.7 มกท. อาจยกเว้นระยะการปรับเปลี่ยนได้หากพื้นที่การผลิตนั้นได้ทำการเกษตรตามหลักการในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานที่นำมายืนยันกับ มกท. เช่น บันทึกการใช้ปัจจัยการผลิตในฟาร์ม บันทึกการผลิตพืชในพื้นที่ดังกล่าว บันทึกจากองค์กรที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตที่แสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีการใช้สารเคมีมาเป็นเวลานานและได้รับการฟื้นฟูสภาพดินโดยธรรมชาติ บทความในสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ฯลฯ ทั้งนี้ มกท. จะตรวจสอบหลักฐานดังกล่าวและทำการประเมินขณะไปตรวจฟาร์ม และขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาเป็นกรณีไป




          2.5 ชนิดและพันธุ์ของพืชปลูก




          แนวทางปฏิบัติ




          ควรเลือกใช้พันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพแวดลอ้มในท้องถิ่น และมีความต้านทานต่อโรคและแมลง




          มาตรฐาน




          2.5.1 เมล็ดพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำมาปลูกต้องผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์




          2.5.2 ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ อนุญาตให้ใช้




          (ก) เมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชจากแปลงที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระยะปรับเปลี่ยน




          (ข) เมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อื่น ๆรวมทั้งในระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม




          2.5.3 ในกรณีที่ไม่สามารถหาเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชเกษตรอินทรีย์ตามข้างต้นได้ มกท. อาจอนุญาตให้ใช้เล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ได้โดยเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ใช้นั้นต้องไม่คลุกสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการผลิตเกษตรอินทรีย์




          2.5.4 เฉพาะการขอรับรองมาตรฐานโปรแกรม IFOAM มกท. อาจยกเว้นให้ผู้ประกอบการที่ใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ที่มีการคลุกสารเคมี ถ้าเป็นข้อกำหนดตามระเบียบด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัยพืช แต่จะต้องมีมาตรการจัดการล้างทำความสะอาดก่อนการปลูก




          2.5.5 มกท. อาจอนุญาตให้ใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ตามข้อ2.5.3 หรือ 2.5.4 ได้ ในกรณีที่




          (ก) ไม่มีผู้ขาย (ผู้ที่ทำตลาดขายเมล็ดพันธุ์ให้กับผู้ประกอบการอื่น) ที่สามารถจัดส่งเมล็ดพันธุ์ให้กับผู้ประกอบการก่อนช่วงฤดูปลูก โดยผู้ประกอบการได้มีการสั่งซื้อเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวล่วงหน้าในระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว




          (ข) ผู้ประกอบการสามารถพิสูจน์ได้ว่าสายพันธุ์ที่ต้องการเพาะปลูกนั้น ซึ่งมีลักษณะพิเศษเฉพาะนั้น แตกต่างไปจากสายพันธุ์ที่มีในระบบเกษตรอินทรีย์ และมีความจำเป็นอย่างมากในการผลิตของผู้ประกอบการ




          2.5.6 ผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้องขอและได้รับอนุญาตในการใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ก่อนการเพาะปลูก และจะต้องขออนุญาตเป็นแต่ละฤดูปลูกไป และระบุปริมาณเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ขออนุญาตใช้ด้วย




          2.5.7 มกท. อาจอนุญาตให้กับผู้ประกอบการโดยรวมทั้งหมด โดยผู้ประกอบการไม่ต้องขออนุญาตเป็นกรณีๆ ไปตามข้อ 2.5.6 สามารถใช้เมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ได้




          (ก) ชนิดของพืชหนึ่งๆ ตามเงื่อนไขของข้อ 2.5.5 (ก)




          (ข) สายพันธุ์พืชหนึ่งๆ ตามเงื่อนไขของข้อ 2.5.6 (ข)




          (ค) สำหรับปลูกเป็นพืชหมุนเวียนหรือปุ๋ยพืชสดที่ไม่ได้ปลูกเพื่อจำหน่ายเป็นผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวจะต้องไม่ใช่เมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอ และต้องไปคลุกสารเคมีที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์




          2.5.8 ในกรณีที่ผู้ผลิตใช้กล้าพันธุ์พืชล้มลุกอินทรีย์แล้วประสบกับเหตุสุดวิสัย (เช่น น้ำท่วม ฝนแล้ง) จนทำให้กล้าพันธุ์เสียหาย มกท. อาจอนุโลมให้ผู้ผลิตใช้กล้าพันธุ์จากแหล่งทั่วไปได้




          2.5.9 อนุญาตให้ทำการขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีเพาะเมล็ด หรือใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ตอนกิ่ง, แยกหน่อ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น และต้องจัดการด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์เท่านั้น ยกเว้นให้เฉพาะวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในโปรแกรมสหภาพยุโรป การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องดำเนินการในระบบเกษตรอินทรีย์




          2.5.10 วัสดุที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชรวมถึงวัสดุเพาะต้องอยู่ในรายการที่อนุญาต




          2.5.11 ในกรณีไม้ยืนต้น ถ้ากิ่งพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์พืชที่นำมาปลูกในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ไม่ได้มาจากระบบเกษตรอินทรีย์ผลิตผลที่ได้จากการปลูกในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ในช่วง 12 เดือนแรกจะยังไม่สามารถจำหน่ายภายใต้ตรา มกท.ได้




          2.5.12 ห้ามใช้พันธุ์พืช และละอองเกสร (pollen) ที่มาจากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการทำพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) รวมถึงพืชที่ถูกปลูกถ่ายยีน (transgene plants)




          2.6 ความหลากหลายของพืชภายในฟาร์ม




          มาตรฐาน




          2.6.1 ในการปลูกพืชล้มลุก ผู้ผลิตต้องสร้างความหลากหลายของพืชภายในฟาร์ม โดยอย่างน้อยต้องปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อช่วยลดการระบาดของโรค แมลง และวัชพืช รวมทั้งการปลูกพืชบำรุงดิน เพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ผลิตได้สร้างความหลากหลายของพืชภายในฟาร์มได้ด้วยวิธีอื่น




          2.6.2 ในสวนไม้ยืนต้น ผู้ผลิตต้องสร้างความหลากหลายของพืชภายในฟาร์ม โดยอย่างน้อยต้องปลูกพืชคลุมดิน และ/หรือปลูกพืชอื่น ๆหลากหลายชนิด




          2.7 การผลิตพืชคู่ขนาน




          มาตรฐาน




          2.7.1 พืชที่ปลูกในแปลงเกษตรทั่วไปที่ไม่ได้ขอรับรองและแปลงที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยน ไม่ควรเป็นพืชชนิดเดียวกันกับที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์และที่ต้องการจะจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ยกเว้น เป็นพืชคนละพันธุ์ (varieties) ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างได้โดยง่าย เช่น มีลักษณะรูปร่าง




สี ฯลฯ แตกต่างกัน หรือมีวันเก็บเกี่ยวที่ต่างกัน




          2.7.2 มกท. อาจอนุญาตให้ผู้ผลิตทำการผลิตพืชคู่ขนานได้ในกรณีของการปลูกพืชยืนต้นและในกรณีที่ผู้ผลิตขยายพื้นที่การผลิตใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการผลิตแบบคู่ขนานอินทรีย์-อินทรีย์ปรับเปลี่ยน โดยผู้ผลิตต้อง




          2.7.2.1 แจ้งแผนการผลิตและมาตรการป้องกันผลผลิตปะปนกันให้ มกท. ทราบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการผลิต




          2.7.2.2 มีระบบการบันทึกการเก็บเกี่ยว การจัดการผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว และการขายที่แยกผลผลิตออกจากกันอย่างชัดเจน




          2.7.2.3 ต้องปรับเปลี่ยนแปลงที่มีการผลิตแบบคู่ขนานให้เป็นเกษตรอินทรีย์ภายในระยะเวลา 5 ปีทั้งนี้ มกท. อาจกำหนดเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมให้ผู้ผลิตปฏิบัติ และอาจมีการไปตรวจสอบเพิ่มเติม โดย มกท. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณารับรองเป็นกรณีไป




          2.7.3 ในกรณีที่ผู้ผลิตได้รับค่าตอบแทนจากการให้ผู้อื่นเช่าพื้นที่ เป็นผลิตผลพืชชนิดเดียวกับพืชที่ได้รับการรับรองจาก มกท. ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรฐาน ข้อ 2.7.2.1 และ 2.7.2.2 เช่นเดียวกัน และผู้ผลิตต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่ มกท. อาจกำหนดขึ้นเพิ่มเติม




          2.8 การจัดการดิน น้ำ และปุ๋ย




แนวทางปฏิบัติ






  • ควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินอย่างน้อย 1 ครั้ง เพื่อวางแผนปรับปรุงดิน และวางแผนการจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสม รวมทั้งเป็นแนวทางในการเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่





  • ควรรักษาระดับความเป็นกรด-ด่างของดินที่เหมาะสมต่อพืชปลูก ในกรณีที่จำเป็นอาจใช้ปูนขาว โดโลไมท์ ปูนมาร์ล หรือขี้เถ้าไม้ เป็นต้น





  • ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า ควรปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เช่น ถั่วแปบ ถั่วลาย ถั่วดำ ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วพร้า ไมยราบไร้หนาม โสน ปอเทือง เป็นต้น





  • ควรมีการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือพืชบำรุงดินอื่น ๆ เป็นปุ๋ยพืชสด โดยอาจปลูกก่อนหรือหลังพืชหลัก หรือปลูกเป็นพืชหมุนเวียน





  • หลีกเลี่ยงหรือลดการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ เช่น รถแทรกเตอร์เนื่องจากทำให้เนื้อดินแน่นแข็ง ดินไม่ร่วนซุย การระบายน้ำไม่ดี





  • ควรมีมาตรการอนุรักษ์น้ำที่ใช้ในการทำฟาร์ม





  • ควรมีมาตรการในการป้องกันดินเค็ม เช่น การปลูกพืชคลุมดิน หรือการจัดการน้ำอย่างเหมาะสม




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ