หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานไทยและมาตรสากล

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-6-127ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานไทยและมาตรสากล

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านระบบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน หลักการจัดการสวนยางและประโยชน์ของการทำสวนยางพาราด้วยการจัดการสวนยางตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล (มอก 14061/ FSC/PEFC ฯลฯ) และแนวปฏิบัติการจัดการสวนยางและประโยชน์ของการทำสวนยางพาราด้วยการจัดการสวนยางพาราตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC, PETC และมีทักษะได้แก่ สามารถทำสวนยางพาราในแนวการจัดการสวนยางตามมาตรฐานไทยและสากล (มอก 14061/ FSC/PEFC ฯลฯ) ได้อย่างถูกวิธี และสามารถปฏิบัติการจัดการสวนยางพาราตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC, PEFC ได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B271 จัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามหลักการของมาตรฐานสากล FSC หรือ PEFC และมาตรฐานไทยด้านการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน 1) อธิบายหลักการทั่วไปจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล (มอก 14061/ FSC/PEFC ฯลฯ)ได้อย่างถูกต้อง B271.01 83248
B271 จัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามหลักการของมาตรฐานสากล FSC หรือ PEFC และมาตรฐานไทยด้านการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน 2) อธิบายหลักปฏิบัติการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล (มอก 14061/ FSC/PEFC ฯลฯ) ได้อย่างถูกต้อง B271.02 83249
B271 จัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามหลักการของมาตรฐานสากล FSC หรือ PEFC และมาตรฐานไทยด้านการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน 3) อธิบายประโยชน์ของการทำสวนยางพาราด้วยการจัดการสวนยางตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล(มอก 14061/ FSC/PEFC ฯลฯ) ได้อย่างถูกต้อง B271.03 83250
B271 จัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามหลักการของมาตรฐานสากล FSC หรือ PEFC และมาตรฐานไทยด้านการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน 4) ดำเนินการทำสวนยางพาราในแนวการจัดการสวนยางตามมาตรฐานไทยและสากล (มอก 14061/ FSC/PEFC ฯลฯ) ได้อย่างถูกวิธี B271.04 83251
B272 ปฏิบัติตามแนวการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC, PEFC 1) อธิบายหลักปฏิบัติการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามระเบียบ ข้อบังคับหลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC,PEFC ได้อย่างถูกต้อง B272.01 83252
B272 ปฏิบัติตามแนวการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC, PEFC 2) อธิบายการปฏิบัติการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามระเบียบข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061,FSC, PEFC ได้อย่างถูกต้อง B272.02 83253
B272 ปฏิบัติตามแนวการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC, PEFC 3) อธิบายประโยชน์ของการทำสวนยางพาราด้วยการจัดการสวนยางตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล(มอก 14061/ FSC/PEFC ฯลฯ) ได้อย่างถูกต้อง B272.03 83254
B272 ปฏิบัติตามแนวการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC, PEFC 4) ปฏิบัติการจัดการสวนยางพาราตามระเบียบ ข้อบังคับหลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC,PEFC ได้อย่างถูกวิธี B272.04 83255

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์  และการสรุปผลการจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น การดำเนินงาน ในการจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากล




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานจัดการสวนยางพาราตามมาตรฐานไทยและมาตรฐานสากลให้ถูกต้อง




          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการจัดการสวนยางพาราตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมB271วิชาการ) มอก.14061, FSC, PEFC




          2) มีความรู้แนวปฏิบัติการจัดการสวนยางพาราตามระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ของการทำสวนยางพาราของแต่ละประเทศ (กรมวิชาการ) มอก.14061, FSC, PEFC


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการประยุกต์หลักการทำสวนยางพาราด้วยเกษตรผสมผสานตามศาสตร์พระราชา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          1.มาตรฐานและแนวปฏิบัติการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน( มอก. 14061)




          สำนักนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม ้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทรวง ได้กำหนด มาตรฐาน การจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน( มอก. 14061)




          1.1ข้อกำหนดทั่วไป สำหรับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน




          ข้อกำหนดทั่วไป สำหรับการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่กำหนดเป็นมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้ เศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระดับชาติ ประกอบด้วยข้อกำหนด ทางด้านการจัดการ และข้อกำหนดทางด้านการกระทำ ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในระดับสวนป่าหรือ ในระดับอื่นๆที่เหมาะสม เพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่า เจตนาของข้อกำหนด




          ทั้งหมดได้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีความชัดเจน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของข้อกำหนด และสามารถตรวจรับรองได้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติกับกิจกรรมการดำเนินการของผู้เกี่ยวข้องทุกคนในพื้นที่สวนป่าไม้เศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่าง ๆ และมีการกำหนดการจัดเก็บบันทึกเอกสาร ที่ต้องจัดหาไว้ให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงถึงการปฏิบัติตาม




          ข้อกำหนดของมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน




          1.2 ข้อกำหนดเฉพาะ




          หลักการที่ 1:การบำรุงรักษาพื้นที่สวนป่าอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่ยั่งยืน




          หลักการที่ 2 : การรักษาสุขภาพและความแข็งแรงของระบบนิเวศป่าไม้




          หลักการที่ 3 :การรักษาสภาพและการสนับสนุนการทำหน้าที่ด้านผลผลติและบริการของสวนป่า




          หลักการที่ 4 : การรักษาสภาพ การอนุรักษ์และการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศป่าไม้




          หลักการที่ 5 :การรักษาสภาพและการส่งเสริมการทำหน้าที่ด้านการป้องกันของการจัดการสวนป่า (เพื่อการ อนุรักษ์ดินและน้ำ)




          หลักการที่ 6 : การรักษาสภาพการทำหน้าที่ทางด้านเศรษฐกิจสังคมของสวนป่า




          หลักการที่ 7 : การปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย




          2.หลักและแนวปฏิบัติการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC (สำนักนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2558)




          องค์การพิทักษ์ป่าไม้ (Forest Stewardship Councilและ มาตรฐาน FSCคือ องค์การที่ไม่หวังผลกำไรภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มต่างๆ จากทั่วโลก อาทิ กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ผู้ค้าไม้ ผู้ผลิตสินค้าจากไม้ และองค์การผู้ให้การรับรองไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ เพื่อจัดทำระบบการให้การรับรองไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ให้มีหลักประกันว่า ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ที่ได้รับการประทับเครื่องหมาย FSC เป็นไม้หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติหรือป่าปลูกที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ คือ มีการปลูกไม้แบบยั่งยืน




          การรับรองทางป่าไม้ (forest certification) เป็นวิธีการใหม่ของวงการป่าไม้ทั่วโลก โดยการใช้การตลาดเป็นข้อกำหนดในการจูงใจให้ ปรับปรุงวิธีการจัดการป่าไม้ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและมีการรับรองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการชักจูงให้กระทำตาม โดยมิใช่บังคับโดยกฎหมายหรือกฎระเบียบต่าง ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติมาในอดีต และประการสำคัญ วิธีการนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ (stakeholders) หันหน้าเข้าหากันแล้วเดินไปตามหลักการของการพัฒนาแบบยั่งยืน




          การรับรองป่าไม้ (FC) ได้มีการพัฒนาต่อจากการประชุม United Nation Conference on Environment and Development: UNCED ที่เมือง Rio de Janeiro ประเทศบราซิล เมื่อวันที่ 3-14 มิถุนายน พ.ศ.2535 ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกันที่จะให้ความสนใจ 3 ประการหลัก คือ1. ความหลากหลายทางชีวภาพ (biological diversity)2. การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ (climate change)3. การต่อสู้กับการขยายตัวของทะเลทราย (combat deserti-fication) และได้มีการกำหนดหลักการป่าไม้ขึ้นมา (forest principles) สำหรับเป็นหลักในการนำไปปฏิบัติทั่วโลก และจากการประชุมการป่าไม้ของทวีปยุโรปที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ในปี พ.ศ.2536 ได้กำการดำเนินการอย่างมีมาตรฐาน และในการนำสินค้าออกจากป่า ก็ต้องดำเนินการในลักษณะการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน รวมทั้งมีแนวความคิดเรื่องการติดฉลากรับรองสินค้าจากไม้ (labeling) และในปี พ.ศ.2543 ประเทศสมาชิกของ International Tropical Timber Organization: ITTO ได้มีการตกลงกันว่าให้ประเทศสมาชิกเสนอรายละเอียดการดำเนินการตามหลักการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนเพื่อจะได้ใช้ในการปฏิบัติการต่อไป สำหรับการประยุกต์ใช้หลักFSC กับสวนยางพารา โดยอาศัยหลัก ของ FSC 10 ประการได้แก่




          10 หลักการสำคัญในการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน FSC




          1. การปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการของมาตรฐาน FSC โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย สนธิสัญญาภายในประเทศและต่างประเทศต่างอย่างเคร่งคัด รวมไปถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษีอย่างถูกต้อง และต้องมีการจัดทำแผนและกระบวนการป้องกันพื้นที่สวนป่าอย่างชัดเจน




          2. การเคารพต่อสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์ที่สวนป่าและการรับผิดชอบตามกฎหมาย




          โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องมีหลักฐานการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนป่าอย่างถูกต้อง อาทิเช่น โฉนดที่ดินและส.ป.ก. การบริหารสวนป่าต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์พื้นที่ของชุมชนท่องถิ่น




          3. การเคารพต่อสิทธิชนพื้นเมือง เกษตรกรชาวสวนยางพาราและผู้ผลิตไม้ยางพาราแปรรูปหรือผลิตภัณฑ์ไม้ต้องเคารพสิทธิในการครอบครองและการจัดการป่าไม้ของคนพื้นเมือง และจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ร้ายต่อชนพื้นเมือง เช่นแหล่งที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนพื้นเมือง
                    4. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและการเคารพต่อสิทธิของพนักงาน โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องรักษาและส่งเสริมความเป็นอยู่ของพนักงานและชุมชนท้องถิ่นในด้านสังคม เศรษฐกิจและสวัสดิการความปลอดภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โอกาสในการจ้างงาน การฝึกอบรม สิทธิต่างๆของพนักงาน และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่น




          5. การบริหารจัดการผลประโยชน์จากสวนป่า โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์ผลผลิตจากสวนยางพาราให้เกิดประสิทธิภาพสูง เพื่อเป็นเน้นความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ พร้อมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมในขณะเดียวกัน ดังนั้นการจัดการสวนยางพาราควรลดความสูญเสียของผลผลิตในขั้นตอนต่างๆให้ได้มากที่สุด และจำเป็นต้องคำนึงถึงการรักษาพื้นที่ที่มีความสำคัญและเหมาะสมในด้านต่างๆ ที่จะช่วยเสริมคุณค่าและการใช้ประโยชน์ของป่าไม้และทรัพยากรต่างๆ




          6. การป้องกันดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและคุณค่าการอยู่ร่วมกัน ทรัพยากรดินและน้ำ ระบบนิเวศน์ที่มีลักษณะพิเศษและเปราะบาง รวมไปถึงความสมดุลทางนิเวศและความสมบูรณ์ของป่าไม้ ผ่านทางการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการจัดระบบป้องกันหรือลดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและชัดเจน




          7. การจัดทำแผนการจัดการและดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องจัดทำแผนการจัดการสวนยางพาราที่ชัดเจน และมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งแผนการตรวจสอบนี้ต้องมีเป้าหมายระยะสั้นและยาวรวมถึงวิธีการปฏิบัติงานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการอย่างละเอียด




          8. การตรวจสอบติดตามและการศึกษาวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องดำเนินการตรวจสอบติดตามพร้อมศึกษาวิเคราะห์สวนยางพาราอย่างใกล้ชิดและเหมาะสมกับขนาดและปัจจัยต่างๆของสวนยางพารา ซึ่งต้องมีการเปรียบเทียบผลและศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง พร้อมเก็บข้อมูลที่สำคัญต่างๆเกี่ยวกับสวนยางพาราไว้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบและศึกษาต่อในอนาคต




          9. การฟื้นฟูป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงด้านการอนุรักษ์ โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องอนุรักษ์บำรุงและส่งเสริมคุณลักษณะของพื้นที่ป่าไม้ และต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆในการดำเนินกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวข้องกับสวนป่าอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ กลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องมีการตรวจสอบ และกำหนดระบบการจัดการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่สำคัญนี้ พร้อมมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ




          10. การจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืนที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มจัดการสวนยางพาราต้องมีการวางแผนการจัดการพื้นที่สวนยางพาราให้สอดคล้องกับหลักการทั้งหมดที่ผ่านมา และต้องส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าธรรมชาติ และลดแรงกดดันต่อป่าทรัพยากรธรรมชาติให้ได้มากที่สุด




          3.หลักและแนวปฏิบัติการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน PEFC (สำนักนวัตกรรมไม้เศรษฐกิจองค์การอุตสาหกรรมป่าไม ้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,2558)




          PEFC หรือ Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme เป็นองค์กรระดับนานาชาติที่ไม่หวังผลกำไร และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน เช่นเดียวกันกับ FSC องค์กรนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2542 (1999) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิทเซอร์แลนด์




          PEFC ใช้กลไกตลาดเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ผ่านการให้การรับรองและการติดตราสัญลักษณ์ (Label) บนไม้และสินค้าไม้ เช่นเดียวกันกับ FSC แต่กลไกการกำหนดมาตรฐานและการให้การรับรองป่าไม้และ Chain-of-Custody ของ PEFC มีหลักการแตกต่างจาก FSC กล่าวคือ PEFC ทำหน้าที่เป็นองค์กรแม่ข่าย (Umbrella organization) ที่ให้การประเมินและให้การยอมรับระบบการรับรองป่าไม้ระดับประเทศ (National Certification Scheme) โดยอาศัย หลักการ แนวทางปฏิบัติ และเกณฑ์การประเมิน ที่พัฒนาขึ้นโดยองค์กรระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆ ให้การยอมรับ เช่น ITTOและขั้นตอนการรับฟังความเห็นและฉันทามติ (Consensus) จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ โดยเกณฑ์พื้นฐานที่นำมาใช้ในการกำหนดมาตรฐานระดับประเทศสรุปได้ใน "หลักเกณฑ์พื้นฐานของ PEFC




          PEFC เชื่อว่าการกำหนดมาตรฐานบนพื้นฐานของความเข้าใจในปัญหาป่าไม้และการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การกำหนดมาตรฐานอย่างโปร่งใสและเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการร่าง การแยกกระบวนกำหนดมาตรฐาน การให้การรับรองและการประเมินหน่วยรับรองออกจากกันโดยสิ้นเชิง และการยึดมาตรฐาน ISO ในการให้การรับรองและตรวจประเมินหน่วยให้การรับรอง รวมถึงการกำหนดมาตรฐานที่สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ จะทำให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ นำไปปฏิบัติได้จริง และจะนำไปสู่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน




          ระบบรองรับการให้การรับรอง




          ระบบของ PEFC เปิดกว้างสำหรับหน่วยงานผู้ให้การรับรอง (Certification Body) ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการป่าไม้ รู้ปัญหาของป่าไม้ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความรู้ในเรื่องกระบวนการผลิต การจัดซื้อ และการไหลของไม้ในขั้นตอนต่างๆ ของสายโซ่การผลิตสินค้าจากไม้ หน่วยงานที่จะเป็นหน่วยให้การรับรองได้จะต้องผ่านการตรวจประเมินความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17021:2006 และ/หรือ ISO Guide 65:1996 ส่วนตัวผู้ประเมิน (Auditors) เองก็ต้องมีความรู้ความสามารถในด้านการบริหารจัดการคุณภาพและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับที่กำหนดในมาตรฐาน ISO 19011:2002 โดยมีหน่วยงานตรวจประเมินความสามารถของประเทศ (National Accreditation Bodies) เป็นผู้ตรวจประเมิน




          PEFC ใช้กลไกการตรวจประเมินคุณภาพหน่วยให้การรับรอง ในการควบคุมคุณภาพของการให้การรับรองป่าไม้ โดยหน่วยประเมิน (National Accreditation Bodies: NAB) เองก็ต้องมีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO/IEC 17011:2004 เพื่อให้มั่นใจว่ากลไกของ PEFC จะดำเนินได้อย่างสอดคล้องเท่าเทียมกัน และมีความเชื่อถือได้ เหมือนกันไม่ว่าจะประเมินในประเทศใด NAB ยังต้องเป็นสมาชิกของ International Accreditation Forum (IAF) และ เพื่อให้มั่นใจในความโปร่งใสและเพื่อเปิดโอกาสให้สังคมได้รับรู้และตรวจสอบการทำงานของหน่วยให้การรับรอง PEFC กำหนดให้ต้องนำรายงานผลการตรวจรับรอง (Certifcation report) ออกเผยแพร่สู่สาธารณะ




          การรับรองไม้ PEFC




          มาตรฐานการรับรองฯ ภายใต้ PEFC แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มการรับรองการจัดการป่าไม้ และการรับรอง Chain-of-Custody โดยการรับรองป่าไม้ สามารถทำได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ อาทิ การให้การรับรองการจัดการป่าไม้ระดับภูมิภาค (Regional Certification) การให้การรับรองแบบกลุ่ม (Group Certification) และการให้การรับรองระดับเอกชน (Individual Certification) การให้การรับรอง Chain-of-Custody (CoC) ของ PEFC อาจมีประเด็นด้านความเข้ากันได้ของข้อกำหนดของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติ การควบคุม CoC ยังต้องยุ่งเกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากหลายประเทศ ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะมีการใช้วัสดุรีไซเคิลมากขึ้น นอกจากนี้ หากพิจารณาปริมาณไม้ที่มีใบรับรองไม่ว่าจะเป็นการรับรองตามระบบ PEFC หรือ FSC เทียบกับปริมาณไม้เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าในแต่ละปี จะเห็นได้ว่าไม้ที่มี “ใบรับรอง” ยังมีส่วนแบ่งในตลาดค่อนข้างต่ำ (ประมาณ 25%) อีกทั้ง FSC และ PEFC ยังไม่มีระบบการยอมรับซึ่งกันและกัน ทำให้ผู้ประกอบการต้องเลือกสมัครเข้ากับระบบที่มีโอกาสหา Supplier ในสายโซ่การผลิตได้มากกว่า PEFC ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และได้วางระเบียบและมาตรการดำเนินการ เพื่อปรับปรุงกลไกของตนให้รองรับการควบคุมและการรับรอง CoC ในทางปฏิบัติเป็นระยะๆ โดยล่าสุด PEFC ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานใหม่ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ย. 2554 นี้ เพื่อให้ทันต่อกฎระเบียบที่ออกมาใหม่




          PEFC Council ได้ให้การรับรอง ระบบการรับรองป่าไม้ระดับประเทศ (National Certification Scheme) ใน 27 ประเทศทั่วโลก โดยบางระบบในบางประเทศ (เช่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา) เลือกใช้ชื่อและโลโก้ของตน แทนการใช้เครื่องหมาย PEFC


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ