หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-4-128ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านระบบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆโดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในความหมาย ประโยชน์และชนิดของการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางพารา ความหมายประโยชน์ และชนิดของปลาของการเลี้ยงปลาในสวนยางพารา และการปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงปลา ความหมายประโยชน์ และชนิดของพืชและไม้เศรษฐกิจของปลูกยางพาราร่วมกับพืชและไม้เศรษฐกิจ และมีทักษะได้แก่สามารถกำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ได้อย่างถูกต้อง สามารถเลี้ยงสัตว์ร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี  สามารถเลี้ยงปลาร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี และสามารถปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B281 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บก 1) อธิบายความหมายของการเลี้ยงสัตว์บกในสวนยางพาราได้ B281.01 83256
B281 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บก 2) อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์บกในสวนยางพาราได้ B281.02 83257
B281 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บก 3) อธิบายชนิดของสัตว์บกที่สามารถเลี้ยงในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง B281.03 83258
B281 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บก 4) กำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บกได้อย่างถูกต้อง B281.04 83259
B281 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์บก 5) ดำเนินการเลี้ยงสัตว์บกร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี B281.05 83260
B282 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ 1) อธิบายความหมายของการเลี้ยงสัตว์น้ำในสวนยางพาราได้ B282.01 83261
B282 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ 2) อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์น้ำในสวนยางพาราได้ B282.02 83262
B282 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ 3) อธิบายชนิดของสัตว์น้ำที่สามารถเลี้ยงในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง B282.03 83263
B282 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ 4) กำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำได้อย่างถูกต้อง B282.04 83264
B282 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ 5) ดำเนินการเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี B282.05 83265
B283 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 1) อธิบายความหมายของการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในสวนยางพาราได้ B283.01 83266
B283 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 2) อธิบายประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในสวนยางพาราได้ B283.02 83267
B283 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 3) อธิบายชนิดของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่สามารถเลี้ยงในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง B283.03 83268
B283 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 4) กำหนดรูปแบบการทำสวนยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำได้อย่างถูกต้อง B283.04 83269
B283 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 5) ดำเนินการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำร่วมกับการทำสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี B283.05 83270
B284 ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจ 1) อธิบายความหมายของปลูกยางพาราร่วมกับพืชและไม้เศรษฐกิจได้ B284.01 83271
B284 ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจ 2) อธิบายประโยชน์ของการปลูกยางพาราร่วมกับพืชและไม้เศรษฐกิจได้ B284.02 83272
B284 ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจ 3) อธิบายชนิดของพืชและไม้เศรษฐกิจที่ปลูกในสวนยางพาราได้ B284.03 83273
B284 ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจ 4) อธิบายการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง B284.04 83274
B284 ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจ 5) ดำเนินการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชและไม้เศรษฐกิจได้อย่างถูกวิธี B284.05 83275

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด ตัดสินใจเลือก แยกความแตกต่าง และการดำเนินงานการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ ได้แก่ การปลูกยางร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ พืชและไม้เศรษฐกิจ




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆให้ถูกต้อง




          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์




          2) มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงปลา




          3) มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ




          4) มีความรู้ในการปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกไม้ผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการทำสวนยางพาราร่วมกับอาชีพการเกษตรอื่น ๆ (พืชร่วม พืชแซม) ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          1) ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์




          1.1 การเลี้ยงแพะในสวนยางพารา




          - ข้อดีในการเลี้ยงแกะ




          (1) ให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค




          (2) ขนาดตัวเล็ก ให้พื้นที่น้อย เลี้ยงดูง่าย




          (3) ให้ผลผลิตเนื้อ หนัง ขน




          - เป้าหมายในการเลี้ยงแกะ




          (1) เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหย่านมต่อปีให้สูงขึ้น โดย




          (2) ลดช่วงห่างการให้ลูกลง จาก 10-12 เดือน เป็น 7-8 เดือน ดูแลจัดการเรื่องการผสมพันธุ์ให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์




          (3) เพิ่มจำนวนลูกต่อครอกให้สูงขึ้น คัดเลือกลูกแกะที่เกิดจากลูกแฝดมาเลี้ยง ดูแลการให้อาหารเพิเศษแก่แม่พันธุ์ 2 สัปดาห์ก่อนผสมพันธุ์




          - พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริม




          (1.) แกะพันธุ์คาทาดิน กรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ.2532 เป็นแกะเนื้อที่รัปบตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสิรมอาหารข้น ผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.1 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก.




          (2.) แกะพันธุ์ซานตาอิเนส เป็นแกะเนื้อ จำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ.2540 ขนาดใหญ่ใบหูยาวปรก หน้าโค้งนูน มีหลายสี น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก. น้ำหนักหย่านม 18-20 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.




          (3.) แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบล็คเบลลี เป็นแกะเนื้อ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบาร์บาโดส แถบทะเลแคริบเบียน มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม และมีสีดำที่ใต้คาง ใต้ใบหู บอบตา และบริเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกดก อัตราการเกิดลูกแฝดสูง 60.8% แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก 45 กก. ขนาดครอก 1.5-2.3 ตัวต่อครอก น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว 3.0 กก. ลูกแฝด 2.8 กก. น้ำหนักหย่านมอายุ 4 เดือน ลูกเดี่ยว 1.7 กก. ลูกแฝด 13.4 กก. และน้ำหนักโตเต็มที่ เพศผู้ 68-90 กก. เพศเมีย 40-59 กก.




          (4) แกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์ มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม




ต่าง ๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้นำแกะพันธุ์เซาท์แอฟริกันมัตตอนเมอริโน, แกะพันธุ์คอร์ริเดลและแกะพันธุ์บอนด์ ซึ่งให้ผลผลิตทั้งเนื้อและขนที่มีลักษณะดีเข้ามาเลี้ยงปรับปรุงพันธุ์แกะในประเทศ เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร




          1.2 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำ




          (1) การเลี้ยงปลาดุกในสวนยางพารา




          วิธีการขุดเป็นบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตรและลึก 1 เมตร โดยขุดเป็น 2 ระดับพื้นปูด้วยพลาสติกและล้อมด้วยตาข่ายเพื่อเลี้ยงปลาดุกประมาณ 400 ตัว โดยใช้จุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย ใช้มุ้งไนลอนกั้นขอบปากบ่อเพื่อป้องกันปลากระโดและสัตว์ที่อาจจะเข้ามากินปลาในบ่อ ใช้เวลาขุนประมาณ 8 เดือนก็จะสามารถจับขายได้




          (2) การเลี้ยงปลานิลในสวนยางพารา




          ปลานิลถือเป็นปลาเศรษฐกิจของประเทศ ราคาที่ขายได้ประมาณกิโลกรัมละ 70-100 บาท การเพาะเลี้ยงปลานิล ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนกว่าจึงมีขนาดโตพอจับขาย ต้นทุนประมาณ 20,000 บาท ที่ใช้ต่อการเลี้ยงปลานิล 1 บ่อ ปลานิลที่เลี้ยงไว้จะออกลูก ทำให้พื้นที่บ่อเลี้ยงหนาแน่นมากขึ้น ต้องหมั่นคอยสังเกตคัดจับปลาออกบ้าง การคัดจับปลานิลทำได้ง่าย โดยใช้ตาข่ายไนล่อนขนาดช่องตา 6-8 เซนติเมตรช้อนจับออกจำหน่าย เพื่อลดความหนาแน่น และวิดน้ำจับปลาทั้งหมด เมื่อเลี้ยงปลาได้ครบ 1 ปี หรือรอจับในช่วงเวลาที่ปลามีราคาสูงขึ้น ต้องระมัดระวังในเรื่องของสารพิษที่ใช้ฉีดฆ่าศัตรูพืชที่อาจปนเปื้อนลงมาภายในบ่อเวลาที่น้ำล้นบ่อ ซึ่งมีผลทำให้ปลานิลที่มีขนาดเล็กไม่สามารถปรับสภาพกับสารพิษเหล่านี้เป็นสาเหตุให้ปลาในบ่อเลี้ยงตายได้




          1.3 ปลูกยางพาราร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ




          - การเลี้ยงกบ




          วิธีดำเนินการ




          1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ แต่ควรให้ห่างจากถนนเพื่อป้องกันเสียงรบกวน




          2. สร้างบ่อซีเมนต์ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 1 เมตร เพื่อใช้เพาะพันธุ์กบ จำนวน 1 บ่อ




และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน 3 บ่อ โดยก่อแผ่นซีเมนต์และฉาบด้วยปูนซีเมนต์ ปูนที่ฉาบควรหนาเป็นพิเศษ ตรงส่วนล่างที่เก็บขังน้ำสูงจากพื้น 1 ฟุต พื้นล่างเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด




          3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง




          การเพาะพันธุ์กบ




          ล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำมาใส่ไว้เพื่อให้ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1คู่มาใส่ไว้รวมกันประมาณ 2-3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น. เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตก




          การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน




          เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำไม้ไผ่มาทำเป็นแพหรือแผ่นโฟมลอยน้ำเพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน อาจมีการรังแกกันจนเกิดแผลทำให้ลูกกบตายได้ ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว




          การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต




          เมื่อคัดลูกกบนำไปเลี้ยงในบ่อแล้ว ใส่วัชพืชน้ำและวัสดุลอยน้ำลงไป เช่น แพไม้ไผ่หรือแผ่นโฟม เพื่อให้กบขึ้นไปอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดดด้วยในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อซีเมนต์ใหม่ ๆ นี้ ให้ใช้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ 3 กิโลกรัมในขั้นตอนนี้ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้




          2) ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ




          2.1 การเพาะ”เห็ดฟาง”จากทะลายปาล์มในสวนยาง




          ข้อพิจารณา การเพาะเห็ดเป็นกิจกรรมที่ให้รายได้รวดเร็ว สามารถเพาะเห็ดได้ในสวนยางที่ให้ผลผลิตแล้ว โดยควรเป็นสวนที่มีแหล่งน้ำเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน




          วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะเห็ด ได้แก่ทะลายปาล์มน้ำมัน เชื้อเห็ดฟาง ผ้า พลาสติกความยาว ม้วนละ 70 เมตร ไม้ไผ่ สำหรับขึงผ้าพลาสติก ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟาง น้ำ ทะลายปาล์มมากองรวมล้อมกันเป็นวงกลม โดยจะฉีดน้ำ 2 วันต่อหนึ่งครั้ง คลุมด้วยผ้าพลาสติก รอประมาณ 3-7 วัน เพื่อให้ทะลายปาล์มชุ่มน้ำ การวางทะลายปาล์ม วางเป็นร่องตามระหว่างแถวยางความยาวประมาณ 5 เมตร ฉีดน้ำลงบนทะลายปาล์ม เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก โรยเชื้อเห็ด ลงบนร่องที่เตรียมไว้ โดย 1 ร่อง ใช้เชื้อ 3 ก้อน โรยเชื้อก้อนละ 1 เมตร รอประมาณ 3 วัน ขึ้นโคลงไม้ไผ่ เป็นแนวไว้สำหรับขึงผ้าพลาสติก ประมาณ 4-5 โคลง โค้งเป็นแนวยาว คลุมผ้าพลาสติกตามแนวโคลงไม้ไผ่ ประมาณ 7 – 9 วัน เห็ดก็จะงอก สามารถเก็บไปขายได้การดูแลรักษา ระบายความร้อน หลังจากเพาะเห็ดแล้ว 4-5 วัน ให้เปิดชายผ้าพลาสติกเพื่อระบายความร้อนออกจากกองเห็ดเป็นครั้งคราว เพราะถ้าอากาศร้อนเกินไปเส้นใยเห็ดจะไม่รวมตัวเป็นดอก นอกจากช่วยระบายความร้อนแล้วยังเป็นการเพิ่มอากาศให้กับเห็ดอีกด้วย พยายามให้ความชื้นแก่กองเห็ดอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง พยายามพ่นน้ำให้เป็นฝอยลงบนกองเห็ดพอชุ่มชื้น




          ผลผลิตและผลตอบแทน ทะลายปาล์มน้ำมัน 1 คันรถบรรทุก 6 ล้อ เพาะเห็ดได้ ประมาณ 380กิโลกรัม ต้นทุนประมาณ 3,000 บาท รายได้ 19,000 บาท




          2.2 กาแฟโรบัสต้าทดแทนยาง




          ข้อพิจารณา กาแฟโรบัสต้า เป็นกาแฟที่นิยมปลูกในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันกาแฟเป็นพืชที่มีตลาดค่อนข้างดี จึงเป็นพืชที่น่าสนใจในการปลูกทดแทนพื้นที่ปลูกยางพาราบางส่วน พื้นที่ปลูกควรมีสภาพดินเป็นดินร่วน มีหน้าดินลึก และไม่มีน้ำขัง




          วิธีการปลูก การปลูกในพื้นที่เปิดใหม่หรือพื้นที่ปลูกยางพาราเดิม ต้องนำต้นและเศษซากยางจากการโค่นล้มออกจากพื้นที่ เตรียมหลุมปลูก 50-100 x 50-100 x 50-100 เซนติเมตร และมีการปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน โดยเพิ่มปุ๋ยคอก วัสดุปรับปรุงดินต่าง ๆ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 และ 15-15-15 ผสมกับดินที่ขุดจากหลุม คลุกเคล้าผสมกัน การเตรียมต้นกาแฟโรบัสต้าใช้ต้นที่มีอายุต้นประมาณ 6-8 เดือน ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร เนื้อที่ 1 ไร่ ปลูกกาแฟได้ประมาณ 178 ต้น และเนื่องจากกาแฟโรบัสต้าเป็นพืชผสมข้าม จึงควรปลูกอย่างน้อย 3 พันธุ์ เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิต กาแฟพันธุ์แนะนำ ได้แก่ พันธุ์ชุมพร 2 ชุมพร 84-4 และชุมพร 84-5 ที่ให้ผลผลิตสูง การใส่ปุ๋ย ร่วมกับการตัดแต่งกิ่ง กำจัดวัชพืช และป้องกันกำจัดโรค/แมลง ปีที่ 1 และ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ขีดต่อต้นต่อปี และสูตร 46-0-0 อัตรา 1 ขีดต่อต้นต่อปี ปีที่ 3 เป็นต้นไป ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 2 ขีดต่อต้นต่อปีและสูตร 13-13-21 อัตรา 6-8 ขีดต่อต้นต่อปี กาแฟจะให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 3 ปี




          ผลผลิตและผลตอบแทน ผลผลิตผลสด 390-450 กิโลกรัมต่อไร่ การลงทุนสร้างสวนใหม่ปีแรก7,000-8,000 บาทต่อไร่ ปีต่อ ๆไปประมาณ 4,000 บาทต่อไร่ รายได้ 13,650-15,750 บาทต่อไร่




          3) ปลูกยางพาราร่วมกับการปลูกไม้ผล




          3.1 การปลูกมังคุดในสวนยางพารา ทำการปลูกก่อนมีการโค่นยาง 5 ปี ใช้ระยะระหว่างต้นมังคุด 8 เมตร และแนะนำให้ปุ๋ยแก่มังคุดปีละ 2 ครั้ง มังคุดก็จะเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน คือ ค่าต้นมังคุดประมาณ 25 ต้นต่อไร่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ