หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสวนยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่น

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-4-123ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสวนยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่น

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านระบบการจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเภท สูตรปุ๋ย วิธีการใส่ปุ๋ยและปริมาณในการใส่ปุ๋ยที่ใช้ดูแลส่วนยางพาราในช่วงเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพารา วิธีการดูแลรักษาโรคยางพาราในระยะเปิดกรีดได้ ชนิด และวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราช่วงเปิดกรีด รวมถึงประเภทและวิธีการกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดในสวนยางพาราช่วงเปิดกรีด  และมีทักษะได้แก่  สามารถกำหนด และเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยยางพาราช่วงเปิดกรีดได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถใส่ปุ๋ยยางพาราในช่วงเปิดกรีดได้อย่างถูกต้อง สามารถระบุโรค สาเหตุของโรค และวิธีการป้องกันกำจัดโรคยางาราในระยะหลังเปิดกรีดได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดและเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราหลังเปิดกรีดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B231 ใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด 1) อธิบายประเภทของปุ๋ยที่ใช้ดูแลสวนยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้ B231.01 83212
B231 ใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด 2) อธิบายสูตรปุ๋ยหรือเกรดปุ๋ยที่ใช้ดูแลสวนยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้ B231.02 83213
B231 ใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด 3) อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยที่ใช้ดูแลสวนยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้ B231.03 83214
B231 ใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด 4) อธิบายปริมาณในการใส่ปุ๋ยที่ใช้ดูแลสวนยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้ B231.04 83215
B231 ใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด 5) เลือกวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้อย่างถูกต้อง B231.05 83216
B231 ใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด 6) ดำเนินการใส่ปุ๋ยยางพาราในช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้อย่างถูกวิธี B231.06 83217
B232 ป้องกันและรักษาโรคยางพาราในช่วงเปิดกรีด 1) ระบุโรคที่เกิดกับยางพาราในระยะหลังเปิดกรีดได้ B232.01 83218
B232 ป้องกันและรักษาโรคยางพาราในช่วงเปิดกรีด 2) ระบุสาเหตุของโรคยางพาราที่เกิดกับยางพาราในระยะหลังเปิดกรีดได้ B232.02 83219
B232 ป้องกันและรักษาโรคยางพาราในช่วงเปิดกรีด 3) ระบุวิธีป้องกันโรคที่เกิดกับยางพาราในระยะหลังเปิดกรีดได้อย่างถูกวิธี B232.03 83220
B232 ป้องกันและรักษาโรคยางพาราในช่วงเปิดกรีด 4) อธิบายวิธีดูแลรักษาโรคยางพาราในระยะหลังเปิดกรีดได้อย่างถูกวิธี B232.04 83221
B233 กำจัดวัชพืชในช่วงเปิดกรีด 1) อธิบายชนิดของวัชพืชในสวนยางพาราได้ B233.01 83222
B233 กำจัดวัชพืชในช่วงเปิดกรีด 2) อธิบายวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชได้ B233.02 83223
B233 กำจัดวัชพืชในช่วงเปิดกรีด 3) อธิบายประเภทและวิธีกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดในสวนยางพาราช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกวิธี B233.03 83224
B233 กำจัดวัชพืชในช่วงเปิดกรีด 4) กำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้อย่างถูกต้อง B233.04 83225
B233 กำจัดวัชพืชในช่วงเปิดกรีด 5) เลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราช่วงหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นได้ B233.05 83226
B233 กำจัดวัชพืชในช่วงเปิดกรีด 6) ดำเนินการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราช่วงเปิดกรีดจนถึงโค่นได้อย่างถูกวิธี B233.06 83227
B233 กำจัดวัชพืชในช่วงเปิดกรีด 7) ดำเนินการดูแลบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์หลังจากการใช้งานได้อย่างถูกต้อง B233.07 83228

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลดูแลสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพารา




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น แยกความแตกต่าง กำหนด เตรียม และตัดสินใจเลือกและประเมินแนวทางการปฏิบัติงานดูแลสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพารา ได้แก่ ใส่ปุ๋ย ป้องกันกำจัดศัตรูยางพารา และกำจัดวัชพืช




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานดูแลสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพาราให้ถูกต้อง




          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการใส่ปุ๋ยยางพาราหในสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพารา




          2) มีความรู้ป้องกันและรักษาโรคยางในสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพาราด



          3) มีความรู้ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่นต้นยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์



          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของสวนยางและผู้ประกอบการการดูแลสวนยางพาราหลังเปิดกรีดจนถึงโค่น ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          ใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด




          ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีดที่แนะนำ คือ ปุ๋ยสูตร 30-5-18 ใช้ได้กับดินทุกชนิดทั้งในแหล่งปลูกยางเดิม




          และแหล่งปลูกยางใหม่ส่วนในดินที่ขาดธาตุแมกนีเซียม ที่มีปริมาณแมกนีเซียมในดินต่ำกว่า 0.30 meq / ดิน




          100 กรัม ควรใส่ปุ๋ยคีเซอไรท์ (26% MgO) เพิ่มในอัตรา 80 กรัมต่อต้นต่อปี การใส่ปุ๋ยให้แก่ต้นยางที่เปิดกรีดแล้วแนะนำให้ใส่ปุ๋ยอัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 500 กรัมต่อต้น ครั้งแรกใส่ในต้นฤดูฝนหลังจากยางผลัดใบระยะที่ใบเพสลาด คือประมาณปลายเดือนเมษายน – พฤษภาคม และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยในเดือนสิงหาคม – กันยายน โดยหว่านปุ๋ยห่างจากโคนต้นประมาณ 3 เมตร หรือบริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยาง แล้วคราดกลบให้ปุ๋ยอยู่ใต้ผิวดินที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร




          กำจัดวัชพืช




          การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธี




          1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต




          2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่




          3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป




          หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้




          การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน




          การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยางได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือกสีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร




          แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หาได้ง่ายเช่น




          สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมีถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์




          สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว




          สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี 150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุมที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง




          สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถกำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืชได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป โดยหลังจากพ่นสารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์




          การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว




          ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง




          การกำจัดหญ้าคา การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ผลดีกว่าวิธีอื่น ๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ




          สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิมฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมีอีกครั้งในอัตราเดิม




          สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่นด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน




          สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลังเจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด




          การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่าดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า




          หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏในฉลากที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทยตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ