หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กำหนดแผนการปลูกสร้างสวนยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-116ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กำหนดแผนการปลูกสร้างสวนยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดแผนการปลูกสร้างสวนยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในสภาพพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกสร้างสวนยางพารา การแพร่ระบาดของโรคยางพารา จุดแข็งและข้อจำกัดของยางพาราแต่ละสายพันธุ์ ระบบและระยะการปลูกสร้างสวนยางพาราตามหลักเกณฑ์กรมวิชาการเกษตรและ การยางแห่งประเทศไทยได้ ประเภทวัสดุปลูก รู้ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุปลูกแต่ละประเภท วิธีการคำนวณจำนวนต้นพันธุ์ยางที่จะใช้ในการปลูกและการปลูกซ่อม และมีทักษะ ได้แก่สามารถระบุพันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ได้ สามารถระบุระยะปลูกและระบบปลูกยางพาราที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง สามารถเลือกวัสดุปลูกได้อย่างเหมาะสมและสามารถคำนวณจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูกได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
         ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B141 กำหนดพันธุ์ยางที่ต้องการปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการ 1) อธิบายสภาพพื้นที่ที่จะใช้ในการปลูกยางพาราได้ B141.01 83119
B141 กำหนดพันธุ์ยางที่ต้องการปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการ 2) อธิบายการแพร่ระบาดของโรคยางพาราให้พื้นที่ที่จะใช้ในการปลูกยางพาราได้ B141.02 83120
B141 กำหนดพันธุ์ยางที่ต้องการปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการ 3) อธิบายจุดแข็งและข้อจำกัดของยางพาราแต่ละสายพันธุ์เพื่อเลือกพันธุ์ยางพาราทีต้องการปลูกได้ B141.03 83121
B141 กำหนดพันธุ์ยางที่ต้องการปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการ 4) ระบุพันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกยางพาราได้อย่างถูกต้อง B141.04 83122
B142 กำหนดระบบปลูกที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและระยะปลูกยางพารา 1) อธิบายระบบปลูกในการปลูกสร้างสวนยางพาราตามหลักเกณฑ์กรมวิชาการเกษตรได้ B142.01 83123
B142 กำหนดระบบปลูกที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและระยะปลูกยางพารา 2) อธิบายระบบปลูกของการยางแห่งประเทศไทยได้ B142.02 83124
B142 กำหนดระบบปลูกที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและระยะปลูกยางพารา 3) อธิบายระยะปลูกยางพาราที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและเขตพื้นที่ปลูกยางพาราตามหลักเกณฑ์กรมวิชาการเกษตรและการยางแห่งประเทศไทยได้อย่างถูกต้อง B142.03 83125
B142 กำหนดระบบปลูกที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและระยะปลูกยางพารา 4) ระบุระยะปลูกยางพาราที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและระบบปลูกที่ใช้ในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง B142.04 83126
B143 เลือกวัสดุปลูก 1) อธิบายลักษณะของวัสดุปลูกแต่ละประเภทได้ B143.01 83127
B143 เลือกวัสดุปลูก 2) ระบุข้อดีและข้อเสียของวัสดุปลูกแต่ละประเภท B143.02 83128
B143 เลือกวัสดุปลูก 3) เลือกวัสดุปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างเหมาะสม B143.03 83129
B144 กำหนดจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูก 1) อธิบายวิธีการคำนวณจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูกได้อย่างถูกต้อง B144.01 83130
B144 กำหนดจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูก 2) อธิบายวิธีการคำนวณจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูกซ่อมได้อย่างถูกต้อง B144.02 83131
B144 กำหนดจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูก 3) คำนวณจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูกและปลูกซ่อมได้อย่างถูกต้อง B144.03 83132
B145 เลือกวัสดุและอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางพารา 1) อธิบายวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างเหมาะสม B145.01 83133
B145 เลือกวัสดุและอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางพารา 2) กำหนดวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างเหมาะสม B145.02 83134
B145 เลือกวัสดุและอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางพารา 3) เลือกวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างเหมาะสม B145.03 83135

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผล




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น แยกความแตกต่าง เพื่อประเมินแนวทางการปฏิบัติงาน




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานให้ถูกต้อง




          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ยางที่ต้องการปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่




          2) มีความรู้ในการกำหนดระยะปลูกที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและระบบปลูกยางพารา




          3) มีความรู้ในการเลือกใช้วัสดุปลูกสร้างสวนยางพารา




          4) มีความรู้ความสามารถในการคำนวณจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่ใช้ในการปลูกสร้างสวนยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการการกำหนดแผนการปลูกสร้างสวนยางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




(ก) คำแนะนำ




          N/A




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




          พันธุ์ยางที่ต้องการปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการ




          สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกรทุก ๆ 4 ปี โดยใช้ ข้อมูลจากผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง เพื่อแนะนำพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลักตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้ยางพารามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ ของประเทศ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากผลผลิตเนื้อไม้เพิ่มขึ้น ดังนั้นคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2546 สถาบันวิจัยยางจึงได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำจากเดิม โดยแบ่งพันธุ์ยางแนะนำเป็น 3 กลุ่ม คือ พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง และพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตเนื้อ ไม้สูง เพื่อให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการปลูก ดังนี้




          กลุ่ม 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางใน กลุ่มนี้ ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง




          กลุ่ม 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยให้ ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้น สูง




          กลุ่ม 3 พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่มที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้




          กำหนดระบบปลูกที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูกและระยะปลูกยางพาราในกำหนดระบบปลูกที่เหมาะสมตามลักษณะพื้นที่ปลูก โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ 4 ระบบได้แก่




          1) ระบบการปลูกยางพาราเชิงเดี่ยว




          2) ระบบการปลูกยางพารากับการปลูกพืชแซมยาง พืชแซมยางในระยะก่อนยางให้ผลผลิต คือ ในช่วง 3 ปี แรก สามารถปลูกพืชแซมยางได้หลาย ชนิด ได้แก่ 1.1.1 พืชล้มลุกและเป็นพืชอายุสั้น เช่น สับปะรด ข้าวโพด ข้าวไร่ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วหรั่ง ถั่วเหลือง แตงโม และ พืชผักต่างๆ เป็นต้น โดยพืชเหล่านี้ควรปลูกห่างแถวยางประมาณ 1 เมตร 1.1.2 กล้วย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง และมะละกอ ควรปลูกแถวเดียว บริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยาง 1.1.3 หญ้าอาหารสัตว์ เช่น หญ้ารูซี่ หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าขน ควรปลูกห่างแถวยางประมาณ 1.5 - 2 เมตร หญ้าอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆจะไม่แนะนำให้ปลูกแซมยางเพราะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ของต้นยาง 1.1.4 มันสำปะหลัง ควรปลูกในปีที่ 2 หรือปีที่ 3 โดยปลูกห่างแถวยางด้านละ 2 เมตร และ ไถตัด รากมันสำปะหลังปีละครั้ง ห่างจากแถวมันสำปะหลัง 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันระบบรากมันสำปะหลังเข้ามาอยู่ในแถวของต้นยาง 1.1.5 อ้อยคั้นน้ำ ควรปลูกระหว่างแถวยาง ให้ห่างแถวยาง 2.2 เมตร ปลูกครั้งเดียวไว้ตอ 2 ครั้ง เก็บ เกี่ยว 3 ครั้ง ในเวลา 3 ปี ไม่แนะนำให้ปลูกอ้อยอุตสาหกรรมแซมยางในเขตแห้งแล้งและในพื้นที่ที่มี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญหาด้านไฟไหม้ตามมา




          3) ระบบการปลูกยางพารากับการปลูกพืชแซมยาง ประกอบไปด้วย 1.1) พืชร่วมยางที่สามารถเจริญเติบโตได้ภายใต้ร่มเงาของยาง เมื่อต้นยางมีอายุ 3 ปีขึ้นไป เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ผักพื้นบ้าน และพืชสมุนไพรบางชนิด โดยปลูกระหว่างแถว ห่างแถวยาง 1.5 เมตร 1.2) พืชร่วมยางที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยาง เมื่อต้นยางมีอายุประมาณ 10 ปี ซึ่งมีแสงรำไร เพียงพอและมีฝนตกชุก จะเหมาะสมต่อการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัว ไม้ดอกวงศ์ขิง เช่น ขิงแดง ดา หลา หงส์เหิน กระเจียวพังงา กระเจียวส้ม และบัว ไม้ดอกสกุลเฮลิโกเนีย และไม้ประดับบางชนิด โดยปลูกระหว่างแถวยาง ห่างแถวยาง 1.5-1.7 เมตร 1.3) พืชร่วมยางที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้แก่ พืชสกุลระกำ เช่น ระกำ หวาน สละเนินวง สละหม้อ หวายตะค้าทอง กระวาน โดยปลูกกึ่งกลางแถวยาง สำหรับหวายตะค้า ทองอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในสวนยาง แนะนำให้ปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ก่อนการโค่นยาง 1.4) การปลูกไม้ป่าในสวนยาง มีไม้ป่าบางชนิดที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยางขนาดใหญ่ โดยปลูก ผสมผสานกึ่งกลางระหว่างแถวยางและทดแทนการปลูกซ่อมต้นยาง เช่น ในสวนยางทางภาคใต้ ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาเทียม ทัง พะยอม มะฮอกกานี เคี่ยม ตะเคียนทอง ยางนา ยมหิน และตำเสา ในสวนยางทางภาคตะวันออก ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาไทย ยมหอม ตะเคียนทอง ยมหิน ยางนำแดง และประดู่ป่า และในสวนยางทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาไทย ยางนา ตะเคียนทอง ยมหิน พะยูง สาธร และประดู่ป่า




          4) ระบบการปลูกยางพาราร่วมกับการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆที่เหมาะกับชาวสวนยาง เช่น การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์มในสวนยาง การ เลี้ยงผึ้ง ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพื้นที่ยางบางส่วนเพื่อปลูกพืชอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน กล้วย กาแฟ และพืชอื่นๆ ทั้งนี้การเลือกปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งจะต้องคำนึงถึง การตลาดในพื้นที่ สภาพพื้นที่ รอบ ระยะเวลาการให้ผลตอบแทน เช่น มีรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี และในแต่ ละชุมชนควรมีการรวมกลุ่มผลิตพืชที่มีคุณภาพดี มีเอกลักษณ์และกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามในระยะยาวเกษตรกรชาวสวนยางไม่ควรพึ่งพารายได้จากยางเพียงอย่างเดียว ซึ่ง จากบทเรียนด้านราคายางที่ตกต่ำหลายๆครั้งที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรควรมีการทบทวนการวาง แผนการการปลูกพืชเพื่อสร้างรายได้รวมของครัวเรือนใหม่ โดยให้มีการกระจายรายได้ไปยังกิจกรรม ต่างๆ เช่น การท าการเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีการพึ่งพารายได้จาก ยาง พืชแซมพืชร่วมยาง ไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ ปศุสัตว์และประมง เป็นต้น ทั้งนี้โดยน้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้เกิดความพอเพียงและสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อต้องพบกับปัญหาราคายาง ตกต่ำ สำหรับการกำหนดระยะปลูกที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้




          ในทางปฏิบัติที่ดีในเนื้อที่ 1 ไร่ ควรจะมีต้นยางที่ได้ขนาดกรีดแล้วเพียงไร่ละประมาณ 50-55 ต้น ในการปลูก จำเป็นต้องปลูกเผื่อต้นตาย หรือต้นแคระแกร็นไว้ด้วย ฉะนั้น ในการกะระยะปลูกควรคำนึงถึงจำนวนต้น และคำนึงถึงความเจริญของต้นยาง อย่าให้เบียดกันจนเป็นเหตุให้ต้นแคระแกร็น ถ้าปลูกด้วยต้นกล้าจะต้องปลูกให้ได้ไร่ละประมาณ 80 ต้น เพราะต้นกล้าแม้ว่าจะเป็นเมล็ดจากต้นพันธุ์ดีเพียงใดก็ตาม ย่อมจะมีต้นอ่อนแอ และอาจเป็นเมล็ดที่ถูกผสมกับต้นอื่นๆ จึงต้องปลูกเผื่อไว้เล็กน้อย และถ้าปลูกด้วยตอติดตา หรือต้นติดตา หรือจะติดตาในแปลงภายหลัง ต้นที่ใช้ปลูกเหล่านี้ เป็นพันธุ์แท้ ไม่กลาย จะปลูกเพียงไร่ละประมาณ 70 ต้น เท่านั้นก็พอ




          (1) ถ้าเป็นพื้นที่ราบ ควรปลูกแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยใช้ระยะให้ใกล้กับสีเหลี่ยมจัตุรัส เช่น 4x5 เมตร 4.5x5 เมตร 3.5x6 เมตร ถ้าต้องการปลูกพืช เพื่อหารายได้ชั่วคราวระหว่างแถวยาง หรือเป็นที่ที่มีฝนชุกต้องการให้เปลือกต้นยางแห้งเร็ว จะใช้ระยะตามข้อ (2) ก็ได ้ ระยะตามข้อ (2) ถ้าใช้ในที่ราบเรียกว่า ปลูกแบบถนน ถ้าไม่ต้องการปลูกพืช เพื่อหารายได้ หรือไม่มีวัตถุประสงค์อย่างอื่นแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะใช้ระยะตามข้อ (2) เพราะจะทำให้เกิดภาระในการปราบวัชพืชเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น การที่เปิดช่องไว้กว้าง จะทำให้รับลมมากเกินไป ถ้ามีลมแรง หรือพายุ ต้นยางอาจหัก หรือโค่นลงได้




          (2) ถ้าเป็นที่ควนเขาหรือที่ลาด ควรใช้ระยะระหว่างต้นให้ถี่ และระยะระหว่างแถว คือ ชานดินที่เป็นขั้นๆ ให้ห่าง เพื่อให้จำนวนขั้นบันไดน้อยลง โดยใช้ระยะ 2.5x9 เมตร 3x7 เมตร หรือ 3x8 เมตร




          (3) ถ้าเป็นสวนยางขนาดเล็ก เช่น สวนยางขนาดเนื้อที่ไม่เกิน 5x6 ไร่ ต้องการจะอาศัยปลูกพืชอื่นเก็บกินเป็นการถาวรทุกๆ ปี เช่น พืชล้มลุก หรือพืชอายุนานแต่เป็นต้นเล็กๆ เช่น กล้วย พริก สับปะรด ในกรณีนี้จะปลูกต้นยางโดยใช้แบบรั้วแถวเดียวก็ได้ แต่ละแถวให้ห่างกันเพียง ๒ เมตร หรือจะใช้แถวคู่ก็ได้ แต่ต้องให้ระยะแถวคู่แต่ละคู่ห่างกัน 16x18 เมตร และแถวคู่ทุกๆ แถว ต้องปลูกต้นยางเป็นรูปฟันปลาห่างหัน 2.5x4 เมตรการปลูกแบบรั้วแถวคู่โดยใช้ระยะดังกล่าวนี้ อาจจะแก้ปัญหาต้นยางเอียงออกได้ดีขึ้น




          เลือกวัสดุปลูกสร้างสวนยางพารา




          ในการเลือกวัสดุปลูกยางพารา โดยทั่วไป มีการใช้วัสดุปลูก 3 ประเภทดังต่อไปนี้




          1) ต้นตอตายาง (budded stump) ได้จากการนำเมล็ดยางมาเพาะ จนต้นกล้าอายุประมาณ 6-8 เดือนจึงติดตาด้วยยางพันธุ์ดี เมื่อตาติดเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่แตกเป็นกิ่งออกมา ทำการถอนต้นกล้าจากดินเพื่อนำไปปลูกลงแปลง ต้นตอยางเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะง่ายต่อการปฏิบัติ




          2) ยางชำถุง ได้จากการนำต้นตอตาจากข้อ 1 มาปลูกในถุงที่บรรจุดินขนาดประมาณ 4.5 x 14 นิ้ว หรือ 5 x 15 นิ้ว ปลูกในถุงประมาณ 2-3 เดือน จนตาพันธุ์ดีที่ติดไว้แตกใบอ่อน 1-2 ฉัตร จึงย้ายปลูก หรืออาจใช้วิธีการเพาะเมล็ดในถุงจนได้ขนาดติดตา จึงทำการติดตาในถุงก็ได้ ต้นยางชำถุงเป็นวัสดุปลูกที่ต้องลงทุนสูงกว่าวัสดุปลูกชนิดอื่นแต่ประสบความสำเร็จสูงสุดเพราะ ต้นยางจะเจริญเติบโตสม่ำเสมอ




          3) ต้นติดตาในแปลง วิธีการนี้ทำการเพาะเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง หลังจากที่ต้นเจริญเติบโตได้ขนาด จึงทำการติดตาในแปลง




          4) วัสดุปลูกแต่ละชนิดจะต้องมีมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ซึ่งเกษตรกรจะต้องตัดสินใจเลือกวัสดุปลูกจากข้อดีข้อเสียของแต่ละชนิดรวมไปถึงสภาพพื้นที่ปลูกและต้นทุน อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัสดุปลูกประเภทใดความสำคัญมีอยู่สองส่วนคือส่วนต้นตอและส่วนพันธุ์ดี พันธุ์ยางที่จะนำมาเป็นต้นตอ จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมซึ่งคุณสมบัติของต้นตอโดยทั่วไปควรมีลักษณะสำคัญคือมีระบบรากแข็งแรงสามารถเจริญได้แม้ในสภาพดินที่มีธาตุอาหารน้อย มีความทนทานต่อโรคราก เป็นต้น




          กำหนดจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่จะใช้ในการปลูกสร้างสวนยางพารา




          สำหรับการกำหนดจำนวนต้นพันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูกนั้นจะกำหนดโดยคำณวนจากระยะปลูกโดยคำณวนในพื้นที่ 1 ไร่ดังนี้ พื้นที่ 1ไร่หารด้วยระยะปลูกยางพาราที่ต้องการปลูก โดยทั่วไปต้นยางต้องการพื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร/ต้น ดังนั้น ระยะปลูกที่เหมาะสมดังนี้




          1) หากเป็นที่ราบ ในเขตปลูกยางเดิม ควรเป็น 2.5 x 8 เมตร จะได้ต้นยางไร่ละ 80 ต้น หรือ 3 x 7 เมตร จะได้ต้นยางไร่ละ 76 ต้น ระยะปลูกทั้ง 2 แบบ เหมาะสำหรับสวนยางที่ต้องการปลูกพืชแซมยางด้วย





 




          2) ในเขตปลูกยางใหม่ ระยะปลูกควรเป็น 2.5 x 7 เมตรจะได้ต้นยางไร่ละ 91 ต้น หรือ 3 x 7 เมตรจะได้ต้นยางไร่ละ 76 ต้น





 




          3) พื้นที่ลาดเท ควรปลูกระยะ 3 x 8 เมตรจะได้ต้นยางไร่ละ 67 ต้น ระยะในที่ลาดเทที่กล่าวถึง เป็นระยะในแนวระดับ ไม่ใช่แนวเฉียงขึ้นหรือเฉียงลง




          เลือกวัสดุและอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางพารา




          การเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการปลูกสร้างสวนยางเพื่อให้ประสบผลสำเร็จสามารถเปิดกรีดได้ตามกำหนด




          นั้น นิยมปลูกสร้างสวนยางด้วยต้นยางเพาะชำถุงที่ผลิตจากต้นตอตาเขียว สำหรับเขตปลูกยางใหม่ที่มีช่วงฤดูปลูกยาวนาน ต้นยางเพาะชำถุงที่นำมาปลูกลงแปลงจะตายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากระบบรากต้นยางชำถุงยังไม่สมบูรณ์และไม่แข็งแรงพอ ต้นติดตาในถุงเป็นวัสดุปลูกอีกชนิดหนึ่งที่มีความเหมาะสมในการปลูกสร้างสวนยางให้ประสบผลสำเร็จในเขตปลูกยางใหม่ เนื่องจากต้นติดตาในถุงมีระบบรากสมบูรณ์แข็งแรงทำให้ต้นยางที่ปลูกลงแปลงสามารถทนแล้งได้ดี  มีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอทั้งแปลงซึ่งสามารถเปิดกรีดได้ตามกำหนด ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตต้นติดตาในถุงได้แก่ ดินร่วนเหนียว เมล็ดยางสด  อุปกรณ์การเตรียมดิน, การวางผังแปลง  อุปกรณ์การให้น้ำ อุปกรณ์การเพาะเมล็ดยางสด  (ขุยมะพร้าว หรือ ขี้เถ้าแกลบ)  สารเคมีปราบโรคพืชและวัชพืช  ปุ๋ยบำรุงสูตร  25 – 7 – 7  ถุงพลาสติกสีดำ  ขนาด  4½ X 14  นิ้ว  เจาะรูด้านข้างถุง 3 แถวๆ ละ 3




          รูและอุปกรณ์สำหรับการติดตายาง




          นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้ในการปลูกสร้างสวนยางพาราพื้นที่ที่เกษตรกรต้องมีไว้ได้แก่ 1) จอบ มีหน้าที่ขุดดิน ถากหญ้า และดายหญ้า วิธีดูแล ล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง แล้วทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม 2) เสียม มีหน้าที่ขุดหลุม ขุดดิน และพรวนดิน วิธีดูแล ล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง แล้วทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม 3) บัวรดน้ำ  มีหน้าที่รดน้ำต้นยางขนาดเล็ก ๆเมื่อพื้นที่ขาดน้ำ วิธีดูแล คว่ำให้น้ำแห้งแล้วเก็บเข้าที่ 4. ถังน้ำ มีหน้าที่ใส่น้ำเพื่อนำไปถ่ายใส่บัวรดน้ำ หรือใส่น้ำเพื่อนำไปรดต้นไม้เมื่อทำการปลูกยางพาราในหลุม วิธีดูแล  ล้างให้สะอาดและคว่ำเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย 5. สายยาง มีหน้าที่รดน้ำต้นยางพาราที่เพิ่งปลูกในหลุมหรือปลูกซ่อม และมีขนาดค่อนข้างใหญ่ วิธีดูแลล้างให้สะอาด  แล้วม้วนเก็บเข้าที่  อย่าให้มีส่วนใดหักงอ 6. ส้อมพรวน มีหน้าที่พรวนดินรอบ ๆ โคนต้นพืช วิธีดูแล ล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง แล้วทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม 7. ช้อนปลูก มีหน้าที่ขุดหลุม ย้ายต้นกล้า ตักดิน และตักปุ๋ย พืช วิธีดูแล ล้างให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง แล้วทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ