หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลรักษาสวนยางพารา (ช่วงอายุยาง 0-2 ปี)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-119ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลรักษาสวนยางพารา (ช่วงอายุยาง 0-2 ปี)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดูแลและบำรุงรักษาสวนยางพารา (ช่วงอายุยาง 0-2 ปี) โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ชนิดของวัชพืช วิธีการป้องกันกำจัดและการใช้สารกำจัดวัชพืช ประเภทและวิธีการกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดในสานยางพารา   บทบาทและอาการขาดธาตุอาหารพืช สามารถกำหนด เลือก วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา ประเภท สูตรปุ๋ย หรือเกรดปุ๋ยที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ปลูก ลักษณะเนื้อดิน และอายุยางพารา วิธีการใส่ปุ๋ยและช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการใส่ปุ๋ยยางพารา ปริมาณในการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะเนื้อดิน และอายุยางพาราได้ วิธีการคลุมโคนต้นยางพารา วิธีการตัดแต่งกิ่งยางพารา และข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่งยางพารา ชนิดพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพารา วิธีการปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพารา  กำหนดวัสดุคลุมที่นำมาใช้ในการปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพารา หลักและวิธีการทำแนวกันไฟ หลักและวิธีการปลูกไม้กันลม และวิธีปลูกซ่อมต้นยางพาราในแปลง และมีทักษะได้แก่ สามารถกำหนด และเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนด และเลือกวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยยางพาราได้อย่างถูกวิธี กำหนดและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมนำมาใช้ในการคลุมโคนต้นตอยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถกำหนดและเลือกใช้อุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่งยางพาราเพื่อตัดแต่งกิ่งสร้างทรงพุ่มได้อย่างถูกต้อง สามารถเลือกใช้และเตรียมวัสดุเพื่อนำมาปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพาราด้วยวัสดุที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง สามารถเลือกอุปกรณ์ในการจัดทำแนวกันไฟ ในการปลูกไม้กันลม และการปลูกซ่อมต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา คลุมโคนต้นยางพาราตัดแต่งกิ่งยางพาราเพื่อสร้างทรงพุ่ม และเพื่อป้องกันหรือแก้ไขเมื่อเกิดความเสียหาร ปลูกพืชคลุมและพืชแซม ทำแนวกันไฟในสวนยางพารา สามารถปลูกไม้กันลม และปลูกซ่อมยางพาราได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B171 กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา 1) อธิบายชนิดของวัชพืชในสวนยางพาราได้ B171.01 145873
B171 กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา 2) อธิบายวิธีการกำจัดและการใช้สารกำจัดวัชพืชได้อย่างถูกวิธี B171.02 145874
B171 กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา 3) อธิบายประเภทและวิธีกำจัดวัชพืชแต่ละชนิดในสวนยางพาราได้ B171.03 145875
B171 กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา 4) เลือกวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราได้อย่างเหมาะสม B171.04 145876
B171 กำจัดวัชพืชในสวนยางพารา 5) ดำเนินการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี B171.05 145877
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 1) อธิบายลักษณะและอาการขาดธาตุอาหารพืชได้อย่างถูกต้อง B172.01 145878
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 2) อธิบายประเภทของปุ๋ยที่ใช้ในสวนยางพาราได้ B172.02 145879
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 3) อธิบายสูตรปุ๋ยหรือเกรดปุ๋ยที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ปลูก ลักษณะเนื้อดิน และอายุยางพาราได้ B172.03 145880
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 4) อธิบายวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ปลูกและอายุยางพาราได้ B172.04 145881
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 5) อธิบายช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการใส่ปุ๋ยยางพาราได้ B172.05 145882
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 6) อธิบายปริมาณในการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมกับลักษณะเนื้อดิน และอายุยางพาราได้ B172.06 145883
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 7) เลือกวัสดุอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ยยางพาราได้อย่างถูกต้อง B172.07 145884
B172 ใส่ปุ๋ยยางพารา 8) ดำเนินการใส่ปุ๋ยยางพาราอย่างถูกวิธี B172.08 145885
B173 คลุมโคนต้นยางพารา 1) อธิบายวิธีการคลุมโคนต้นยางพาราได้ B173.01 145886
B173 คลุมโคนต้นยางพารา 2) เลือกใช้และเตรียมวัสดุที่จะนำมาคลุมโคนได้อย่างถูกต้อง B173.02 145887
B173 คลุมโคนต้นยางพารา 3) ดำเนินการคลุมโคนต้นยางพาราด้วยวัสดุคลุมโคนได้อย่างถูกต้อง B173.03 145888
B174 ตัดแต่งกิ่งยางพารา 1) อธิบายวิธีตัดแต่งกิ่งยางพาราได้ B174.01 145889
B174 ตัดแต่งกิ่งยางพารา 2) อธิบายข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่งยางพาราได้ B174.02 145890
B174 ตัดแต่งกิ่งยางพารา 3) เลือกอุปกรณ์ในการตัดแต่งกิ่งยางพาราได้อย่างถูกต้อง B174.03 145891
B174 ตัดแต่งกิ่งยางพารา 4) ดำเนินการตัดแต่งกิ่งยางพาราเพื่อสร้างทรงพุ่มได้อย่างถูกวิธี B174.04 145892
B174 ตัดแต่งกิ่งยางพารา 5) ดำเนินการตัดแต่งกิ่งยางพาราเพื่อป้องกันหรือแก้ไขเมื่อเกิดความเสียหายจากลมได้อย่างถูกวิธี B174.05 145893
B175 ปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพารา 1) อธิบายชนิดพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพาราได้ B175.01 145894
B175 ปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพารา 2) อธิบายวิธีปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพาราได้ B175.02 145895
B175 ปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพารา 3) เลือกใช้และเตรียมวัสดุที่จะนำมาปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง B175.03 145896
B175 ปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพารา 4) ดำเนินการปลูกพืชคลุมดิน/พืชแซมในสวนยางพาราด้วยวัสดุที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง B175.04 145897
B176 ทำแนวกันไฟ 1) อธิบายหลักและวิธีการทำแนวกันไฟในสวนยางพาราได้ B176.01 145898
B176 ทำแนวกันไฟ 2) เลือกอุปกรณ์ในการจัดทำแนวกันไฟในสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง B176.02 145899
B176 ทำแนวกันไฟ 3) ดำเนินการทำแนวกันไฟในสวนยางพาราได้อย่างถูกวิธี B176.03 145900
B177 ปลูกไม้กันลม 1) อธิบายหลักและวิธีการปลูกไม้กันลมได้ B177.01 145901
B177 ปลูกไม้กันลม 2) เลือกอุปกรณ์ในการปลูกไม้กันลมได้อย่างถูกต้อง B177.02 145902
B177 ปลูกไม้กันลม 3) ดำเนินการปลูกไม้กันลมได้อย่างถูกวิธี B177.03 145903
B178 ปลูกซ่อมต้นยางพารา 1) อธิบายวิธีปลูกซ่อมต้นยางพาราในแปลงได้ B178.01 145904
B178 ปลูกซ่อมต้นยางพารา 2) เลือกวัสดุปลูกที่เหมาะสมกับการปลูกซ่อมต้นยางพาราในแปลงได้อย่างถูกต้อง B178.02 145905
B178 ปลูกซ่อมต้นยางพารา 3) ดำเนินการปลูกซ่อมต้นยางพาราได้อย่างถูกวิธี B178.03 145906

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลเกี่ยวกับการดูแลและบำรุงรักษาสวนยางพารา (ช่วงอายุยาง 0-2 ปี)




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น แยกความแตกต่างกำหนด ตัดสินใจเลือก ดำเนินการ และประเมินแนวทางการปฏิบัติงานการดูแลและบำรุงรักษาสวนยางพารา (ช่วงอายุยาง 0-2 ปี) ได้แก่ กำหนด เลือก และปฏิบัติปราบวัชพืช ใส่ปุ๋ยบำรุง การคลุมโคนต้นยาง การตัดแต่งกิ่ง การปลูกพืชคลุม พืชแซม ทำแนวกันไฟ ปลูกไม้กันลม และปลูกซ่อมต้นยาง




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการดูแลและบำรุงรักษาสวนยางพารา (ช่วงอายุยาง 0-2 ปี) ได้อย่างถูกต้อง




          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราช่วงอายุยาง 0-2 ปี)




          2) มีความรู้ในในการใส่ปุ๋ยยางพาราช่วงอายุยาง 0-2 ปี




          3) มีความรู้ในการคลุมโคนต้นยาง การตัดแต่งกิ่งยางพาราช่วงอายุยาง 0-2 ปี




          4) มีความรู้ในการปลูกพืชคลุม พืชแซมช่วงอายุยาง 0-2 ปี




          5) มีความรู้ในการทำแนวกันไฟและปลูกไม้กันลมช่วงอายุยาง0-2 ปี




          6) มีความรู้ในการปลูกซ่อมต้นยางช่วงอายุยาง 0-2 ปี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการการดูแลและบำรุงรักษาสวนยางพารา (ช่วงอายุยาง 0-2 ปี) ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




(ก) คำแนะนำ




          N/A




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




          1) การปลูกซ่อม หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางพาราบางต้นตายไป เนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องปลูกซ่อม เมื่อต้นยางที่ปลูกในครั้งแรกตายไป ควรปลูกซ่อมโดยเร็ว และควรปลูกในช่วงฤดูฝน ซึ่งวิธีการปลูกซ่อมก็ปลูกเช่นเดียวกับการปลูกครั้งแรก ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วง 1-2 ปีแรก ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ต้นยางชำถุง เพราะจะทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน แปลงที่ต้นยางมีอายุเกิน 3 ปีแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้




          2) การคลุมโคน หมายถึง การคลุมบริเวณโคนต้นยางพาราเพื่อรักษาความชื้นในดินช่วงฤดูแล้ง โดยควรใช้วัสดุที่หาได้ง่ายและมีปริมาณมาก เช่น ฟางข้าวหรือเศษซากพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางพาราเป็นวงกลม ห่างจากโคนต้นยาง 5-10 เซนติเมตร โดยคลุมโคนต้นยางอายุ 1-3 ปี แล้วนำไปคลุมโคนก่อนเข้าฤดูแล้งประมาณ 1 เดือน ในขณะที่ดินมีความชื้นอยู่




          3) การป้องกันรอยไหม้จากแสงแดด ต้นยางที่ปลูกในเขตแห้งแล้งมักปรากฏรอยไหม้จากแสงแดด ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อส่วนนั้นรับแสงแดดเป็นเวลานานติดต่อกันจนเนื้อเยื่อเสียหาย ดังนั้นก่อนเข้าฤดูแล้งควรใช้ปูนขาวหรือสีน้ำ (สีขาว) ทาบริเวณโคนต้นยางพาราส่วนที่เป็นสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำตาลปนเขียว เพื่อป้องกันความรุนแรงของแสงแดด หากต้นยางเป็นรอยแผลแล้วเปลือกแห้งล่อนเห็นเนื้อไม้ อาจมีเชื้อราหรือแมลงเข้าทำลาย ควรแกะเศษไม้ที่แห้งออก ทำความสะอาดรอยแผล แล้วใช้สีน้ำมันทาเพื่อเคลือบรอยแผล




          4) การทำแนวกันไฟ บริเวณรอบ ๆ สวนยาง โดยไถเป็นแนวกว้างห่างจากแถวต้นยางด้านนอกสุดออกไปประมาณ 7 เมตร โดยสาเหตุที่สวนยางเกิดไฟไหม้ อาจเกิดจากก้นบุหรี่ที่มีผู้ทิ้งไว้ หรือเกิดจากสวนข้างเคียงเกิดไฟไหม้แล้วลุกลามเข้ามาในสวนยาง หรือจากไฟป่าธรรมชาติ ประกอบกับในช่วงหน้าแล้งมีเชื้อไฟจากวัชพืชที่แห้งตาย วัสดุคลุมโคนต้นยางและใบยางร่วง ทำให้ไฟไหม้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว




          5) การป้องกันไฟไหม้ในสวนยาง




          1. ทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟที่ลุกลามมาจากบริเวณข้างเคียง โดยการขุด ถากวัชพืช และเก็บเศษซากพืช หรือไถบริเวณรอบสวนยาง ออกเป็นแนวกว้างแระมาณ 3-5 เมตร สำหรับสวนยางขนาดใหญ่ควรทำแนวกันไฟภายในสวนระหว่างแถวยางทุก ๆ 100 เมตร




          2. การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชบริเวณแถวยางออกให้หมดข้างละ 1 เมตร โดยใช้วิธีถากหรือตัดออก แล้วนำเศษมาคลุมโคนต้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในหน้าแล้ง เพราะวัชพืชที่ยืนแห้งตายอาจเป็นเชื้อไฟได้อย่างดี




          6) วิธีป้องกันกำจัดวัชพืช สามารถทำได้ ดังนี้
          1. ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ได้แก่ คาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา เพอราเรีย และซีรูเลียม ห่างจากแถวยางประมาณ 2 เมตร
          2. ใช้วัสดุคลุมดิน โดยนำวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ซังข้าวโพด คลุมโคนต้นยางเฉพาะต้น หรือตลอดแถวเว้นระยะพอสมควร ไม่ชิดโคนต้นยาง
          3. ใช้แรงงาน ขุด ถาก ดาย หรือตัดวัชพืชที่ขึ้นในแถวยาง ซึ่งควรทำก่อนวัชพืชออกดอก
          4. ใช้สารเคมี โดยใช้ไกลโฟเสทในการกำจัดหญ้าคา และใช้พาราควอตและไกลโฟเสทในการกำจัดวัชพืชอื่น ๆ ในอัตราและปริมาณตามคำแนะนำ




          7) ประเภทของปุ๋ยที่ใช้ในสวนยาง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ




          1. ปุ๋ยรองก้นหลุม เป็นปุ๋ยที่เร่งให้รากงอกและแผ่ขยายเร็วขึ้น ทำให้ต้นยางพาราตั้งตัวได้ดีในระยะแรก มีอัตราการรอดตายสูง ปุ๋ยรองก้นหลุมที่ใช้กับยางพาราคือ ปุ๋ยหินฟอสเฟต ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมโดยขุดดินแยกเป็น 2 ส่วน คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ใช้ดินบนกลบลงในหลุมก่อน ส่วนดินล่างใช้คลุกกับปุ๋ยหินฟอสเฟต 170-200 กรัมต่อต้น แล้วกลบดินล่างที่คลุกปุ๋ยลงไปให้เต็มหลุม และควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 3-5 กิโลกรัมต่อต้น รองก้นหลุมร่วมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต




          2. ปุ๋ยบำรุงต้นยาง เป็นการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางพาราตั้งแต่หลังปลูกจนถึงหลังเปิดกรีด มีสูตรปุ๋ยและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมกับต้นยางแตกต่างกันตามเขตพื้นที่ปลูกและลักษณะเนื้อดิน และอายุของต้นยางพารา สูตรปุ๋ยที่แนะนำตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยางมีจำนวน 4 สูตร คือ 20-8-20 20-10-12 20-10-17 และ 30-5-18 หรือ 29-5-18 นอกจากนี้หากในดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุต่ำ ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 2-3 กิโลกรัมต่อต้นร่วมกับปุ๋ยเคมี โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้คลุกกับดินก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 15-20 วัน เพื่อปรับสภาพดินหรืออาจใส่พร้อมกับปุ๋ยเคมีในหลุมเดียวกัน




          8) ปุ๋ย เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชที่สำคัญ จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา เป็นต้นทุนที่สำคัญของการปลูกสร้างสวนยาง โดยร้อยละ 60 ของต้นทุนการปลูกสร้างสวนยาง เป็นค่าปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งค่าแรงในการใส่ปุ๋ย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกชนิดของปุ๋ยและใช้ปุ๋ยให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งปุ๋ยแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่




          1. ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่เป็นอินทรีย์สาร ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย เพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นยาง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ คือการใส่สารอินทรีย์จากธรรมชาติลงไปในดิน เพื่อให้ธาตุอาหาร ปรับปรุงบำรุงโครงสร้างดินให้ดี เป็นแหล่งอาหารให้กับจุลินทรีย์ในดิน ปุ๋ยอินทรีย์ควรใส่ประมาณ 3-5 กิโลกรัม/ต้น/ปี ปุ๋ยอินทรีย์ยังแบ่งย่อยเป็นอีก 3 ประเภท ได้แก่ ปุ๋ยคอก คือ มูลสัตว์ที่ขับถ่ายออกมาสะสมอยู่ตามพื้นคอก เช่น มูลไก่ มูลเป็ด หรือมูลสุกร เป็นต้น เมื่อนำมาใส่ในสวน จะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง ต้นยางสามารถนำไปใช้ได้ทันเวลา ไม่สูญเสียไปกับน้ำโดยไม่เกิดประโยชน์ ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำซากพืชซากสัตว์ ตลอดจนมูลสัตว์ มาหมักให้เกิดการสลายตัวผุพัง ด้วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ มีลักษณะเป็นขุยสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ยุ่ยและร่วนซุย ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการปลูกพืชในแปลง เมื่อเติบโตถึงระยะที่เหมาะสมก็ทำการไถกลบขณะที่ยังสดอยู่ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน พืชที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ ปอเทือง ถั่วพร้า และโสน เป็นต้น




          2. ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตมาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหาร หรือเพิ่มความเป็นประโยชน์ทางธาตุอาหารในดิน การใส่ปุ๋ยชีวภาพ คือ การใส่เชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและเป็นประโยชน์ลงไปในดิน เพื่อให้จุลินทรีย์เหล่านั้นเพิ่มปริมาณธาตุอาหารหรือเปลี่ยนรูปของธาตุอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ ให้เป็นประโยชน์ต่อพืช ปุ๋ยชีวภาพ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดิน จุลินทรีย์ในกลุ่มนี้จะตรึงธาตุไนโตรเจน (N) เป็นหลัก เช่น ไรโซเบียม ที่อาศัยอยู่ภายในปมรากถั่วของพืชตระกูลถั่ว ปุ๋ยชีวภาะส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชด้วยกลไกต่าง ๆ มีความสามารถผลิตสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฮอร์โมนพืช” ช่วยละลายธาตุอาหารและช่วยเสริมประสิทธิภาพการหาอาหารให้รากพืชดูดธาตุอาหารได้ง่าย จุลินทรีย์กลุ่มนี้ที่นิยมใช้กัน ได้แก่ เชื้อราไมคอร์ไรซ่า




          3. ปุ๋ยเคมี หมายถึง สารประกอบที่เป็นสารอนินทรีย์หรือสารอินทรีย์สังเคราะห์ที่ทำขึ้นมากรรมวิธีทางเคมี ให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย การใส่ปุ๋ยเคมี คือการใส่ส่วนประกอบซึ่งมีธาตุอาหารพืชในรูปที่เป็นประโยชน์ โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน เช่น ใส่ทางดิน ให้ทางใบหรือทางระบบน้ำ การใช้ปุ๋ยเคมีที่ดี คือการให้ธาตุอาหารที่ตรงกับที่พืชขาดในปริมาณที่พอเหมาะ เพียงพอและสมดุล ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่สูง มีคุณภาพ และคงความอุดมสมบูรณ์ของดินให้อยู่ในระดับดีเอาไว้ได้ในระยะยาว




          9) สูตรปุ๋ยที่ใช้ในสวนยาง การใช้สูตรปุ๋ยในสวนยางพาราแบ่งตามอายุยาง เขตพื้นที่ปลูกยาง และลักษณะกลุ่มเนื้อดิน โดยยางพาราก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิมจะใช้ปุ๋ยสูตร 20-8-20 ทั้งในพื้นที่ดินร่วนเหนียวและดินร่วนทราย และในเขตปลูกยางใหม่จะใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-12 ในพื้นที่ดินร่วนเหนียว และใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-17 ในพื้นที่ดินร่วนทราย ส่วนยางพาราหลังเปิดกรีดในทุกเขตพื้นที่ปลูกและกลุ่มเนื้อดินจะใช้ปุ๋ยสูตร 30-5-18 หรือ 29-5-18




          10) วิธีการใส่ปุ๋ยยางพารา เนื่องจากวิธีการใส่ปุ๋ยมีผลต่อการสูญเสียของปุ๋ย ทั้งในรูปของการชะล้างและการระเหิด ดังนั้นวิธรการใส่ปุ๋ยยางที่ดี นอกจากจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติแล้ว เมื่อใส่ปุ๋ยลงไปแล้วต้นยางสามารถดูดไปใช้ได้มากที่สุด และเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการใส่ปุ๋ยยางพารามีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมปฏิบัติกันโดยทั่วไป มีดังนี้




          1. การใส่แบบหว่าน โดยทำการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่จะใส่ปุ๋ย เป็นวิธีที่ทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยลดลง และปุ๋ยมีโอกาสทำปฏิกิริยากับดินได้มาก เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ปลูกที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดวัชพืชด้วยสารเคมี เพราะเศษซากพืชที่เหลือในแถวยางจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบที่กำจัดวัชพืชด้วยวิธีถากตลอดแนวแถวยาง ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันปุ๋ยถูกชะล้างจากน้ำฝน




          2. การใส่แบบเป็นแถบ ใส่ปุ๋ยโดยวิธีการโรยปุ๋ยเป็นแถบตามแนวแถวยาง โดยทำการเซาะให้เป็นร่องและใส่ปุ๋ยในร่องแล้วคราดกลบปุ๋ยไว้ เป็นวิธีที่ควรใช้กับพื้นที่ปลูกที่มีความลาดชันเล็กน้อย และควรใช้เมื่อต้นยางมีรากดูดอาหารแผ่ขยายออกห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร หรือเมื่อต้นยางมีอายุประมาณ 2 ปีขึ้นไป




          3. การใส่แบบหลุม โดยทำการขุดหลุมบริเวณรอบโคนต้นหรือสองข้างต้นยางจำนวน 2 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมและใช้ดินกลบปุ๋ย ซึ่งการใส่ปุ๋ยยางด้วยวิธีนี้จะสามารถลดการชะล้างปุ๋ยได้มาก จึงเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกยางที่มีความลาดชันมาก และพื้นที่ที่มีฝนตกชุกติดต่อกันเป็นเวลานาน




          11) การตัดแต่งกิ่งยางพารา วิธีการตัดแต่งกิ่งเพื่อสร้างทรงพุ่มให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยให้ต้นยางมีทรงพุ่มแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ลดปัญหาความเสียหายที่เกิดจากลมและโรคยาง ตลอดจนเป็นการเตรียมพื้นที่บริเวณลำต้นให้เหมาะสมต่อการกรีดยาง ต้นยางมีความสมบูรณ์สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สูงอย่างต่อเนื่องยาวนานในช่วงหลังเปิดกรีด โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่งยาง คือ ช่วงปลายฤดูฝน ก่อนเข้าสู่ฤดูแล้ง ซึ่งมีสภาพอากาศและสภาพดินชื้นอยู่บ้าง ภายหลังตัดแต่งเลี้ยงกิ่งให้เจริญเติบโตเป็นทรงพุ่มที่ 1.90-2.30 เมตร ควรตัดแต่งกิ่งแขนงให้เหลือเพียง 2-3 กิ่ง เก็บไว้เป็นกิ่งหลักและให้กิ่งเหล่านี้เจริญต่อไปอีก 2-3 ฉัตร เท่านั้น




          12) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่ง ได้แก่ กรรไกรตัดแต่งกิ่ง มีด/เลื่อยแต่งกิ่ง ปูนขาว หรือปูนแดง หรือสีน้ำมัน พร้อมแปรง




          13) วิธีการตัดแต่งกิ่งยาง แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่
          1. การตัดแต่งกิ่งยางอ่อน
          2. การตัดแต่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มให้มีพื้นที่ใบเหมาะสม
          3. การตัดแต่งกิ่งเพื่อป้องกันความเสียหายจากลม และ
          4. การตัดแต่งกิ่งต้นยางที่เกิดความเสียหายจากลม ซึ่งการเลือกวิธีการตัดแต่งกิ่ง ขึ้นอยู่กับอายุยาง สภาพทรงพุ่ม และจุดมุ่งหมายของการตัดแต่งกิ่ง




          14) การตัดแต่งกิ่งยางอ่อน ควรหมั่นตัดแต่งกิ่งเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ หลังจากปลูก 2 เดือน เพื่อให้ลำต้นเรียบ โดยเลี้ยงกิ่งกระโดงให้สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งการตัดแต่งกิ่งยางอ่อนจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่1 ต้นฤดูฝนปีที่ 1 โดยทำการตัดแต่งกิ่งแขนงที่แตกต่ำกว่า 30 เซนติเมตรจากพื้นดิน หมั่นตรวจรอยตัดอยู่สม่ำเสมอ ถ้ามีกิ่งแขนงแตกออกมาใหม่ให้ตัดออก กิ่งแขนงข้างที่สูงกว่า 30 เซนติเมตร เลือกเลี้ยงไว้ 2-3 กิ่ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ใบให้เหมาะสม ระยะที่ 2 ต้นฤดูฝนปีที่ 2 ตัดแต่งกิ่งแขนงข้างที่แตกต่ำกว่า 30 เซนติเมตรจากพื้นดิน การตัดจะต้องให้ชิดลำต้นมากที่สุด หมั่นตรวจรอยตัดอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีกิ่งแขนงแตกออกมาใหม่ ให้ตัดออก กิ่งที่สูงกว่า 1 เมตร จะตัดออกก็ต่อเมื่อมีกิ่งที่ระดับ 1.90-2.30 เมตร แตกออกมาแล้ว หรือ กิ่งแขนงที่เลี้ยงไว้เจริญเติบโตมากกว่า 3 ฉัตร เพื่อเลี้ยงทรงพุ่มในระยะที่ 3 ให้เร็วที่สุด ระยะที่ 3 ปลายฤดูฝนปีที่ 2 กิ่งแขนงข้างทุกกิ่ง ที่สูงกว่า 2 เมตร ไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง




          15) การตัดแต่งกิ่งเพื่อป้องกันความเสียหายจากลม ภายหลังตัดแต่งกิ่งยางอ่อนแล้ว ไม่ควรตัดแต่งอีก ยกเว้นกรณีที่ต้นยางนั้นมีทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งก้านไม่สมดุล จึงทำการตัดแต่งใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีกระแสลมรุนแรงพัดประจำ ควรตัดกิ่งที่อยู่ภายในทรงพุ่มและกิ่งที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงหรือมีทิศทางไม่สมดุลออก เพื่อช่วยให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ป้องกันมิให้กิ่งก้านและทรงพุ่มฉีกขาดหรือโค่นล้ม




          16) การตัดแต่งกิ่งต้นยางที่เกิดความเสียหายจากลม เป็นการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกขาด หรือกิ่งที่แตกออกจากลำต้นให้หมด ตัดแต่งกิ่งที่มีทิศทางไม่สมดุลกับกิ่งที่เหลืออยู่ออกบางส่วน เพื่อมิให้ทรงพุ่มหนักไปทางข้างใดข้างหนึ่ง แล้วใช้ไม้ค้ำช่วยพยุงลำต้นไว้ สำหรับต้นยางที่ได้รับความเสียหายจากลมควรรีบตัดแต่งกิ่งที่ฉีกขาด หรือแตกออกจากลำต้นให้หมดทันที เพื่อไม่ให้ความเสียหายลุกลามต่อไป จากนั้นต้องตัดแต่งกิ่งที่เหลืออยู่แต่มีทิศทางไม่สมดุลกับกิ่งบางส่วนออก เพื่อมิให้ทรงพุ่มหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง สำหรับต้นยางที่ได้ความเสียหายเพียงแค่ทรงพุ่มเอนไปข้างใดข้างหนึ่งมากหรือลำต้นโค้ง ให้ตัดแต่งกิ่งด้านที่หนักไม่สมดุลออก เพื่อป้องกันมิให้ต้นยางโค่นล้ม หรือถอนรากเนื่องจากกระแสลมอีกต่อไป




          17) ข้อควรปฏิบัติในการตัดแต่งกิ่ง ได้แก่




          1. ควรตัดแต่งกิ่งในช่วงต้นและปลายฤดูฝนเท่านั้น




          2. เครื่องมือและอุปกรณ์ตัดแต่งกิ่งต้องคมและสะอาด เพื่อป้องกันเปลือกฉีกขาด เป็นรอยแผลขนาดใหญ่ และเชื้อราเข้าทำลายทางบาดแผล




          3. กรณีกิ่งแขนงแตกใหม่ยังอ่อนมาก ต้องตัดให้ชิดลำต้นมากที่สุด




          4. กรณีกิ่งแขนงขนาดใหญ่ ควรแบ่งตัดอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้เลื่อยตัดให้ห่างจากบริเวณลำต้นพอสมควร โดยเลื่อยด้านล่างของกิ่งให้ลึกพอสมควรก่อน จึงกลับมาเลื่อยด้านบนจนขาด ทั้งนี้เพื่อป้องกันกิ่งฉีก จากนั้นจึงเลื่อยครั้งที่สองเป็นการตัดชิดลำต้น




          5. สำหรับการตัดกิ่งแขนงที่อยู่สูง ห้ามโน้มต้นยางลงมาตัด เพราะจะทำให้ไส้ของต้นยางในเนื้อไม้แตก ต้นยางอาจตายได้




          6. หลังตัดแต่งใช้ปูนขาว หรือปูนแดง หรือสีน้ำมันทาบริเวณแผลที่ตัด ป้องกันโรคเข้าทำลาย




          18) ลักษณะทรงพุ่มที่ดี ควรมีทรงพุ่มโปร่งเป็นรูปตัววีหรือทรงกรวยหงาย ด้วยการเลี้ยงกิ่งกระโดงให้สมบูรณ์แข็งแรง เลือกแต่งกิ่งให้เหลือกิ่งแขนงที่ทำมุมกว้างกับลำต้น และมีกิ่งรองน้อยแผ่รอบทรงพุ่มอย่างสมดุล




          19) ประเภทของวัชพืช วัชพืชที่ขึ้นภายในสวนยางมีมากมายหลายชนิด สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ




          1. วัชพืชฤดูเดียว หมายถึง วัชพืชที่มีวงจรชีวิตเพียงปีเดียวหรือฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่มีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ลำต้นเตี้ย ตั้งตรง ไม่พันต้นยาง และมีระบบรากตื้น เมื่อถึงฤดูกาลหรือสภาพแวดล้อมเหมาะสม เมล็ดที่ร่วงลงดินก็จะงอกขึ้นมา เจริญเติบโต ออกดอก และผลิตเมล็ด แล้วก็ตายไป ซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตเมล็ดได้จำนวนมาก และมักจะมีความคงทนอยู่ในดินได้นาน ดังนั้นการกำจัดวัชพืชประเภทนี้ให้หมดไปไม่สามารถทำได้ง่ายนัก แต่มีหลักการในการกำจัดวัชพืชประเภทนี้ให้ได้ผล คือ ให้ทำการกำจัดก่อนที่วัชพืชจะผลิตเมล็ด จึงจะได้ผลอย่างเต็มที่ ซึ่งวัชพืชฤดูเดียวที่พบในสวนยางพารามีทั้งชนิดใบแคบและใบกว้าง ได้แก่ 1) วัชพืชประเภทใบแคบ มีลักษณะที่เห็นได้ชัดคือ ใบจะเรียวยาวเส้นใบจะขนานกัน ระบบราก เป็นรากฝอยไม่มีรากแก้ว ได้แก่ หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนติด หญ้าใบไผ่ หญ้ามาเลเซีย หญ้าหวาย และ 2) วัชพืชประเภทใบกว้าง ลักษณะที่เห็นเด่นชัดคือ เส้นใบแตกเป็นร่างแห ระบบรากมีทั้งรากแก้วและรากฝอย ได้แก่ หญ้าเขมร สาบแร้งสาบกา หญ้ายาง




          2. วัชพืชข้ามปี หมายถึง วัชพืชที่มีอายุมากกว่า 1 ปี สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งโดยเมล็ดและส่วนที่อยู่ใต้ดิน เช่น ราก เหง้า หัว และไหล แต่วัชพืชประเภทนี้สามารถขยายพันธุ์ด้วยส่วนที่อยู่ใต้ดินได้ดีกว่าเมล็ด จึงนับเป็นวัชพืชที่กำจัดได้ค่อนข้างยากกว่าวัชพืชฤดูเดียว ซึ่งวัชพืชข้ามปีจะเจริญงอกงามดีเมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสม และชะงักการเจริญเติบโตหรือเหี่ยวเฉาไปเมื่อถึงฤดูแล้ง แต่จะมีส่วนขยายพันธุ์ที่อยู่ใต้ดินได้เก็บสะสมอาหารไว้ พอถึงฤดูกาลที่เหมาะสมหรือได้ความชื้นพอเหมาะก็จะแตกใบ ผลิดอก ออกผล และสร้างเมล็ดขึ้นมาใหม่ วัชพืชข้ามปีที่พบในสวนยางมีทั้งชนิดใบแคบและใบกว้าง ได้แก่ 1) วัชพืชประเภทใบแคบ ได้แก่ หญ้าคา หญ้าขจรจบดอกเหลือง หญ้าแพรกและ 2) วัชพืชประเภทใบกว้าง ได้แก่ สาบเสือ ขี้ไก่ย่าน




          3. เฟิร์น เนื่องจากเฟิร์นเป็นพืชที่มีระบบรากตื้นจึงไม่มีการแข่งขันกับยางรุนแรงนัก เฟิร์นเป็นวัชพืชชั้นต่ำที่ขยายพันธุ์ด้วยสปอร์ ไม่มีดอก ไม่มีเมล็ด ใบอ่อนจะม้วนงอ ลำต้นเป็นเหง้า วัชพืชประเภทเฟิร์นที่พบในสวนยางพารา ได้แก่ ลิเภา โชน ผักกูด และต้นสามร้อยยอด




          20) วิธีการกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชในสวนยางอ่อนมีความสำคัญมากกว่าในสวนยางใหญ่ ซึ่งการควบคุมหรือกำจัดวัชพืชในสวนยางสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การถากด้วยจอบ การฟันด้วยมีดพร้า การตัดด้วยเครื่องตัดหญ้า การใช้วัสดุคลุมดิน การปลูกพืชคลุมดิน การปลูกพืชแซม การใช้สารเคมี เป็นต้น




          21) การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีกล เป็นวิธีการกำจัดวัชพืชในสวนยางที่ทำกันโดยทั่วไปและทำกันมานานแล้ว เช่น การดายหญ้า การถาก การตัด การฟัน การขุด การไถพรวนระหว่างแถว การนาบต้นวัชพืช เป็นต้น โดยใช้แรงงานคนเป็นหลัก เหมาะสำหรับสวนยางที่มีวัชพืชไม่มากนัก และเหมาะกับยางปลูกใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งยังไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช แต่ต้องใช้แรงงานมากและต้องทำบ่อยครั้งจึงจะได้ผล โดยการดายหญ้า การถาก และการขุดโดยใช้แรงงานคน เหมาะสำหรับการกำจัดวัชพืชบริเวณแถวยาง เพื่อไม่ให้วัชพืชพันต้นยาง โดยทำการกำจัดทุก 1-2 เดือน หรือทุกครั้งก่อนการใส่ปุ๋ย เป็นการทำลายส่วนของวัชพืชอยู่เหนือดินและใต้ดิน และการไถพรวน เป็นการกำจัดวัชพืชระหว่างแถวยาง ในช่วงที่ต้นยางมีอายุไม่เกิน 1 ปี อาจไถลึกถึง 30 เซนติเมตร และไถให้ห่างจากแถวยางประมาณ 1 เมตร แต่พอต้นยาง




          22) การกำจัดวัชพืชด้วยการใช้สารเคมี ควรใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศรัตรูพืชอย่างเหมาะสม โดยอ่านฉลากแนะนำคุณสมบัติและการใช้ก่อนทุกครั้ง ตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องพ่นอย่าให้มีรอยรั่ว เพราะจะทำให้สารพิษเปียกเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายของผู้ฉีดพ่นได้ ต้องสวมเสื้อผ้าและรองเท้าให้มิดชิด รวมทั้งหน้ากาก หรือผ้าปิดจมูกและศีรษะ เพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษ ควรพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นขณะลมสงบ หลีกเลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง และผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา เตรียมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้ใช้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถัง ทำลายภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว อย่าทิ้งตามร่องสวน แม่น้ำ ลำคลอง ภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรปิดให้สนิทเมื่อเสร็จงาน และเก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างจากสถานที่ปรุงอาหาร แหล่งน้ำ และโรงเก็บต้องล็อคกุญแจตลอดเวลา ภายหลังการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที เสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง




          23) ปลูกพืชคลุม/พืชแซมในสวนยางพารา ในระยะยางอ่อน ปัญหาสำคัญคือ วัชพืชสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ และลดการชะล้างและพังทลายของดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย ประโยชน์ของพืชคลุมดินได้แก่ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน รักษาความชุ่มชื้นในดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เพิ่มธาตุอาหารโดยเฉพาะไนโตรเจนในดิน และหมุนเวียนธาตุอาหาร ควบคุมวัชพืช ช่วยลดระยะเวลายางอ่อน ผลตกค้างของพืชคลุมดินทำให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น ข้อจำกัดของพืชคลุมดิน เป็นแหล่งอาศัยของโรคและแมลง เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ในสวนยางได้ง่าย เป็นการเพิ่มโรครากให้แก่ต้นยาง ขึ้นพันต้นยาง ทำให้เสียหาย ชนิดของพืชคลุมดินที่ปลูกในสวนยาง พืชคลุมดินโดยทั่วไปเป็นพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ซึ่งโดยทั่วไป พืชคลุมดินตระกูลที่ใช้ปลูกในสวนยางที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ




          1. คาโลโปโกเนียม (Calopgonium mucunoides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดภายหลังปลูกภายใน 2 – 3 เดือน แต่จะตายภายใน 18 – 24 เดือน มีเมล็ดเล็กแบน สีน้ำตาบอ่อนเกือบเหลือง มีเมล็ดประมาณ 65,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม




          2. เพอราเรีย (Pueraria phaseoloides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตค่อนข้างเร็วสามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดหลังปลูกภายใน 5 – 6 เดือน คลุมดินได้ดีเมื่ออายุเกิน 2 ปี ควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นอยู่ภายใต้ร่มเงาได้ดี ใบใหญ่หนา เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม ยาว สีน้ำตามแก่มีเมล็ดประมาณ 76,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม




          3. เซ็นโตรซีมา (Centrosema pubescens) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตช้า แต่หนาทึบ และอยู่ได้นานขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา ใบเล็ก เมล็ดเล็กแบนมีลาย และมีเมล็ดประมาณ 40,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม




          4. ซีรูเลียม (Calopogonium caeruleum) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตในระยะแรกช้าสามารคลุมพื้นที่ได้หนาแน่นภายใน 4 – 6 เดือน ทนทานต่อร่มเงาได้ดี ไม่ตายในหน้าแล้ง ใบสีเขียวเข้มค่อนข้างหนาและเป็นมัน แผ่นใบมีขน เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ ผิวเมล็ดเรียบเป็นมันวาวมีเมล็ดประมาณ 26,200 เมล็ดต่อกิโลกรัม เนื่องจากลักษณะและการเจริญเติบโตของพืชคลุมดินแต่ละชนิดแตกต่างกัน การปลูกพืชคลุมดินให้คลุมตลอดอายุต้นยางอ่อน ควรปลูกหลายชนิดรวมกันตามสัดส่วน และเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินควรมีความงอกมากกว่าร้อยละ 80 ปลูกโดยวิธีหว่าน




          24) ปลูกไม้กันลม วิธีปลูกเป็นแนวกันลม (Tree along borders) เป็นวิธีการที่นำเอาพืชยืนต้นที่อาจเป็นพืชเกษตรหรือพืชป่า ปลูกไว้รอบ ๆพื้นที่สวนยาง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นแนวกันลม ซึ่งพืชกันลมจะช่วยลดความเสียหายที่จะทำให้ต้นยางหักล้มได้ พืชที่นำมาปลูกเป็นแนวกันลม เช่น สะเดา เทียม มะพร้าว มะม่วง ตะเคียน เป็นต้น ซึ่งต้นไม้แนวกันลมสามารถทำให้พืชปลูกลดความเสียหายได้ในระยะ 25 เท่าของความสูง หมายความว่าหากต้นไม้แนวกันลมสูง 10 เมตร จะสามารถชะลอความเร็วกระแสลมได้ 250 เมตรตามทิศทางที่ลมพัดไป จะเลือกไม้กันลมชนิดใดนั้นขึ้นกับความต้องการของเกษตรกรเอง ซึ่งอาจเป็นการปลูกไม้ป่า เพราะจะได้เนื้อไม้มาใช้สอยเพื่อการทำที่อยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่น ๆ ได้ หรือเป็นการปลูกไม้ผลเพราะช่วยกันลมได้ และยังให้ผลผลิตเพื่อการบริโภคหรือจำหน่ายได้ด้วย ดังนั้นอาจมีการแบ่งพื้นที่ปลูกเป็นแนวตาหมากรุกกระจายไปในพื้นที่สวนยางพารา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ