หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปลูกยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-118ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปลูกยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการปลูกยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน ขั้นตอนการรองก้นหลุม อธิบายวิธีการปลูกด้วยต้นตอตายาง ต้นยางชำถุง และปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางพาราในแปลง และมีทักษะได้แก่ สามารถเตรียมวัสดุที่ใช้รองก้นหลุมและรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถเตรียมต้นตอยางพารา ต้นยางชำถุง เมล็ดยางพารา กิ่งตาพันธุ์ดีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกเพื่อรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นตอตายางและต้นยางชำถุงได้ และสามารถปลูกเมล็ดยางพาราในแปลงอย่างถูกต้อง สามารถปลูกต้นตายางพารา ต้นยางชำถุง และสามารถติดตาในแปลงได้อย่างถูกวิธี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B161 รองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพารา 1) อธิบายขั้นตอนการรองก้นหลุมได้อย่างถูกวิธี B161.01 83150
B161 รองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพารา 2) เตรียมวัสดุที่ใช้รองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง B161.02 83151
B161 รองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพารา 3) ดำเนินการรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพาราได้ B161.03 83152
B162 ปลูกยางพาราด้วยต้นตอตายาง 1) อธิบายวิธีการปลูกด้วยต้นตอตายางพาราได้อย่างถูกวิธี B162.01 83153
B162 ปลูกยางพาราด้วยต้นตอตายาง 2) ดำเนินการเตรียมต้นตอตายางพาราและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกได้อย่างถูกต้อง B162.02 83154
B162 ปลูกยางพาราด้วยต้นตอตายาง 3) ดำเนินการรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นตอตายางพาราได้อย่างถูกวิธี B162.03 83155
B162 ปลูกยางพาราด้วยต้นตอตายาง 4) ดำเนินการปลูกต้นตอตายางพาราในแปลงได้อย่างถูกวิธี B162.04 83156
B163 ปลูกยางพาราด้วยต้นยางชำถุง 1) อธิบายวิธีปลูกด้วยต้นยางชำถุงได้ B163.01 83157
B163 ปลูกยางพาราด้วยต้นยางชำถุง 2) เตรียมต้นยางชำถุงและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกได้อย่างถูกต้อง B163.02 83158
B163 ปลูกยางพาราด้วยต้นยางชำถุง 3) ดำเนินการรองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางชำถุงได้อย่างถูกวิธี B163.03 83159
B163 ปลูกยางพาราด้วยต้นยางชำถุง 4) ดำเนินการปลูกต้นยางชำถุงในแปลงได้อย่างถูกวิธี B163.04 83160
B164 ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางในแปลง 1) อธิบายวิธีปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางในแปลงได้ B164.01 83161
B164 ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางในแปลง 2) เตรียมเมล็ดยางพารา กิ่งตายางพันธุ์ดีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางในแปลงได้อย่างถูกต้อง B164.02 83162
B164 ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางในแปลง 3) ดำเนินการปลูกเมล็ดยางในแปลงได้อย่างถูกวิธี B164.03 83163
B164 ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางในแปลง 4) ดำเนินการติดตายางในแปลงได้อย่างถูกวิธี B164.04 83164

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การทดสอบ และการสรุปผลเกี่ยวกับการปลูกยางพารา




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น แยกความแตกต่าง การเตรียม การดำเนินการ เพื่อประเมินแนวทางการปฏิบัติงานการปลูกยางพารา ได้แก่ การเตรียมวัสดุปลูกยางพาราเช่น ต้นตอตา ยางชำถุง และเมล็ดยางพารา ดำเนินการปลูก และติดตายางในแปลงได้




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการปลูกยางพาราให้ถูกต้อง




          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการรองก้นหลุมก่อนปลูกยางพารา




          2) มีความรู้ในการปลูกต้นตอตายาง




          3) มีความรู้ในการปลูกต้นยางชำถุง




          4) มีความรู้ในการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตายางในแปลง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการการปลูกยางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




(ก) คำแนะนำ




          N/A




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




          1) รองก้นหลุมก่อนปลูกต้นยางพารา




          วิธีการรองก้นหลุมก่อนการปลูกยางพาราอย่างถูกวิธี ดังนี้




          1. เตรียมปุ๋ยสำหรับใช้รองก้นหลุม ได้แก่ ปุ๋ยฟอสเฟตบดละเอียด ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ แต่ต้องเป็นปุ๋ยที่หมักสมบูรณ์แล้ว เพราะหากยังหมักไม่สมบูรณ์ จุลินทรีย์กำลังย่อยสลายกองปุ๋ย จะมีความร้อนสูง ความร้อนและสารพิษบางชนิดอาจทำอันตรายต่อรากพืชได้




          2. ขุดหลุม (ขนาดตามแต่ชนิดพันธุ์ที่ปลูก) โดยแยกดินเป็น 2 กอง คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง




          3. ขนาดของหลุมปลูก พิจารณาตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด




          4. นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมกับกองดินชั้นบน เคล้าให้เข้ากันดี แล้วใส่ลงในหลุมประมาณ 1/3 ของความลึกหลุม




          5. นำต้นพืชลงปลูกโดยใช้ดินชั้นล่างกลบ และดินชั้นบนที่เหลือกลบตามด้านบนปากหลุม/ รดน้ำก็เป็นอันเสร็จ




          2) การปลูกยางพาราด้วยต้นตอตายาง เป็นวิธีที่ง่ายต่อการปฏิบัติ ต้องปลูกในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกและต่อเนื่อง ควรปลูกต้นฤดูฝน วิธีการปลูกใช้เหล็กหรือไม้ปลายแหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาที่ปลูกเล็กน้อย แทงบนหลุมปลูก ลึกขนาดเกือบเท่าความยาวของรากแก้วต้นตอตา เสียบต้นตอตาตามร่องที่แทงไว้ ให้รอยต่อระหว่างรากแก้วและลำต้นอยู่พอดีกับผิวดิน ให้แผ่นตาหันไปทิศทางเดียวกันทั้งแปลง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้อัดต้นตอตาให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าให้มีโพรงอากาศบริเวณราก เพราะจะทำให้รากเน่า การกลบดินพยายามให้แนวระดับดินอยู่ตามส่วนรอยต่อของรากกับลำต้น หลังการปลูกควรพรวนดินบริเวณโคนต้นตอตาให้สูงเพื่อมิให้โคนต้นตอตาเน่า เนื่องจากมีน้ำขัง หลังจากปลูกควรใช้เศษฟางข้าวหรือวัสดุหาง่าย คลุมโคนต้นตอตายาง หากไม่มีฝนตกหลังจากปลูกควรให้น้ำต้นยาง




          3) การปลูกยางพาราด้วยต้นยางชำถุง เป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ช่วยลดช่วงระยะเวลาดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง สามารถกรีดยางได้เร็วกว่าการปลูกด้วยต้นตอตาและการติดตาในแปลง นอกจากนี้ต้นยางชำถุงยังเหมาะสมใช้เป็นต้นปลูกซ่อมได้ดีที่สุดอีกด้วย การปลูกยางด้วยต้นยางชำถุง จะต้องระมัดระวังเรื่องการขนย้าย เพราะหากดินในถุงชำแตกจะทำให้ต้นยางตายได้ ควรเลือกใช้ต้นยางชำถุงที่มีจำนวนฉัตร 1-2 ฉัตร และฉัตรจะต้องแก่เต็มที่ หลังจากเลือกต้นได้แล้ว ทำการตัดแต่งรากที่ทะลุถุงชำออก เก็บต้นยางชำถุงไว้ในโรงเรือนที่มีร่มเงารำไรประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นยางปรับตัว และรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอจึงย้ายปลูก การปลูกทำโดยใช้มีดเฉือนก้นถุงออก แล้วกรีดด้านข้างของถุงให้ขาดออกจากกันแต่ยังไม่ต้องดึงถุงออก นำวางลงในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ นำดินกลบจนเกือบเต็มหลุมแล้วจึงดึงถุงพลาสติกออก ระวังอย่าให้ดินในถุงแตก กลบดินต่อจนเสมอปากหลุม อัดดินให้แน่น และพูนโคนต้นเล็กน้อยเพื่อไม่ให้น้ำขังในหลุมปลูก




          4) การปลูกยางพาราด้วยเมล็ดและติดตาในแปลง ต้นยางที่ปลูกจะมีระบบรากแข็งแรง มีความเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ไม่ต้องขุดถอนย้ายปลูก ต้นยางเปิดกรีดได้ในระยะเวลาใกล้เคียงกับต้นที่ปลูกด้วยต้นตอตา การปลูกสร้างสวนยางโดยการติดตาในแปลงจะประสบผลสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นกล้ายาง ความสมบูรณ์ของกิ่งตายาง และความสามารถของคนติดตายาง ซึ่งต้องปลูกเมล็ดยางก่อน โดยนำเมล็ดสดโดยนำเมล็ดสดปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หลุมละ 3 เมล็ด ระยะห่างระหว่างเมล็ด 25 เซนติเมตร ก่อนวางเมล็ดบนหลุม ควรใช้ไม้ปลายแหลมสักดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร วางเมล็ดลงในหลุมที่เจาะไว้ ให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง หรือถ้าปลูกด้วยเมล็ดงอกให้วางด้านรากงอกของเมล็ดคว่ำลง แล้วกลบดินให้มิดเมล็ด เมื่อต้นกล้ายางอายุ 6-8 เดือน หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นไม่ต่ำกว่า 1 เซนติเมตรที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร จะทำการติดตายาง หลังจากติดตาแล้ว 21 วัน หากติดตาสำเร็จมากกว่า 2 ต้นต่อหลุม ก็พิจารณาตัดยอดต้นที่สมบูรณ์ที่สุดในระดับความสูง 10-15 เซนติเมตรเอียงเป็นมุม 45 องศาลงไปทางด้านตรงข้ามกับแผ่นตา หลังจากนั้น 1 เดือน หากตาของต้นที่ตัดยอดยังไม่แตกก็พิจารณาตัดยอดต้นอื่นต่อไปทีละต้น แต่ถ้าตาของต้นที่ตัดแตกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นตอตาทั้งหมดออก คงเหลือต้นที่ตาแตกเจริญเติบโตต่อไป


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ