หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมหลุมปลูกกล้ายาง

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-117ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมหลุมปลูกกล้ายาง

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมหลุมปลูกกล้ายาง โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน วิธีการขุดคูและทำแนวรั้วรอบแปลง ขั้นตอนการวางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดชันได้ วิธีการขุดหลุมปลูก และมีทักษะได้แก่ สามารถเลือกเครื่องจักรและเลือกอุปกรณ์ในการขุดคูรอบแปลงได้อย่างถูกต้อง เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ที่ใช้ในการทำแนวรั้งได้อย่างถูกต้อง ขุดคูและทำแนวกั้นรั้วได้ถูกต้อง เลือกอุปกรณ์ในการวางแนวปลูก และกำหนดระยะปลูกยางพาราทั้งในพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดชันได้อย่างถูกต้อง กำหนดและจัดทำแนวหลักในพื้นที่ราบและพื้นที่ลาดชันได้อย่างเหมาะสม ขุดและกลบหลุมปลูกยางพาราได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
         กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
         ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B151 ขุดคูและทำแนวรั้วรอบแปลง 1) อธิบายวิธีการขุดคูและทำแนวรั้วรอบแปลงได้ B151.01 83136
B151 ขุดคูและทำแนวรั้วรอบแปลง 2) เลือกอุปกรณ์และเครื่องจักรที่ใช้ในการขุดคูรอบแปลงได้อย่างถูกต้อง B151.02 83137
B151 ขุดคูและทำแนวรั้วรอบแปลง 3) เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแนวรั้วรอบแปลงได้อย่างถูกต้อง B151.03 83138
B151 ขุดคูและทำแนวรั้วรอบแปลง 4) ดำเนินการขุดคูและทำแนวรั้วรอบแปลงได้อย่างถูกต้อง B151.04 83139
B152 วางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ราบ 1) อธิบายขั้นตอนการวางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ราบได้ B152.01 83140
B152 วางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ราบ 2) เลือกอุปกรณ์ในการวางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ราบได้อย่างถูกต้อง B152.02 83141
B152 วางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ราบ 3) กำหนดและจัดทำแนวแถวหลักในพื้นที่ราบได้อย่างถูกต้อง B152.03 83142
B153 วางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดชัน 1) อธิบายขั้นตอนการวางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดชันได้ B153.01 83143
B153 วางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดชัน 2) เลือกอุปกรณ์ในการวางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดชันได้อย่างถูกต้อง B153.02 83144
B153 วางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดชัน 3) กำหนดและจัดทำแนวแถวหลักในพื้นที่ลาดชันได้อย่างถูกต้อง B153.03 83145
B154 ขุดหลุมปลูกยางพารา 1) อธิบายวิธีขุดหลุมปลูกยางพาราได้ B154.01 83146
B154 ขุดหลุมปลูกยางพารา 2) เลือกอุปกรณ์หรือเครื่องจักรในการขุดหลุมปลูกที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกยางพาราได้อย่างถูกต้อง B154.02 83147
B154 ขุดหลุมปลูกยางพารา 3) เตรียมอุปกรณ์และเครื่องจักรกลในการขุดหลุมปลูกยางพาราได้อย่างถูกต้อง B154.03 83148
B154 ขุดหลุมปลูกยางพารา 4) ดำเนินการขุดและกลบหลุมปลูกยางพาราได้อย่างถูกต้อง B154.04 83149

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การอธิบาย และการสรุปผลเกี่ยวกับการเตรียมหลุมปลูกกล้ายางพารา




          2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น กำหนด ตัดสินใจเลือก แยกความแตกต่าง และการดำเนินการในการปฏิบัติงานการเตรียมหลุมปลูกกล้ายางพาราได้แก่เลือก และเตรียมอุปกรณ์สำหรับการขุดคู ทำแนวรั้ว วางแนวปลูก และกำหนดระยะปลูกในพื้นที่ราบ และพื้นที่ลาดชัน และขุดหลุมปลูก




          3) มีทักษะในการสื่อสาร อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานการเตรียมหลุมปลูกกล้ายางพาราให้ถูกต้อง



          4) มีทักษะในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการขุดคูรอบแปลงและทำแนวรั้วกั้นรอบแปลง




          2) มีความรู้ในการวางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ราบ




          3) มีความรู้ในการวางแนวปลูกและกำหนดระยะปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดชัน




          4) มีความรู้ในการเตรียมหลุมปลูกยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการการเตรียมหลุมปลูกกล้ายางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




(ก) คำแนะนำ




          N/A




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




          1) การกำหนดระยะปลูก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการปลูกสร้างสวนยาง เพราะการกำหนดระยะปลูกมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา สามารถใช้พื้นที่ปลูกยางได้อย่างคุ้มค่า ประหยัดในเรื่องของการกำจัดวัชพืช ต้นยางเปิดกรีดได้เร็ว สวนยางมีลักษณะสวยงาม เป็นระเบียบ สะดวกต่อการปฏิบัติงาน โดยต้นยางพาราจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ต่อต้นไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตร




          2) การกำหนดแถวหลัก ควรวางแถวหลักตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก และให้ขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างและการพังทลายของดิน ควรกำหนดแถวหลักให้ห่างจากแนวเขตสวนยางเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร




          3) การขุดคูรอบแปลง เป็นการขุดคูตามแนวเขตสวนยาง เพื่อป้องกันโรครากและการแก่งแย่งธาตุอาหาร โดยขุดระหว่างแนวเขตสวนยางเก่ากับแถวหลักแรกของต้นยางพารา




          4) การขุดหลุม เมื่อปักไม้ชะมบตามระยะปลูกเรียบร้อยแล้ว ทำการขุดหลุมโดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบโดยตลอด ไม่ต้องถอนไม้ออก หลุมที่ขุดมีขนาด กว้างxยาวxลึก 50x50x50 เซนติเมตร ดินที่ขุดแบ่งเป็น 2 ชั้น ดินบนกองไว้ด้านหนึ่ง ดินล่างกองไว้อีกด้านหนึ่ง ผึ่งแดดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อดินแห้งแล้ว ย่อยดินบนให้ละเอียดพอควรใส่ลงก้นหลุม แล้วตามด้วยดินล่างที่ผสมด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมและปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 3-5 กิโลกรัมต่อหลุมใส่ไว้ด้านบน




          5) การวางแนวปลูก เป็นการกำหนดว่าจะปลูกยางไปทิศทางใด เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับต้นยาง ป้องกันการชะล้างผิวหน้าดิน สะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา การกรีดและการเก็บน้ำยาง โดยการวางแนวปลูกมีวิธีปฏิบัติ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดระยะปลูก 2. การกำหนดแถวหลัก 3. การขุดหลุม




          6) อุปกรณ์ในการเล็กแนวระยะปลูก ได้แก่ สวยวัด ไม้ชะมบ ลวด และไม้เล็งแนว




          7) ประโยชน์ของการทำแนวระดับและขั้นบันได เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ป้องกันการชะล้างปุ๋ยที่ใส่ให้กับต้นยางพารา ทำให้รากต้นยางพารายึดแน่นกับดิน ไม่ถูกน้ำเซาะล้มได้ง่าย ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน ง่ายและสะดวกแก่การปฏิบัติงานในสวนยาง




          8) การวางแนวปลูกในพื้นที่ราบ เริ่มจากการวางแถวหลักห่างจากแนวเขตสวนไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ไม่ขวางทิศทางลม




          9) การวางแนวปลูกในพื้นที่ลาดเท ในพื้นที่ลาดเทหรือพื้นที่ที่อยู่บนควนเขา การวางแนวปลูกไม่สามารถใช้วิธีแบบเดียวกับพื้นที่ราบได้ เนื่องจากที่ลาดเทหรือที่ควนเขามีการไหลบ่าของน้ำในขณะที่มีฝนตก เป็นผลให้เกิดการชะล้างและพังทลายหน้าดิน ดังนั้นเพื่อป้องกันการชะล้างและการพังทลายของดิน จึงจำเป็นต้องวางแนวปลูกตามแนวระดับ หากพื้นที่มีความลาดเทมากกว่า 15 องศา ต้องทำขั้นบันได


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ