หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-115ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจใน วิธีการใช้เครื่องจักรในการตัดโค่นสวนยางพาราและไถปรับพื้นที่ปลูกยางพาราได้ สามารถอธิบายวิธีการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นแบบขุดรากและแบบเหลือตอได้ และทักษะได้แก่ สามารถเตรียมเครื่องจักรกล เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการโค่นต้นยางพาราได้ สามารถเช็คสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ สามารถระบุข้อควรระวังในการใช้เครื่องจักรกลในการตัดโค่นสวนยางพาราได้ สามารถไถปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง และสามารถตรวจสภาพพื้นที่และจัดการเศษ ซากได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
         ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2560 พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธุ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B131 จัดเตรียมเครื่องจักรกลในการโค่นและปรับพื้นที่ 1) อธิบายวิธีการใช้เครื่องจักรในการตัดโค่นสวนยางพารา B131.01 83107
B131 จัดเตรียมเครื่องจักรกลในการโค่นและปรับพื้นที่ 2) ระบุข้อควรระวังในการใช้เครื่องจักรในการตัดโค่นสวนยางพารา B131.02 83108
B131 จัดเตรียมเครื่องจักรกลในการโค่นและปรับพื้นที่ 3) ดำเนินการเช็คสภาพเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานก่อนการใช้งาน B131.03 83109
B132 ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา 1) อธิบายวิธีการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นแบบขุดรากได้ B132.01 83110
B132 ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา 2) อธิบายวิธีการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นแบบเหลือตอได้ B132.02 83111
B132 ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา 3) เตรียมเครื่องจักรกลที่ใช้ในการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นด้วยวิธีการโค่นแบบขุดรากได้อย่างถูกต้อง B132.03 83112
B132 ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา 4) เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นด้วยวิธีการโค่นแบบเหลือตอได้อย่างถูกต้อง B132.04 83113
B132 ตัดโค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้น/เพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา 5) โค่นต้นยางหรือไม้ยืนต้นด้วยวิธีการโค่นแบบเหลือตอและแบบขุดรากได้อย่างถูกต้อง B132.05 83114
B133 ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา 1) อธิบายวิธีการใช้เครื่องจักรกลที่ใช้ในการไถปรับพื้นที่ปลูกยางพาราได้ B133.01 83115
B133 ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา 2) อธิบายเครื่องจักรกลที่ใช้ในการไถปรับพื้นที่ปลูกยางพาราได้อย่างถูกต้อง B133.02 83116
B133 ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา 3) ดำเนินการไถปรับหน้าดินเพื่อปลูกสร้างสวนยางพาราได้อย่างถูกต้อง B133.03 83117
B133 ปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา 4) ตรวจสภาพพื้นที่และจัดการเศษ ซากได้อย่างถูกต้อง B133.04 83118

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ การเตรียม และสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา




          2) มีทักษะในการดำเนินการ ตรวจสอบ แยกความแตกต่าง เพื่อประเมินในการเตรียมพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพาราได้แก่ การใช้เครื่องจักรเพื่อปรับพื้นที่ การตัดโค่นต้นยางพาราเก่า และการปรับพื้นที่ เป็นต้น




          3) มีทักษะในการสื่อสาร  การติดต่อประสานงาน อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานในการเตรียม พื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ในการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นเพื่อปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนยางพารา




          2) มีความรู้ในการเตรียมเครื่องจักรกลที่ใช้ในการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้น




          3) มีความรู้ในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้น




          4) มีความรู้ในการไถปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา




          5) มีความรู้ในการใช้เครื่องจักรกลเพื่อไถปรับพื้นที่ปลูกยางพารา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนยางพารา ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




(ก) คำแนะนำ




          N/A




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




          1) การปรับพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการปลูกสร้างสวนยางพารา เป็นการโค่นต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นบางชนิด โดยต้องทำการเผาปรน (ถางป่าแล้วเผา) เก็บเศษไม้และวัชพืชที่เหลือในพื้นที่ออกให้มากที่สุด เพื่อเป็นการกำจัดแหล่งแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะโรครากยาง และทำการไถพลิกหน้าดินและไถพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนทำการปลูก




          2) วิธีการโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้น มีวิธีการโค่นล้ม 2 วิธี คือ การโค่นแบบขุดราก และการโค่นแบบเหลือตอ




          3) การโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นแบบขุดราก เป็นวิธีการที่ต้องอาศัยเครื่องจักรกลในการดันต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นให้ล้มไปในทางเดียวกัน โดยถอนรากขึ้นมาด้วย ได้แก่ รถแทรกเตอร์ตีนตะขาบ (Crawler) และรถขุด (Back hoe) ดำเนินการถางป่า ล้มไม้ ถอนตอ และกวาดรวมกอง แล้วจึงเผา เก็บเศษ และเกลี่ยปรับพื้นที่ แล้วจึงใช้รถแทรกเตอร์ล้อยาง (Farm tractor) ติดผานไถ 3 จาน หรือ 4 จาน ทำการไถบุกเบิก ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ติดผานไถ 7 จาน ทำการไถพรวน




          4) การโค่นล้มต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นแบบเหลือตอ เป็นวิธีการตัดต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นให้เหลือตอ ซึ่งยังไม่ตาย อาจใช้เลื่อยยนต์ในการตัด และจำเป็นต้องทำลายตอเหล่านี้ให้ตายและผุพังโดยรวดเร็ว ซึ่งกระทำได้โดยใช้สารเคมีทารอบตอสูงจากพื้นดิน 30 เซนติเมตร โดยทาก่อนโค่น 1 วัน สารเคมีที่มีประสิทธิภาพ คือ ไทรคลอเพอ อัตรา 2.21 กรัม และการ์ลอน 5 ซีซี ผสมน้ำ 95 ซีซี เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานของเกษตรกร เก็บกิ่งไม้เล็ก ๆ และวัชพืชออกจากแปลง ทำการเผาปรน ไถพรวนดินอย่างน้อย 2 ครั้ง แต่เนื่องจากไม้ยางพารามีราคาดี เกษตรกรส่วนใหญ่จึงนิยมโค่นต้นยางชิดพื้นดิน และไม่ทาสารเคมีทำลายตอ ปล่อยให้ต้นยางผุพังตามธรรมชาติ




          5) ความปลอดภัยทั่วไปในการใช้รถแทรกเตอร์ คำเตือนต่าง ๆที่ตัวรถแทรกเตอร์ ถ้าลบเลือนหรือฉีกขาดควรจะเปลี่ยนใหม่ ควรมียาชุดปฐมพยาบาลไว้ในรถแทรกเตอร์ อย่าพยายามที่จะปรับตั้งแรงดันน้ำมันไฮดรอลิกด้วยตนเอง อย่าใช้รถแทรกเตอร์เมื่อรู้ตัวว่าไม่สบาย หรือร่างกายไม่สมบูรณ์ ควรขึ้นหรือลงทางบันได และจับราวที่ตัวรถแทรกเตอร์ให้แน่น เพื่อป้องกันการพลาดตกจากรถแทรกเตอร์




          6) การสตาร์ทเครื่องยนต์ของรถแทรกเตอร์ ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์รถแทรกเตอร์ ต้องมั่นใจว่าเบรกล็อคล้ออยู่ และเกียร์รวมทั้ง พี.ที.โอ. อยู่ในจังหวะว่าง ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์แน่ใจว่าได้วางเครื่องมือกสิกรรมลงบนพื้นเรียบร้อยแล้ว อย่าพยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ขณะที่ยังไม่ได้นั่งบนที่นั่งคนขับ เมื่อต้องการเข็นรถแทรกเตอร์ให้เครื่องยนต์ติด ต้องมั่นใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางทางด้านหน้ารถแทรกเตอร์ อย่าติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ในห้องหรือโรงรถที่ปิดไม่ให้อากาศถ่ายเท เพราะควันจากท่อไอเสียเป็นพิษ อาจมีอันตรายถึงตายได้




          7) การใช้รถแทรกเตอร์ ปรับตั้งความกว้างของล้อให้เหมาะสมกับงาน โดยคำนึงถึงการทรงตัวของรถแทรกเตอร์ด้วย ถ้าใช้รถแทรกเตอร์ลากจูงหรือดึงรถแทรกเตอร์คันอื่นขึ้นจากหล่ม ต้องคอยสังเกตดูว่าล้อหน้าลอยจากพื้นหรือไม่ ถ้าล้อหน้าลอยให้เหยียบคลัซท์ทันที และเปลี่ยนจุดลากใหม่ให้ต่ำกว่าเดิม เมื่อขับรถแทรกเตอร์ลงเขาจะต้องอยู่ในเกียร์ตลอด ห้ามปลดเกียร์ว่างหรือเหยียบคลัซท์ เมื่อรถแทรกเตอร์เคลื่อนที่คนขับควรจะต้องนั่งบนเบาะตลอดทุกเวลา อย่ากระโดดขึ้นลงเวลารถแทรกเตอร์เคลื่อนที่ เมื่อต้องการหยุดรถแทรกเตอร์ให้ค่อยๆเหยียบเบรก อย่าเลี้ยวโค้งที่ความเร็วสูง ใช้รถแทรกเตอร์ให้ปลอดภัยตามสภาพของพื้นที่ เมื่อทำงานบนพื้นที่ลาดเอียงให้ใช้ความเร็วช้า พร้อมทั้งค่อยๆ หมุนพวงมาลัยขณะเลี้ยว เมื่อขับรถแทรกเตอร์บนทางหลวงจะต้องปฏิบัติตามกฎจราจร อย่างวางเท้าบนคลัซท์หรือเบรกขณะขับรถแทรกเตอร์ เมื่อขับรถแทรกเตอร์บนทางหลวงหรือเดินทางบนถนนให้เบรกซ้าย-ขวาเข้าด้วยกัน




          8) การลากจูงและการเดินทาง เมื่อทำการลากจูงให้ปรับคานลากให้เข้ากับรถแทรกเตอร์ที่จะลาก ขับรถแทรกเตอร์ด้วยความเร็วช้า ๆ เมื่อลากสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เพื่อความปลอดภัยเมื่อลากรถแทรกเตอร์ ตัวเทรเลอร์เองควรมีระบบเบรกด้วย เมื่อลากจูงให้ลากโดยใช้คานลากเท่านั้น ห้ามใช้ลากจูงจากแขนกลางหรือแขนล่าง เมื่อขับรถแทรกเตอร์บนทางหลวงหรือขณะลากจูง ห้ามเหยียบล็อคกันฟรีล้อหลังเพราะจะทำให้ไม่สามารถบังคับเลี้ยวได้ ให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ถ้าทำงานบนขอบบ่อหรือขอบพื้นดินที่เป็นที่ลึก




          9) การใช้เครื่องมือกสิกรรมกับรถแทรกเตอร์ ห้ามติดตั้งเครื่องมือกสิกรรมที่มีขนาดใหญ่เกินกำลังของรถแทรกเตอร์ อย่าเลี้ยงหักมุมขณะใช้เพลาอำนวยกำลัง อย่ายืนระหว่างรถแทรกเตอร์และเครื่องมือกสิกรรมขณะทำการติดตั้งเครื่องมือ อย่าเข้าคันโยก พี.ที.โอ. เมื่อมีผู้อื่นยืนอยู่ใกล้เครื่องมือกสิกรรม และต้องแน่ใจว่าเพลา พี.ที.โอ. มีแผงเหล็กป้องกันเรียบร้อย อย่าพยายามรับผู้โดยสารในขณะเดินทาง นอกจากว่ามีที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร ติดตั้งน้ำหนักถ่วงล้อหลัง ถ้าติดตั้งเครื่องมือกสิกรรมด้านหน้า




          10) การจอดรถแทรกเตอร์ เมื่อจอดรถแทรกเตอร์ให้ดูพื้นที่เรียบ ๆ และใส่เกียร์ค้างไว้ พร้อมดึงเบรกมือ และถ้าจอดรถแทรกเตอร์บนที่ลาดชันในลักษณะขึ้นเขาให้ดึงเบรกมือและใส่เกียร์ 1 เดินหน้า และถ้าจอดในลักษณะลงเขาใส่เกียร์ถอยหลังพร้อมดึงเบรกมือ อย่ายกเครื่องมือกสิกรรมค้างไว้ขณะจอดรถเทรกเตอร์ ควรวางเครื่องมือลงให้เรียบร้อยแล้วจึงดับเครื่องยนต์ ก่อนที่จะลงจากรถแทรกเตอร์ให้ปลดคันบังคับ พี.ที.โอ. ให้อยู่ตำแหน่งว่าง ดึงเบรกมือ แล้วจึงดับเครื่องยนต์และใส่เกียร์ค้างไว้ ลูกกุญแจควรจะดึงออกจากสวิตซ์




          11) การบำรุงรักษารถแทรกเตอร์ ปล่อยให้เครื่องยนต์เย็นแล้วจึงเปิดฝาหม้อน้ำ โดยค่อยๆ หมุนฝาหม้อน้ำออก ถอดขั้วสายดินของแบตเตอรี่ออกทุกครั้ง ก่อนที่จะซ่อมระบบไฟฟ้า




          12) ข้อควรระวังในการใช้รถแทรกเตอร์ ก่อนที่จะถอดแป๊บหรือสายไฮดรอลิคต่าง ๆ จะต้องแน่ใจว่าไม่มีแรงดันน้ำมันไฮดรอลิคค้างอยู่ น้ำมันไฮดรอลิคที่มีแรงดันสูงเป็นอันตรายได้ พยายามหาสิ่งป้องกัน เช่น แว่นตา หรือถุงมือ เมื่อจะทำการบำรุงรักษาหรือปรับตั้งระบบต่าง ๆ ที่ตัวรถแทรกเตอร์ ต้องแน่ใจว่าดับเครื่องยนต์เรียบร้อยแล้ว อย่าถอดยางหรือใส่ยางเองถ้าไม่มีเครื่องมือพร้อม เพราะอาจเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงได้ อย่าเติมน้ำมันจนเต็มถัง ถ้าหากทำงานที่ร้อน อากาศร้อน และกลางแจ้งแสงแดดจัด อย่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะติดเครื่องยนต์หรืออยู่ใกล้เปลวไฟ ติดตั้งเครื่องดับเพลิงให้หยิบได้ง่ายเสมอ




          13) สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในการใช้รถแทรกเตอร์ ไม่ควรเดินเครื่องยนต์ในที่อับ อากาศไม่ถ่ายเท ไม่ควรเดินเครื่องยนต์ทิ้งไว้ ไม่ควรลุกจากที่นั่งคนขับขณะที่รถกำลังเคลื่อนตัว ไม่ควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ ไม่ควรทิ้งรถบนทางลาดที่สามารถไถลลงได้ ไม่ควรขับรถโดยไม่ตรวจสภาพเบรกให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วสูงโดยไม่ได้ล็อคเบรกเท้าทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน ขณะทำงานบนที่ขรุขระ ใกล้แนวท่อ หรือขณะเลี้ยว ไม่ควรขับรถลงจากที่ลาดชันโดยใช้เกียร์ว่าง ไม่ควรทำงานบนที่ลาดเอียงโดยไม่รักษาสมดุลรถ ไม่ควรลากสิ่งของโดยล่ามสายลากกับด้านบนของตัวรถหรือจุดต่อแขนกลาง ไม่ควรยกน้ำหนักโดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนว่าน้ำหนักเกินหรือไม่ ไม่ควรพยายามทำความสะอาดหรือปรับตั้งเครื่องมือที่ต่อเพลาอำนวยกำลัง ขณะที่เพลายังทำงานอยู่ ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหละหลวมขณะใช้มูเลย์สายพานหรือเพลาอำนวยกำลัง ไม่ควรติดตั้งหรือถอดสายพานขณะที่มูเลย์สายพานยังทำงานอยู่ ไม่ควรทำงานใต้เครื่องมือที่กำลังถูกยกโดยแขนยกไฮครอลิค


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ




          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ