หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพันธุ์ยางพารา

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-113ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพันธุ์ยางพารา

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนยางพารา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับวิเคราะห์ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพันธุ์ยางพารา โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของระบบรากและการดูดธาตุอาหาร ลักษณะลำต้น เปลือก และท่อน้ำยาง ใบและทรงพุ่ม ลักษณะดอก ผล และเมล็ดของยางพาราได้ การแบ่งชั้นพันธุ์ยางตามพื้นที่และแบ่งชั้นพันธุ์ยางแต่ละชั้นได้ การแบ่งชั้นยางพาราอธิบายการแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราได้ และผลผลิตของกลุ่มพันธุ์ยางพาราได้อย่างถูกต้อง และมีความรู้ได้แก่ สามารถระบุทางพฤกษศาสตร์ต้นยางพาราได้อย่างถูกต้อง สามารถแบ่งกลุ่มยางพาราได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาที่พบเป็นประจำในการปฏิบัติงานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกยางพารา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
         ISCO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ.2542- คำแนะนำพันธ์ยาง ปี 2560 พันธ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางเดิม พันธ์ยางแนะนำในพื้นที่ปลูกยางใหม่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B111 สังเกตลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพาราเบื้องต้น 1) อธิบายระบบรากและการดูดกินอาหารของยางพาราได้ B111.01 83079
B111 สังเกตลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพาราเบื้องต้น 2) อธิบายลักษณะลำต้น เปลือก และท่อน้ำยางได้ B111.02 83080
B111 สังเกตลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพาราเบื้องต้น 3) อธิบายลักษณะใบและทรงพุ่มของต้นยางได้ B111.03 83081
B111 สังเกตลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพาราเบื้องต้น 4) อธิบายลักษณะดอก ผล และเมล็ดของยางพาราได้ B111.04 83082
B111 สังเกตลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพาราเบื้องต้น 5) ระบุลักษณะทางพฤกษศาสตร์ต้นยางพาราได้ B111.05 83083
B112 แบ่งชั้นพันธุ์ยางพารา 1) อธิบายการแบ่งชั้นพันธุ์ยางพารา (ตามพื้นที่) ได้ B112.01 83084
B112 แบ่งชั้นพันธุ์ยางพารา 2) อธิบายการแบ่งชั้นพันธุ์ยางพาราแต่ละชั้นได้ B112.02 83085
B112 แบ่งชั้นพันธุ์ยางพารา 3) แบ่งชั้นพันธุ์ยางพาราได้อย่างถูกต้อง B112.03 83086
B113 แบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราตามลักษณะผลผลิต 1) อธิบายการแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราได้ B113.01 83087
B113 แบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราตามลักษณะผลผลิต 2) แบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราแต่ละกลุ่มได้ B113.02 83088
B113 แบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราตามลักษณะผลผลิต 3) อธิบายผลผลิตของกลุ่มพันธุ์ยางพาราได้อย่างถูกต้อง B113.03 83089

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


          1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และสรุป ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ยางพารา การแบ่งชั้นพันธุ์ยางพาราการแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพารา




          2) มีทักษะในการสังเกตและระบุ และ แยกความแตกต่าง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ยางพารา การแบ่งชั้นพันธุ์ยางพารา และการแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราตามลักษณะผลผลิต เพื่อประเมินแนวทางการปฏิบัติงาน




          3) มีทักษะในการสื่อสาร การติดต่อประสานงาน อธิบาย และทำความเข้าใจร่วมกับผู้ร่วมงานหรือผู้รับปฏิบัติตามแผนงานหรือแผนปฏิบัติการให้เข้าใจและปฏิบัติงานในการวิเคราะห์ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพันธุ์ยางพารา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


          1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพารา ทั้งราก ลำต้น เปลือก ท่อน้ำยาง ดอก ผล และเมล็ดของยางพารา




          2) มีความรู้ในการแบ่งชั้นพันธุ์ยางพารา




          3) มีความรู้ในการแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราตามลักษณะผลผลิต


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ




(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




          1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงานที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




          2) ใบผ่านการฝึกอบรม หรือ ใบรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




          1) หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา




          2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




          3) ผลการสอบข้อเขียน




          4) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




          1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค หรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




          2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพ และระดับชั้นที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




          3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




(ง) วิธีการประเมิน




          1) การสอบข้อเขียน




          2) การสอบสัมภาษณ์




          3) การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของแปลงและผู้ประกอบการการวิเคราะห์ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และพันธุ์ยางพาราซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




(ก) คำแนะนำ




          N/A




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




          1) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของยางพารา




          วงศ์ (Family): Euphorbiacea




          จีนัส (Genus): Hevea




          สปีชีส์ (Species): brasiliensis




          ชื่อสามัญ (Common name): para rubber




          ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Hevea brasiliensis Mull-Arg.




          ราก




          มีระบบรากแก้ว (tap root system) เมื่อยางอายุ 3 ปี รากแก้วจะหยั่งลงดินมีความยาวประมาณ 2.5 เมตร มีรากแขนงที่แผ่ไปทางด้านข้าง ยาว 7-10 เมตร




          ลำต้น




          เป็นพวกไม้ยืนต้น ถ้าปลูกจากเมล็ดจะมีลักษณะเป็นรูปกรวย แต่ถ้าปลูกโดยใช้ต้นติดตาจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ความสูง 30-40 เมตร ต้นอ่อนเจริญเติบโตได้รวดเร็วมากทำให้เกิดช่วงปล้องยาว เปลือกจะเป็นสีเขียวเมื่ออายุยังน้อย แต่เมื่ออายุมากเปลือกจะเปลี่ยนสีเป็นสีเทาอ่อน เทาดำ หรือน้ำตาล ซึ่งเปลือกของลำต้นของยางพารา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ cork เป็นส่วนที่เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุด hard bark เป็นชั้นถัดเข้ามา ประกอบด้วย parenchyma cell และ disorganized sieve tube มีท่อน้ำยาง (latex vessel) ที่มีอายุมากกระจัดกระจายอย่างไม่ต่อเนื่อง และส่วนสุดท้ายจะประกอบไปด้วย soft bark ซึ่งเป็นส่วนในสุดของเปลือกติดกับเนื้อเยื่อ cambium ประกอบด้วย parenchyma cell และ sieve tube มีท่อน้ำยางซึ่งเวียนขึ้นจากซ้ายไปขวาทำมุม 30-35 องศากับแนวดิ่ง ในการกรีดยางพาราจำเป็นต้องกรีดจากซ้ายไปขวา เพื่อตัดผ่านท่อน้ำยางให้ได้มากที่สุด ต้นยางพาราในส่วนของเปลือกจึงจะให้น้ำยางได้มากที่สุด คือส่วนของ hard bark และ soft bark มีความหนารวมกัน 10-11 มิลลิเมตร น้ำยางที่ได้เป็น cytoplasm ที่อยู่ในท่อ หลังจากการกรีดยางพาราแล้วต้นยางพาราในส่วนของเปลือกจะสามารถเจริญเติบโตได้ดั่งเดิมต้องใช้เวลาโดยประมาณ 7-8 ปี เพื่อให้เกิดใบในลักษณะที่เวียนเป็นเกลียว เป็นกลุ่มและท่อกลุ่มเรียกว่า ฉัตรใบ (leaf storey) ต้นยางพาราประกอบด้วยใบ มีต่อมน้ำหวานที่โคนก้านใบ ซึ่งเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ แต่ละใบจะมีรูปร่างแบบ ovate หรือ elliptical .ในภาคใต้ต้นยางพาราจะผลัดใบช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม




          ภาคตะวันออกจะผลัดใบในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งถือได้ว่าต้นยางพาราจะผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง




          ช่อดอกและดอก




          ช่อดอกของยางพาราจะเกิดตามปลายกิ่ง มีลักษณะแบบ panicle มีกิ่งแขนงจำนวนมาก ช่อดอกของยางพาราจะเกิดขึ้นพร้อมใบใหม่ที่เกิดหลังจากผลัดใบ ซึ่งจะประกอบไปด้วยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียที่แยกกันอยู่แต่อยู่บนช่อเดียวกัน ในส่วนของผลและเมล็ดมีลักษณะเป็นแบบ capsule ผลลักษณะทั่วไปจะมี 3 เมล็ด เมื่อผลแก่จะแตกออก เปลือกของเมล็ดจะมีลาย ในส่วนของเมล็ดจะประกอบไปด้วยส่วนของเอนโดสเปิร์มและใบเลี้ยง ซึ่งใบเลี้ยงจะประกอบไปด้วยโปรตีนประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ แล้วประกอบด้วยน้ำมันถึง 40 เปอร์เซ็นต์




          2) การแบ่งชั้นพันธุ์ยางพารา




          ในปี พ.ศ. 2554 สถาบันวิจัยยางแนะนำพันธุ์ยางพาราในการปลูก แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ 1) พันธุ์ยางชั้น 1 เป็นยางพันธุ์ดี ผ่านการทดลองและศึกษาลักษณะต่าง ๆ อย่างละเอียด แนะนำให้ปลูกโดยไม่จำกัดเนื้อที่ปลูก2) พันธุ์ยางชั้น 2 เป็นยางพันธุ์ดี อยู่ระหว่างการทดลองและศึกษาลักษณะบางประการเพิ่มเติม แนะนำให้ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ เกษตรกรที่มีความประสงค์จะเลือกปลูกพันธุ์ยางชั้นนี้ ควรปลูกภายใต้การแนะนำจากสถาบันวิจัยยางและ3) พันธุ์ยางชั้น 3 เป็นยางพันธุ์ดี อยู่ระหว่างการทดลองและยังมีข้อมูลจำกัด แนะนำให้ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ เกษตรกรที่มีความประสงค์จะเลือกปลูกพันธุ์ยางชั้นนี้ ควรปลูกภายใต้คำแนะนำจากสถาบันวิจัยยาง




          3) การแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราตามลักษณะผลผลิต




          การแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางพาราตามลักษณะผลผลิต เป็นการแบ่งกลุ่มพันธุ์ยางออกเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก ได้แก่1) กลุ่ม 1 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง เป็นพันธุ์ที่ให้น้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางในกลุ่มนี้ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง 2) กลุ่ม 2 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาณเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงและ3) กลุ่ม 3 พันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ เป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน




          2) ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้




          3) ประเมินโดยการสอบปฏิบัติ



          4) ประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน โดยต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ