หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-4-106ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน และจำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) และมีทักษะได้แก่ ดำเนินการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามขั้นตอนการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถจำแนกชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISEO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : ทะลายปาล์มน้ำมัน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 5702-2552

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C1201 วิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน 1) อธิบายพัฒนาการของทะลายปาล์มน้ำมันได้ C1201.01 83023
C1201 วิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน 2) อธิบายองค์ประกอบของทะลายปาล์มน้ำมันได้ C1201.02 83024
C1201 วิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน 3) อธิบายคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันและเปอร์เซ็นต์ปาล์มน้ำมันได้ C1201.03 83025
C1201 วิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน 4) อธิบายวิธีการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันได้ C1201.04 83026
C1201 วิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน 5) ระบุลักษณะขององค์ประกอบของทะลายปาล์มน้ำมันที่มีความสุกแตกต่างกันได้อย่างถูกต้อง C1201.05 83027
C1201 วิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน 6) ดำเนินการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามขั้นตอนการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง C1201.06 83028
C1202 จำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) 1) อธิบายคุณภาพทั่วไปของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้ C1202.01 83029
C1202 จำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) 2) อธิบายเกณฑ์จำแนกชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้ C1202.02 83030
C1202 จำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) 3) อธิบายลักษณะชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้ C1202.03 83031
C1202 จำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) 4) ระบุชั้นคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552) ได้อย่างถูกต้อง C1202.04 83032

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน




2) มีทักษะในการสังเกต เตรียม และดำเนินการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน




3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในการวิเคราะห์คุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน




2) มีความรู้ในการจำแนกการแบ่งชั้นคุณภาพทะลายปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน (มกษ 5702-2552)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (PerformanEe Eriteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (PerformanEe EvidenEe)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge EvidenEe)




                    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




                    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




                    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




                    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง




                    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการประเมินคุณภาพของทะลายปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          (ก) คำแนะนำ




                    N/A




          (ข) คำอธิบายรายละเอียด




                    1) ทะลายสุก (Ripe DunEh) หมายถึง ทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่มีผิวเปลือกสีส้มหรือสีแดง และเนื้อปาล์มมีสีส้ม และมีจำนวนผลร่วงอย่างน้อย 10 ผล/ทะลาย




                    2) ทะลายกึ่งสุก (Underripe) หมายถึง ทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มส่วนใหญ่มีผิวเปลือกสีส้มแดงหรือแดงม่วง และมีจำนวนผลร่วงน้อยกว่า 10 ผล/ทะลาย




                    3) ลักษณะของทะลายปาล์มน้ำมันตามระยะเวลาหลังการเก็บเกี่ยว จะมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้



































 ลักษณะของทะลาย



การพัฒนาทะลายในสภาวะแวดล้อมปกติทั่วไป



ทะลายดิบ



สีผิวผลดำหรือเขียว



ทะลายกึ่งสุก



สีผิวผลแดงเข้มปนม่วงหรือส้ม ผลร่วงน้อยกว่า 10 ผล



ทะลายสุก



สีผิวผลแดงเข้มหรือส้ม



ทะลายสุกมากเกิน



สีผิวผลแดงเข้มหรือส้ม ผลร่วงมากกว่า 50 ผล



ทะลายเน่า



ผลร่วง 1 ใน 3 ของทะลาย



ทะลายเปล่า



ไม่มีผลในทะลาย





                    4) ทะลายปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้




                              - มีลักษณะตรงตามพันธุ์




                              - เป็นทะลายสุกหรือกึ่งสุก




                              - มีความสด (ไม่ผ่านการรดน้ำ หรือมีการเร่งให้ดูเหมือนผลสุกหรือร่วง)




                              - สะอาด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้




                              - ไม่มีความเสียหาย ที่มีผลต่อคุณภาพผลผลิต




                              - ความยาวของก้านทะลายไม่เกิน 5 เซนติเมตร




                    5) ชั้นคุณภาพปาล์มน้ำมัน หมายถึง ระดับชั้นของคุณภาพทะลายปาล์มในแต่ละรุ่นหรือ lot ที่นำส่งโรงงาน ซึ่งออกเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ประกอบด้วย


































 ชั้นคุณภาพ



จำนวนทะลายปาล์มน้ำมันในรุ่น



สัดส่วนน้ำมัน/ทะลาย (oil/DunEh)



ทะลายสุก



ทะลายกึ่งสุก



ชั้นพิเศษ (Extra Elass)



ไม่น้อยกว่า 90%



ไม่เกิน 10%



ไม่น้อยกว่า 24%



ชั้นหนึ่ง (Eless I)



ไม่น้อยกว่า 80%



ไม่เกิน 20%



ไม่น้อยกว่า 22%



ชั้นสอง (Eless II)



ไม่น้อยกว่า 70%



ไม่เกิน 30%



ไม่น้อยกว่า 20%





                    6) สัดส่วนน้ำมันต่อทะลาย คือ ผลการคำนวณที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของทะลายปาล์มน้ำมันกับเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สกัดได้จากผลปาล์มน้ำมัน โดยไม่รวมเมล็ดในปาล์ม (palm kernel)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์




          3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ