หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-112ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับ ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบและข้อบังคับในการประกอบอาชีพการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน และหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน และมีทักษะได้แก่ สามารถปฏิบัติการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันตามกฎระเบียบข้อบังคับได้ และสามารถจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISEO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
C1801 ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน 1) อธิบายกฎระเบียบและข้อบังคับในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันได้ C1801.01 83075
C1801 ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน 2) ปฏิบัติการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันตามกฎระเบียบข้อบังคับได้อย่างถูกต้อง C1801.02 83076
C1802 มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน 1) อธิบายการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันได้ C1802.01 83077
C1802 มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน 2) มีคุณธรรมและจริยธรรมในการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน C1802.02 83078

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และประเมินการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน




2) มีทักษะในการสังเกต และดำเนินการตามกฎระเบียบข้อบังคับ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน




3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในกฎระเบียบและข้อบังคับในการประกอบอาชีพการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน




2) มีความรู้ในหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพการจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมัน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (PerformanEe Eriteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (PerformanEe EvidenEe)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge EvidenEe)




                    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




                    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




                    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




                    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง




                    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายจัดการผลผลิตและการตลาดปาล์มน้ำมันของเจ้าของและผู้ประกอบการสวนปาล์ม ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          (ก) คำแนะนำ




                    N/A




          (ข) คำอธิบายรายละเอียด




                    1) กฎ และระเบียบในการจัดการผลผลิตและการตลาด : ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับการจัดการภายหลังการเก็บเกี่ยวของผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทย ก็คือ การจัดการทางการตลาด (marketing management)




                    การจัดการผลผลิตและตลาดปาล์มน้ำมันในรูปแบบที่ตัวเกษตรกรเป็นผู้จำหน่ายผลผลิต คือ เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้จำหน่ายเองในตัวคนๆ เดียวกัน หรือกันง่ายว่า ปลูกเอง ขายเอง ส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบการตลาด เพื่อการจำหน่ายผลผลิตปาล์มน้ำมันในลักษณะผลผลิตทะลายสด โดยสิ่งที่สำคัญสำหรับการขายผลผลิตปาล์มน้ำมันคือ ทะลายปาล์มต้องสมบูรณ์ ปราศจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง หรือสารพิษตกค้าง ที่อาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนรอยตำหนิ หรือลักษณะที่ผิดปกติทางสรีรวิทยาต่างๆ ของทะลายปาล์ม ซึ่งเป็นลักษณะภายนอกที่ผู้ซื้อสามารถสังเกตุและมองเห็นได้ง่ายและทันที ซึ่งมาตรฐานคุณภาพ (quality Eriteria) สามารถแบ่งออกเป็น คุณภาพภายนอกและคุณภาพภายใน โดยการจำหน่ายผลผลิตผู้ซื้อจะให้ความสำคัญกับคุณภาพภายนอกเป็นอันดับแรก ความสดและความสะอาดของทะลายปาล์ม (fresh & Elean) เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกษตรกรผู้ขายผลผลิตสามารถต่อรองราคากับผู้ซื้อได้




                    2) “คุณธรรม” หมายถึง สภาพคุณงามความดีเป็นสภาพคุณงามความดีทางความ ประพฤติและจิตใจ ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 ความหมาย คือ




                              (1) ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลัก ศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณีหลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ




                              (2) การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่า คุณธรรม คือ จริยธรรมแต่ละข้อที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น เป็นคนซื่อสัตย์เสียสละ อดทน มีความ รับผิดชอบ ฯลฯ




                    3) คุณธรรมในการประกอบอาชีพ คือ สิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดคุณงามความดี ยึดมั่นในคุณธรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้ราบรื่น ดังนี้




                              - ความรับผิดชอบ คือ การรับรู้และสำนึกในการกระทำของตนอย่างเต็มใจ




                              - ความมีระเบียบวินัย คือ การปฏิบัติตนตามข้อกำหนด คำสั่ง ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน




                              - ความเสียสละ คือ การยอมเสียสิ่งที่เป็นของตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น หรือสังคม




                              - ความสามัคคี คือ ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ซึ่งในการปฏิบัติงานใดๆ จะสำเร็จลุล่วงได้ดีนั้น จะต้องเกิดความสามัคคี




                              - ความซื่อสัตย์สุจริต คือ การประพฤติปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมา ทั้งทางกายทางวาจา และทางใจ ไม่คดโกงเอาเปรียบ




                    4) “จริยธรรม” แปลว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติศีลธรรม กฎศีลธรรม ซึ่งก็คือ กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ความเป็นผู้มีปรีชาญาณ (ปัญญาและเหตุผล) ทำให้มนุษย์มีมโนธรรม รู้จักแยกแยะความถูก ผิด ควร ไม่ควร โดยจริยธรรมมีลักษณะ 4 ประการ คือ




                              (1) การตัดสนทางจริยธรรม (Moral Judgement) บุคคลจะมีหลักการของตนเอง เพื่อตัดสินการกระทำของผู้อื่น




                              (2) หลักการของจริยธรรมและการตัดสินตกลงใจเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลก่อนที่จะปฏิบัติการต่างๆ ลงไป




                              (3) หลักการทางจริยธรรมเป็นหลักการสากลที่บุคคลใช้ตัดสนใจในการกระทำสิ่งต่างๆ




                              (4) ทัศนะเกี่ยวกับจริยธรรมได้มาจากความคิดของบุคคลหรืออุดมคติของสังคม จนเกิดเป็นทัศนะในการดำรงชีวิตของตน และของสงคมที่ตนอาศัยอยู่




                    5) จริยธรรมในการประกอบอาชีพ คือ หลักธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติหรือใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย




                              - สัปปุริสธรรม 7 (ธรรมของคนดี) หรือธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นสัตบุรุษ เป็นธรรมของคนดี




                              - อิทธิบาท 4 (ธรรมสู่ความสำเร็จ) หลักธรรมในการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จ




                              - พรหมวิหาร 4 (ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหม) หลักธรรมในการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จ ธรรมที่บุคคล โดยเฉพาะหัวหน้าหรือผู้นำควรมีไว้ประจำใจในการประพฤติปฏิบัติให้เสมอด้วยพรหม




                              - สติสัมปชัญญะ คือ ความรู้ในตัวขณะที่ทำ พูด หรือคิด สิ่งใดสิ่งหนึ่งและระลึกถึงสิ่งต่างๆ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์




          3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ