หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-090ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันโดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการบุกเบิกพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินในการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ในกรณีที่ที่ดินไม่เคยปลูกปาล์มน้ำมันมาก่อน และการปรับสภาพพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม และมีทักษะได้แก่ สามารถจำแนก และบุกเบิกพื้นที่ปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่ไม่เคยปลูกปาล์มน้ำมันมาก่อนได้ สามารถดำเนินการปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม และสามารถกำหนดอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการบุกเบิกและปรับสภาพพื้นที่ปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISEO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B1501 บุกเบิกพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินในการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ในกรณีที่ที่ดินไม่เคยปลูกปาล์มน้ำมันมาก่อน 1) อธิบายวิธีการบุกเบิกพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินในการปลูกปาล์มน้ำมันแต่ละสภาพภูมิประเทศได้ B1501.01 82766
B1501 บุกเบิกพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินในการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ในกรณีที่ที่ดินไม่เคยปลูกปาล์มน้ำมันมาก่อน 2) จำแนกพื้นที่บุกเบิกตามสภาพภูมิประเทศได้อย่างถูกต้อง B1501.02 82767
B1501 บุกเบิกพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินในการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ในกรณีที่ที่ดินไม่เคยปลูกปาล์มน้ำมันมาก่อน 3) สามารถบุกเบิกพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินในการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในแต่ละสภาพภูมิประเทศได้อย่างถูกต้อง B1501.03 82768
B1502 ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม 1) อธิบายวิธีการทำลายต้นปาล์มเก่าได้ B1502.01 82769
B1502 ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม 2) เลือกวิธีการทำลายต้นปาล์มเก่าได้อย่างเหมาะสม B1502.02 82770
B1502 ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม 3) เตรียมอุปกรณ์เครื่องจักรกลที่ใช้ในการทำลายต้นปาล์มเก่าได้อย่างถูกต้อง B1502.03 82771
B1502 ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม 4) ดำเนินการทำลายต้นปาล์มเก่าได้อย่างถูกต้อง B1502.04 82772
B1502 ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม 5) อธิบายวิธีปรับสภาพพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิมได้ B1502.05 82773
B1502 ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม 6) กำหนดอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปลูกปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง B1502.06 82774
B1502 ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมที่ดินปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม 7) ปรับสภาพพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง B1502.07 82775

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการวางแผนเตรียมพื้นที่เพื่อการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน




2) มีทักษะในการสังเกต เตรียม จำแนก ปรับเปลี่ยน ตัดสินใจ และดำเนินการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน




3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันได้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในวิธีการบุกเบิกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันแต่ละสภาพภูมิประเทศ




2) มีความรู้ในการปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม




3) มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปรับพื้นที่ปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (PerformanEe Eriteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (PerformanEe EvidenEe)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge EvidenEe)




                    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




                    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




                    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




                    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง




                    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการเตรียมพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง



          (ก) คำแนะนำ

                    N/A

          (ข) คำอธิบายรายละเอียด




                    1) พื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ หมายถึง การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์ม ซึ่งพื้นที่นั้นไม่ได้เป็นสวนปาล์มมาก่อน ซึ่งอาจเป็นสวนยางพารา สวนผลไม้ หรือป่าเสื่อมโทรม




                    2) พื้นที่ปลูกปาล์มเดิม หมายถึง การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์ม ซึ่งพื้นที่นั้นเป็นสวนปาล์มเดิม ซึ่งให้ผลผลิตไม่คุ้มทุน ซึ่งต้องโค่นทำลายเพื่อปลูกปาล์มใหม่ทดแทน




                    3) การบุกเบิกพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกใหม่ เป็นการปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น หากในพื้นที่ปลูกมีต้นไม้ ตอไม้ วัชพืช หรือสิ่งกีดขวาง หรือสิ่งคลุมดินอื่นๆ เราต้องโค่นหรือถอนออก จากนั้นเคลื่อนย้ายมากองรวมกัน ทิ้งระยะไว้ให้กองซากเหล่านั้นแห้งประมาณ 1 เดือน แล้วจึงทำการเผา จากนั้นปรับและไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบโล่ง ระยะเวลาที่เหมาะสมระหว่างเดือน ธันวาคม–เมษายน




                    4) การปรับพื้นที่เพื่อปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ปลูกเดิม เป็นการโค่นล้มต้นปาล์มน้ำมันที่มีการปลูกไว้แต่เดิมออก เพื่อดำเนินการปลูกปาล์มน้ำมันรอบใหม่ โดยการแบ่งพื้นที่เพื่อการล้มต้นปาล์มน้ำมัน สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้




                              - การล้มต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกอยู่เดิม 100 % หรือล้มทั้งแปลง และปลูกทดแทน 100 % วิธีนี้เกษตรกรจะสามารถทำงานได้สะดวกและลดปัญหาการระบาดของศัตรูปาล์มน้ำมัน เช่น หนู และ ด้วงแรด ที่สำคัญคือ ปาล์มที่ปลูกทดแทนต้นเดิมจะเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งจะส่งผลกับระดับผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่เกษตรกรอาจจะขาดรายได้ในช่วง 3 ปีแรกของการปลูก ซึ่งอาจจะมีการปลูกพืชแซมที่ไม่มีผลกระทบกับต้นปาล์มน้ำมัน ระหว่างแถวปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มรายได้




                              - แบ่งพื้นที่การปลูกปาล์มเป็น 2 แปลง แปลงละ 50 % ของพื้นที่ โดยทยอยล้มทีละแปลง




แปลงละ 50 % และปลูกเฉพาะแปลงที่ล้ม เมื่อปาล์มน้ำมันชุดแรกที่ปลูกเริ่มทะยอยให้ผลผลิต (30 เดือน) จึงล้มต้นปาล์มน้ำมันในแปลงที่เหลือ แล้วปลูกทดแทน วิธีนี้เกษตรกรเกษตรกรจะยังมีรายได้จากปาล์มน้ำมันที่เหลืออีกแปลง 50 % จนกว่าปาล์มชุดใหม่ที่ปลูกจะเริ่มให้ผลผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์




          3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ