หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-087ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน โดยผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละ ตั้งแต่ระบบราก ลำต้น ใบ และลักษณะของผล มีความรู้เกี่ยวกับการจำแนกความแตกต่างระหว่างพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ของปาล์มน้ำมัน และการจำแนกลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดี และมีทักษะได้แก่สามารถระบุลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ชนิดของพ่อแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันได้ สามารถระบุพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดีได้ สามารถจำแนกพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISEO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B1201 จำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิด 1) ระบุลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้อง B1201.01 82718
B1201 จำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิด 2) อธิบายระบบรากของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้ B1201.02 82719
B1201 จำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิด 3) อธิบายลักษณะลำต้นของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้ B1201.03 82720
B1201 จำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิด 4) อธิบายลักษณะใบและทางใบของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้ B1201.04 82721
B1201 จำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิด 5) อธิบายลักษณะช่อดอกของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้ B1201.05 82722
B1201 จำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิด 6) อธิบายทะลาย ผล และเมล็ดของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิดได้ B1201.06 82723
B1202 จำแนกความแตกต่างระหว่าง พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน 1) ระบุชนิดของพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง B1202.01 82724
B1202 จำแนกความแตกต่างระหว่าง พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน 2) อธิบายชนิดของแม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันได้ (ดูรา) B1202.02 82725
B1202 จำแนกความแตกต่างระหว่าง พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน 3) อธิบายชนิดของพ่อพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้ (พิสิเฟอรา) B1202.03 82726
B1202 จำแนกความแตกต่างระหว่าง พ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน 4) ระบุความแตกต่างของพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง B1202.04 82727
B1203 จำแนกลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดี 1) อธิบายลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดีที่ใช้ปลูกและเหมาะสมสำหรับปลูกได้ B1203.01 82728
B1203 จำแนกลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดี 2) อธิบายหลักเกณฑ์การรับรองพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดีได้ B1203.02 82729
B1203 จำแนกลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดี 3) ระบุพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดีที่ใช้ปลูกได้อย่างถูกต้อง B1203.03 82730

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการสรุปผลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น จำแนกความแตกต่าง และตัดสินใจในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน



3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการวิเคราะห์ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในการจำแนกลักษณะความแตกต่างทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมันแต่ละชนิด




2) มีความรู้ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ปาล์มน้ำมัน




3) มีความรู้ในการจำแนกลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมที่ดี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (PerformanEe Eriteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (PerformanEe EvidenEe)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge EvidenEe)




                    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




                    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




                    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




                    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง




                    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการวิเคราะห์ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          (ก) คำแนะนำ
                    N/A
          (ข) คำอธิบายรายละเอียด




                   1) ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมัน หมายถึง ลักษณะของราก ลำต้น ใบ ดอก และผลของปาล์มน้ำมันว่าเป็นประเภทใดและมีความเฉพาะอย่างไร




                   2) พ่อแม่พันธุ์ปาล์ม หมายถึง แม่และพ่อฟิสิเฟอร่าสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่ต่างกันและมีความเหมาะสมในการปลูกในแต่ละพื้นที่ ซึ่งพ่อแม่พันธุ์จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน




                   3) พันธุ์ลูกผสมที่ดี หมายถึง ลูกผสม DxP ที่เหมาะสมในการปลูกในแต่ละพื้นที่และได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ




                   4) รากปาล์มน้ำมัน เป็นระบบรากฝอย แบ่งออกเป็น 4 ชุด ทำหน้าที่ค้ำจุนลำต้น ดูดซับน้ำและธาตุอาหาร รากชุดแรกอยู่ในระดับแนวนอนยาว 3-4 เมตรจากต้น และแนวดิ่งลึก 1-2 เมตร สำหรับชุดที่สอง สาม และสี่ จะเกิดเรียงตามลำดับ โดยทั่วไปจะเกิดมากและสามารถดูดซับน้ำและธาตุอาหารที่ปาล์มนำมาใช้ประโยชน์ที่ระดับความลึก 30-50 เซนติเมตร การแผ่กระจายของรากจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น สภาพของดิน ปริมาณของ ธาตุอาหาร ความตื้นของระดับน้ำใต้ดิน เป็นต้น นอกจากนี้จะพบรากพิเศษหรือ รากอากาศ ตรงบริเวณโคนต้นทำหน้าที่ถ่ายเทอากาศระหว่างรากกับบรรยากาศด้วย




                   5) ลำต้นปาล์มน้ำมัน มีลักษณะเป็นต้นเดี่ยวตั้งตรง รูปร่างทรงกระบอก มีเนื้อเยื่อเจริญเฉพาะตรงปลายยอด ซึ่งใน 2-3 ปีแรกจะช่วยในการเจริญเติบโตทางด้านกว้างหลังจากนั้นแล้วจึงจะมีการเจริญทางด้านความสูงเรื่อยไปประมาณ 25-50 เซนติเมตร ต่อปี ต้นที่ขึ้นอยู่ในสภาพป่าอาจจะสูงถึง 20-30 เมตร อายุมากกว่า 100 ปีขึ้นไป




                   6) ใบหรือทางใบปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วยแกนทางใบ ก้านใบ และใบย่อย ซึ่งเกิดจากการพัฒนาของเนื้อเยื่อที่ปลายยอดของลำต้น บริเวณดังกล่าวจะมีจุดกำเนิดตาใบอยู่มากกว่า 50 ตาใบ ในปาล์ม ที่มีอายุ 5-6 ปี จำนวนใบหรือทางใบของปาล์มน้ำมันในแต่ละปีจะมีอยู่ระหว่าง 30-40 ทางใบ หลังจากนั้นจะลดลงเป็น 20-25 ทางใบต่อปี ทางใบจะเกิดในลักษณะเป็นเกลียวรอบต้น




                   7) ช่อดอกปาล์มน้ำมัน จะเริ่มออกดอกเมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี หลังจากปลูกลงในแปลงช่อดอกจะเกิดตาดอกซึ่งอยู่ตรงซอกโคนก้านใบทุกใบใช้เวลาพัฒนาจนถึงดอกบานประมาณ 33-34 เดือน และมีโอกาสที่จะเกิดเป็นช่อดอกเพศผู้ เพศเมีย หรือในโอกาสดอกผสมหรือกะเทย ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดเพศของช่อดอก นอกจากเป็นลักษณะประจำพันธุ์แล้ว ยังมีปัจจัยสภาพแวดล้อม ปริมาณและการกระจายตัวของฝน ความชื้นในดิน และการตัดแต่งทางใบ เป็นต้น โดยทั่วไปสัดส่วนเพศระหว่างช่อดอกตัวเมียต่อช่อดอกตัวผู้สำหรับปาล์มน้ำมันที่เริ่มให้ ผลผลิต ประมาณ 3 : 2 และสัดส่วนนี้จะเปลี่ยนเป็น 1: 2 หรือ 1 : 3 เมื่อปาล์มมีอายุมากขึ้นตามลำดับ




                   8) ผลและเมล็ดปาล์มน้ำมัน หลังจากดอกได้รับการผสมแล้วประมาณ 5–6 เดือน ผลก็จะสุก การสุกของผลจะช้าเร็ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่น ถ้ามีฝนตกสม่ำเสมอ ผลปาล์มน้ำมันก็จะสุกเร็ว ปาล์มที่มีอายุเต็มที่แล้วสามารถจะให้ผลประมาณ 1,600 ผลต่อทะลาย ผลปาล์มเป็นแบบ drupe ประกอบด้วยเปลือกชั้นนอก (exoEarp) เปลือกชั้นกลางหรือกาบ (mesoEarp) ซึ่งเป็นส่วนที่มีน้ำมันอยู่ทั้งสองส่วน เรียกรวมกันว่า preiEarp และมีชั้นในสุดเป็นกะลา (endoEarp) ถัดจากนี้ไปก็เป็นส่วนของเมล็ดซึ่ง ประกอบด้วย เนื้อในเมล็ด (kernel หรือ ndosperm) ซึ่งมีน้ำมันอยู่เช่นกัน และส่วนของคัพภะ (emDryo) ผลและเมล็ดเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่จะให้น้ำมัน และมีลักษณะที่น่าสนใจ กล่าวคือลักษณะสี และความหนาบางของกะลาซึ่งถูกควบคุม ด้วยยีนเพียงน้อยคู่




                   9) พันธุ์ดูรา (Dura) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนาประมาณ 2 ถึง 8 มิลลิเมตร มีชั้นเปลือกนอกที่ให้น้ำมัน (MesoEarp) ประมาณ 35 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลปาล์ม พันธุ์ดูราเป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนามาก ๆ เรียกว่ามาโครคายา (MaEroEarya) คือมีกะลาหนาประมาณ 6 ถึง 8 มิลลิเมตร และมักจะพบมากในแถบตะวันออกไกล เช่น พันธุ์เดลีดูรา (Deli Dura) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันพันธุ์ดูรามักใช้เป็นต้นแม่สำหรับปรับปรุงพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมเป็นการค้า




                   10) พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบางมาก หรือบางครั้งไม่มีกะลา เมล็ดในและผลมีขนาดเล็ก ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ผลผลิตแต่ละทะลายต่อต้นมีปริมาณต่ำ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกเพื่อเป็นการค้าและนิยมใช้พันธุ์ฟิสิเฟอราเป็นต้นพ่อสำหรับผลิตพันธุ์ลูกผสม




                   11) พันธุ์เทเนอรา (Tenera) เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ดูราและพันธุ์พ่อฟิสิเฟอรา เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบาง ประมาณ 0.5 ถึง 4 มิลลิเมตร มีปริมาณของ MesoEarp 60 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลผลผลิตต่อทะลายสูง ในปัจจุบันจึงนิยมปลูกเป็นการค้า




                   12) พันธุ์ปาล์มลูกผสมที่ดีที่ใช้ปลูก พันธุ์เทเนอราทุกแหล่งผลิตสามารถปลูกได้ดีในเขตที่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ควรเลือกพันธุ์เทเนอราที่ผสมและผลิตเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย เนื้องจากถูกพัฒนาปรับปรุงมีการศึกษาวิจัยภายใต้สภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ปลูก ตลอดจนราคาเมล็ดพันธุ์ถูกกว่า และมีข้อมูลการศึกษาวิจัยที่สามารถค้นหาได้ง่าย ตัวอย่าง พันธุ์เทเนอราที่ได้รับการรับรองและส่งเสริมให้มีการปลูก ได้แก่ สายพันธุ์เทเนอราสุราษฎร์ธานี 1-6 ผลิตโดยศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์




          3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ