หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สิทธิการถือครองและการใช้ประโยชน์จากหลักฐานที่ดิน

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-3-086ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สิทธิการถือครองและการใช้ประโยชน์จากหลักฐานที่ดิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับสิทธิการถือครองและการใช้ประโยชน์จากหลักฐานที่ดินตามกฎหมาย โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีควบคู่ ความรู้ ความเข้าใจขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดินแต่ละประเภท การใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครอง และการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ถือครองในปัจจุบัน และมีทักษะ ได้แก่ สามารถระบุขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครองที่ถือครองในปัจจุบันของสิทธิการถือครองที่ดินแต่ละประเภทได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISEO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B1101 ขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดินแต่ละประเภท 1) อธิบายขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดินแต่ละประเภทได้ B1101.01 82709
B1101 ขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดินแต่ละประเภท 2) อธิบายความแตกต่างของขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดินแต่ละประเภทได้ B1101.02 82710
B1101 ขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดินแต่ละประเภท 3) ระบุขอบเขตในสิทธิการครอบครองที่ดินแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง B1101.03 82711
B1102 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครอง 1) อธิบายลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครองที่ดินแต่ละประเภทได้ B1102.01 82712
B1102 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครอง 2) อธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครองที่ดินแต่ละประเภทได้ B1102.02 82713
B1102 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครอง 3) ระบุขอบเขตของการใช้ประโยชน์ที่ดินตามสิทธิการถือครองที่ดินแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง B1102.03 82714
B1103 การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ถือครอง 1) อธิบายลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ถือครองในปัจจุบันได้ B1103.01 82715
B1103 การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ถือครอง 2) อธิบายความแตกต่างของการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทที่ถือครองในปัจจุบันได้ B1103.02 82716
B1103 การใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ถือครอง 3) ระบุการใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทที่ถือครองในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง B1103.03 82717

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการสรุปผลเกี่ยวกับสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์หลักฐานที่ดิน




2) มีทักษะในการสังเกตเบื้องต้น จำแนกความแตกต่าง และตัดสินใจในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์หลักฐานที่ดิน




3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์หลักฐานที่ดินให้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้เกี่ยวกับขอบเขตของหลักฐานที่ดินแต่ละประเภทสิทธิการครอบครอง




2) มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินตามหลักฐานการถือครองที่ดิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (PerformanEe Eriteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (PerformanEe EvidenEe)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge EvidenEe)




                    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




                    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




                    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




                    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง




                    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการเกี่ยวกับสิทธิการถือครองและใช้ประโยชน์หลักฐานที่ดินสวนปาล์ม ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง




          (ก) คำแนะนำ




                    N/A




          (ข) คำอธิบายรายละเอียด




                    1) การถือครองที่ดิน หมายถึง การเข้าไปทำประโยชน์บนผืนที่ดินนั้น โดยไม่คำนึงถึงกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงของผืนที่ดินนั้นๆ ว่าจะเป็นของใคร ซึ่งลักษณะถือครองมีลักษณะดังนี้




                              (1) ของตนเอง หมายถึง ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์หรือที่ดินที่ได้รับการจัดสรรและเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน




                              (2) จำนองผู้อื่น หมายถึง ที่ดินที่นำไปค้ำประกันเงินกู้ปรือค้ำประกันอย่างอื่นแต่ยังคงในสิทธิ์ที่ดิน และยังคงเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินผืนนั้น หรือแม้ไม่ได้ทำแต่ก็มิได้ให้บุคคลอื่นเข้าไปทำประโยชน์ใดๆ




                              (3) ขายฝากผู้อื่น หมายถึง ที่ดินที่นำไปขายฝากผู้อื่นแต่ยังถือครองและเข้าไปทำประโยชน์อยู่โดยอาจเสียค่าเช่าหรือไม่เสียก็ได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ในที่ดิน คงมีสิทธิ์ที่จะขอซื้อคืนภายหลังในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้




                              (4) รับจำนอง หมายถึง ที่ดินที่ผู้อื่นนำมาจำนองไว้และครัวเรือนเกษตรเข้าถือครองใช้ประกอบการเกษตรบนผืนที่ดินนั้นๆ




                              (5) รับขายฝาก หมายถึง ที่ดินที่ผู้อื่นนำมาขายฝากไว้และครัวเรือนเกษตรเข้าถือครองใช้ประกอบการเกษตรบนผืนที่ดินนั้นๆ




                              (6) เช่าผู้อื่น หมายถึง ที่ดินที่ครัวเรือนเกษตรเข้าไปทำประโยชน์โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดิน ซึ่งอาจจะจ่ายเป็นเงินสด เงินเชื่อ ผลผลิตหรืออื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้ตามแต่จะตกลงหรือทำสัญญากับเจ้าของที่ดิน




                    2) เอกสารสิทธิ์ หมายถึง เอกสารที่ใช้แสดงสิทธิ์การเข้าครอบครองที่ดิน ซึ่งมีหลายชนิดดังนี้




                              (1) โฉนด/น.ส.4 หมายถึง หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่รับรองถูกต้องตาม พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้อยู่ในปัจจุบัน




                              (2) น.ส.3/น.ส.3ก. หมายถึง หนังสือรับรองการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและสามารถนำไปใช้ในการทำนิติกรรมต่างๆ ได้ เช่น การจำนอง ขายฝาก โอน เป็นต้น ถ้าเป็น น.ส.3 ต้องรอ ประกาศภายใน 30 วัน แต่ถ้าเป็น น.ส.3ก. ไม่ต้องรอประกาศ




                              (3) ส.ค.1 หมายถึง หนังสือแสดงสิทธิ์การครอบครองที่ดินมือเปล่าที่แสดงว่าบุคคลนั้นได้แจ้งการครอบครองตาม พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 5 ซึ่งทำให้ผู้ครอบครอง มีโอกาสที่จะได้รับโฉนดหรือ น.ส.3 จากทางราชการต่อไป




                              (4) ใบจอง (น.ส.2) หมายถึง หนังสือที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินชั่วคราว แต่ทั้งนี้จะต้องมีการเข้าทำประโยชน์ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่ได้รับใบจอง




                              (5) ใบไต่สวน (น.ส.5) หมายถึง หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินถ้าที่ดินแปลงนั้นมีการทำระวางแผนที่แล้ว แต่ถ้ายังไม่มีการทำระวางแผนที่ ทางราชการจะออกเป็น น.ส.3




                              (6) ใบเหยียบย้ำ หมายถึงเอกสารตามบทบัญญัติกฎหมายที่ดินฉบับเก่าๆ ที่ให้บุคคลเข้าครอบครองบุกเบิกทำประโยชน์ในที่ดินตามขั้นตอนของกฎหมายและมีสิทธิ์ครอบครองเป็นกรรมสิทธิ์ต่อ่ไป




                              (7) น.ค.3 หมายถึง หนังสือให้เข้าทำประโยชน์ในนิคมสร้างตนเองของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งผู้ถือครองมีสิทธิ์ครอบครองแต่จะไม่มีกรรมสิทธิ์ เว้นแต่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ แล้วเท่านั้น




                              (8) สทก.หมายถึง หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินทำกินในป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งออกโดยกรมป่าไม้ ที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์




                              (9) กสน. หมายถึง หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินทำกินในเขตนิคมสหกรณ์ ซึ่งออกโดยกรมส่งเสริม สหกรณ์ที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์




                              (10) ส.ป.ก.4-01 หมายถึง หนังสือแสดงสิทธิ์การทำประโยชนเ์เพื่อการเกษตรตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน ที่ออกให้โดยสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเกษตรกรมีสิทธิ์นำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคาร (ธ.ก.ส.) ได้ แต่ไม่มีสิทธิ์ที่จะนำไปขายหรือยกให้ผู้อื่น เว้นแต่จะตกทอดเป็นมรดกให้ลูกหลาน เพื่อทำการเกษตรเท่านั้น




                              (11) ภ.บ.ท.5,6 หมายถึง ใบเสร็จเสียภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งเป็นเพียงหลักฐานแสดงว่าผู้มีชื่อในใบเสร็จ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น มิใช่สิทธิ์ครอบครองที่ดิน




                    3) การใช้ประโยชน์ที่ดิน ลักษณะการใช้ที่ดินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเนื้อที่ดินเกษตรกรถือครองและที่สาธารณะโดยพิจารณาจากเจตนาการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งจะพิจารณาตามลักษณะการใช้ประโยชน์ของที่ดินผืนนั้นๆ เป็นเกณฑ์




                              (1) ที่อยู่อาศัย หมายถึง ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนสำหรับที่พักอาศัย รวมถึงโรงเรือน คอกสัตว์ ยุ้งฉาง ลานบ้าน ในบริเวณที่อยู่อาศัยด้วย




                              (2) ที่นา หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกข้าวและรวมบางส่วนที่อยูในนา เช่น คันนา จอมปลวก




                              (3) ที่พืชไร่ หมายถึง ที่ดินที่ที่น้ำไม่ท่วมขัง ส่วนใหญ่เป็นที่ดอนมักใช้ในการเพาะปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ฝ้าย ปอ ถั่วต่างๆ เป็นต้นและให้รวมถึงที่ปลูกข้าวไร่ด้วย




                              (4) ที่สวนไม้ผล หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ผล เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน ส้ม เงาะ มะพร้าว เป็นต้น โดยให้รวมเนื้อที่ร่องสวนเข้าไปด้วย (ถ้ามี)




                              (5) ที่ไม้ยืนต้น หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ยืนต้น เช่นปาล์มน้ำมัน ยางพารา เป็นต้น




                              (6) ที่สวนผัก หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกพืชผัก เช่นพริก ผักชี แตงกวา ผักกาด เป็นต้น โดยให้รวมเนื้อที่ร่องสวนเข้าไปด้วย (ถ้ามี)




                              (7) ที่ไม้ดอก ไม้ประดับ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ในการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เช่นกุหลาบ กล้วยไม้ จำปี มะลิ เป็นต้น โดยให้รวมเนื้อที่ร่องสวนเข้าไปด้วย (ถ้ามี)




                              (8) ที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หมายถึง ที่ดินซึ่งใช้ประโยชน์เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ถาวรหรือที่ดินประเภทอื่นๆ ซึ่งได้ปล่อยทิ้งไว้จนเป็นลักษณะของทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์มานานติดต่อกันตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป




                              (9) ที่รกร้าง หมายถึง ที่ดินที่เคยใช้ทำประโยชน์มาก่อน แต่ปัจจุบันปล่อยทิ้งร้างไม่ได้ทำประโยชน์มานานติดต่อกันตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป




                              (10) ที่ป่าถือครอง หมายถึง ที่ดินในที่ถือครองซึ่งมีต้นไม้ที่ปลูกเองหรือขึ้นตามธรรมชาติและเป็นไม้ยืนต้น ที่มีไว้ใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่น กันลม เป็นเงาบังร่มให้กับพืชอื่นไว้ใช้ทำฟืน เผาถ่าน เป็นต้น รวมถึงสวนป่าเศรษฐกิจที่ปลูกเอง เช่น สวนสัก กระถินเทพา สะเดาช้าง ยูคาลิปตัส เป็นต้น และยังรวมถึงสวนป่าที่ปลูกตามโครงการปลูกป่าของรัฐหรือป่าสงวนฯ ที่เกษตรกรเข้าไปถือครองด้วย




                              (11) ที่ห้วย หนอง บึง สระ หมายถึงบ่อน้ำ หนองน้ำ สระน้ำ ที่ถือครองอยู่ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือก่อสร้าง ขึ้นมาก็ได้




                              (12) ที่เพาะเลี้ยงประมง หมายถึง บ่อปลา บ่อกุ้ง กระชัง ของสัตว์น้ำใดๆ ที่จัดสร้างขึ้น รวมทั้งโรงเรือนเพื่อการ ดังกล่าวด้วย ซึ่งอาจจะเป็นประมงน้ำจืดหรือประมงน้ำกร่อย หรือการเพาะเลี้ยงในทะเลก็ได้




                              (13) ที่เลี้ยงปศุสัตว์ หมายถึง ที่ดินที่จัดสร้างขึ้นเป็นโรงเรือนสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น คอกวัว คอกควาย โรงเรือนเลี้ยงไก่ เป็ด สุกร เป็นต้น




                              (14) ที่ฟาร์มผสมผสาน หมายถึง ที่ดินที่ใช้ประกอบกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรหลายๆ ชนิดในพื้นที่เดียวกัน เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงไก่คร่อมบ่อเลี้ยงปลา เป็นต้น




                    4) ประโยชน์ของโฉนดที่ดิน




                              - ทำให้ผู้ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินยึดถือไว้เป็นหลักฐาน




                              - ทำให้เกิดความมั่นคงในหลักกรรมสิทธิ์แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน




                              - ใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของตนทั้งต่อรัฐและในระหว่างเอกชนด้วยกัน




                              - ทำให้รู้ตำแหน่งแหล่งที่ตั้ง ตลอดจนขอบเขตและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแต่ละแปลงได้ถูกต้อง




                              - ทำให้สามารถป้องกันการบุกรุกขยายเขตครอบครองเข้าไปในที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ที่สงวนหวงห้าม ที่สาธารณประโยชน์ และที่ดินที่ทางราชการได้กันไว้เป็นเขตป่าไม้




                              - ทำให้สามารถระงับการทะเลาะวิวาท การโต้แย้ง หรือแย่งสิทธิในที่ดินหรือการรุกล้ำแนวเขตที่ดินซึ่งกันและกัน




                              - ใช้เป็นหลักฐานแสดงทุนทรัพย์หรือหลักประกันในการขอสินเชื่อ และกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตและรายได้เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น




                              - ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ฯลฯ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์



          3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ