หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-AGE-2-103ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


          อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good AgriEultural PraEtiEes) โดยผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP ประเมินการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลัก GAP และดำเนินการขอรับรองสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP และมีทักษะได้แก่ สามารถดำเนินการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลักการ GAP และดำเนินการขอรับรองสวนปาล์มน้ำมันตามขั้นตอนในการขอรับรอง GAP ปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          กลุ่มอาชีพเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          ISEO 6112 ผู้ปฏิบัติงานด้านการปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับปาล์มน้ำมัน มาตรฐานเลขที่ มกษ. 5904-2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B2701 ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP 1) อธิบายหลักการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลักการ GAP ได้ B2701.01 82999
B2701 ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP 2) อธิบายวิธีการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลักการ GAP ได้ B2701.02 83000
B2701 ปฏิบัติตามหลักปฏิบัติการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP 3) ดำเนินการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลักการ GAP ได้อย่างถูกต้อง B2701.03 83001
B2702 ประเมินการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลัก GAP 1) อธิบายเกณฑ์กำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP สำหรับปาล์มน้ำมันได้ B2702.01 83002
B2702 ประเมินการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลัก GAP 2) อธิบายวิธีการประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP สำหรับปาล์มน้ำมันได้ B2702.02 83003
B2702 ประเมินการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามหลัก GAP 3) ระบุเกณฑ์กำหนดและวิธีการประเมิน GAP ปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง B2702.03 83004
B2703 ดำเนินการขอรับรองสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP 1) อธิบายการเตรียมเอกสารที่สำคัญในการขอรับการประเมินมาตรฐาน GAP ได้ B2703.01 83005
B2703 ดำเนินการขอรับรองสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP 2) อธิบายขั้นตอนการดำเนินการในการขอรับรอง GAP ปาล์มน้ำมันได้ B2703.02 83006
B2703 ดำเนินการขอรับรองสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP 3) ระบุเอกสารและขั้นตอนในการขอรับรอง GAP ปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง B2703.03 83007

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ ประเมิน และปฏิบัติจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good AgriEultural PraEtiEes)




2) มีทักษะในการสังเกต ระบุ และดำเนินการปฏิบัติจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good AgriEultural PraEtiEes)




3) มีทักษะในการสื่อสาร สามารถอธิบายการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good AgriEultural PraEtiEes)

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1) มีความรู้ในหลักการและข้อกำหนดของการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good AgriEultural PraEtiEes)




2) มีความรู้ในขั้นตอนและวิธีการประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP สำหรับปาล์มน้ำมัน




3) มีความรู้ในขั้นตอนการขอรับรองการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP ปาล์มน้ำมัน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (PerformanEe Eriteria) และทักษะ ความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (PerformanEe EvidenEe)




                    1) หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ที่ออกโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้




                    2) หลักฐาน/เอกสารการผ่านการอบรม




          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge EvidenEe)




                    1) หนังสือรับรองคุณวุฒิทางการศึกษา




                    2) หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ




                    3) ผลการสอบข้อเขียน




                    4) หลักฐานวุฒิการศึกษา




                    5) ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ




          (ค) คำแนะนำในการประเมิน




                    1) การประเมินเป็นการใช้แบบสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินจากการปฏิบัติงานจริงประกอบกัน โดยต้องผ่านในทุกวิธีการประเมิน




                    2) ผู้เข้ารับการประเมินแสดงความจำนงในการขอรับการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาอาชีพและระดับชั้น ที่ประสงค์จะขอรับการประเมิน




                    3) ผู้รับการประเมินจะต้องกรอกแบบยื่นคำขอรับการทดสอบสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ระบุข้อมูลประวัติของผู้รับการประเมิน และยื่นเอกสารประกอบการยื่นขอรับการทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพผ่านช่องทางที่กำหนด




          (ง) วิธีการประเมิน




                    1) พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน จากการสัมภาษณ์เชิงเทคนิคหรือประเมินการจากการปฏิบัติจริง




                    2) พิจารณาหลักฐานความรู้ การสอบข้อเขียน หรือหนังสือรับรองการทำงาน ใบผ่านงาน ใบผ่านการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)


          ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ระบุองค์ประกอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทั่วไปให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของเจ้าของและผู้ประกอบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามมาตรฐาน GAP (Good AgriEultural PraEtiEes) ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
          (ก) คำแนะนำ
                    N/A
          (ข) คำอธิบายรายละเอียด




                    1) มาตรฐาน GAP หมายถึง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เป็นการปฏิบัติเพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นระหว่างการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสมต่อการบริโภค โดยมีหลักปฏิบัติทั้ง 8 ข้อ ดังนี้




                              (1) แหล่งน้ำ




                              (2) พื้นที่ปลูก




                              (3) การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร




                              (4) การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว




                              (5) การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว




                              (6) การขนส่ง




                              (7) สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน




                              (8) การบันทึกข้อมูล




                    2) แนวทางการเข้าสู่ GAP ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน มีแนวทางปฏิบัติเบื้องต้น ดังนี้




                              (1) ต้องเป็นพันธุ์ดีที่ปลูกเป็นการค้า เป็นลูกผสมลักษณะเทเนอร่า เกิดจากการผสมข้ามระหว่างลักษณะดูร่ากับพิสิเฟอร่า อาจเป็นพันธุ์ที่ได้จากภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้




                              (2) มีการดูแลรักษาสวนอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นการใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการ ฯลฯ




                              (3) ไม่ใช้สารเคมีหรือใช้เฉพาะที่จำเป็น เพื่อป้องกันพิษตกค้างและรักษาสิ่งแวดล้อม




                              (4) เก็บเกี่ยวเฉพาะปาล์มสุกเท่านั้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


          1) แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก




          2) แบบประเมินจากปฏิบัติจากการสัมภาษณ์




          3) แบบการสังเกตจากการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ