หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-RBB-3-012ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง โดยสามารถพิจารณา และกำหนดตัวแปรต่างๆ จากข้อกำหนดของลูกค้า เพื่อออกแบบแม่พิมพ์ตาม Mold Layout และเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง รวมถึงตรวจทานความถูกต้องของแบบแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้งานที่ตรงตามข้อกำหนดจากแบบชิ้นงาน (Part Drawing)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101RC03.1 จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 1.1 รวบรวมความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน 101RC03.1.01 82538
101RC03.1 จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 1.2 บอกวิธีการเลือกตารางชิ้นส่วนมาตรฐาน และตารางวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 101RC03.1.02 82539
101RC03.1 จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 1.3 กำหนดกระบวนการผลิตแม่พิมพ์เบื้องต้นได้ 101RC03.1.03 82540
101RC03.2 กำหนดตัวแปรต่างๆให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 2.1 พิจารณา และกำหนดตัวแปรต่างๆ จากข้อกำหนดของลูกค้า 101RC03.2.01 82541
101RC03.2 กำหนดตัวแปรต่างๆให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 2.2 คำนวณ และกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ ที่จำเป็นให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงานที่ต้องใช้ในการออกแบบ 101RC03.2.02 82542
101RC03.2 กำหนดตัวแปรต่างๆให้เหมาะสมกับวัสดุชิ้นงาน ในการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 2.3 กำหนด Mold Layout ตามข้อกำหนดจากลูกค้าและค่าตัวแปรที่กำหนด 101RC03.2.03 82543
101RC03.3 กำหนดขนาดเครื่องอัดยาง 3.1 กำหนดขนาดแรงปิดแม่พิมพ์(ClampingForce) 101RC03.3.01 82544
101RC03.3 กำหนดขนาดเครื่องอัดยาง 3.2 กำหนดระยะเปิด-ปิด มากสุดของเครื่องอัดยาง 101RC03.3.02 82545
101RC03.4 ออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 4.1 ออกแบบแม่พิมพ์ตาม Mold Layout และค่าตัวแปรต่างๆ ที่เตรียมไว้ 101RC03.4.01 82546
101RC03.4 ออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง 4.2 ออกแบบแม่พิมพ์โดยเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน 101RC03.4.02 82547
101RC03.5 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบแม่พิมพ์ตามมาตรฐานของแบบแม่พิมพ์อัดยาง 5.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 101RC03.5.01 82548
101RC03.5 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบแม่พิมพ์ตามมาตรฐานของแบบแม่พิมพ์อัดยาง 5.2 ตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นส่วนมาตรฐาน 101RC03.5.02 82549

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านแบบแม่พิมพ์

2. สามารถเขียนแบบด้วยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

3. สามารถออกแบบแม่พิมพ์ตามเงื่อนไขที่กำหนด

4. สามารเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐาน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบแม่พิมพ์

2. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านแม่พิมพ์

3. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างแม่พิมพ์อัดยาง

4. ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง

5. ความรู้เกี่ยวกับชิ้นส่วนมาตรฐาน และวัสดุทำแม่พิมพ์

6. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปรับปรุงคุณภาพชิ้นงาน

7. ความรู้เกี่ยวกับสมบัติของชิ้นงาน

8. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์จับยึด

9. ความรู้เกี่ยวกับคำนวณ และกำหนดค่าตัวแปรต่างๆ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แสดงการอ่านขั้นตอนการทำงานของแม่พิมพ์

     2. แสดงการออกแบบแม่พิมพ์ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด

     3. แสดงแบบแม่พิมพ์อัดยาง

     4. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. อธิบายเงื่อนไขของแบบงาน (Product) สำหรับการออกแบบแม่พิมพ์

     2. อธิบายหรือระบุรายระเอียดข้อกำหนดของวัสดุชิ้นงานและแม่พิมพ์

     3. อธิบายหรือระบุวิธีการคำนวณแรงที่ใช้ในการขึ้นรูป

     4. อธิบายหรือระบุตัวแปรในการขึ้นรูปและพารามิเตอร์ในการออกแบบแม่พิมพ์

     5. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาที่แสดงถึงความรู้ในการออกแบบแม่พิมพ์

     6. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์อัดยาง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. แบบทดสอบข้อเขียน

     2. แบบทดสอบสัมภาษณ์

     3. แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน

    2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเขียนแบบแม่พิมพ์ให้อยู่ในรูปแบบ 2D หรือ 3D

    3. ผู้เข้าประเมินต้องให้รายละเอียดของแบบแม่พิมพ์อย่างสมบูรณ์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. เขียนแบบแม่พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (CAD)

     2. ความต้องการของลูกค้า ในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง Part Drawing ตารางค่าหดตัวของยาง  Specification ของเครื่องจักร รวมถึงกระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์

     3. แม่พิมพ์อัดยาง ในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง แม่พิมพ์อัดยางสำหรับผลิตภัณฑ์ยางทั่วไปที่ไม่มีความซับซ้อน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

    1. แบบทดสอบข้อเขียน

    2. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

    3. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน




ยินดีต้อนรับ