หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผน และควบคุมการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยาง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-RBB-5-008ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผน และควบคุมการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยาง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้มีทักษะในการวางแผน และควบคุมการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยาง ทั้งยังสามารถนำข้อบกพร่องของชิ้นงานมาเป็นแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์ หรือแก้ไขแบบชิ้นงานหากจำเป็น เพื่อลดความผิดพลาดในการออกแบบแม่พิมพ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101RI08.1 เตรียมข้อมูลในการวางแผน และการควบคุมการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยาง 1.1 เตรียมข้อมูล และความต้องการจากลูกค้า 101RI08.1.01 82512
101RI08.2 กำหนดแนวทางการวางแผน และควบคุมการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยาง 2.1 นำข้อมูลที่ได้มาใช้วางแผนและควบคุมการออกแบบแม่พิมพ์เพื่อการผลิต 101RI08.2.01 82513
101RI08.3 กำหนดแนวทางการปรับปรุง และแก้ไขแบบแม่พิมพ์ฉีดยางเพื่อการผลิต 3.1 วิเคราะห์จุดบกพร่องของชิ้นงานและการออกแบบแม่พิมพ์ 101RI08.3.01 82514
101RI08.3 กำหนดแนวทางการปรับปรุง และแก้ไขแบบแม่พิมพ์ฉีดยางเพื่อการผลิต 3.2 ปรับปรุง และแก้ไขแบบชิ้นงานเพื่อการออกแบบแม่พิมพ์ 101RI08.3.02 82515

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวางแผนงานออกแบบแม่พิมพ์ได้สอดคล้องตามแผนงานของลูกค้า

2. สามารถประเมินชั่วโมงงานการออกแบบแม่พิมพ์แต่ละชนิด/ประเภทและขนาด

3. สามารถประเมินระดับความสามารถของช่างออกแบบแม่พิมพ์

4. สามารถกำหนดขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์

5. สามารถนำการประชุมและติดตามผลการทำงานและการบันทึกข้อมูล

6. สามารถกำหนดวิธีการแก้ปัญหากรณีที่งานไม่เป็นไปตามแผน


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดแบ่งชนิด/ประเภท และขนาดของแม่พิมพ์

2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์

3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินระดับความสามารถของช่างออกแบบแม่พิมพ์

4. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการพิจารณาองค์ประกอบของแผนงาน

5. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประเมินความก้าวหน้าของงาน

6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาและการเร่งรัด



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แสดงการวางแผนงานออกแบบแม่พิมพ์ได้สอดคล้องตามแผนงานของลูกค้า

     2. แสดงการประเมินชั่วโมงงานการออกแบบแม่พิมพ์แต่ละชนิด/ประเภทและขนาด

     3. แสดงการประเมินระดับความสามารถของช่างออกแบบแม่พิมพ์

     4. แสดงการกำหนดขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์

     5. แสดงการนำการประชุมและติดตามผลการทำงานและการบันทึกข้อมูล

     6. แสดงการกำหนดวิธีการแก้ปัญหากรณีที่งานไม่เป็นไปตามแผน

     7. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. อธิบายวิธีการจัดแบ่งชนิด/ประเภท และขนาดของแม่พิมพ์

     2. อธิบายวิธีกำหนดรายละเอียดขั้นตอนการออกแบบแม่พิมพ์

     3. อธิบายวิธีการประเมินระดับความสามารถของช่างออกแบบแม่พิมพ์

     4. อธิบายวิธีการพิจารณาองค์ประกอบของแผนงาน

     5. อธิบายวิธีการประเมินความก้าวหน้าของงาน

     6. อธิบายวิธีการแก้ปัญหาและการเร่งรัด

     7. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผน และการควบคุมการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยาง โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

    2. แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

    3. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด/ประเภทของแม่พิมพ์ฉีดยาง

     2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจในข้อกำหนดต่างๆ ที่จะยึดถือเป็นกรอบในการออกแบบแม่พิมพ์แต่ละรายการ

     3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถทำการออกแบบแม่พิมพ์ได้ และมีประสบการณ์มากถึงขั้นที่จะทำการประเมินการปฏิบัติงานของช่างออกแบบแม่พิมพ์ได้

     4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถสรุปรายงาน และนำเสนอแผนงาน และผลการดำเนินงานได้

     5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีคุณสมบัติของการเป็นนักวางแผนที่ดี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. เตรียมข้อมูล กำหนดแนวทางการปรับปรุงสำหรับการวางแผนและควบคุม เพื่อการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดยางตามข้อกำหนดของลูกค้า โดยใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม    



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

     1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

     2. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

     3. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน




ยินดีต้อนรับ