หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมแม่พิมพ์ยางให้มีสภาพพร้อมใช้งาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-RBB-3-027ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมแม่พิมพ์ยางให้มีสภาพพร้อมใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีทักษะในการวิเคราะห์ และซ่อมผิวหน้าแม่พิมพ์ ระบบหล่อเย็น ระบบให้ความร้อน ระบบป้อนเนื้อยาง ระบบปลดชิ้นงาน ระบบนำเลื่อน ระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์อื่นๆ ของแม่พิมพ์ยางให้มีสภาพพร้อมใช้งานโดยสามารถเตรียมการปฏิบัติงานซ่อม ตรวจสอบ ถอด เปลี่ยน และประกอบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ยาง รวมถึงการบันทึกรายการซ่อม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202RM01.1 ซ่อมผิวหน้าแม่พิมพ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 1.1 ตรวจสอบผิวหน้าแม่พิมพ์เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดกับผิวหน้าแม่พิมพ์ 202RM01.1.01 82685
202RM01.1 ซ่อมผิวหน้าแม่พิมพ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 1.2 กำหนดวิธีการซ่อมผิวหน้า 202RM01.1.02 82686
202RM01.1 ซ่อมผิวหน้าแม่พิมพ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 1.3 ปฏิบัติงานซ่อมผิวหน้า 202RM01.1.03 82687
202RM01.1 ซ่อมผิวหน้าแม่พิมพ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 1.4 ตรวจสอบผลการซ่อมผิวหน้าและบันทึกผลการซ่อม 202RM01.1.04 82688
202RM01.2 ซ่อมระบบหล่อเย็นให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 2.1ตรวจสอบสภาพ และการใช้งานระบบหล่อเย็น เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดกับระบบหล่อเย็น 202RM01.2.01 82689
202RM01.2 ซ่อมระบบหล่อเย็นให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 2.2 กำหนดวิธีการซ่อมระบบหล่อเย็น 202RM01.2.02 82690
202RM01.2 ซ่อมระบบหล่อเย็นให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 2.3 ปฏิบัติงานซ่อมระบบหล่อเย็น 202RM01.2.03 82691
202RM01.2 ซ่อมระบบหล่อเย็นให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 2.4 ตรวจสอบผลการซ่อมระบบหล่อเย็น และบันทึกผลการซ่อม 202RM01.2.04 82692
202RM01.3 ซ่อมระบบให้ความร้อน 3.1 ตรวจสอบสภาพ และการใช้งานระบบให้ความร้อน เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดกับระบบให้ความร้อน 202RM01.3.01 82693
202RM01.3 ซ่อมระบบให้ความร้อน 3.2 กำหนดวิธีการซ่อมระบบให้ความร้อน 202RM01.3.02 82694
202RM01.3 ซ่อมระบบให้ความร้อน 3.3 ปฏิบัติงานซ่อมระบบให้ความร้อน 202RM01.3.03 82695
202RM01.3 ซ่อมระบบให้ความร้อน 3.4 ตรวจสอบผลการซ่อมระบบให้ความร้อน และบันทึกผลการซ่อม 202RM01.3.04 82696
202RM01.4 ซ่อมระบบปลดให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 4.1 ตรวจสอบสภาพ และการทำงานของระบบปลด เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดกับระบบปลด 202RM01.4.01 82697
202RM01.4 ซ่อมระบบปลดให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 4.2 กำหนดวิธีการซ่อมระบบปลด 202RM01.4.02 82698
202RM01.4 ซ่อมระบบปลดให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 4.3 ปฏิบัติงานซ่อมระบบปลด 202RM01.4.03 82699
202RM01.4 ซ่อมระบบปลดให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 4.4 ตรวจสอบผลการซ่อมระบบปลด และบันทึกผลการซ่อม 202RM01.4.04 82700
202RM01.5 ซ่อมระบบนำเลื่อนให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 5.1 ตรวจสอบสภาพ และการทำงานของระบบนำเลื่อน เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดกับระบบนำเลื่อน 202RM01.5.01 82701
202RM01.5 ซ่อมระบบนำเลื่อนให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 5.2 กำหนดวิธีการซ่อมระบบนำเลื่อน 202RM01.5.02 82702
202RM01.5 ซ่อมระบบนำเลื่อนให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 5.3 ปฏิบัติงานซ่อมระบบนำเลื่อน 202RM01.5.03 82703
202RM01.5 ซ่อมระบบนำเลื่อนให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 5.4 ตรวจสอบผลการซ่อมระบบนำเลื่อน และบันทึกผลการซ่อม 202RM01.5.04 82704
202RM01.6 ซ่อมระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ซับซ้อน ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6.1 ตรวจสอบสภาพ และการทำงานของระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ซับซ้อน เพื่อบ่งชี้ปัญหาที่เกิดกับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ซับซ้อน 202RM01.6.01 82705
202RM01.6 ซ่อมระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ซับซ้อน ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6.2 กำหนดวิธีการซ่อมระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ซับซ้อน 202RM01.6.02 82706
202RM01.6 ซ่อมระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ซับซ้อน ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6.3 ปฏิบัติงานซ่อมระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ซับซ้อน 202RM01.6.03 82707
202RM01.6 ซ่อมระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ซับซ้อน ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 6.4 ตรวจสอบผลการซ่อมระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ซับซ้อน และบันทึกผลการซ่อม 202RM01.6.04 82708

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถอ่านแบบแม่พิมพ์

2. สามารถใช้เครื่องมือในการซ่อมแม่พิมพ์

3. สามารถซ่อมผิวหน้า ระบบปลด และระบบนำเลื่อนของแม่พิมพ์

4. สามารถตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนและระบบการทำงานทั้งก่อนและหลังซ่อมแม่พิมพ์

5. สามารถจัดทำรายงานผลการซ่อมแม่พิมพ์


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและระบบการทำงานของแม่พิมพ์ยาง

2. ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแม่พิมพ์

4. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน และวิธีการที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุงแม่พิมพ์ยาง



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แสดงการอ่านแบบแม่พิมพ์

     2. แสดงการใช้เครื่องมือในการซ่อมแม่พิมพ์

     3. แสดงการซ่อมผิวหน้า ระบบปลด และระบบนำเลื่อนของแม่พิมพ์

     4. แสดงการตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนและระบบการทำงานทั้งก่อนและหลังซ่อมแม่พิมพ์

     5. รายงานผลการซ่อมแม่พิมพ์

     6. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. อธิบายโครงสร้างและระบบการทำงานของแม่พิมพ์ยาง

     2. ระบุหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

     3. ระบุการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแม่พิมพ์

     4. ระบุหรืออธิบายขั้นตอน และวิธีการที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุงแม่พิมพ์ยาง

     5. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการซ่อมแม่พิมพ์ยาง โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

     2. แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    1. ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

    2. แม่พิมพ์ที่ทำการซ่อมบำรุงจะต้องสามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนปกติ ผิวหน้าแม่พิมพ์ ในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง ผิวแม่พิมพ์ที่ทำให้เกิดชิ้นงาน Cutting Line และ Parting line 



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

     1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

     2. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน 




ยินดีต้อนรับ