หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาแม่พิมพ์ยางตามแผนการบำรุงรักษา

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-RBB-2-025ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาแม่พิมพ์ยางตามแผนการบำรุงรักษา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีทักษะในการบำรุงรักษาแม่พิมพ์ยางตามแผนการบำรุงรักษา เพื่อบำรุงรักษาผิวหน้าแม่พิมพ์ และระบบต่างๆ ของแม่พิมพ์ยาง รวมถึงการบันทึกการบำรุงรักษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201RM01.1 บำรุงรักษาผิวหน้าแม่พิมพ์ 1.1 ทำความสะอาดผิวหน้าแม่พิมพ์ 201RM01.1.01 82667
201RM01.1 บำรุงรักษาผิวหน้าแม่พิมพ์ 1.2 ตรวจสอบผิวหน้าแม่พิมพ์ 201RM01.1.02 82668
201RM01.2 บำรุงรักษาระบบแม่พิมพ์ 2.1 ตรวจสอบระบบการทำงานของแม่พิมพ์ 201RM01.2.01 82669
201RM01.2 บำรุงรักษาระบบแม่พิมพ์ 2.2 ตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ของแม่พิมพ์ 201RM01.2.02 82670
201RM01.2 บำรุงรักษาระบบแม่พิมพ์ 2.3 ถอด และประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ของแม่พิมพ์ 201RM01.2.03 82671
201RM01.3 บันทึกผลการบำรุงรักษาแม่พิมพ์ 3.1 บันทึกผลการปฏิบัติงาน 201RM01.3.01 82672
201RM01.3 บันทึกผลการบำรุงรักษาแม่พิมพ์ 3.2 สรุป และการรายงานผลการปฏิบัติงาน 201RM01.3.02 82673

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยส่วนบุคคล

2. สามารถใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน

3. สามารถเลือกและการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ในการบำรุงรักษา

4. สามารถทำความสะอาด และถอดเปลี่ยนประกอบแม่พิมพ์ตามแผนการบำรุงรักษา

5. สามารถตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนและแม่พิมพ์


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขึ้นรูปยาง

2. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุแม่พิมพ์

3. ความรู้เกี่ยวกับหลักการบำรุงรักษา

4. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและวัสดุอุปกรณ์ตามแผนการบำรุงรักษา

5. ความรู้เกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบการบำรุงรักษาแม่พิมพ์



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แสดงการปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยส่วนบุคคล

     2. แสดงการใช้เครื่องมือวัดพื้นฐาน

     3. แสดงการเลือกและการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ในการบำรุงรักษา

     4. แสดงการทำความสะอาด และถอดเปลี่ยนประกอบแม่พิมพ์

     5. แสดงการตรวจสอบสภาพชิ้นส่วนและแม่พิมพ์

     6. แสดงการสรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน

     7. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. อธิบายหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

     2. อธิบายวิธีการเตรียมและเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ตามแผนการบำรุงรักษา

     3. อธิบายการตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นส่วน 

     4. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์หรือข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการบำรุงรักษาแม่พิมพ์ยาง โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. แบบทดสอบข้อเขียน หรือ

     2. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

     3. แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

     1. ทำการบำรุงรักษาตามขั้นตอน และวิธีการที่เหมาะสมสำหรับระบบของแม่พิมพ์ยางแต่ละระบบ

     2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเข้าทำงานกับแม่พิมพ์ยาง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. การบำรุงรักษาแม่พิมพ์ประกอบด้วย การทำความสะอาด การตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ และระบบการทำงาน การถอดประกอบแม่พิมพ์ รวมถึงการบันทึกผลการบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุการใช้งานแม่พิมพ์ยาง

     2. การตรวจสอบผิวหน้าแม่พิมพ์ ในหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง การตรวจสอบความสมบูรณ์ของผิวแม่พิมพ์ที่ทำให้เกิดชิ้นงาน Cutting Line และ Parting line ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน  

     3. ระบบของแม่พิมพ์ยาง เช่น ระบบหล่อเย็น ระบบให้ความร้อน ระบบป้อนเนื้อยาง



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

     1. แบบทดสอบข้อเขียน หรือ

     2. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

     3. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน 




ยินดีต้อนรับ