หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนแบบชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ฉีดยาง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MLD-RBB-2-002ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนแบบชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ฉีดยาง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีทักษะด้านการเขียนแบบชิ้นส่วนของแม่พิมพ์ฉีดยาง จากภาพประกอบ โดยสามารถจัดวางในรูปของภาพฉาย และภาพตัดได้ อีกทั้งยังสามารถกำหนดขนาด ค่าพิกัดความคลาดเคลื่อน ระบบงานสวม พร้อมสัญลักษณ์ลงในแบบงาน และกำหนดรายละเอียดลงในแบบงานให้ครบถ้วน โดยใช้ซอฟต์แวร์เขียนแบบสำเร็จรูป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
101RI02.1 ประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 1.1 ประสานงานกับผู้ออกแบบแม่พิมพ์ 101RI02.1.01 82467
101RI02.1 ประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 1.2 รับฟังข้อมูล และข้อเสนอแนะจากผู้ออกแบบแม่พิมพ์ 101RI02.1.02 82468
101RI02.2 เตรียมความพร้อมในงานเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 2.1 ศึกษาแบบ 3Dเพื่อเตรียมความพร้อมในการเขียนแบบเพื่อการผลิต 101RI02.2.01 82469
101RI02.3 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์เพื่อการผลิต 3.1 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 101RI02.3.01 82470
101RI02.3 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์เพื่อการผลิต 3.2 กำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน 101RI02.3.02 82471
101RI02.3 เขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์เพื่อการผลิต 3.3 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบงาน 101RI02.3.03 82472

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้ซอฟต์แวร์การเขียนแบบวิศวกรรม

2. สามารถอ่านและเข้าใจรายละเอียดขององค์ประกอบใน Title block

3. สามารถอ่านแบบภาพประกอบ

4. สามารถกำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน

5. สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์จาการเขียนแบบ

6. สามารถประสานงานและรับฟังคำแนะนำจากผู้ออกแบบ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านการอ่านแบบภาพประกอบแม่พิมพ์ฉีดยาง

2. ความรู้ด้านการเขียนแบบชิ้นส่วนหรือภาพประกอบ

3. ความรู้ด้านการระบุพิกัดความเผื่อชิ้นงาน

4. ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์การเขียนแบบ

5. ความรู้ ความเข้าใจในโครงสร้างและการทำงานของแม่พิมพ์ฉีดยาง

6. ความรู้ด้านการมองภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A

7. ความรู้ด้านการระบุพิกัดงานสวมตามแบบงาน

8. ความรู้ด้านสัญลักษณ์ GD&T 

9. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการประสานงานและรับฟังคำแนะนำจากผู้ออกแบบ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria)  และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แสดงการเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์

     2. แสดงการกำหนดรายละเอียดลงในแบบงาน

     3. แสดงแบบงานชิ้นส่วนแม่พิมพ์

     4. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ระบุการเขียนแบบชิ้นส่วนหรือภาพประกอบ

     2. ระบุพิกัดความเผื่อชิ้นงาน และพิกัดของงานสวมในแบบงาน

     3. อธิบายใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์การเขียนแบบ

     4. อธิบายโครงสร้างและการทำงานของแม่พิมพ์ฉีดยาง

     5. อธิบายหรือระบุสัญลักษณ์ GD&T 

     6. อธิบายวิธีการประสานงานและรับฟังคำแนะนำจากผู้ออกแบบ

     7. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ฉีดยาง โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

     1. แบบทดสอบการสัมภาษณ์

     2. แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ

     3. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนสมบูรณ์

     2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

     3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเขียนแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ กำหนดขนาด

     4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องกำหนดรายละเอียดพิกัดความเผื่อชิ้นงานและพิกัดงานสวมลงในแบบงานครบถ้วน

     5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ GD&T ตามแบบสั่งงาน 

     6. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เขียนแบบสำเร็จรูป ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และมีการจัดระเบียบไฟล์ที่ดี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. เขียนแบบภาพแยกชิ้นส่วนแม่พิมพ์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเขียนแบบ (CAD) ไม่มีข้อกำหนดทางด้าน software ที่เลือกใช้



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่

     1. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

     2. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ

     3. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน




ยินดีต้อนรับ