หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขยายพรรณไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-3-066ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขยายพรรณไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบำรุงรักษาสวนสาธารณะ ระดับ 3

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด) ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่ วิธีการปักชำวิธีการตอนกิ่งวิธีการติดตาวิธีการต่อกิ่งวิธีการทาบกิ่งวิธีการแบ่งส่วนวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยมีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูล      ที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03461 ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด) 1.1 ระบุประโยชน์ของการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด) 03461.01 79993
03461 ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด) 1.2 อธิบายหลักการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ(ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด) 03461.02 79994
03461 ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด) 1.3 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ(ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด) 03461.03 79995
03462 ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.1 ระบุประโยชน์ของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 03462.01 79996
03462 ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.2 อธิบายวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ 03462.02 79997
03462 ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.3 อธิบายวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง 03462.03 79998
03462 ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.4 อธิบายวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการติดตา 03462.04 79999
03462 ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.5 อธิบายวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่อกิ่ง 03462.05 80000
03462 ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.6 อธิบายวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบกิ่ง 03462.06 80001
03462 ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 2.7 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการขยายพันธ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยวิธีต่างๆ 03462.07 80002

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการขยายพรรณไม้

2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการขยายพรรณไม้

3. ทักษะการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการขยายพรรณไม้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณต้นพืชที่ได้จากการผสมเกสรระหว่างอับละอองเกสรตัวผู้กับยอดเกสรตัวเมีย เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ต้นพืชที่เติบโตจากเมล็ด เรียกว่า ต้นกล้า ถ้าใช้เมล็ดพืชที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพ ต้นพืชที่ได้อาจมีการกลายพันธุ์  

    การขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ  เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยการนำส่วนต่างๆ ของพืชพันธุ์ดีมาตัดปักชำ  บนวัสดุเพาะชำ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดรากและแตกยอดจะได้เป็นพืชต้นใหม่ที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ทำได้ง่ายต้นทุนต่ำไม่ยุ่งยาก  

    การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง  เป็นการขยายพันธุ์พืชโดยทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ด้วยการทำ แผลบริเวณกิ่งโดยการตัดท่อลำเลียงอาหารของพืชส่วนท่อน้ำยังอยู่ตามปกติทำให้กิ่งมีการสะสมอาหารและได้รับน้ำอยู่ตลอดเวลาเมื่อกิ่งออกรากดีแล้วจึงตัดนำไปปลูกต่อไปต้นที่ตัดไปปลูกจะมีลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการเหมาะสำหรับพืชที่ไม่สามารถออกรากได้ด้วยวิธีการปักชำ  

การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการติดตา  คือการนำเอาส่วนแผ่นตาของกิ่งพืชพันธุ์ดีไปติดกับต้นพืชอีกต้นหนึ่งโดยใช้แผ่นตาเพียงแผ่นตาเดียวจากกิ่งพันธุ์ดีไปติดบนต้นตอเพื่อให้ตาเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่เป็นวิธีที่ประหยัดกิ่งพันธุ์ ทำได้รวดเร็วกว่าวิธีการขยายพันธุ์แบบต่อกิ่งและทาบกิ่ง  

    การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่อกิ่ง  การเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชทั้งสองเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นต้นพืชต้นเดียวกันโดยจะใช้วิธีนี้เมื่อวิธีการติดตาไม่มีความเหมาะสมคือต้นตอโตเกนิไปกิ่งพันธุ์ดีมีขนาดเล็ก  

    การใช้เครื่องมือการเกษตร กลุ่มเครื่องมือการเกษตร  


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการขยายพรรณไม้จากนายจ้าง หรือ 

        2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการขยายพรรณไม้ หรือ

        3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้า และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการขยายพรรณไม้

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

        2. การสอบปฏิบัติ

        3. แฟ้มสะสมผลงาน

        4. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 ข้อที่ 9 และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19  ข้อที่ 10

        2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำตามคำจำกัดความในคำอธิบายรายละเอียดที่ 1 2 3 4 5 6 7 และ 8

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

            1.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

                1.1.1 น้ำทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวออกซิเจนเข้าไปในเมล็ดได้มากขึ้นกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ไปย่อยสลายอาหารสะสมที่มีขนาดโมเลกลุใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงจึงนิยมเร่ง     การงอกของเมล็ดโดยการแช่เมล็ดในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นเพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนิ่ม ทำให้น้ำและออกซิเจน       ซึมผ่านได้มากขึ้นเมล็ดจึงงอกได้เร็วขึ้น

1.1.2 อุณหภูมิมีผลต่อกระบวนการงอกของเมล็ดตามแต่ละชนิดพืช ดังนั้นจึงควรเพาะเมล็ดในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกจะทำให้เมล็ดพืชงอกเร็วขึ้นเมล็ดพืชทั่วไปสามารถงอกได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 10 - 35 องศาเซสเชียส

1.1.3 ออกซิเจนเมล็ดต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจเพื่อเผาผลาญอาหารทำให้เกิดพลังงานสำหรับการงอก

1.1.4 แสงมีบทบาทสำคัญต่อการงอกของเมล็ดทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกล้าเนื่องจากต้นกล้าต้องใช้อาหารที่สะสมภายในเมล็ดโดยมีแสงเป็นตัวกระตุ้นหลังจากเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้วหากได้รับแสงเพียงพอลำต้นจะอวบตั้งตรงเจริญเติบโตเร็วแต่ถ้าได้รับแสงไม่เพียงพอต้นกล้า       จะขาวซีดเกิดอาการย่างปล้องใบห่อลู่ไม่คลี่ใบปลายยอดงอ แต่ถ้าได้รับแสงมากเกินไปอาจแสดงอาการใบไหม้

            1.2 การพักตัวของเมล็ดพืช

            คือเมล็ดพืชที่มีชีวิตแต่ไม่สามารถงอกได้แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้นำออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ซึมผ่านส่วนประกอบภายในเมล็ดมีสารยับยั้งการงอกของเมล็ดฯลฯ

            1.3 วิธีแก้การพักตัวของเมล็ดพืชหรือเร่งความงอก

                1.3.1 การแช่น้ำโดยแช่เมล็ดในน้ำเย็นสลับน้ำอุ่นจะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นนิยมใช้กับเมล็ดพันธุ์ผักโดยแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซสเชียสนาน 30 นาทีและแช่ในน้ำเย็นที่อุณหภูมิ 10 องศาเซสเชียสนาน 6 ชั่วโมงจากนั้นห่อด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆนาน 12 - 24 ชั่วโมงเมื่อนำเมล็ดไปเพาะจะงอกเร็วขึ้นหรือห่อเมล็ดด้วยผ้าขาวบางแช่น้ำ 1 คืนเก็บในที่ร่มและชื้น 2 - 3 วันเมล็ดจะเริ่มงอกเกิดตุ่มรากสีขาวจึงนำไปเพาะได้

                1.3.2 การใช้ความร้อนโดยการอบแห้งให้มีความชื้นต่ำอุณหภูมิที่ใช้ในการอบ 35 – 45 องศาเซสเชียส

                1.3.3 การบ่มด้วยความเย็นและความชื้นโดยการนำเมล็ดพืชเพาะในทรายหรือกระดาษแล้วนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 5 - 10 องศาเซสเชียสเป็นเวลา 5 วันจากนั้นนำเมล็ดพืชออกมาเพาะที่อุณหภูมิปกติสามารถทำให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้นเช่นเมล็ดปาล์ม

                1.3.4 การแกะเปลือกหุ้มเมล็ดหรือทำลายเปลือกหุ้มเมล็ดบางส่วนโดยการทำให้ส่วนของเปลือกหุ้มเมล็ดเกิดรอยแตกเพื่อให้น้ำและออกซิเจนซึมผ่านเข้าไปได้นิยมใช้กับเมล็ดพืชที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดหนาเช่นมะพร้าวมะปรางกะท้อนและมะม่วงฯลฯ

                1.3.5 การนำเมล็ดมาล้างน้ำเพื่อลดปริมาณสารยับยั้งการงอกของเมล็ด   ให้ละลายไปกับน้ำ เช่นเมล็ดมะเขือเทศเมล็ดมะละกอและเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัว

                1.3.6 การใช้กรดโดยการนำเมล็ดแช่ด้วยกรดกำมะถันเข้มข้น 5 นาทีเพื่อให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่มแล้วล้างด้วยน้ำอีกครั้งก่อนนำไปเพาะเป็นวิธีการแก้การพักตัวสำหรับเมล็ดพืช    ที่มีเปลือกหุ้มเมล็ดหนา

                1.3.7. การใช้สารเคมีอื่นๆโดยละลายสารเช่นโปตัสเซียมไนเตรตไทโอยูเรยีไฮโดรเจน เพอรอคไซด์หรือสารจิบเบอเรลลิคแอซิดให้มีความเข้มข้น 0.02 - 0.04 % แทนน้ำในการเพาะเมล็ดวิธีนี้สามารแก้ปัญหาหาการพักตัวที่เปลือกหุ้มเมล็ดไม่ยอมให้น้ำออกซิเจนซึมผ่าน เช่นเมล็ดพืชอาหารสัตว์ข้าวโอตและข้าวสาลี

            1.4 การเพาะเมล็ดพืชในภาชนะหรือแปลงเพาะ

            เป็นการเตรียมต้นกล้าเพื่อใช้ก่อนปลูกลงแปลงหรือกระถางเหมาะสำหรับเมล็ดพืชที่มีราคาแพงเนื่องจากเมล็ดมีโอกาสสูญเสียน้อยนิยมใช้กับพืชผักหรือไม้ดอกอายุสั้นรวมทั้งไม้พุ่มไม้ยืนต้น        ที่มีเมล็ด ขนาดเล็กเช่นมะเขือเทศกะหล่ำดอกแอสเทอร์พิทูเนีย ฝ้ายคำ ปาล์มขวดนิยมทำการเพาะเมล็ดพืชในภาชนะเพาะและการเพาะเมล็ดพืชในแปลงเพาะ

            การเพาะเมล็ดพืชในภาชนะเพาะ

            เป็นการเพาะเมล็ดในกระบะนิยมใช้ในการปลูกพืชปริมาณน้อยเช่น การปลูกผักสวนครัวหลังบ้านการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ภาชนะที่ใช้เพาะควรมีน้ำหนักเบาเบาไม่แตกหักหรือผุพังง่าย มีรูระบายน้ำ ส่วนวัสดุที่ใช้เพาะควรมีลักษณะโปร่งมีอากาศถ่ายเทดีอุ้มน้ำได้นานพอสมควร ระบายน้ำได้ง่ายไม่เป็นกรดหรือด่างจัดจนทำให้ต้นกล้าไม่เจริญเติบโตมีวิธีปฏิบัติดังนี้

            ก. ใส่วัสดุที่รองก้นภาชนะเพาะเพื่อระบายน้ำเช่นเศษอิฐหักหรือเปลือกถั่วลิสงจากนั้นใส่ดินลงภาชนะให้ต่ำกว่าขอบภาชนะเล็กน้อยปรับหน้าดินให้เรียบจากนั้นหว่านเมล็ดในภาชนะเพาะโดยเรียงเป็นแถวหรือหว่านทั่วทั้งภาชนะก็ได้ กลบดินทับเมล็ดให้แน่นพอประมาณรดน้ำให้ชุ่มเพื่อให้เมล็ดได้รับความชื้นและงอกอย่างสม่ำเสมอ

            ข. เมื่อเมล็ดงอก 7 - 10 วันทำการย้ายต้นกล้าโดยใช้แท่งดินสอที่ปลายไม่แหลมมากแทงลงในวัสดุเพาะข้างๆต้นกล้าเพื่อทำให้วัสดุเพาะหลวมในขณะท่ออีกมือค่อยๆดึงต้นกล้าขึ้นมา

            ค. เมื่อได้ต้นกล้าแล้วให้ใช้ดินสอแทงลงกึ่งกลางถุงที่ใส่วัสดุปลูกให้ลึกถึงก้นกระถางหรือถุงจากนั้นนำต้นกล้าใส่ลงในหลุมให้ใบเลี้ยงอยู่ระดับผิววัสดุปลูกกลบหลุมแล้วให้น้ำแบบฝอยละเอียด     จนน้ำไหลออกก้นถุงจากนั้นนำต้นกล้าไปไว้ในที่ร่มเมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ ซึ่งพร้อมที่จะย้ายปลูกลงกระถางที่ใหญ่ขึ้นหรือลงแปลงปลูกต่อไป

        การเพาะเมล็ดพืชในแปลงเพาะ

        1. เตรียมแปลงเพาะเลือกดินที่มีความสมบูรณ์กำจัดวัชพืชออกให้หมดวางแปลงเพาะให้หัวและท้ายของแปลงอยู่ในแนวทิศเหนือและทิศใต้ขนาดความยาว 6 เมตร กว้าง1.20 เมตรตากดินให้แห้งเพื่อให้แปลงเพาะไม่มีโรคและแมลงศัตรูพืชย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกให้เหมาะสมตามความสมบูรณ์และชนิดของดิน รดน้ำให้ชื้น จากนั้นย่อยกินให้ทั่วแปลงขึ้นรูปแปลงสูงจากพื้นดิน 15 - 20 เซนติเมตร

        2. หว่านเมล็ดในแปลงเพาะนิยมหว่านทั่วแปลงถ้าแปลงมีขนาดกว้างให้แบ่งหว่านที่ละครึ่งกรณีที่เมล็ดมีขนาดเล็กหรือย่อยดินไม่ละเอียดให้ใช้ปุ๋ยคอกหว่านให้ทั่วแปลงจากนั้นรดน้ำเพื่อให้ปุ๋ยคอกลงไปอุดช่องดินป้องกันไม่ให้เมล็ดตกลงไปตามซอกดินจึงหว่านเมล็ดบางๆก่อนแล้วหว่านทับอีกครั้งกลบดินทับเมล็ด

        3. ทำร่มให้ต้นกล้าในแปลงเพาะตั้งแต่ต้นกล้าเริ่มงอกจนถึงระยะย้ายปลูกเพื่อป้องกันสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการงอกโดยเฉพาะแสง

        4. ดูแลรักษาต้นกล้าหลังจากที่งอกพ้นผิวดินให้ต้นกล้ารับแสงทันทีจะช่วยให้ต้นกล้าเจริญเติบโตแข็งแรงในระยะที่ต้นกล้ายังเล็กให้น้ำเป็นละอองพ่นหมอก 4 ชั่วโมงต่อครั้ง ครั้งละ 10 นาที

        5. ในกรณีที่หว่านเมล็ดหนาเกินไปเมื่อเมล็ดงอกจะเบียดเสียดกันให้ย้ายต้นกล้าไปปลูกชั่วคราวในภาชนะเพาะที่สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกก่อนที่จะย้ายลงแปลง

            5.1 ให้รดน้ำในแปลงเพาะให้ชุ่มก่อนถอนต้นกล้าเพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานและต้นกล้าได้รับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด

            5.2 เตรียมวัสดุปลูกเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ด

            5.3 ใช้ดินสอแทงลงกึ่งกลางถุงที่ใส่วัสดุปลูกลีกจนถึงก้นถุงจากนั้นนำต้นกล้าใส่ลงในหลุมโดยให้อยู่ระดับที่ใบเลี้ยงอยู่ผิววัสดุปลูกแล้วให้น้ำแบบฝอยละเอียดจนน้ำไหลออกก้นถุง

            5.4 ก่อนการย้ายต้นกล้าปลูกจำเป็นต้องทำให้ต้นกล้าแข็งแรงโดยรดน้ำต้นกล้า     ให้น้อยลงหรือใช้โพแทสเซียมคลอไรด์ อัตราส่วน 1 : 250 ละลายน้ำรดต้นกล้า 7 - 10 วันก่อนย้ายปลูก

            5.5 หลังปลูกต้องรดน้ำให้ชุ่มและทำร่มชั่วคราวจนกระทั่งต้นกล้าพืชตั้งตัวได้

            5.6 ให้น้ำสม่ำเสมออย่าให้ต้นกล้าเหี่ยวเพราะขาดน้ำการให้ปุ๋ยจะช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวเร็วขึ้นโดยใช้ปุ๋ยผสมที่มีฟอสฟอรัส (P2O5) สูงเช่นใช้สูตร N : P : K = 10 : 52 : 17 อัตรา 2.3 - 2.7 กก. ต่อน้ำ 400 ลิตร

        2. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำ

        คือ การนำกิ่งมาปักชำในวัสดุเพาะชำเพื่อให้เกิดรากเป็นพืชต้นใหม่แบ่งออกตามความอ่อนแก่ของกิ่ง ได้แก่ กิ่งแก่ กิ่งกึ่งอ่อนกิ่งแก่ กิ่งอ่อน และไม้พุ่มเนื้อเยื่อ และลำต้นเนื้ออ่อนอวบน้ำ

            1. การปักชำกิ่งแก่เป็นกิ่งที่มีสีน้ำตาลเนื้อไม้แข็งมักจะไม่มีใบมีอาหารสะสมมาก

            2. การปักชำกิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่เป็นกิ่งที่มีเนื้อไม้แก่พอสมควรเปลือกมีสีเขียวหรือเขียวปนน้ำตาลเล็กน้อยนิยมใช้ในพืชไร่เช่นมันสำปะหลังฯลฯ

            3. การปักชำกิ่งอ่อนและไม้พุ่มเนื้อเยื่อกิ่งอ่อนเป็นกิ่งที่เจริญใหม่ในพืชที่มีเนื้อ      ไม้แข็งและไม้พุ่มหรือกิ่งยอดที่กิ่งมีสีเขียวพืชส่วนมากสามารถตัดชำได้โดยวิธีนี้ เช่น กุหลาบ มะลิ ยี่โถ ผกากรองฯลฯ เป็นวิธีที่ทำให้พืชออกรากได้ง่ายและเร็วกว่าการปักชำแบบอื่นๆ แต่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก    เป็นพิเศษต้องระวังไม่ให้ใบหรือกิ่งเหี่ยวทำภายใต้สภาพที่มีความชื้นสูงสม่ำเสมอมีแสงแดดเต็มที่โดยทั่วไปใช้    กิ่งยาว 3 - 5 นิ้วขึ้นอยู่กับพันธุ์และความสมบูรณ์ของกิ่ง

            4. การปักชำลำต้นเนื้ออ่อนอวบน้ำเป็นพืชที่มีลักษณะเนื้อไม้อ่อนเช่นพืชในกลุ่มสาวน้อยประแป้งวาสนาหมากผู้หมากเมียและเขียวหมื่นปีโดยตัดลำต้นเป็นท่อนยาวมี 1 - 3 ข้อทำรอยแผลด้วยปูนแดงหรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราทั้ง 2 รอย (บนและล่าง) ผึ่งให้รอยแผลแห้งนำไปปักชำในวัสดุเพาะชำโดยวางกิ่งชำในแนวนอนหรือในแนวตั้งวางในบริเวณที่รดน้ำพอชื้นท่อนพันธุ์จะงอกเป็นต้นใหม่

        3. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง 

            3.1 หลักการตอนกิ่ง

            คือการปฏิบัติเพื่อทำให้กิ่งมีสารสะสมอาหารและการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการออกรากดังนี้

                1. การทำบาดแผลหรือควั่นกิ่งเพื่อขัดขวางการลำเลียงอาหาร

                2. การใช้สารเร่งรากกระตุ้นการเกิดรากบริเวณที่มีการสะสมอาหาร

                3. ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเกิดรากเช่นใช้วัสดุที่มีความชื้นระบายอากาศได้ดี

            3.2 วิธีการตอนกิ่ง

            แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือการตอนกิ่งในอากาศและการตอนกิ่งแบบโน้มกิ่ง

                1. การตอนกิ่งในอากาศ (Air Layering) เป็นการตอนกิ่งพืชที่อยู่เหนือดินคือไม่สามารถโน้มกิ่งลงมาหาพื้นดินได้มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

                    1.1 เลือกกิ่งกิ่งแก่กิ่งอ่อนที่มีอายุไม่เกิน1 ปีซึ่งจะออกรากได้ดีกว่ากิ่งที่มีอายุมาก

                2. การทำแผลกิ่งตอน

                    2.1 ทำแผลแบบควั่นกิ่งทำโดยควั่นเปลือกกิ่งโดยรอบเป็นวงแหวน 2 วงทั้งด้านบนและล่างของกิ่งความยาวของรอยแผลประมาณเส้นรอบวงของกิ่งกรีดรอยแผลแล้วลอกเอาเปลือกออกให้หมดจากนั้นขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ รอบกิ่งออกเหมาะสำหรับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับเช่นกุหลาบโมกโกสนและแสงจันทร์

                    2.2 ทำแผลแบบปาดกิ่งโดยปาดใต้ท้องกิ่งเข้าไปในเนื้อไม้บริเวณที่จะตอนเอียงเป็นรูปปากฉลามลึกถึงเนื้อไม้ประมาณ 1ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งความยาวแผล 1 - 2 นิ้ว จากนั้นเอาเศษไม้สอดไว้เพื่อไม่ให้รอยแผลที่เปิดไว้ติดกันใช้ขุยมะพร้าวหุ้มกิ่งตอน มัดด้วยเชือกให้แน่นเหมาะสำหรับพืชที่ออกรากง่ายเช่นมะละกอชวนชมและลีลาวดี

                    2.3 ทำแผลแบบกรีดกิ่งโดยใช้ใบมีดกรีดรอยแผลตามความยาวของกิ่งยาว 1 - 1.5 นิ้วเนื้อไม้ 3 - 5 รอยรอบกิ่งจากนนั้นใช้ขุยมะพร้าวหุ้มกิ่งตอนมัดด้วยเชือกให้แน่นเหมาะสำหรับกิ่งอ่อนที่ออกรากง่ายเช่นหมากผู้หมากเมียโกศลฯลฯ

                    2.4 ใช้สารเร่งการออกราก (ฮอร์โมนพืช) ทารอยแผลรอให้แห้งก่อนทำการหุ้มกิ่ง

                    2.5 หุ้มกิ่งตอนโดยนำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวเก่าแช่น้ำจนอิ่มตัวบีบน้ำออกพอหมาดๆ อัดลงในถุงพลาสติกผูกปากถุงให้แน่น) ผ่าตามความยาวนำไปหุ้มรอยแผลของกิ่งตอนมัดด้วยเชือกทั้งเหนือและใต้รอยแผลให้แน่น

                    2.6 เมื่อกิ่งตอนออกรากโดยจะเกิดบริเวณรอยควั่นด้านบนเมื่อรากเริ่มแก่เป็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปลายรากสีขาวมีจำนวนรากมากพอจึงตัดกิ่งตอนไปชำหรือปลูกได้

                3. การตอนกิ่งแบบโน้มกิ่งทำโดยเลือกกิ่งที่ต้องการขุดดินแล้วโน้มกิ่งลงมาโดยใช้หลักปักยึดเกี่ยวกิ่งไว้กลบดินทับรดน้ำรอจนเกิดรากใช้เวลา 30 - 45 วันจึงตัดไปปลูกทำได้ดังนี้

                    3.1 การตอนกิ่งแบบฝังยอด (Tip Layering) ทำโดยกลบหรือฝังทั้งยอดในดินรากจะเกิดขึ้นที่บริเวณโคนกิ่งใหม่ที่เจริญขึ้นมาจากยอดที่กลบไว้เหมาะกับ พืชบางชนิดเช่น ประทัดจีนฯลฯ

                    3.2 การตอนกิ่งแบบทับกิ่ง (Simple Layering) คล้ายกับวิธีการฝังยอดแต่จะไม่กลบยอดทั้งหมดจะกลบบริเวณกิ่งใกล้ยอดและปล่อยให้ยอดโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินเหมาะกับชนิดพืชที่มีกิ่งอ่อน

                    3.3 การตอนกิ่งแบบทับยอด (Simple Layering) คล้ายกับแบบฝังยอดโดยจะฝังกลบเฉพาะบริเวณกิ่งปล่อยให้ยอดโผล่ขึ้นมาเหนือดินประมาณ 30 เซนติเมตรเหมาะกับพืชที่มีกิ่งยาวดัดโค้งง่าย



                    3.4 การตอนกิ่งแบบงูเลื้อย (Compound Layering) คล้ายกับวิธีการฝังยอดต่างกันโดยจะทำการฝังกิ่งเป็นทอดๆตามความยาวของกิ่งส่วนที่โผล่พ้นผิวดินให้มีตาอย่างน้อย  1 ตา เพื่อให้แตกยอดใหม่เหมาะกับพืชที่มีกิ่งยาว เช่น เล็บมือนาง การเวก พลูด่าง ตีนตุ๊กแก องุ่น มันเทศพริกไทย ฯลฯ

                    3.5 การตอนกิ่งแบบขุดร่อง (Trench Layering) ทำโดยโน้มกิ่งโดยใช้ตะขอปักยึดโคนกิ่งให้กิ่งนอนราบกับพื้นร่องที่เตรียมไว้เมื่อตากิ่งแตกยอดใหม่ใช้ดินกลบโคนกิ่งให้กลบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกิ่งมีขนาดโตขึ้นรากจะเกิดขึ้นที่โคนของกิ่งที่แตกใหม่เหมาะสำหรับไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อสาลี่ เชอรี่ ฯลฯ

                    3.6 การตอนกิ่งแบบสุมโคน (Mound or Stool Layering) ใช้กับพืชแข็งโน้มกิ่งลงมาหาดินได้ยากวิธีนี้จะต้องตัดแต่งต้นพืชให้สั้นเพื่อจะได้ต้นพืชเกิดกิ่งใหม่ใกล้ๆกับผิวดินเมื่อตาบนกิ่งเริ่มแตกยอดอ่อนก็กลบดินทับกิ่งที่แตกใหม่ซึ่งการเกิดรากจะเกิดบริเวณโคนกิ่งใหม่ที่ฝังอยู่ในดิน

        4. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการติดตา 

        คือ การนำเอาส่วนแผ่นตาของกิ่งพืชพันธุ์ดีไปติดกับต้นพืชอีกต้นหนึ่งโดยใช้แผ่นตาเพียงแผ่นตาเดียวจากกิ่งพันธุ์ดีไปติดบนต้นตอเพื่อให้ตาเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่เป็นวิธีที่ประหยัดกิ่งพันธุ์ ทำได้รวดเร็วกว่าวิธีการขยายพันธุ์แบบต่อกิ่งและทาบกิ่งแบ่งตามลักษณะของเปลือกได้ดังนี้

            1. พืชที่มีเปลือกล่อนและลอกง่ายที่นิยมใช้มี 3 วิธี คือ

                1.1 การติดตาแบบตัวที (T - Budding) เหมาะกับพืชที่มีเปลือกไม่บางหรือหนาเกินไปนิยมใช้ในการขยายพันธุ์ไม้ผลเช่นพุทราส้มพลับท้อแอปเปิลฯลฯและไม้ดอกบางชนิดเช่นกุหลาบ    มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

                    1.1.1 เลือกตาจากกิ่งพันธุ์ดี

                    1.1.2 เฉือนแผ่นตาออกจากกิ่งพันธุ์เป็นรูปโล่ให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อยและเพื่อให้ติดตาได้สนิทให้ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตาจากด้านล่างขึ้นด้านบน

                    1.1.3 ทำแผลบนต้นตอใกล้บริเวณข้อโดยกรีดเปลือกไม้เป็นรูปตัวทีให้หัวของตัวทียาวประมาณ½นิ้วและตัวทียาว 1.5 นิ้วหรือขึ้นอยู่กับขนาดของต้นตอ

                    1.1.4 ใช้ปลายมดีเปิดหัวตัวทีเผยอเปลือกไม้ออกตามแนวที่กรีด   ทั้ง 2 ด้าน

                    1.1.5 สอดแผ่นตาเข้าไปในเปลือกไม้รูปตัวทีให้แนบสนิทกับเนื้อไม้ของต้นตอตัดส่วนบนของแผ่นตาที่เกินออกตรงบริเวณรอยแผลหัวตัวทีเพื่อให้แผ่นตาแน่นสนิทพอดีกับต้นตอ

                    1.1.6 พันพลาสติกใสให้แน่นโดยพันจากด้านล่างขึ้นด้านบนแบบมุงหลังคา

                1.2 การติดตาแบบเปิดเปลือกไม้ (Plate Budding) มีวิธีปฏิบัติคล้ายการติดตาแบบตัวทีแต่แตกต่างกันที่วิธีการทำแผลบนต้นตอมี 2 แบบ คือ

                    1.2.1 การทำแผลบนต้นตอแบบตัวเอชหรือสะพานเปิด (H - Budding) โดยการกรีดเปลือกไม้เป็นแนวขนานกับลำต้น 2 แนวจากนั้นกรีดตรงกลางขวางรอยแนวกรีดขนานเผยอเปลือกไม้ด้านบนขึ้น และส่วนด้านล่างของแผลเผยอลงคล้ายสะพานเปิดสอดแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดีพันพลาสติกใสเช่นเดียวกับการติดตาแบบตัวทีเหมาะกับพืชที่มีเปลือกหนาเหนียวติดตายากและมียาง เช่น ยางพารา ขนุนเงาะ มะม่วง น้อยหน่า หรือพืชที่เกิดรอยเชื่อมประสานช้า เช่น มะขาม



                การทำแผลบนต้นตอแบบตัวเอช (H - Budding)

                ก. กรีดรอยบนต้นตอเป็นรูปตัว H จากนั้นใช้ปลายมีดเผยอเปลือกออก

ข. สอดแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดีเข้าไปในรอยกรีดและตัดส่วนบนของแผ่นตา  ออกเพื่อให้แน่นพอดีกับต้นตอ

                การทำแผลบนต้นตอแบบตัวไอ ( I – Budding )

ก. กรีดรอยบนต้นตอเป็นรูปตัว I จากนั้นใช้ปลายมีดเผยอเปลือกออกทางด้านข้าง

ข. สอดแผ่นตาจากกิ่งพันธุ์ดำเข้าไปในรอยกรดีและตัดส่วนบนของแผ่นตาออกเพื่อให้แน่นพอดีกับต้นตอ

                1.3 การติดตาแบบปะหรือแบบแพทช์ (Plach Budding) เหมาะกับพืชที่มีเปลือกหนาเนื้อไม้ยังอ่อนอยู่เกิดรอยต่อเร็วเช่นยางพาราชบาอโวคาโดฯลฯมีขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้

1.3.1 เลือกกิ่งตาพันธุ์ดีตัดใบออก

1.3.2 เฉือนแผ่นตาออกจากกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปโล่ให้ติดเนื้อไม้เล็กน้อยเพื่อให้ติดตาได้สนิทให้ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตาจากด้านล่างขึ้นด้านบน

    1.3.3 ทำแผลบนต้นตอใกล้บริเวณข้อโดยกรดีเปลือกไม้เป็นรูปสี่เหลี่ยม

    1.3.4 ประกบแผ่นตาลงบนแผลของต้นตอ

    1.3.5 พันด้วยพลาสติกใสให้แน่นโดยพันจากด้านล่างขึ้นด้านบนแบบมุงหลังคา

            2. การติดตาพืชที่ลอกเปลือกไม่ได้หรือเปลือกไม่ล่อนที่นิยม คือ การติดตาแบบชิบ(Chip Budding) เหมาะกับพืชที่มีเปลือกบางและเปราะเช่นองุ่นเงาะ

        5. การขยายพันธุ์ด้วยวิธีการต่อกิ่ง 

        คือการเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชทั้งสองเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นต้นพืชต้นเดียวกันโดยจะใช้วิธีนี้เมื่อวิธีการติดตาไม่มีความเหมาะสมคือต้นตอโตเกนิไปกิ่งพันธุ์ดีมีขนาดเล็ก แบ่งได้ 3 แบบดังนี้

            1. การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม (cleft grafting) นิยมใช้สำหรับการเปลี่ยนยอดพืชที่มีเส้นเนื้อไม้ตรงกิ่งพันธุ์ดีควรเป็นกิ่งแก่และควรต่อกิ่งขณะที่พืชหยุดชะงักหรือหยุดการเจริญซึ่งเป็นระยะที่เปลือกไม่ล่อนออกจากเนื้อไม้เช่นทับทิมน้อยหน่ามะนาวฯลฯมีวิธีปฏิบัติดังนี้

                1.1ตัดต้นตอให้มีบริเวณปล้องที่ไม่มีข้อหรือตาเป็นมุมฉาก

                1.2. ผ่าต้นตอให้เป็นแผลลึก 2 - 3 นิ้วแล้วแต่ขนาดของกิ่ง

                1.3. เฉือนกิ่งพันธุ์ให้เป็นปากฉลามทั้งสองด้านโดยให้มีหนึ่งหนากว่าอีกด้านหนึ่ง

                1.4. เผยอรอยแผลโดยใช้ใบมีดสอดเข้าไปในรอยผ่าแล้วบิดใบมีดให้รอยผ่าเผยอออก

                1.5. สอดกิ่งพันธุ์โดยเอาด้านสันหนาไว้ริมนอกแล้วจัดแนวเยื่อเจริญของรอยเฉือนบน ต้นตอ และกิ่งพันธุ์ดีทับกันด้านใดด้านหนึ่ง 

                1.6. พันด้วยพลาสติกใสแล้วอุดรอยต่อด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่งจากนั้นคลุมต้นด้วยถุงพลาสติก

                1.7. ประมาณ 5 - 7 สัปดาห์รอยแผลจะประสานกันสนิทดี



            2. การต่อกิ่งแบบเสียบข้าง (side grafting) นิยมใช้กับต้นพืชขนาดเล็กที่ปลูก        ในกระถาง เช่น โกศล ชบา สนประดับ เล็บครุฑ รวมทั้งไม้ผล เช่น มะม่วง ทับทิม ลองกอง และลำไย ควรทำขณะที่พืชชะงักหรือหยุดการเจริญซึ่งเป็นระยะที่เปลือกไม่ล่อนออกจากเนื้อไม้แตกต่างจากวิธีการต่อกิ่งแบบเสียบเปลือกและวิธีการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่มคือไม่ตัดยอดต้นตอออกจนกว่ากิ่งที่ต่อจะติดเชื่อมประสานเรียบร้อยแล้วจึงตัดยอดต้นตอออกมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้

                2.1 เลือกต้นตอที่มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตรหรือขนาดดินสอดำ

                2.2 เฉือนต้นตอเฉียงลงเป็นมุมราว 30 องศาให้รอยเฉือนยาวประมาณ     1 - 2 นิ้วและลึกเข้าในเนื้อไม้ประมาณ 1ใน 3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางต้น

                2.3 เลือกกิ่งพันธุ์ขนาด ½ เซนติเมตร ยาวประมาณ  2 - 3  นิ้ว และมีตาอยู่บนกิ่ง  2 - 3  ตา

                2.4 เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มให้มีแผลยาวประมาณ 1 - 2 นิ้ว แล้วแต่แผลบนต้นตอ

                2.5 สอดกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลของต้นตอโดยโน้มต้นตอไปทางด้านตรงข้ามรอยเฉือนเล็กน้อยแล้วจึงสอดกิ่งพันธุ์ดีจัดรอยเฉือนให้แนวเยื่อเจริญทับกันด้านใดด้านหนึ่งปล่อยให้ต้นตอกลับที่เดิม

                2.6 พันด้วยพลาสติกใสหรือเชือกแล้วอุดรอยต่อด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่ง

    7. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร

     เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งาน คือ

        7.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับ    ระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์

        7.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์    ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง

        7.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ยเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด

        7.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง 

        7.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกรตัดหญ้า        มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า

        7.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง

        7.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 

            7.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยว และแบบสองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได 

    7.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่

                7.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวดหินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ

                7.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ 

                7.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์

    8. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE)) 

    หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิม การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงาน ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

    9. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554

    ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA) และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)

    10. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

    หมวด  2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม      ในการทำงาน

    มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย      อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

    ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มี    การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

    มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐาน  ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 



ยินดีต้อนรับ