หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลพรรณไม้ทางด้าน กายภาพ

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-3-064ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลพรรณไม้ทางด้าน กายภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบำรุงรักษาสวนสาธารณะ ระดับ 3

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการ      ตัดแต่งกิ่งข้างขนาดใหญ่ตัดแต่งเพื่อเปลี่ยนรูปทรง และดัดพรรณไม้ สามารถวางแผนการดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพโดยมีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03441 ตัดแต่งพรรณไม้ 1.1 ใช้เครื่องมือการเกษตรตัดแต่งกิ่ง 03441.01 79976
03441 ตัดแต่งพรรณไม้ 1.2 อธิบายวิธีการตัดแต่งกิ่งข้างขนาดใหญ่ 03441.02 79977
03441 ตัดแต่งพรรณไม้ 1.3 อธิบายวิธีการตัดแต่งพรรณไม้ให้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ 03441.03 79978
03441 ตัดแต่งพรรณไม้ 1.4 เลือกเครื่องมือในการตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นรูปทรงต่างๆ 03441.04 79979
03441 ตัดแต่งพรรณไม้ 1.5 เลือกใช้วิธีการรักษาแผลหลังการตัดแต่งกิ่ง 03441.05 79980
03442 ดัดพรรณไม้ 2.1 อธิบายวิธีการดัดพรรณไม้ 03442.01 79981
03442 ดัดพรรณไม้ 2.2 ใช้เครื่องมือการเกษตรดัดพรรณไม้ 03442.02 79982
03443 รักษาพรรณไม้ 3.1 อธิบายวิธีการปะ เชื่อมเปลือก พรรณไม้ 03443.01 79983
03443 รักษาพรรณไม้ 3.2 อธิบายวิธีการอุดโพรงลำต้น 03443.02 79984
03443 รักษาพรรณไม้ 3.3 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการรักษาพรรณไม้ด้วยวิธีต่างๆ 03443.03 79985

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพ

2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพ

3. ทักษะการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การตัดแต่ง หมายถึง การนำชิ้นส่วนของพืชพรรณที่ไม่พึงประสงค์ออกจากลำต้นเพื่อควบคุมขนาดการเจริญเติบโต เพิ่มความสมบูรณ์และรูปทรงของพรรณไม้ชนิดนั้นๆ

    การขริบพรรณไม้ หมายถึง การตัดทางแนวราบ (horizontally) เช่น การตัดหญ้าที่ยาวรอบๆ        โคนต้นไม้ตามแนวรั้ว การขริบพืชคลุมดินหรืออื่นๆที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต ขริบ (trim) คำว่า “ขริบ”จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 พิมพ์ครั้งที่ 5 พ.ศ.2528 “ขริบ”เป็นการตัดเล็มด้วยตะไกร คือการทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย (tidy) เกลี้ยงเกลา สะอาดตา (neat) เป็นการตัดยอดใบหรือกิ่งเล็กๆที่ไม่จำเป็นออก ทางด้านข้างหรือด้านบนของต้นไม้ หรือรั้วต้นไม้หรือต้นไม้ที่แต่งเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ออกให้ดูเป็นระเบียบและรักษารูปทรงเดิมไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง การตัดขอบ (edging) หมายถึง การตัดในทางแนวดิ่งหรือแนวตั้ง (vertically) โดยสามารถอธิบายวิธีการขริบได้

    การดัดพรรณไม้ หมายถึง แบบของการฝึก ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ให้แตกกิ่งก้านพันเกาะยึดไปตามแนวราบของผนังตัวอาคารหรือตามแผงหรือไม้ระแนงขัดเป็นตาราง (trellis) ซึ่งสร้างเป็นโครงไว้ โครงสำหรับให้กิ่งพันเกาะยึดอาจสร้างจากไม้ระแนง แผงลวดที่สร้างเป็นกรอบไว้

    การใช้เครื่องมือการเกษตร กลุ่มเครื่องมือการเกษตร  


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ถ้ามี)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพจากนายจ้าง หรือ

        2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพ หรือ

        3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้า และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพ

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. การประเมินความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3  ข้อที่6และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19 

        2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานดูแลพรรณไม้ทางด้านกายภาพ ข้อที่ 1 2 3 4 และ 5



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การตัดแต่ง 

            1.1 ความหมายการตัดแต่ง และนิยามที่เกี่ยวข้อง

            การตัดแต่ง หมายถึง การนำชิ้นส่วนของพืชพรรณที่ไม่พึงประสงค์ออกจากลำต้นเพื่อควบคุมขนาดการเจริญเติบโต เพิ่มความสมบูรณ์และรูปทรงของพรรณไม้ชนิดนั้นๆ 

            กิ่งยอด (central leader or leader branch) คือ กิ่งที่อยู่บนสุดของต้นไม้ เป็นกิ่งที่มีความสำคัญสำหรับไม้ยืนต้นมากที่สุด กิ่งยอดไม่ควรตัดแต่งเพราะจะทำให้รูปทรงของต้นไม้เปลี่ยนแปลงไป กิ่งยอดจะช่วยให้ไม้ยืนต้นให้ความรู้สึกตระหง่าน สง่างาม 

            กิ่งข้าง (scaffold branch) คือ กิ่งที่พัฒนามาจากด้านข้างของลำต้น (trunk) กิ่งข้างทำให้ไม้ยืนต้นเกิดทรงพุ่ม กว้างหรือแคบ ใบแน่นหรือโปร่งบาง ทั้งนี้เพราะกิ่งข้างในส่วนปลายจะถูกพัฒนาไปเป็นกิ่งแขนง (twig) และในส่วนกิ่งแขนงจะมีตาใบและพัฒนาไปเป็นใบ

            มุมกิ่ง (crotch) คือ จุดเชื่อมระหว่างกิ่งข้าง กับลำต้นที่บรรจบกันทำให้เกิดมุมกิ่งซึ่งมีรูปร่าง 2 แบบ คือ มุมกิ่งแคบ (V-shape crotch) และมุมกิ่งกว้าง (U-shape crotch) ซึ่งมุมกิ่งกว้างหรือแคบมีผลต่อความแข็งแรงของกิ่งข้าง และรวมถึงความกว้างหรือความแคบของทรงพุ่ม

            กิ่งกระโดงที่แตกจากกิ่งข้าง (water sprouts) คือ กิ่งที่แตกออกจากโคนของกิ่งข้าง ทำมุมกับกิ่งข้างเกือบ 90 องศา เป็นกิ่งที่ควรตัดออก เพราะทำให้โครงสร้างภายในยุ่งเหยิง

            หน่อหรือกิ่ง ที่เกิดจากรากใต้ดิน (suckers) คือกิ่งอวบน้ำ (succulent branch)      ที่กำเนิดมาจากระบบรากใต้ดิน เป็นกิ่งที่ควรตัดออกเพื่อต้องการให้ไม้ยืนต้นมีลำต้นสูงโปร่ง

            ดังนั้นส่วนของไม้ยืนต้นที่ควรตัดแต่ง ได้แก่ หน่อหรือกิ่งที่เกิดจากระบบใต้ดิน       กิ่งกระโดงที่แตกจากกิ่งข้าง ยอดคู่ (double leader) กิ่งไขว้ กิ่งที่หักด้วน กิ่งมุมแคบของกิ่งข้างที่มีความอ่อนแอ เพราะเป็นกิ่งที่ฉีกหักง่าย

            1.2 วัตถุประสงค์ของการตัดแต่ง

            จะเน้นลงไปในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานดูแลบำรุงรักษาภูมิทัศน์ ดังนี้

                1.2.1 การตัดแต่งเพื่อย้ายปลูกในที่ที่เหมาะสม โดยเฉพาะการย้ายปลูก    โดยวิธีไม่มีดินติดราก (bare root) การตัดแต่งต้องกระทำก่อนการขุดย้ายออกจากพื้นที่เดิม เพื่อลดน้ำหนัก        ลดการคายน้ำ การตัดแต่งไม้ยืนต้นและไม้พุ่มสูง ไม่ควรตัดแต่งกิ่งยอดออกเพราะกิ่งยอดมีความสำคัญต่อไม้ยืนต้นและไม้พุ่มสูง ทำให้รูปทรงของทรงพุ่ม สวยงาม 

                1.2.2 การตัดแต่งเพื่อควบคุมขนาดพรรณไม้ที่ปลูกในภูมิทัศน์ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการตัดแต่งเพื่อควบคุมขนาด ทำได้หลายวิธีเช่น จำกัดพื้นที่ปลูก การปลูกพรรณไม้เป็นกลุ่มในพื้นที่แคบๆ แต่อย่างไรก็ตามการตัดแต่งมีความจำเป็นสำหรับการควบคุมขนาดมากที่สุดและที่ต้องควบคุม ต้องสอดคล้องกับการออกแบบพืชพรรณ

                1.2.3 การตัดแต่งเพื่อให้มีรูปทรงดูดีขึ้น (appearance) วัตถุประสงค์เป็นการตัดแต่งเพื่อปรับปรุงรูปทรง โดยตัดส่วนที่ไม่ดีออกไป เช่น กิ่งหักด้วน กิ่งไขว้ กิ่งกระโดงที่แตกจากกิ่งข้าง หน่อหรือกิ่งที่แตกจากระบบรากใต้ดิน กิ่งยอดคู่ให้เหลือยอดเดียว ตัดแต่งดอกแห้งทิ้ง ตัดแต่งไม้พุ่มแน่นให้โปร่งบาง





                1.2.4 การตัดแต่งเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการเจริญเติบโต (health) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้พรรณไม้มีความสมบูรณ์ด้วยการตัดแต่ง โดยการตัดแต่งกิ่งตาย กิ่งหัก กิ่งด้วนที่จานติดลำต้น กิ่งที่เป็นโรค กิ่งที่มีกาฝาก กิ่งที่อ่อนแอออก การรักษาแผลบริเวณผิวเปลือกลำต้นบริเวณกิ่งที่เกิดจากการกัดแทะของหนู กระรอก กระแต กระต่ายหรือสัตว์อื่นๆ 

                1.2.5 การตัดแต่งเพื่อตัดลำต้นตัดกิ่ง (train of plants) วัตถุประสงค์ของการตัดแต่งเพื่อตัดลำต้น หรือกิ่งให้เจริญเติบโตแตกต่างจากรูปทรงเดิม ให้มีลักษณะพิเศษ ในรูปร่าง (shape) รูปทรง (form) และศิลปะ เช่น ตัดแต่งและตัดให้เป็นรูปต่างๆ (topiary) (รูปคนรูปสัตว์) ตัดขริบให้เกิดพุ่มแน่นเป็นรูปก้อนหิน แถบรั้วต้นไม้ รูปลวดลาย ตัดลำต้นหรือกิ่งตามโครงที่กำหนดไว้ (espalier) ตัดเป็นวงกลมหรือวงล้อม (cordon) ตัดเพื่อให้เกิดลีลาธรรมชาติ เช่น ในสวนญี่ปุ่น การตัดลำต้นหรือกิ่งให้เกิดเป็นไม้ตัดเป็นเอกลักษณ์ของไทย 



                1.2.6 การตัดแต่งเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ได้แก่

                    1.2.3.1 การตัดแต่งให้เกิดผลผลิต (production) มีขนาดของดอกใหญ่ขึ้น ตัดแต่งไม้ผลที่ปลูกในงานภูมิทัศน์ให้ผลมีขนาดใหญ่ได้คุณภาพ หรือให้ได้ผลที่มีปริมาณมาก ตัดแต่งรูปทรงให้สวยงามก่อนออกจำหน่ายในท้องตลาดเป็นต้น

                    1.2.6.2 การตัดแต่งให้พืชกลับสภาพเป็นต้นอ่อนอีกครั้ง (rejuvenation)เช่นการตัดแต่งหนัก (hard pruning) ในกุหลาบปีละครั้ง เพื่อให้กุหลาบแต่งกิ่งใหญ่ที่สมบูรณ์ ลักษณะการตัดแต่งจะตัดแต่งส่วนลำต้นเกือบชิดดิน 

            1.3 การตัดแต่งกิ่งข้างขนาดใหญ่ที่ถูกวิธี

            มีวิธีการตัดดังนี้ 

                1.3.1.1 ใช้เลื่อยเลื่อยด้านล่างของกิ่งขึ้นไป ½ ของกิ่งห่างจากโคนกิ่งประมาณ 30 เซนติเมตร 

                1.3.1.2 เลื่อยกิ่งจากด้านบนห่างจากโคนกิ่ง 35 เซนติเมตร ลึก1/2 กิ่ง หลังจากนั้นกิ่งจะหักฉีกมาพบกับรอยแรก 

                1.3.1.3 ตัดกิ่งให้ชิดโคน 

                1.3.1.4 ใช้มีดแต่งบาดแผลให้เรียบร้อย 

                1.3.1.5 ทาหรือพ่นด้วยยาทาแผลต้นไม้ 

            1.4 การตัดแต่งเพื่อเปลี่ยนรูปทรง

            เป็นการตัดแต่งพืชพรรณจากรูปทรงตามธรรมชาติไปเป็นรูปทรงอื่นๆ ตามต้องการ เช่น รูปทรงรั้วต้นไม้ (hedge) การสร้างรูปทรงไม้ยอดเดียว การทำรูปทรงแจกันหรือกระถาง การตัดแต่งไม้พุ่มให้เป็นรูปทรงไม้ยืนต้น

                1.4.1 ตัดแต่งให้เป็นรูปทรงรั้วต้นไม้ เป็นวิธีการเปลี่ยนรูปทรงพรรณไม้ตามธรรมชาติให้เป็นรูปทรงแถบรั้วต้นไม้ โดยใช้กรรไกรตัดแต่ง หรือเครื่องมือตัดแต่ง การปลูกพรรณไม้พุ่มเพื่อตัดแต่งเป็นรั้วต้นไม้ระยะปลูกต้องปลูกชิด

                1.4.2 การตัดแต่งให้เป็นรูปทรงไม้ยอดเดียว (central leader form) การสร้างรูปทรงไม้ยอดเดียว นิยมทำกับไม้ยืนต้น เพื่อต้องการให้เป็นไม้ยืนต้นที่มีความเด่นสง่า หรือเป็นจุดเด่นในพื้นที่การจัดภูมิทัศน์ การตัดแต่งต้องเริ่มตั้งแต่ไม้ยืนต้นต้นนั้นยังเล็กอยู่ และเลี้ยงดูในสถานเพาะชำในกระถาง มีการจัดตัดแต่งยอดเป็นยอดเดียวให้แตกกิ่งข้างรอบๆลำต้นอย่างเป็นจังหวะ กิ่งข้าง (scaffold branch) ควรทำมุมกับลำต้น 90 องศา จะทำให้เกิดทรงพุ่มกว้าง การสร้างรูปทรงไม้ยอดเดียว เมื่อนำไปปลูกในสนามหญ้าจะให้ความโดดเด่น เป็นไม้ยืนต้นหลักหรือไม้ประธานในพ้นที่ (master tree) 

                1.4.3 การตัดแต่งให้เป็นรูปทรงแจกัน (vase shape)รูปทรงแจกันหรือกระถาง บางครั้งเรียกว่า รูปทรงเปิดกลาง (open center form) ต้นไม้ยืนต้นที่ปลูกตามบริเวณลานพัก (patio area) 2 ข้างตามไหล่ถนน และพรรณไม้ที่มีกิ่งห้อยย้อย (weeping tree) บริเวณที่มีกระแสลมพัดแรง หรือการสร้างทรงพุ่มให้กว้างขึ้น นิยมตัดแต่งไม้ยืนต้นให้เป็นรูปทรงแจกัน  ทำได้โดยการตัดแต่งกิ่งยอด       กิ่งข้างออก หลังจากนั้นจึงมีการแตกกิ่งใหม่ กิ่งใหม่ที่ได้มองดูอ่อน ยาว มีขนาดของกิ่งใกล้เคียงกัน เวลาติด    พุ่มใบ ทรงพุ่มมองดูอ่อนนุ่ม มีการเคลื่อนไหวเวลาต้องช่วยลดปัญหาการโค่นล้มลงได้บ้าง ภาพที่ 4.36

                1.4.4 การตัดแต่งไม้พุ่มเปลี่ยนรูปทรงไม้พุ่มให้เป็นรูปทรงไม้ยืนต้น       (มีลำต้นเดียว) มีขั้นตอนปฏิบัติ 



            1.5 การตัดแต่งต้นไม้ให้เป็นรูปต่างๆ (Topiary pruning)

            การตัดแต่งต้นไม้ให้เกิดศิลปะเป็นรูปทรงต่างๆ เป็นการตัดแต่งที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ Topiary จึงเป็นการเปลี่ยนรูปทรงต้นไม้ตามธรรมชาติให้เป็นรูปทรงที่ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น เป็นรูปสัตว์ รูปคน เป็นฉัตร เป็นชั้น เป็นปุ่มปม ต้นไม้พุ่มและไม้ยืนต้นสามารถนำมาตัดแต่งให้เป็นรูปต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการทำรูปต่างๆจากต้นไม้มีหลายแบบ การตัดแต่งต้นไม้เป็นรูปต่างๆในงานภูมิทัศน์เป็นการสร้างรูปแบบตัวอย่าง specimen) ขึ้น และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่งานภูมิทัศน์

            พรรณไม้ที่นิยมนำมาตัดแต่งให้เป็นรูปต่างๆมีคุณลักษณะพิเศษคือ กิ่งอ่อน เหนียว   ไม่หักง่าย ใบแน่น เช่น ข่อย (Strebusasper) ตะโก (Diospirosrhodocalyx) มะสัง (Feroniellalucida) ต้นเอม (Tilmusparvifolia) ไทร (Ficusrefusa) เฟื่องฟ้า (Bougain Feroniellalucida) โมก (Wrigtiareligiosa) ชาฮกเกี้ยน (Carmonarmicrophylla) เป็นต้น

    2. วิธีการขริบ

    วิธีการขริบขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและนิสัยของพืช

        2.1 การขริบพืชคลุมดิน ต้องพิจารณาถึงชนิดพืช พืชคลุมดินบางชนิดต้องการระยะเวลา และความยาวของส่วนขริบออกแตกต่างกัน พืชคลุมดินบางชนิดแทบไม่ต้องการขริบ เช่น กาบหอยแครง เศรษฐีเรือนนอก เศรษฐีเรือนใน สนเลื้อย หลิวเลื้อย หญ้าหนวดปลาดุก พืชคลุมดินที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และลำต้นเลื้อยคลุมเร็ว การขริบมีความจำเป็นมากเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ควบคุมการเจริญเติบโต เช่น กระดุมทองเลื้อย หญ้าด่าง ผการองเลื้อย พลูฝรั่ง (Scindapsus) อาจมีการขริบหลายครั้งในรอบ 1 ปี ความถี่ห่างของการขริบจึงขึ้นอยู่กับฤดูกาล และชนิดพืชคลุมดิน

    เหตุผลที่ที่มีการขริบพืชคลุมดินเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยลดขนาดการเจริญเติบโตในแนวราบที่เลื้อยเข้าไปแทรกซ้อนในกลุ่มพืชชนิดอื่นเพื่อทำให้เกิดพุ่มแน่น (bushier) และตัดขริบส่วนที่ตายและส่วนที่เป็นโรคออก

        2.2 การขริบไม้พุ่ม (trimming shrubs) การขริบไม้พุ่มเป็นการรักษาความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโต ส่วนด้านบนของทรงพุ่มกับส่วนระบบราก การขริบใบช่วยควบคุมรูปทรงไม้พุ่มให้มีรูปร่างคงที่ การขริบปลายกิ่งย่อยทำให้การแตกกิ่งเพิ่มขึ้น ใบแน่นขึ้น แต่บางครั้งการขริบเพื่อต้องการให้เกิดความโปร่งบางเป็นลักษณะของการซอยโดยขริบกิ่งย่อยบางกิ่งและใบที่ติดบนกิ่งย่อยออก การขริบเป็นการกระตุ้นให้เกิดตาใหม่

        การขริบไม้พุ่ม เพื่อรักษารูปทรงปฏิบัติกันมากในการขริบรั้วต้นไม้ ไม้พุ่มควบคุมทรง ไม้พุ่มที่ปลูกเพื่อสร้างลวดลายในงานภูมิทัศน์

     วิธีการขริบไม้พุ่ม เพื่อให้งานมีคุณภาพ ปลายใบ ปลายกิ่ง และกิ่งไม่ซ้ำ เครื่องมือขริบต้องคม และมีวิธีปฏิบัติ

        2.2.1 ตัดเหนือตาของปลายกิ่ง ให้มุมตัดเฉียงขึ้นสู่ตา ถ้าเปรียบเทียบตำแหน่งของกิ่งที่ตัดต่อการพัฒนาในด้านรูปทรงของไม้พุ่ม ดังนี้ ตัดกิ่งเหนือตาด้านบนออก (inward) จะได้ไม้พุ่มที่มีรูปทรงพุ่มแน่น (bushier plants) ถ้าตัดกิ่งที่อยู่เหนือตาด้านข้างออก (outward) จะได้ไม้พุ่มที่มีรูปทรงแผ่กว้าง ลักษณะคล้ายไม้เลื้อย (spreading plants) แล้วถ้าตัดกิ่งที่โคนต้นชิดดินออก (upward) รูปทรงพุ่มใหม่ที่ได้ จะได้ไม้พุ่มทรงสูง (taller plants) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกตัดขริบกิ่งส่วนใดของไม้พุ่ม

            2.2.2 การขริบกิ่งออกชิดโคนต้น การตัดต้องตัดให้ชิดโคนต้น ไม่ให้เหลือตอกิ่ง (stub) ติดโคนต้นไว้ ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง ในกรณีต้องการให้ทรงพุ่มได้รับแสงแดด การระบายอากาศอย่างทั่วถึง

        2.3 การขริบไม้ตัด (trimming artisted plants) เป็นการขริบเพื่อรักษารูปทรงของไม้ตัดให้อยู่ในสภาพคงที่หรือดีกว่าเดิม

        วิธีการขริบไม้ดัด

            2.3.1 การขริบเพื่อให้เกิดช่อแน่น จะตัดในส่วนของกิ่งที่มีการตัดได้รูปร่างแล้ว      ให้แตกกิ่งย่อย (twig) ปริมาณมาก และในปลายกิ่งย่อยจะมีตาใบมากมาย ซึ่งตาจะพัฒนาไปเป็นใบ ทำให้เกิด     ช่อแน่น

            2.3.2 ขริบส่วนของปลายใบ ในส่วนของใบที่เจริญออกจากช่อที่ทำให้ช่อไม่เป็นระเบียบออก เพื่อรักษารูปทรงของช่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสร้างช่อ

            2.3.3 ขริบกิ่งอ่อนที่เจริญตามส่วนของต้น ตามกิ่งก้านออก โดยตัดชิดโคนเพื่อรักษารูปทรงลีลาของลำต้นและกิ่ง 

        2.4 การขริบไม้แคระ (trimming bonsai) เป็นการขริบเพื่อตกแต่งรูปทรงให้คงที่และสวยงาม ไม้แคระมีการเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา มีการแตกกิ่ง แตกยอดแตกใบอยู่อย่างสม่ำเสมอ การแตกกิ่ง แตกยอด แตกใบออกมาใหม่ ทำให้รูปทรงของไม้แคระที่เข้ารูปลักษณะของไม้แคระที่ดี สูญเสียความ      สวยงามไป จึงจำเป็นที่ต้องขริบกิ่งยอดใบที่แตกออกมาใหม่ออก เพื่อรักษารูปทรงของไม้แคระให้อยู่คงที่ และสวยงามอยู่ตลอดเวลา 

        การขริบไม้แคระมีหลักการดังนี้

            2.4.1 ในปีหนึ่งควรขริบใบไม้แคระออกปีละ2-3ครั้ง เมื่อไม้แคระมีใบแก่ โดยสังเกตจากสีของใบ การขริบให้ใช้กรรไกรตัดส่วนของก้านใบออก

            2.4.2 ขริบกิ่งที่แตกใหม่ตามลำต้น ตามกิ่งก้านเดิมออก เพื่อรักษาโครงสร้างภายในให้ดูโปร่งบาง ไม่สับสน

            2.4.3 ขริบใบออก เมื่อต้องการพันลวดตามลำต้นหรือกิ่งใหม่อันเนื่องมาจากรูปทรงเดิมเปลี่ยนแปลงไป

            2.4.4 ขริบใบออกเมื่อเวลาต้องการล้างรถ เปลี่ยนกระถางและเครื่องปลูกใหม่เพื่อลดการคายน้ำ

            2.4.5 ขริบกิ่งก้านที่ไม่เป็นระเบียบออก

            ข้อควรระวังในการขริบใบไม้แคระออก ไม่ควรขริบใบออกในช่วงฤดูหนาวเพราะฤดูหนาวเป็นฤดูที่ต้นไม้พักตัว หยุดการเจริญเติบโต

    3. การดัดพรรณไม้

    การดัดหรือการบังคับต้นไม้เป็นการตัดแต่งต้นไม้ให้เกิดรูปทรงศิลปะ เป็นการตัดแต่งที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษให้ไม้ยืนต้น ไม้พุ่มถูกจัดลงอย่างพอเหมาะกับพื้นที่จำกัด

    การตัด คือ แบบของการฝึก ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ให้แตกกิ่งก้านพันเกาะยึดไปตามแนวราบของผนังตัวอาคารหรือตามแผงหรือไม้ระแนงขัดเป็นตาราง (trellis) ซึ่งสร้างเป็นโครงไว้ โครงสำหรับให้กิ่งพันเกาะยึดอาจสร้างจากไม้ระแนง แผงลวดที่สร้างเป็นกรอบไว้

    วิธีการตัด จะต้องตัดแต่งกิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออก ให้เหลือเฉพาะกิ่งที่ต้องการไว้จากนั้นตัดแต่งบังคับให้กิ่งพันเกาะยึดไปตามรูปร่างโครงที่ได้ออกแบบไว้แล้ว เช่น เป็นรูปพัด (fan shape) รูปน้ำพุ (fountain shape) รูปสามเหลี่ยม (triangle) รูปโคมระย้า (candelabra) หลังดัดได้รูปร่างสมบูรณ์แล้ว ต้องรักษารูปร่างนั้นไว้ ถ้ามีกิ่งก้าน กิ่งแขนง ที่แตกออกมาใหม่ให้ตัดทิ้ง

    4. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร

     เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งานคือ

        4.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์

        4.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์    ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง

        4.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ยเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด

        4.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการ     ใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง 

        4.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกรตัดหญ้า มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า

        4.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง

        4.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมา       เพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 

            4.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยว และแบบสองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได 

            4.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่

                4.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวดหินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ

                4.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ 

                4.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์

    5. การปะเปลือกและเชื่อมเปลือก ซึ่งเปลือกรอบลำต้นอาจถูกลำทายโดยสัตว์กัดแทะหรือจากฝีมือมนุษย์

        5.1 ความเสียหายของแผลที่เกิดจากการทำลายเปลือก

        5.2 ทำความสะอาดตกแต่งแผล

        5.3 การเสียบกิ่งของพืชชนิดเดียวกัน เชื่อมต่อเพื่อทำให้เกิดท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ปลายจุดเชื่อม ตอกด้วยตะปูทองเหลืองให้สนิท และใช้ขี้ผึ้งหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันน้ำเป็นการป้องกันและทำให้เกิดการประสานของเนื้อเยื่อเร็วขึ้น

        5.4 ลักษณะของกิ่งและการเฉือนปลายกิ่งก่อนเสียบกิ่ง กิ่งที่นำเชื่อมต้องเป็นกิ่งสด

        การเสริมความแข็งแรงแก่คบกิ่ง หรือมุมกิ่งที่เชื่อมต่อกับลำต้นที่มีมุมแคบ ซึ่งอาจเกิดปัญหา กิ่งฉีกได้ เนื่องจากทานน้ำหนักใบไม่ได้ 1. มุมกิ่งแคบ 2. ใช้นอตเหล็กเชื่อมรั้งระหว่างลำต้นและกิ่ง             ส่วนหัวนอตควรมีแหวนรองป้องกันหัวนอตยุบตัวเข้าทำลายเปลือกต้นไม้

    การดึงรั้งกิ่ง ซึ่งอาจเป็นกิ่งมุมกว้าง (U-shape crotch) ที่มีปริมาณของกิ่งย่อย (twig) และใบมาก ทำให้กิ่งตกและมีโอกาสหักฉีกได้ แก้ปัญหาโดยใช้เชือกหรือลวดสลิงเหนี่ยวรั้ง ยึดโยงจากลำต้นหรือ   คบกิ่งบน

    6. การแต่งโพรงลำต้น และการอุดโพรงหลังแต่ง

        6.1 โพรงเก่าที่ถูกสัตว์กัดแทะ หรือเกิดจากเชื้อโรคเข้าทำลาย มีน้ำขังภายในลักษณะแผลขรุขระ 

        6.2 แต่งแผลภายในโพรงให้เรียบร้อยด้วยเครื่องมือแต่งแผล

        6.3 ปิดโพรงด้วยเฟอโรซีเมนต์แล้วใช้กระเบื้องบุ เสริมความแข็งแรงด้วยน็อตเหล็ก

            การป้องกันลำต้น

            การป้องกันลำต้นเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้ลำต้นถูกกระทบ กระแทก จากปัจจัยภายนอกที่มีผลทำให้ลำต้นผิดปกติไปจากเดิม การป้องกันลำต้น ทำได้หลายวิธีดังนี้

            1. การห่อหุ้มลำต้นด้วยผ้า กระสอบ หรือวัสดุแข็ง 

            2. การทำโครงหรือรั้วล้อมรอบเป็นคอก เพื่อป้องกันสัตว์เข้าทำลายหรือป้องกันอุบัติภัยจากยานพาหนะ วัสดุทำโครงหรือรั้วที่นิยมได้แก่ ไม้ เหล็ก

    7. การรักษาแผลหลังการตัดแต่งกิ่ง มีขั้นตอนดังนี้

        7.1 ต่อกิ่งที่ตัดครั้งแรก

        7.2 การตัดตอกิ่งทิ้ง

        7.3 การแต่งแผลด้วยมีดบางให้สะอาด

        7.4 การรักษาแผนหลังแต่งด้วยยาทาแผลต้นไม้

    8. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE)) 

    หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงานโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆหรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

    9. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554

    ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA) และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)

    10. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

    หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย       อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

    ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มี

    การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

    มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐาน          ที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ