หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับพื้นที่ในการจัดสวน

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-2-056ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับพื้นที่ในการจัดสวน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพจัดและตกแต่งสวน 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนี้ประกอบไปด้วยการ วางแผนปฎิบัติงานจัดและตกแต่งสวน ให้เป็นไปตามขั้นตอน เพื่อให้งานแล้วเสร็จตามวันและเวลาที่กำหนด  ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการอ่านแบบแปลน ทักษะในการใช้เครื่องมือ ในการสร้างลำธาร น้ำตก การปลูกพรรณไม้ การจัดวางตามองค์ประกอบศิลป์  เลือกใช้ปุ๋ย ยาบำรุงเพื่อใช้ขณะปลูก  รวมทั้งติดตั้งงานระบบได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03321 จัดการวัชพืชและพรรณไม้ 1.1 อธิบายวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืช 03321.01 79902
03321 จัดการวัชพืชและพรรณไม้ 1.2 อธิบายวิธีการขุดย้ายต้นไม้ 03321.02 79903
03321 จัดการวัชพืชและพรรณไม้ 1.3 เลือกวิธีการขุดย้ายต้นไม้ 03321.03 79904
03322 จัดการดิน 2.1 อธิบายวิธีการการระดับพื้นที่ 03322.01 79905
03322 จัดการดิน 2.2 อธิบายวิธีการทดสอบหน้าดิน(การไหลของน้ำ) 03322.02 79906
03322 จัดการดิน 2.3 ปรับหลุมปลูกต้นไม้ 03322.03 79907
03322 จัดการดิน 2.4 อธิบายวิธีการปรับแต่งบริเวณตามแบบแปลน 03322.04 79908

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะในการเลือกวิธีการปลูก การเลือกใช้ปุ๋ย ยาบำรุงเพื่อใช้ขณะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดพันธ์ไม้และพื้นที่ตามประเภทของไม้ที่ใช้ในการจัดสวน

    2. ทักษะในการจัดทำ จัดวางวัสดุตกแต่งสวน 

    2. ทักษะในการปลูกพรรณไม้

    3. ทักษะด้านการติดตั้งงานระบบ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการเลือกวิธีการปลูกต้นไม้ที่เหมาะสมกับชนิดพรรณหรือพื้นที่

2. ความสามารถในการเลือกใช้ปุ๋ย และยาบำรุง ไม้ค้ำจุนและวัสดุเพื่อการเจริญเติบโต

3. ความสามารถในการปลูกพรรณไม้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในความเรื่องพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ กระบวนการทำงานเพื่อปลูกต้นไม้ที่เหมาะสมกับชนิดพันธุ์หรือพื้นที่ 

2. ความรู้เรื่องรูปแบบการจัดสวนหย่อมชนิดต่างๆ เช่น สวนไทย หรือสวนพรรณไม้เขตร้อนชื้น

3. ความรู้ในการเลือกใช้วัสดุในการตกแต่งสวนหย่อม การคัดเลือกพันธุ์ไม้ประดับ (ไม้ดอก – ไม้ใบ) สวนจีน สวนญี่ปุ่น สวนบาหลี สวนหิน

4. ความรู้ในการในการดูแล การดูแลรักษาสวนและกำจัดวัชพืช หลังการปลูก 

5. ความรู้ในกระบวนการติดตั้งงานระบบสวน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. วุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6

         2. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน หรือใบรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับงานจัดและตกแต่งสวน  

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        1. ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเลือกวิธีการปลูก การเลือกใช้ปุ๋ย ยาบำรุงเพื่อใช้ขณะปลูก และการดูแลให้ต้นไม้เจริญเติบโตหลังการปลูกระยะแรก ให้เหมาะสมกับชนิดพันธ์ไม้และพื้นที่ 

        2. ผู้เข้ารับการประเมินรู้วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกระบวนการทำงานเพื่อวางแผนการปลูกพันธ์ไม้ให้เหมาะสมกับชนิดพรรณไม้และพื้นที่

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากการทดสอบความรู้ 

        2. การประเมินผลการปฏิบัติจากการสอบปฏิบัติ 

         3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน

        4. การประเมินผลทางเจตคติโดยการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตความหมายของคำศัพท์ในหน่วยสมรรถนะ

    จัดและตกแต่งสวน  ระดับชั้นคุณที่ 2 คือ งานที่เป็นศาสตร์ ศิลป์และงานฝีมือที่เกี่ยวกับกาเป็นการเลือกวิธีการปลูก การจัดวางวัสดุตกแต่งสวน การเลือกใช้ปุ๋ย ยาบำรุงเพื่อใช้ขณะปลูก ให้เหมาะสมกับชนิดของพันธ์ไม้ตามประเภทของไม้ที่ใช้ในการจัดสวน รวมถึงการเลือกและการปลูกพันธ์ทดแทน พันธ์ไม้ที่ไม่เจริญเติบโตหลังการปลูกได้อย่างถูกวิธี

1. การปลูกพรรณไม้ ลักษณะการปลูกพรรณไม้ภายในสวนประดับ มีรายละเอียดดังนี้

        1.1 ลักษณะการปลูกพรรณไม้ทั่วไป

            1.1.1 ไม้ยืนต้นไม้ประธานปลูกได้ 2 ลักษณะดังนี้

        (1) เป็นกลุ่ม นิยมปลูกโดยใช้จำนวนต้นเป็นเลขคี่ 3,5 หรือ 7 ปลูกสลับให้ เป็นรูปสามเหลี่ยม

                (2) เป็นแถว นิยมปลูกบริเวณริมถนนหรือข้างถนน ใช้กับสวนประดับที่จัด            แบบ  Formal  Style

            1.1.2 ไม้พุ่ม ไม้รั้ว และไม้คลุมดินจะปลูกเป็นกลุ่มๆละหลายๆต้นปลูก 3 ลักษณะ

                              (1) ปลูกเป็นแปลงหรือเป็นแถว

                (2) ปลูกเป็นกลุ่มวงกลม

                (3) ปลูกเป็นกลุ่มรูปทรงอิสระ



        1.2. การปลูกพรรณไม้ประกอบหิน

        ในการจัดสวนที่มีหินประกอบด้วยนั้น การเลือกพรรณไม้ปลูกประกอบหินควรมีข้อพิจารณาดังนี้

            1.2.1 ขนาดความสูงและจำนวนต้นต้องสัมพันธ์กับขนาดและรูปทรงของก้อนหิน

            1.2.2 ตำแหน่งของต้นไม้ที่ปลูกประกอบหินต้องอยู่ในจุดที่เหมาะสม ดังนี้

            ต้นไม้สูงให้อยู่ด้านหลัง ส่วนต้นไม้ที่ต่ำให้อยู่ด้านหน้า ควรปลูกพรรณไม้พุ่ม พรรณไม้คลุมดิน ลบมุมหินบางส่วนจะทำให้หินสวยงามขึ้น ไม่ควรปลูกพรรณไม้แบบเจาะจง เช่นอย฿กึ่งกลางก้อนหิน หรืออยู่ห่างจากขอบก้อนหิน หินสองข้างเท่ากัน

            1.2.3 เลือกใช้พรรณไม้ที่มีสีสันของดอกหรือใบตัดกับสีของหิน

            วิธีการปลูกพรรณไม้ประเภทต่างๆ

            การปลูกไม้ยืนต้น อาจปลูกโดยใช้ต้นขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น   ไม่เกิน 6 นิ้ว หรือปลูกต้นขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นมากกว่า 6 นิ้ว (ต้นไม้บอลล์) มีขั้นตอนในการปลูกไม้ยืนต้นดังนี้ขุดหลุมให้กว้างและลึกโดยประมาณ 1 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่ ใส่ปุ๋ยและดินผสม แยกส่วนของดินที่ขุดขึ้นมาไว้เป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นหน้าดิน (Top soild) อีกส่วนหนึ่งเป็นดินชั่นล่าง (Sub Soild) ใส่เศษหญ้าฟางแห้งและปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม โรยปุ๋ยขาวทับเศษหญ้าฟางให้ทั่ว ผสมดินปลูกโดยใช้ปุ๋ยมูลวัว ควายหรือปุ๋ยหมัก หรือเปลือกถั่วผสมกับดินชั้นบน ในอัตราส่วนดิน 2 ต่อปุ๋ยหรือเปลือกถั่ว 1 ส่วน นำดินปลูกที่ผสมแล้วใส่รองก้อนหลุมให้หนาประมาณ 3-5 นิ้ว นำต้นไม้ปลูกลงในหลุม จับลำต้นให้ตั้งตรงแล้วนำดินผสมใส่ให้เต็มหลุมกดให้แน่น(ในกรณีที่ปลูกในฤดูฝนตกชุกหรือดินปลูกเป็นดินเหนียวระบายน้ำได้ไม่ดี ควรปลูกให้โคนต้นอยู่สูงกว่าระดับดินปากหลุมประมาณ 3-5 นิ้ว แต่ถ้าปลูกในฤดูที่ไม่มีฝนตกชุก หรือดินเป็นดินทรายระบายน้ำได้ดี ควรปลูกให้โคนต้นเสมอกับดินปากหลุม) ทำไม้ค้ำยัน หรือตอกไม้หลักผูกยึดลำต้นไม่ให้โยกเอน ใช้เศษหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นแล้วหมั้นรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ

            การปลูกพรรณไม้ที่อยู่ในภาชนะ มีพรรณไม้หลายชนิดปลูกชำอยู่ในกระถางหรือโอ่งมังกร เช่นเฟื่องฟ้า ดอนย่า ปริกกระรอก สนชนิดต่างๆ กุหลาบ ฯลฯ มีขั้นตอนในการปลุกจัดสวนดังนี นำต้นไม้จัดวางตามจุดหรือตำแหน่งที่กำหนดไว้ในพื้นที่ ยกต้นไม้ออกแล้วขุดหลุมปลูกให้มีขนาดโตพอที่จะนำต้นไม้ลงไปปลูกได้ ใส่ปุ๋ย กทม. โดยหว่านกระจายให้ทั่วหลุม ก่อนปลูกพรรณไม้บางชนิด เช่น ปรง อากาเว่ เฟอร์เครีย ปาล์มชนิดต่างๆต้องรวบมัดใบไว้ ก่อนที่จะถอดกระถางปลูก ถอดต้นไม้ออกจากกระถางด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ต้นใบหักบอบช้ำหรือดินที่หุ้มรากอยู่แตก ถ้าถอดกระถางไม่ออกให้ใส่น้ำในกระถางแช่ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จะถอดกระถางได้ง่ายขึ้นสำหรับเฟื่องฟ้าไม่ต้องถอดกระถางออกแต่ก่อนปลูกควรทุบก้นกระถางให้แตกเสียก่อน นำต้นไม้ลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้จนหมดทุกต้น กลบดินต้นไม้ปรับแต่งพรวนดินให้ดูเรียบร้อยสวยงาม ใส่ปุ๋ย กทม. รอบๆ ทรงพุ่มอีกครั้งแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

            การปลูกไม้พุ่มหรือไม้คลุมดิน พรรณไม้พุ่มหรือไม้คลุมดินที่จะใช้ปลูกจัดสวน ส่วนมากจะปลูกชำอยู่ในพลาสติกขนาดต่างๆ มีขั้นตอนดังนี้ สับยอยดินบริเวณแปลงที่จะปลูก (ใช้ปูนขาวโรยเป็นแปลงไว้) ถ้าดินบริเวณที่จะปลูกมีลักษณะเหนียวแข็ง เมื่อขุดย่อยดินแล้วควรใส่ขุยมะพร้าวหรือกาบมะพร้าวสับหรือเปลือกถั่วหรือใบไม้ผุและปุ๋ย กทม. จะช่วยทำให้ดินร่วนซุยและมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้น นำต้นไม้จัดวางในแปลงที่เตรียมไว้แล้วให้มีระยะห่างกันพอสมควร (ถ้าเป็นถุงชำพื้นที่ 1 ตารางเมตาวางให้ห่าง 4-5 นิ้ว จะใช้ต้นไม้ประมาณ 40-50 ต้น แต่ถ้าเป็นถุงดำพื้นที่ 1 ตารางเมตร วางห่างกัน 5-6 นิ้ว จะใช้ต้นไม้ประมาณ 25-30 ต้น ใช้เสียมขุดหลุมปลูกทีละต้น โดยขุดหลุมให้มีขนาดโตพอที่จะนำต้นลงไปปลูกได้ ใส่ปุ๋ย กทม.ประมาณครึ่งกำมือ โรยปุ๋ยให้กระจายทั่วทั้งหลุม ถอดถุงพลาสติกออกแล้วนำต้นลงปลูกในหลุมจนหมดทุกต้น กลบดินต้นไม้แล้วปรับแต่ง พรวนดินให้เห็นของแปลงคมชัดและให้ดูเรียบร้อยสวยงาม หว่านปุ๋ย กทม. ให้ทั่งแปลงอีกครั้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 

2. การปลูกหญ้า การปลูกหญ้าในสวนประดับทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

        2.1.การทำสนามหญ้าโดยปูเต็มแผ่น เป็นที่นิยมกันมาก เพราะเมื่อปูแล้วจะได้สนามหญ้าที่เรียบเสมอเป็นผืนเดียวกันทำให้ดูสวนงาม ไม่ต้องคอยกังวลเกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชมากเหมือนกับการปลูกโดยวิธีอื่น และยังทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะได้น้อย วิธีการปูหญ้าเต็มแผ่น ควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้ นำแผ่นหญ้าวางเรียงราย กระจายให้ทั่วพื้นที่ที่จะปูหญ้า  คลี่แผ่นหญ้าแต่ละแผ่นออกแล้วปูให้ขอบชิดชนกัน(ระวังอย่าให้ขอบแผ่นหญ้าซ้อนทับเกยกัน ในขณะที่ปูหญ้าแต่ละแผ่น ควรใช้ไม้หรืออิฐทุบตามรอยพับ และรอยต่อของหญ้าให้เรียบแน่นกระชับติดกับดิน ตัดเล็มขอบหญ้าบริเวณก้อนหิน กลุ่มพรรณไม้ ต้นไม้ ทางเดินให้เรียบร้อยสวยงาม ในขณะที่ปูหญ้า ควรรดน้ำดินและหญ้าที่ปูไปแล้วให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เก็บเศษหญ้าออกจากพื้นสนามให้หมด หลังจากปูหญ้าเสร็จแล้ว ถ้าพื้นที่ปูหญ้าไม่มากนักให้ใช้จอบหรือไม้ตบทุบแผ่นหญ้า แต่ถ้าพื้นที่หญ้ากว้าง ควรใช้ลูกกลิ้งทับหญ้าหลายๆครั้ง เพื่อให้แผ่นหญ้าเรียบและกระชับกับดินดียิ่งขึ้น และเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการปูหญ้าควรแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 4 ฝ่ายดังนี้ ฝ่ายลำเลียงหญ้า มีหน้าที่ลำเลียงหญ้าจากกองมาให้คนปูหญ้า  คนปูหญ้ามีหน้าที่คลี่หญ้าและปูหญ้า การปูหญ้าต้องปูเดินหน้าโดยเท้าเหยียบบนแผ่นกระดานที่ทับอยู่บนผืนหญ้าที่ปูแล้ว ค่อยเคลื่อนไปเรื่อยๆ ข้อควรระวังในการปูหญ้า คือ รอยตะเข็บหรือรอยต่อ ต้องปูให้สนิท วิธีการที่ดีคือ เผลอแผ่นหญ้าขึ้นแล้วจึงกดแผ่นหญ้าทั้งสองแผ่นลงพร้อมๆกัน รอยต่อจะสนิท  ถ้าเป็นการจัดสวนแข่งขันรอยต่อของหญ้าจะต้องไม่ให้ปรากฎเห็นเวลาปูเสร็จ จึงต้องใช้แปรง กวาดปัด เพื่อให้ใบหญ้าระหว่างรอยต่อประสานกัน จะทำให้มองไม่เห็นรอยต่อ คล้ายหญ้าปูมานานจนสมบูรณ์ดีแล้ว คนที่ทำหน้าที่เก็บซ่อมหญ้าบริเวณกลุ่มต้นไม้ทางเดินเท้าขอบมุมสวน ต้องทำด้วยความปราณีต เพื่อให้สนามหญ้ามองดูสมบูรณ์เรียบร้อยสวยงาม คนทุบหญ้า อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ไม้กระดานที่มีด้ามจับ คนทุบหญ้าควรสวมรองเท้าฟองน้ำหรือรองเท้าที่มีพื้นเป็นยาง เพราะมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีต้องทุบให้เรียบสนิททั้งแผ่น โดยเฉพาะส่วนรอยต่อต้องให้แนบสนิทติดกับดินเดิม ไม่เช่นนั้นหญ้าจะเหลืองแห้งตาย 

ข้อคำนึงในการปลูกหญ้าเต็มแผ่น

    (1) ในกรณีพื้นที่ปูหญ้าไม่มากนัก ควรปูเริ่มจากขอบหรือมุมของพื้นที่ด้านใดด้านหนึ่ง

    (2) หญ้าที่กำลังจะใช้ปูไม่ควรรดน้ำจนเปียกโชกเกินไป เพราะจะทำให้ลอกแผ่นหญ้าออกจากกันลำบาก

    (3) ในการปูหญ้าต้องระวังอย่าให้ขอบแผ่นหญ้าซ้อนทับเกยกันจะทำให้ขอบหญ้าแห้งตาย

    (4) หลังจากปูหญ้าแล้วในช่วงสัปดาห์แรกๆต้องหมั่นให้น้ำสนามหญ้าให้   ชุ่มชื่นอยู่เสมอ (ควรให้น้ำสนามหญ้าอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง )

        2.2. การทำสนามหญ้าโดยตัดปลูกเป็นแผ่นเล็กๆ การปลูกแบบนี้เหมาะสำหรับงานที่มีงบประมาณจำกัด และพื้นที่ปูหญ้ามีลักษณะเรียบกว้างเหมาะกับหญ้านวลน้อยหรือหญ้าญี่ปุ่นมีวิธีการปลูกดังนี้

            2.2.1 คลี่แผ่นหญ้าออด แล้วตัดเป็นแผ่นเล็กๆ ขนาดประมาณ 10X 10 ซ.ม. หรือ 15X 15ซ.ม. (อาจใหญ่หรือเล็กกว่านี้ก็ได้)

            2.2.2 รดน้ำพื้นที่ที่จะปูหญ้าให้ชุ่ม

            2.2.3 นำแผ่นหญ้าที่ตัดแล้วไปปลูกโดยจับแผ่นหญ้ากดให้ส่วนของรากจมลงในดินปลูกให้หญ้าแต่ละแผ่นห่างกันประมาฯ 5-10 ซ.ม. (อาจใช้ระยะแคบหรือห่างมากกว่านี้ก็ได้)

            2.2.4 ใช้ไม้หรือจอบตบทุบแผ่นหญ้าหรือใช้ลูกกลิ้งทับแผ่นหญ้าให้เรียบและกระชับกับดินอีกครั้งหนึ่ง

            2.2.5 หมั่นคอยรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ

2.3. การทำสนามหญ้าโดยวิธีปักดำ การปลูกหญ้าโดยวิธีปักดำ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเหมาะกับหญ้ามาเลเซีย มีวิธีการปลุกดังนี้

        2.3.1 เตรียมหญ้ามาเลเซียโดยถอนต้นหญ้าจากแปลงปลูกแล้วตัดปลายรากและปลายใบออก 1 ใน 3 ของความยาวรากและต้นหญ้า เก็บหญ้าไว้ในที่ร่มพรมน้ำให้ชื้น

        2.3.2 เตรียมพื้นที่ปลูกหญ้า โดยย่อยดินให้ละเอียดแล้วขุดสับดินให้เป็นร่องยาวตามลักษณะของพื้นที่ ให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 3-5 นิ้ว

        2.3.3 นำต้นหญ้าวางลงในร่องให้แต่ละต้นห่างกันประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วกลบดินให้เสมอกับระดับดินเดิม

        สรุปข้อปฎิบัติหลังจากการปูหญ้าสวนประดับ

        1. ใช้กรรไกรหรือมีดที่คมๆตัดเล็มขอบหญ้าบริเวณโคนต้นไม้ กลุ่มต้นไม้ เพื่อให้เห็นขอบสนามเด่นชัด

        2. ซ่อมหญ้าในส่วนที่ยังไม่ปราณีต ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม

        3. ทุบหญ้าซ้ำหรือใช้ลูกกลิ้งกิ้งหลายๆครั้งในบริเวณที่เตรียมดินไม่ค่อยเรียบร้อยหรือบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างหญ้าหนากับหญ้าบาง

        4. ในการปูหญ้าบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กหรือการปูในสวนหย่อมที่มีการแข่งขัน ควรปูด้วยความปราณีต ใช้กรรไกรตัดเล็มขอบตัดซ่อมปะหญ้า และตัดหญ้าให้เรียบสม่ำเสมอทั้งพื้นที่

        5. หลังจากปูหญ้าแล้วต้องรีบให้น้ำทันทีและควรให้น้ำตลอดทั้งวันในช่วงสัปดาห์แรก หลังจากนั้นจึงค่อยให้น้ำน้อยลง เมื่อรากหญ้าเดินดีแล้วควรให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ให้ในตอนเช้าจะดีกว่าเวลาอื่น

        6. ในช่วงสัปดาห์แรกหมั่นใช้ลูกกลิ้งทับหญ้าหรือใช้ไม้ตบทุบหญ้าทุกๆวัน จะช่วยทำให้สนามหญ้าเรียบสวยงามขึ้น

        7. หลังจากปูหญ้าได้นานประมาณ 1 เดือน ให้เริ่มตัดหญ้าได้ จากนั้นเมื่อครบ 10 วัน หรือ  15 วัน ให้ตัดหญ้าครึ่งหนึ่ง

        8. เมื่อจัดสวนปูหญ้าเสร็จแล้วในช่วง 1 เดือนแรกควรใช้เชือกขึงปิดกั้นหรือเขียนข้อความห้ามเข้า ติดไว้บริเวณขอบเขตของสวน เพื่อป้องกันการเข้าไปเหยียบย่ำ จะทำให้หญ้าบอบช้ำและเป็นหลุมเป็นบ่อ

3. การจัดกลุ่มหินและการใช้กรวดทรายประดับ

    ความสวยงามของสวนส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ก้อนหินและกรวดลักษณะต่างๆประดับสวน เนื่องจากสวนประดับสามารถจัดได้หลายรูปแบบ การจัดกลุ่มหินและกรวดประดับสวนจึงแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่และลักษณะของสวนดังนี้

    3.1.บริเวณที่เป็นเนินหรือพื้นที่ทั่วๆไป จัดกลุ่มหินได้ดังนี้

        3.1.1 จัดหิน 1 ก้อน ส่วนมากใช้กับหินทรงปฎิมากรรม จะจัดไว้ในตำแหน่งที่โดดเด่นสวยงามที่สุด

        3.1.2 จัดหิน 2 ก้อน หินที่นำมาจัดเข้ากลุ่มต้องมีขนาดและรูปทรงแตกต่างกันโดยจัดให้ก้อนใหญ่อยู่ด้านหลัง ส่วนก้อนที่เล็กกว่าจะจัดให้อยู่เยื้องด้านหน้า 1 ใน 3 ของหินที่อยู่ด้านหลัง

        3.1.3 จัดหิน 3 ก้อน หินที่จัดนำมาเข้ากลุ่มต้องมีขนาดและรูปทรงแตกต่างกัน จัดแล้วให้มองดูเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า

การใช้กรวดประดับสวนทำได้ 3 ลักษณะดังนี้

           1. แบบไม่ต้องลาดซีเมนต์ วิธีนี้ทำโดยปรับแต่งพื้นที่ให้แน่นและเรียบแล้วใช้กรวด    ปูได้เลย

            1.1 เมื่อปูกรวดไปนานๆแล้วกรวดจะจมหายไปในดิน

            1.2 เมื่อมีวัชพืชหรือหญ้าขึ้นแซมทำให้กำจัดยาก

            1.3 เก็บล้างทำความสะอาดกรวดไม่สะดวก

              2. แบบซีเมนต์แล้วรอให้ซีเมนต์แห้งแล้วจึงจัดวางกรวด การจัดกรวดแบบนี้ กรวดจะต้องลอยตัวไม่ยึดติดอยู่กับปูน ข้อดีของการจัดกรวดแบบนี้คือ

            2.1 ทำได้สะดวกเพราะไม่ต้องคอยกังวลเกี่ยวกับปูนแห้ง

            2.2 ล้างทำความสะอาดกรวดได้ง่ายไม่ยุ่งยาก

4.การทำทางเท้า

การทำทางเท้าภายในสวน ควรกำหนดแนวทางเดินให้มีลักษณะ คตโค้งเชื่มโยงกับจุดสำคัญต่างๆ ควรออกแบบจัดทำให้มีความกว้างพอ เลือกใช้วัสดุที่คงทนสวยงามและเหมาะสม เพื่อใหผู้สัญจรเดินไปมาได้สะดวกปลอดภัย มีขั้นตอนในการทำทางเดินเท้าบนสนามดังนี้

    4.1. การทำทางเดินแบบยก 

         4.1.1 ใช้ปูนขาวหรือสายยางกำหนดแนวเส้นทางที่ทำทางเดินเท้าให้มีลักษณะคตโค้ง

         4.1.2 นำแผ่นทางเท้าวางตามแนวที่กำหนดไว้

         4.1.3 ใช้ไม้หรือเสียมขีดพื้นตามรูปร่างของแผ่นทางเท้า

         4.1.4 ยกแผ่นทางเท้าออกแล้วใช้เสียมขุดดินตามรอยขีดให้ลึกพอที่จะนำแผ่นทางเท้าวางลงไป แล้วเหลือขอบของหินโผล่พ้นดินเล็กน้อย กะว่าเมื่อปูหญ้าแล้วจะเสมอกับสนามหญ้าพอดี

        4.1.5 ใช้ทรายปรับพื้นบริเวณที่จะวางแผ่นทางเท้าให้เรียบหรืออาจใช้ซีเมนต์เทรองพื้น ก่อนการวางแผ่นทางเท้าทับลงไป เพื่อให้แผ่นทางเท้ายึดแน่นไม่กระดิก

        4.1.6 ใช้ดินปรับแต่งรอบแผ่นทางเท้าใด้ดูเรียบร้อย

    4.2. การทำทางเดินเท้าแบบต่อเนื่อง

        4.2.1 ใช้ปูนขาวหรือสายยางกำหยดแนวเส้นทางเดินเท้าให้มีลักษณะคตโค้งและมีความกว้างโดยประมาณ 0.9 –1.5 เมตร

        4.2.2 ขุดเอาดินที่อยู่ในแนวปูนขาวออก กะให้ลึกพอที่จะวางแผ่นทางเท้า เทคอนกรีตแล้วจะเหลือความสูงโผล่พ้นดินเล็กน้อย เมื่อปูหญ้าแล้วจะเสมอกับขอบหญ้าพอดี

        4.2.3 ใช้ไม้อักชนิดบาง ตีเป็นแบบตามขอบทางเดินให้ขอบบนของไม้อัดอยู่สูงกว่าระดับดินเล็กน้อย

        4.2.4 เทคอนกรีตตามแนวที่ขุดดินออก ปรับผิวดินให้เรียบเสมอกัน

        4.2.5 รีบนำแผ่นทางเท้า (อาจใช้หินธรรมชาติ หินกาบ หินรูปเหลี่ยม กระเบื้อง ดินเผา) วางกดให้จมลงไปในคอนกรีตให้เหลือผิวทางเดินเสมอกับผิวคอนกรีต ปรับแผ่นทางเท้าให้ได้ระดับ

        4.2.6 การทำทางเดินเท้า บางลักษณธอาจใช้กรวดหรือหินเกร็ดแทรกระหว่างแผ่นทางเท้า

        4.2.7 ใช้ฟองน้ำจุ่มน้ำเช็ดแผ่นทางเท้าและกรวดให้ดูสะอาดสวยงาม

        4.2.8 เมื่อคอนกรีตแห้งแล้วให้ถอดแบบไม้อัดออก แล้วปรับแต่งดินรอบทางเท้าให้เรียบ 

4.การวางระบบน้ำในสวน

    บริเวณสวนที่มีพื้นที่สนามมากๆควรให้น้ำ โดยติดตั้งหัวสปริงเกอร์แบบ ป็อปอัพ ( หัวฉีดจะฝังอยู่กับพื้น) สำหรับกลุ่มต้นไม้ควรจัดระบบให้น้ำ โดยติดตั้งหัวสปริงเกอร์แบบอยู่เหนือผิวดินแต่ถ้าต้องการจะให้น้ำ แบบเคลื่อนย้ายหัวสปริงเกอร์ได้ควรวางท่อและก็อกน้ำไว้รอบๆ พื้นที่ สวนหลายๆจุด เพื่อให้สะดวกต่อการใช้หัวสปริงเกอร์แบบเคลื่อนที่ 

    การวางระบบระบายน้ำภายในสวน ควรทำแบบร่องเปิด ( Open ditch) จะสามารถระบายน้ำได้ดีกว่า ปัญหาการอุดตันจะไม่มี ที่สำคัญคือระบบการระบายน้ำต้องรองรับการระบายน้ำได้ทั่วบริเวณ การวางระบบไฟฟ้า ควรวางสายไฟฟ้าใต้ดินเพื่อลดปัญหาความไม่เรียบร้อย มีข้อควรคำนึงดังนี้ 1. ความปลอดภัย 2.มีปลั๊กไฟอเนกประสงค์  3.โคไฟบังคับแสงที่มีรูปลักษณะตามที่แบบระบุ

5. การค้ำยันหรือยึดตรึงไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม

    การค้ำยันหรือการยึดตรึงลำต้นของไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม มีความจำเป็นมากตั้งแต่หลังปลูกจนกระทั่งไม้ยืนต้นโตสมบูรณ์เต็มที่ การค้ำยัน คือ การใช้แท่งไม้หรือวัสดุอื่นๆปากลงไปในดินขึ้นมาแนบกายลำต้นเพิ่มบังคับลำต้นให้ตั้งตรง ในปัจจุบันได้มีการออกแบบการค้ำยันแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงศิลปะและความสวยงาม

วัตถุประสงค์ของการค้ำยัน มีดังนี้

        1. เพื่อบังคับให้ลำต้นปรงไม่โยกเอนเมื่อประธานแรงลมเพื่อให้รากงอกได้เร็วขึ้นในกรณีของการย้ายต้นไม้ไปปลูกมีที่ปลูกใหม่

        2. ผู้ช่วยเหลือให้ลำต้นอยู่ในตำแหน่งตั้งตรง

        3. เพื่อป้องกันการคลอดลมตะแกรงรมหรือแรงปะทะจากสาเหตุอื่น

      4. การค้ำยันลำต้นเพื่อให้ได้รูปทรงตามพึงประสงค์

วิธีการค้ำยันลำต้น การค้ำยันลำต้นที่ปฏิบัติโดยทั่วไปมี 2 วิธีคือ

            1. การทำยอดลำต้นโดยใช้หลักเพียงหลักเดียว นิยมใช้กับไม้ยืนต้นที่ใหญ่ปลูกแบบไม่มีดินติดราก (bare root) หรือแบบมีตุ้มดินติดรากและมีวัสดุห่อหุ้ม (ball and burlapped) ของไม้ยืนต้นที่มีอายุยังน้อย หลักค้ำยันนิยมใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก แท่งไม้กลม ไม้ระแนง แท่งเหล็กกลม และนอกจากไม้ยืนต้นแล้ว เพียงประยุกต์ใช้กับไม้พุ่มได้ ลวดหรือเชือกรัดตรึงระหว่างไม้หลักยึดกับต้นไม้ สายยางขนาดเล็กเพื่อใช้เชือกหรือลวดร้อยป้องกันผิวเปลือกหลุดหรือแตก ระดับผิวดิน หลุมปลูก

            ถ้าเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุมาก เกิดลำต้นเอน ล้ม อันเนื่องมาจากแรงลม การใช้หลักค้ำยันอ่านออกแบบให้แข็งแรงสวยงาม โดยใช้เหล็ก โดยมีฐานคอนกรีตรองรับ 

            ใช้หลักยึดค้ำยันมากกว่า 1 หลักการใช้หลักยึดค้ำยันลำต้นมากกว่า 1 หลัก อาจเป็น 2, 3, 4 ทำให้การยึดลำต้นมีความแข็งแรงกว่า นิยมใช้กับไม้ยืนต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นมากกว่า 2 นิ้วขึ้นไป และเป็นไม้ยืนต้นที่ซึ่งทรงพุ่มแล้วแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม คือแรงลม และรูปทรงของแผ่นดิน (landfrom) การใช้หลักค้ำยันลำต้นมากกว่า 1 หลัก มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 อย่างคือ

            1. เพื่อต้องการให้การยึดค้ำยันมีความแข็งแรง สามารถป้องกันการปะทะของลมที่พัดแรงได้

            2. เพื่อการตกแต่งหลักยึดค้ำยัน ทำให้ไม้ยืนต้นไม้พุ่มมองดูดีขึ้นมั่นคงขึ้น

เป็นแนวคิดในการออกแบบและการใช้วัสดุค้ำยัน เพื่อยึดลำต้นของไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและไม้ที่มีลักษณะพิเศษ หลักยึดค้ำยันหลักเดียว ไม้ยืนต้นอายุน้อย สายยาง ลวดเบอร์ 12 หลักไม้ระแนง พื้นที่หลุมปลูก หลักยึดลำต้น 2 หลัก สำหรับไม้ยืนต้นที่มีดินติดราก สายยาง  ลวดเบอร์ 12  แท่งไม้กลม 2 นิ้ว ตุ้มดิน หลุมปลูก ยึดลำต้น 3 จุด นิยมใช้กับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่โดยใช้ลวดยึดถือไม้ก็ได้ แต่จะแสดงวิธีการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ขนาดใหญ่ให้ลำต้นตรงโดยใช้ลวดยึด และแต่ละเส้นลวดจะมีห่วงตรึงหรือห่วงเลื่อนปรับความตึง สายยาง ลวดสลิง ห่วงตรึง จุดร้อยลวด  คอนกรีตยึดตรึงหรือหัวหมุดการค้ำยันลำต้น 4 จุด นิยมใช้กับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ และปาล์มลำต้นเดี่ยว ยกตัวอย่างปาล์มลำต้นเดี่ยว อินทผลัมใบเงิน (Silver date palm-Phoenix sylvestris การค้ำยันลำต้น 4 จุด นิยมใช้กับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ และปาล์มลำต้นเดี่ยว ยกตัวอย่างปาล์มลำต้นเดี่ยว อินทผลัมใบเงิน (Silver date palm-Phoenix sylvestris

6. การคลุมดิน และการป้องกันโคนต้น  

     การคลุมดิน การป้องกันโคนต้นเป็นงานดูแลบำรุงรักษาพืชพรรณงานหนึ่งที่มีความสำคัญ การปฏิบัติค่อนข้างจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

การคลุมดิน (Mulche) การคลุมดินช่วยในด้านการประหยัดแรงงานและลดปัญหาในการดูแลบำรุงรักษาน้อยลง ต้องการการเจริญเติบโตของวัชพืช

ความหมายของการคลุมดิน  การคลุมดิน หมายถึง การใช้วัสดุคลุมลงบนดินในพื้นที่แปลงปลูก โคนต้นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และพันธุ์ไม้อื่นๆ เพื่อการเก็บความชื้น (water retension) ป้องกันอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงภายในดิน และทำให้วัชพืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต

    เป้าหมายของการคลุมดิน เพื่อช่วยเหลือในการเก็บความชื้นในดิน ป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในดิน ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืช ช่วยปรับปรุงงานภูมิทัศน์ให้ดูดีขึ้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นที่การใช้วัสดุคลุมดินในงานภูมิทัศน์

        1. แปลงปลูกไม้ดอก การใช้วัสดุคลุมดินในแปลงไม้ดอก ควรใช้ให้มีความหนาประมาณ 3 นิ้ว คลุมหลังจากปลูกไม้ดอกลงในแปลงแล้ว จะช่วยสงวนรักษาความชื้นและลดวัชพืชในแปลงปลูกไม้ดอกลง เมื่อเวลาไม้ดอกเจริญเติบโตจะเน่าสลายกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ วัตถุคลุมดินที่แนะนำ คนเป็นพวกเปลือกถั่ว        เปลือกไม้

        2. พืชคลุมดิน การใช้วัสดุคลุมโคนในพื้นที่ปลูกพืชคลุมดิน เช่น บริเวณปลูกสนเลื้อย หรือพืชคลุมดินอื่น วัสดุคลุมในพื้นที่ปลูกพืชคลุมดิน ต้องมีคุณสมบัติเบา เช่น พีทมอล์ส ซังข้าวโพด เปลือกถั่วลิสง วัสดุเหล่านี้ช่วยสงวนรักษาความชื้น มีส่วนช่วยทำให้พืชคลุมดินเจริญเติบโตชิดกันเร็วขึ้น

        3. พื้นที่การปลูกไม้พุ่ม ความหนาของวัสดุคลุมที่เหมาะสมประมาณ 3-4 นิ้ว ถ้าใช้บางเกินไปไม่สามารถป้องกันการงอกของเมล็ดวัชพืช ความชื้นในดินและความสกปรกที่เกิดจากฝนตกได้

        4. ไม้ยืนต้น การใช้วัสดุคลุมโคนต้นไม้ยืนต้น เราปฏิบัติตั้งแต่หลังปลูกต้นไม้ลงในหลุมปลูกเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อปรับปรุงสภาพบริเวณโคนต้นไม้ให้ความรู้สึกสะอาดเป็นระเบียบสงวนรักษาความชื้นบริเวณรอบโคน รักษาอุณหภูมิในดินให้คงที่ ป้องกันวัชพืช แก้ปัญหาเกี่ยวกับการปลูกหญ้า การปลูกพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเป็นภาระต่อการตัดหญ้า ตัดขริบ 

        วัสดุที่ใช้คลุมดิน  วัสดุที่ใช้คลุมดินแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยอาศัยการสลายตัว ผุพัง (decayed) ดังนี้

        1. อินทรียวัตถุคลุมดิน (organic mulches) ส่วนใหญ่เป็นวัสดุได้มาจากเศษซากหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของซากพืชซากสัตว์ (living materials) อินทรียวัตถุที่นิยมใช้ ได้แก่ เศษไม้สับ (wood clip) ขี้เลื่อย (sawdust) เปลือกไม้ เปลือกถั่วต่างๆ (เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วเหลือง) ต้นข้าวโพดสับ(cornstalk) เศษซังข้าวโพด (chipped corncobs) เศษกะลามะพร้าว (chipped ciconut shells) เส้นใยมะพร้าว (coconut fiber) ใบสน (pine needles) ใบไม้ผุ (leaf mold) กากกาแฟ (spent coffee ground) กากน้ำตาล (sugercans residue) ฟางข้าว (straw) หญ้าแห้ง (hay) และปุ๋ยคอกที่เน่าเปื่อยดีแล้ว (well rot munure) พีทมอล์ส (peat moss) เป็นต้น

          ประโยชน์ของอินทรียวัตถุคลุมดิน คือ ลดการสูญเสียความชื้นของดิน สลายตัวและให้ธาตุอาหารพืชแก่ดินอย่างช้าๆ อาจช่วยลดปริมาณธาตุไนโตรเจนในดินลงชั่วคราว ป้องกันการพังทลายของดิน ป้องกันการโยกถอนของลำต้นพืชจากสาเหตุต่าง ๆ ได้ ป้องกันความสกปรกที่เกิดจากเลนตมต่องานภูมิทัศน์ อันเนื่องมาจากฝน  ข้อควรระวังในการใช้อินทรียวัตถุคลุมดิน ได้แก่ เวลาแห้งอาจเป็นเชื้อไฟทำให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน พีเอช (pH) เปลี่ยนแปลงและทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้ดีหลังอินทรียวัตถุคลุมดินเน่า   เปื่อยแล้ว

        2. อนินทรียวัตถุคลุมดิน (inorganic mulches) เป็นวัสดุที่มีลักษณะตรงข้ามกับอินทรียวัตถุคลุมดิน เพราะได้จากสิ่งไม่มีชีวิต (nonliving materials) เช่น เศษอิฐหัก หินย่อย หินกลม กรวดกลม กรวดทราย เปลือกหอย แผ่นพลาสติกสีดำสำหรับคลุมดิน เป็นต้น

        ประโยชน์ของอนินทรียวัตถุคลุมดิน ลดการสูญเสียความชื้นของดิน ไม่ทำให้พีเอช (pH) ของดินเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นเชื้อไฟ เป็นวัสดุคลุมดินถาวรไม่เน่าเปื่อยและสลายตัว ทำให้ประหยัดเวลา แรงงาน และทุนทรัพย์ในระยะยาว สามารถเคลื่อนย้ายเปลี่ยนแปลง หรือนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่เหมาะสมได้ กรณีเลิกใช้งาน เช่น การคลุมดินด้วยหินย่อย หินกลม กรวดกลม ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบในการจัดภูมิทัศน์ อนินทรียวัตถุคลุมดิน ส่วนใหญ่นิยมใช้คลุมโคนต้นไม้ใหญ่ เป็นการป้องกันโคนต้น และใช้เพื่อตกแต่ง รักษาอุณหภูมิของดิน สงวนรักษาความชื้นภายในดินที่นิยมคือ เศษอิฐหัก หินย่อย หินกลม กรวดกลม กรวด เปลือกหอย สวนแผ่นพลาสติกสีดำไม่นิยมใช้ในงานภูมิทัศน์ แต่นิยมใช้ในการปลูกพืชเพื่อการผลิต

 

การป้องกันโคนต้น

        การป้องกันของต้นเป็นวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายกับโคนต้นไม้ยืนต้นและไม้พุ่มสูง โดยทำเป็นกรอบรอบบริเวณโคนต้น โดยใช้วัสดุที่มีความมั่นคงถาวร เช่น ท่อนซุง ไม้หมอนรถไฟ แผ่นไม้ แว่นไม้กลม หลักไม้ หินกลม หินสกัด คอนกรีต ปูแผ่นอิฐ แผ่นเหล็ก พลาสติกกั้นขอบ แผ่นตะแกรงเหล็กครอบรอบโคน เพื่อป้องกันไม่ให้หญ้าแทรก หญ้าล้ำเข้าบริเวณโคนต้น ลดปัญหาการตัดหญ้า การเกิดวัชพืช ทำให้เกิดช่องอากาศบริเวณราก

        หลังการจัดสร้างกรอบรอบบริเวณโคนต้นแล้ว ภายในกรอบโคนต้น ควรคลุมโคนด้วยวัสดุคลุมดินจะเป็นวัสดุคลุมดินที่เป็นผลผลิตจากอินทรียวัตถุหรืออนินทรียวัตถุก็ได้ แต่ที่นิยมมากคือจากอนินทรียวัตถุ

การออกแบบการป้องกันโคนต้น

        เป็นการออกแบบเพื่อการดูแลบำรุงรักษาโคนต้นของไม้ยืนต้น ไม้พุ่มให้สอดคล้องกับงานภูมิทัศน์โดยคำนึงถึงศิลปะ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ และการดูแลบำรุงรักษา 

        ใช้แผ่นอิฐก่อกับซีเมนต์เป็นรูปวงกลมรอบๆ โคนแล้วทิ้งหินกลมภายใน แผ่นดินสามารถรองรับน้ำหนักของล้อรถตัดหญ้าได้ ทำเป็นลักษณะบ่อตื้นๆ โดยใช้แท่งไม้หมอนรถไฟเป็นกรอบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านในโรยหิน กรวดกลมหรือกรวดเหลี่ยม 

7. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร 

เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งานคือ

        7.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์

        7.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์     ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง

        7.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ย เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด

        7.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง 

        7.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนาม เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกรตัดหญ้า มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า

        7.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณ ประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง

        7.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 

            7.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยว และแบบสองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได 

            7.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่

                7.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแวมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวด หินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ

                7.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ 

                7.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์

        7.8 การทำความสะอาดและเก็บรักษาเครื่องมือการเกษตรเบื้องต้น (โยธะคง, 2541)

        จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน อีเตอร์ จอบดายหญ้าหรือจอบถาก และมีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด มีดดายหญ้า มีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง และทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม

        กรรไกรตัดแต่งกิ่ง กรรไกรตัดหญ้า และเลื่อยตัดแต่งกิ่ง ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมหรือหยอดน้ำมัน เก็บเข้าที่โดยการแขวน

บัวรดน้ำ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้แล้วควรล้างทำความสะอาดถัง ตัวถัง และฝักบัวเพื่อป้องกันการอุดตัน คว่ำให้แห้งและเก็บเข้าที่

        สปริงเกอร์ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้งานควรใช้น้ำแรงดันสูงล้างเพื่อป้องกันการอุดตันจากคราบสกปรกต่างๆ

        ถังน้ำ สายยาง และปุ้งกี๋ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรทำความสะอาด ทำให้แห้ง และเก็บคว่ำเข้าที่ โดยสายยางให้ม้วนเก็บเข้าที่ อย่าให้มีส่วนใดหักงอ

    8. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือ Personal Protective Equipment (PPE)) 

     หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตราย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิม การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะมีการป้องกัน และควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้น แยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่น หรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนกรรมวิธีการทำงาน ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงาน มิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือ นิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

    (ก) คำแนะนำ 

        N/A

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    Hardscape คือส่วนประกอบที่เป็นโครงสร้างในงานภูมิสถาปัตยกรรม หรือในสวน เช่น ลานนั่งเล่น   ศาลา ทางเดิน ระเบียง ซุ้มประตู  โดยจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น คอนกรีต เหล็ก อิฐ คอนกรีตแสตมป์ หรือวัสดุจากธรรมชาติอย่าง หิน และกรวด [3]  

    Softscape คือส่วนประกอบทางธรรมชาติในงานภูมิสถาปัตยกรรมหรือในสวน ได้แก่ ดิน บ่อน้ำ รวมทั้งพืชพันธ์ประเภทต่างๆ ซึ่งแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะของการออกแบบ และการวางตำแหน่งลงในสวน เช่น ไม้ประธาน ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน[4] โดยมีรายละเอียดดังนี้

    ไม้ประธาน จะไม้ที่สูงที่สุด ใหญ่ที่สุด เด่นที่สุดเพราะไม้ประธานจะมีผลกับการเลือกชนิดหรือประเภทของต้นไม้อื่นๆ ในสวนด้วย

    ไม้พุ่ม ใช้ปลูกบอกอาณาเขตของสวนสร้างเป็นผนังต้นไม้ปิดอำพรางในส่วนที่ไม่ต้องการให้เห็น สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับสวนมากขึ้น

    ไม้คลุมดิน เป็นไม้ระดับล่าง ส่วนมากจะใช้ปลูกที่ขอบแปลงขอบทางเดินเพื่อลดความกระด้างของวัสดุปูทางเดินปลูกคลุมดินในส่วนที่ไม่ต้องการให้เห็น เช่น โคนไม้ใหญ่บางคนก็นำมาปลูกสลับกับแผ่นปูทางเดินแทนการปลูกหญ้า

    ประเภทของไม้ที่ใช้ในการจัดสวน หมายถึง ไม้ใหญ่ ไม้โชว์ต้น ไม้พุ่มกลาง ไม้ดอก ไม้เลื้อย (ไพโรจน์  อ่อนเรือง, 2549)

     ไม้ใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไม้ที่ให้ดอก ให้ร่มเงา และไม้ที่ให้ผล ไม้ใหญ่ให้ดอกที่นิยม ได้แก่ ประดู่ ตะเบบูย่า นกยูง ปีป ตะแบก ราชพฤกษ์ ทองกวาว ชงโค ตีนเป็ด โมกมัน และสุพรรณิการ์ เป็นต้น ส่วนไม้ใหญ่ให้ผลที่นิยมจะมีมะม่วง ชมพู่ ฝรั่ง ขนุน สาเก เป็นต้น

     ไม้โชว์ต้น เป็นไม้ที่มีลำต้นรูปทรงสวยงาม สามารถใช้เป็นหลักในการจัดแต่งได้ เช่น ไม้ประเภทปาล์ม ได้แก่ หมากแดง ตาลโตนด ปาล์มสิบสองปันนา

     ไม้พุ่มกลาง สามารถใช้เป็นไม้หลัก หรือไม้รองได้ เพราะมีขนาดปานกลาง สูง 2-3 เมตร เช่น โมก นกยูงไทย ทองอุไร เข็มปัตตาเวีย ยี่เข่ง รัตมา หรือคลอเดียร์ เป็นต้น

     ไม้ดอก คือต้นไม้ที่สวยงามสมบูรณ์ เมื่อมีดอก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ไม้ดอก และไม้ตัดดอก ไม้ดอกที่นิยมใช้ในการจัดสวน คือ ไม้ดอก ไม่ใช่ไม้ตัดดอก  ไม้ดอกที่ดีควรมีสีสวยและมีกลิ่นหอม เช่น พวงทอง พังพวย ผกากรอง บานบุรี นีออน ช้องนาง เหลือคีรีบูร เป็นต้น

     ไม้เลื้อย เป็นต้นไม้ที่ลำต้นทอดอ่อนไปตามหลัก หรือต้นไม้ข้างเคียง ไม่สามารถชูต้นได้เหมือนต้นไม้อื่นๆ ควรปลูกกับซุ้มไม้เลื้อย หรือรั้วบ้าน เช่น เล็บมือนาง บานบุรีเลื้อย ชมนาด รสสุคนธ์ พวงชมพู เฟื่องฟ้า กระเทียมเถาว์ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 กระบวนการประเมินความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับ วางแผนเตรียมงานตามแบบแปลนเพื่อจัดสวน  ใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการจัดสวน  จัดวางวัสดุตกแต่ง เช่นปูนปั้น น้ำตก  จัดวางหินประดับเลือกพรรณไม้ในการจัดสวน  ติดตั้งทดสอบงานระบบ ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบไฟ

    18.2 กระบวนการประเมินความรู้และทักษะจัดปลูกพรรณไม้ ใช้วัสดุเพื่อการค้ำจุนและวัสดุป้องกันพรรณไม้สภาวะแวดล้อมเพื่อการเจริญเติบโต  ตกแต่งพรรณไม้  การเปลี่ยนต้นไม้ การดูแลต้นไม้ในระยะรับประกัน การดูแลการทำงานของงานระบบ ประเมินจากแบบทดสอบการปฎิบัติงาน แฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ