หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปลูกพรรณไม้และ ปลูกหญ้า

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-1-058ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปลูกพรรณไม้และ ปลูกหญ้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักตกแต่งสวนสาธารณะ ระดับ 1

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการเลือกพรรณไม้ตามแบบแปลน ปลูกพรรณไม้ตามแบบแปลน ค้ำยันพรรณไม้ ปรับแต่งหน้าดินเตรียมการปลูกหญ้า เลือกชนิดหญ้าที่เหมาะสมกับพื้นที่ ปลูกหญ้า ซ่อมแซมหญ้า ทุบหญ้ารวมถึงการใช้เครื่องมือการเกษตรตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชาเนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้อย่างจำกัด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03341 ปลูกพรรณไม้ตามแบบแปลน 1.1 อธิบายหลักการปลูกพรรณไม้แต่ละประเภท 03341.01 79917
03341 ปลูกพรรณไม้ตามแบบแปลน 1.2 ระบุเครื่องมือที่ใช้ในการปลูกพรรณไม้ตามแบบแปลน 03341.02 79918
03342 ค้ำยันพรรณไม้ 2.1 ระบุวัตถุประสงค์ของการค้ำยันพรรณไม้ 03342.01 79919
03342 ค้ำยันพรรณไม้ 2.2 อธิบายวิธีการค้ำยันพรรณไม้ 03342.02 79920
03343 ปลูกหญ้า 3.1 เลือกชนิดของหญ้าที่เหมาะกับพื้นที่ 03343.01 79921
03343 ปลูกหญ้า 3.2 ระบุรายการวัสดุ อุปกรณ์ในการปลูกหญ้า 03343.02 79922
03343 ปลูกหญ้า 3.3 อธิบายวิธีการปรับแต่งหน้าดินในการเตรียมการปลูกหญ้า 03343.03 79923

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการปลูกพรรณไม้และปลูกหญ้าในการจัดสวน

2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการปลูกพรรณไม้และปลูกหญ้าในการจัดสวน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การปลูกพรรณไม้ลักษณะการปลูกพรรณไม้ภายในสวนประดับ ประกอบด้วย ลักษณะการปลูกพรรณไม้ทั่วไป การปลูกพรรณไม้ประกอบหิน ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 1

        2. การค้ำยันพรรณไม้ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการค้ำยัน วิธีการค้ำยันลำต้นตัวอย่างการออกแบบค้ำยันเพื่อยึดลำต้น ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 2

        3. การปลูกหญ้า การปลูกหญ้าในสวนประดับทำได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ การทำสนามหญ้าโดยปูเต็มแผ่นการทำสนามหญ้าโดยตัดปลูกเป็นแผ่นเล็กๆ การทำสนามหญ้าโดยวิธีปักดำ ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 3

        4. ประเภทของพรรณไม้การเลือกใช้พรรณไม้เพื่อนำมาจัดสวน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งานประกอบด้วย ไม้ต้น (trees) ไม้พุ่ม (shrubs)ไม้เลื้อย (vines) ไม้คลุมดิน (ground covers) ไม้น้ำ (aquatic plants) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 4

        5. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือ Personal Protective Equipment (PPE)) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 5

        6. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 6

        7. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ประกอบด้วย หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 16 และ มาตรา 19ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 7

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการปลูกพรรณไม้และปลูกหญ้าในการจัดสวนจากนายจ้าง หรือ

        2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการปลูกพรรณไม้และปลูกหญ้าในการจัดสวน หรือ

        3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการปลูกพรรณไม้และปลูกหญ้าในการจัดสวนและสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้  

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพรรณไม้และปลูกหญ้าในการจัดสวน

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

        2. การสอบปฏิบัติ 

        3. แฟ้มสะสมผลงาน

        4. การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 ตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 18และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19 ตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 

        2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานปลูกพรรณไม้และ     ปลูกหญ้าในการจัดสวนตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข)           ความต้องการด้านความรู้ 



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การปลูกพรรณไม้ ลักษณะการปลูกพรรณไม้ภายในสวนประดับมีรายละเอียดดังนี้

            1.1 ลักษณะการปลูกพรรณไม้ทั่วไป

                1.1.1 ไม้ยืนต้นไม้ประธานปลูกได้ 2 ลักษณะดังนี้

            (1) เป็นกลุ่ม นิยมปลูกโดยใช้จำนวนต้นเป็นเลขคี่ 3, 5 หรือ 7    ปลูกสลับให้เป็นรูปสามเหลี่ยม

(2) เป็นแถว นิยมปลูกบริเวณริมถนนหรือข้างถนน ใช้กับสวนประดับที่จัดแบบ  Formal  Style

1.1.2 ไม้พุ่ม ไม้รั้ว และไม้คลุมดินจะปลูกเป็นกลุ่มๆละหลายๆ ต้นปลูก     3 ลักษณะ

                    (1) ปลูกเป็นแปลงหรือเป็นแถว

                    (2) ปลูกเป็นกลุ่มวงกลม

                    (3) ปลูกเป็นกลุ่มรูปทรงอิสระ

            1.2 การปลูกพรรณไม้ประกอบหิน

ในการจัดสวนที่มีหินประกอบด้วยนั้น การเลือกพรรณไม้ปลูกประกอบหินควรมีข้อพิจารณาดังนี้

1.2.1 ขนาดความสูงและจำนวนต้นต้องสัมพันธ์กับขนาดและรูปทรงของก้อนหิน

                1.2.2 ตำแหน่งของต้นไม้ที่ปลูกประกอบหินต้องอยู่ในจุดที่เหมาะสม ดังนี้

                ต้นไม้สูงให้อยู่ด้านหลัง ส่วนต้นไม้ที่ต่ำให้อยู่ด้านหน้าควรปลูกพรรณไม้พุ่ม พรรณไม้คลุมดิน ลบมุมหินบางส่วนจะทำให้หินสวยงามขึ้นไม่ควรปลูกพรรณไม้แบบเจาะจง เช่น อยู่กึ่งกลางก้อนหิน หรืออยู่ห่างจากขอบก้อนหิน หินสองข้างเท่ากัน

                1.2.3 เลือกใช้พรรณไม้ที่มีสีสันของดอกหรือใบตัดกับสีของหิน

            วิธีการปลูกพรรณไม้ประเภทต่างๆ

            การปลูกไม้ยืนต้น อาจปลูกโดยใช้ต้นขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นไม่เกิน 6 นิ้ว หรือปลูกต้นขนาดใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นมากกว่า 6 นิ้ว (ต้นไม้บอลล์) มีขั้นตอนในการปลูกไม้ยืนต้นดังนี้ขุดหลุมให้กว้างและลึกโดยประมาณ 1 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่ ใส่ปุ๋ยและดินผสมแยกส่วนของดินที่ขุดขึ้นมาไว้เป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นหน้าดิน (Top soild) อีกส่วนหนึ่งเป็นดินชั่นล่าง (Sub Soild)       ใส่เศษหญ้าฟางแห้งและปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมโรยปุ๋ยขาวทับเศษหญ้าฟางให้ทั่วผสมดินปลูกโดยใช้ปุ๋ยมูลวัว ควาย หรือปุ๋ยหมัก หรือเปลือกถั่วผสมกับดินชั้นบน ในอัตราส่วนดิน 2 ต่อปุ๋ยหรือเปลือกถั่ว 1 ส่วน นำดินปลูกที่ผสมแล้วใส่รองก้อนหลุมให้หนาประมาณ 3-5 นิ้วนำต้นไม้ปลูกลงในหลุม จับลำต้นให้ตั้งตรงแล้วนำดินผสมใส่ให้เต็มหลุมกดให้แน่น (ในกรณีที่ปลูกในฤดูฝนตกชุกหรือดินปลูกเป็นดินเหนียวระบายน้ำได้ไม่ดี       ควรปลูกให้โคนต้นอยู่สูงกว่าระดับดินปากหลุมประมาณ 3-5 นิ้ว แต่ถ้าปลูกในฤดูที่ไม่มีฝนตกชุกหรือดินเป็นดินทรายระบายน้ำได้ดี ควรปลูกให้โคนต้นเสมอกับดินปากหลุม) ทำไม้ค้ำยัน หรือตอกไม้หลักผูกยึดลำต้นไม่ให้โยกเอนใช้เศษหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นแล้วหมั้นรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ

            การปลูกพรรณไม้ที่อยู่ในภาชนะ มีพรรณไม้หลายชนิดปลูกชำอยู่ในกระถางหรือ  โอ่งมังกร เช่นเฟื่องฟ้า ดอนย่า ปริกกระรอก สนชนิดต่างๆ กุหลาบ ฯลฯมีขั้นตอนในการปลุกจัดสวนดังนีนำต้นไม้จัดวางตามจุดหรือตำแหน่งที่กำหนดไว้ในพื้นที่ยกต้นไม้ออกแล้วขุดหลุมปลูกให้มีขนาดโตพอที่จะนำต้นไม้ลงไปปลูกได้ใส่ปุ๋ย กทม. โดยหว่านกระจายให้ทั่วหลุมก่อนปลูกพรรณไม้บางชนิด เช่น ปรง อากาเว่เฟอร์เครีย ปาล์มชนิดต่างๆต้องรวบมัดใบไว้ ก่อนที่จะถอดกระถางปลูกถอดต้นไม้ออกจากกระถางด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ต้นใบหักบอบช้ำหรือดินที่หุ้มรากอยู่แตก ถ้าถอดกระถางไม่ออกให้ใส่น้ำในกระถางแช่ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จะถอดกระถางได้ง่ายขึ้นสำหรับเฟื่องฟ้าไม่ต้องถอดกระถางออกแต่ก่อนปลูกควรทุบก้นกระถางให้แตกเสียก่อนนำต้นไม้ลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้จนหมดทุกต้นกลบดินต้นไม้ปรับแต่งพรวนดินให้ดูเรียบร้อยสวยงามใส่ปุ๋ย กทม. รอบๆ ทรงพุ่มอีกครั้งแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

            การปลูกไม้พุ่มหรือไม้คลุมดิน พรรณไม้พุ่มหรือไม้คลุมดินที่จะใช้ปลูกจัดสวน ส่วนมากจะปลูกชำอยู่ในพลาสติกขนาดต่างๆ มีขั้นตอนดังนี้สับยอยดินบริเวณแปลงที่จะปลูก (ใช้ปูนขาวโรยเป็นแปลงไว้) ถ้าดินบริเวณที่จะปลูกมีลักษณะเหนียวแข็ง เมื่อขุดย่อยดินแล้วควรใส่ขุยมะพร้าวหรือกาบมะพร้าวสับหรือเปลือกถั่วหรือใบไม้ผุและปุ๋ย กทม. จะช่วยทำให้ดินร่วนซุยและมีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้นนำต้นไม้จัดวางในแปลงที่เตรียมไว้แล้วให้มีระยะห่างกันพอสมควร (ถ้าเป็นถุงชำพื้นที่ 1 ตารางเมตาวางให้ห่าง 4-5 นิ้ว จะใช้ต้นไม้ประมาณ 40-50 ต้น แต่ถ้าเป็นถุงดำพื้นที่ 1 ตารางเมตร วางห่างกัน 5-6 นิ้ว จะใช้ต้นไม้ประมาณ 25-30 ต้น ใช้เสียมขุดหลุมปลูกทีละต้น โดยขุดหลุมให้มีขนาดโตพอที่จะนำต้นลงไปปลูกได้ใส่ปุ๋ย กทม.ประมาณครึ่งกำมือ โรยปุ๋ยให้กระจายทั่วทั้งหลุมถอดถุงพลาสติกออกแล้วนำต้นลงปลูกในหลุมจนหมดทุกต้นกลบดินต้นไม้แล้วปรับแต่ง พรวนดินให้เห็นของแปลงคมชัดและให้ดูเรียบร้อยสวยงามหว่านปุ๋ย กทม. ให้ทั้งแปลงอีกครั้ง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 

        2. การค้ำยันพรรณไม้

            2.1 วัตถุประสงค์ของการค้ำยัน มีดังนี้

                2.1.1 เพื่อบังคับให้ลำต้นปรงไม่โยกเอนเมื่อประธานแรงลมเพื่อให้รากงอกได้เร็วขึ้นในกรณีของการย้ายต้นไม้ไปปลูกมีที่ปลูกใหม่

                2.1.2 ผู้ช่วยเหลือให้ลำต้นอยู่ในตำแหน่งตั้งตรง

                2.1.3 เพื่อป้องกันการคลอดลมตะแกรงรมหรือแรงปะทะจากสาเหตุอื่น

                2.1.4 การค้ำยันลำต้นเพื่อให้ได้รูปทรงตามพึงประสงค์

            2.2 วิธีการค้ำยันลำต้น

                2.2.1 การค้ำยันลำต้นที่ปฏิบัติโดยทั่วไปมี 2 วิธีคือ

                    2.2.1.1 การทำยอดลำต้นโดยใช้หลักเพียงหลักเดียว นิยมใช้กับไม้ยืนต้นที่ใหญ่ปลูกแบบไม่มีดินติดราก (bare root) หรือแบบมีตุ้มดินติดรากและมีวัสดุห่อหุ้ม (ball and bur lapped) ของไม้ยืนต้นที่มีอายุยังน้อย หลักค้ำยันนิยมใช้ไม้ไผ่ผ่าซีก แท่งไม้กลม ไม้ระแนง แท่งเหล็กกลม และนอกจากไม้ยืนต้นแล้ว เพียงประยุกต์ใช้กับไม้พุ่มได้ ถ้าเป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุมาก เกิดลำต้นเอน ล้ม อันเนื่องมาจากแรงลม การใช้หลักค้ำยันอ่านออกแบบให้แข็งแรงสวยงาม โดยใช้เหล็ก โดยมีฐานคอนกรีตรองรับ 

                    2.2.1.2 ใช้หลักยึดค้ำยันมากกว่า 1 หลักการใช้หลักยึดค้ำยันลำต้นมากกว่า 1 หลัก อาจเป็น 2, 3, 4 ทำให้การยึดลำต้นมีความแข็งแรงกว่า นิยมใช้กับไม้ยืนต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นมากกว่า 2 นิ้วขึ้นไป และเป็นไม้ยืนต้นที่ซึ่งทรงพุ่มแล้วแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม คือแรงลม และรูปทรงของแผ่นดิน (land from) การใช้หลักค้ำยันลำต้นมากกว่า 1 หลัก       มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 อย่างคือ เพื่อต้องการให้การยึดค้ำยันมีความแข็งแรง สามารถป้องกันการปะทะของลมที่พัดแรงได้ และเพื่อการตกแต่งหลักยึดค้ำยัน ทำให้ไม้ยืนต้นไม้พุ่มมองดูดีขึ้นมั่นคงขึ้น

2.3 ตัวอย่างการออกแบบค้ำยันเพื่อยึดลำต้น

            เป็นแนวคิดในการออกแบบและการใช้วัสดุค้ำยัน เพื่อยึดลำต้นของไม้ยืนต้น ไม้พุ่มและไม้ที่มีลักษณะพิเศษ ได้แก่

                2.3.1 หลักยึดค้ำยันหลักเดียว ใช้สำหรับไม้ยืนต้นอายุน้อย โดยใช้ สายยาง ลวดเบอร์ 12 หลักไม้ระแนง 

                2.3.2 หลักยึดลำต้น 2 หลัก สำหรับไม้ยืนต้นที่มีดินติดราก โดยใช้สายยาง ลวดเบอร์ 12 แท่งไม้กลม 2 นิ้ว ตุ้มดิน 

                2.3.3 ยึดลำต้น 3 จุด นิยมใช้กับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่โดยใช้ลวดยึดถือไม้ก็ได้ แต่จะแสดงวิธีการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ขนาดใหญ่ให้ลำต้นตรงโดยใช้ลวดยึด และแต่ละเส้นลวดจะมีห่วงตรึงหรือห่วงเลื่อนปรับความตึง โดยใช้สายยาง ลวดสลิง ห่วงตรึง จุดร้อยลวด คอนกรีตยึดตรึงหรือหัวหมุด

                2.3.4 การค้ำยันลำต้น 4 จุด นิยมใช้กับไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ และปาล์ม     ลำต้นเดี่ยว ยกตัวอย่างปาล์มลำต้นเดี่ยว อินทผลัมใบเงิน (Silver date palm-Phoenix Silvestre’s) โดยใช้ แผ่นพรมหรือยางกันผิวเปลือกหรือกาบใบไม้ไม่ให้ช้ำหลุดร่อนต้นไม้กลม 3 นิ้วตีกากบาทหลักยึดแท่งไม้กลม    3-4 นิ้วไม้กีบม้า (stake toe)ตะปูตียึด

                2.3.5 การค้ำยันลำต้นสำหรับต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น กระบองเพชรที่มีลำต้นสูงๆ เช่น Neoboxbaumia euphorbioides โดยใช้ พรมรองเชือก หลักยึด ไม้กีบม้า ตียึดด้วยตะปู

3. การปลูกหญ้า

การปลูกหญ้าในสวนประดับทำได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

            3.1.การทำสนามหญ้าโดยปูเต็มแผ่น เป็นที่นิยมกันมาก เพราะเมื่อปูแล้วจะได้สนามหญ้าที่เรียบเสมอเป็นผืนเดียวกันทำให้ดูสวนงาม ไม่ต้องคอยกังวลเกี่ยวกับการกำจัดวัชพืชมากเหมือนกับการปลูกโดยวิธีอื่น และยังทำให้ผิวดินถูกกัดเซาะได้น้อยวิธีการปูหญ้าเต็มแผ่น ควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้ นำแผ่นหญ้าวางเรียงราย กระจายให้ทั่วพื้นที่ที่จะปูหญ้าคลี่แผ่นหญ้าแต่ละแผ่นออกแล้วปูให้ขอบชิดชนกัน(ระวังอย่าให้ขอบแผ่นหญ้าซ้อนทับเกยกันในขณะที่ปูหญ้าแต่ละแผ่น ควรใช้ไม้หรืออิฐทุบตามรอยพับ และรอยต่อของหญ้าให้เรียบแน่นกระชับติดกับดินตัดเล็มขอบหญ้าบริเวณก้อนหิน กลุ่มพรรณไม้ ต้นไม้ ทางเดินให้เรียบร้อยสวยงามในขณะที่ปูหญ้า ควรรดน้ำดินและหญ้าที่ปูไปแล้วให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอเก็บเศษหญ้าออกจากพื้นสนามให้หมดหลังจากปูหญ้าเสร็จแล้ว ถ้าพื้นที่ปูหญ้าไม่มากนักให้ใช้จอบหรือไม้ตบทุบแผ่นหญ้า แต่ถ้าพื้นที่หญ้ากว้าง ควรใช้ลูกกลิ้งทับหญ้าหลายๆครั้ง เพื่อให้แผ่นหญ้าเรียบและกระชับกับดินดียิ่งขึ้นและเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการปูหญ้าควรแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 4 ฝ่ายดังนี้ฝ่ายลำเลียงหญ้า มีหน้าที่ลำเลียงหญ้าจากกองมาให้คนปูหญ้าคนปูหญ้ามีหน้าที่คลี่หญ้าและปูหญ้า การปูหญ้าต้องปูเดินหน้าโดยเท้าเหยียบบนแผ่นกระดานที่ทับอยู่บนผืนหญ้าที่ปูแล้ว ค่อยเคลื่อนไปเรื่อยๆ ข้อควรระวังในการปูหญ้า คือ รอยตะเข็บหรือรอยต่อ ต้องปูให้สนิท วิธีการที่ดีคือ เผลอแผ่นหญ้าขึ้นแล้วจึงกดแผ่นหญ้าทั้งสองแผ่นลงพร้อมๆกัน รอยต่อจะสนิท  ถ้าเป็นการจัดสวนแข่งขันรอยต่อของหญ้าจะต้องไม่ให้ปรากฎเห็นเวลาปูเสร็จ จึงต้องใช้แปรง กวาดปัด เพื่อให้ใบหญ้าระหว่างรอยต่อประสานกัน จะทำให้มองไม่เห็นรอยต่อ คล้ายหญ้าปูมานานจนสมบูรณ์ดีแล้ว    คนที่ทำหน้าที่เก็บซ่อมหญ้าบริเวณกลุ่มต้นไม้ทางเดินเท้าขอบมุมสวน ต้องทำด้วยความปราณีต เพื่อให้สนามหญ้ามองดูสมบูรณ์เรียบร้อยสวยงามคนทุบหญ้า อุปกรณ์ที่ใช้ได้แก่ไม้กระดานที่มีด้ามจับ คนทุบหญ้าควรสวมรองเท้าฟองน้ำหรือรองเท้าที่มีพื้นเป็นยาง เพราะมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีต้องทุบให้เรียบสนิททั้งแผ่น โดยเฉพาะส่วนรอยต่อต้องให้แนบสนิทติดกับดินเดิม ไม่เช่นนั้นหญ้าจะเหลืองแห้งตาย 





ข้อคำนึงในการปลูกหญ้าเต็มแผ่น

    (1) ในกรณีพื้นที่ปูหญ้าไม่มากนัก ควรปูเริ่มจากขอบหรือมุมของพื้นที่ด้านใดด้านหนึ่ง

    (2) หญ้าที่กำลังจะใช้ปูไม่ควรรดน้ำจนเปียกโชกเกินไป เพราะจะทำให้ลอกแผ่นหญ้าออก   จากกันลำบาก

    (3) ในการปูหญ้าต้องระวังอย่าให้ขอบแผ่นหญ้าซ้อนทับเกยกันจะทำให้ขอบหญ้าแห้งตาย

    (4) หลังจากปูหญ้าแล้วในช่วงสัปดาห์แรกๆต้องหมั่นให้น้ำสนามหญ้าให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ      (ควรให้น้ำสนามหญ้าอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง)

            3.2. การทำสนามหญ้าโดยตัดปลูกเป็นแผ่นเล็กๆ การปลูกแบบนี้เหมาะสำหรับงานที่มีงบประมาณจำกัด และพื้นที่ปูหญ้ามีลักษณะเรียบกว้างเหมาะกับหญ้านวลน้อยหรือหญ้าญี่ปุ่นมีวิธีการปลูกดังนี้

                3.2.1 คลี่แผ่นหญ้าออด แล้วตัดเป็นแผ่นเล็กๆ ขนาดประมาณ 10X10 ซ.ม. หรือ 15X 15ซ.ม. (อาจใหญ่หรือเล็กกว่านี้ก็ได้)

                3.2.2 รดน้ำพื้นที่ที่จะปูหญ้าให้ชุ่ม

                3.2.3 นำแผ่นหญ้าที่ตัดแล้วไปปลูกโดยจับแผ่นหญ้ากดให้ส่วนของรากจมลงในดินปลูกให้หญ้าแต่ละแผ่นห่างกันประมาฯ 5-10 ซ.ม. (อาจใช้ระยะแคบหรือห่างมากกว่านี้ก็ได้)

                3.2.4 ใช้ไม้หรือจอบตบทุบแผ่นหญ้าหรือใช้ลูกกลิ้งทับแผ่นหญ้าให้เรียบและกระชับกับดินอีกครั้งหนึ่ง

                3.2.5 หมั่นคอยรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ

3.3. การทำสนามหญ้าโดยวิธีปักดำ การปลูกหญ้าโดยวิธีปักดำ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเหมาะกับหญ้ามาเลเซีย มีวิธีการปลุกดังนี้

            3.3.1 เตรียมหญ้ามาเลเซียโดยถอนต้นหญ้าจากแปลงปลูกแล้วตัดปลายรากและปลายใบออก 1 ใน 3 ของความยาวรากและต้นหญ้า เก็บหญ้าไว้ในที่ร่มพรมน้ำให้ชื้น

            3.3.2 เตรียมพื้นที่ปลูกหญ้า โดยย่อยดินให้ละเอียดแล้วขุดสับดินให้เป็นร่องยาวตามลักษณะของพื้นที่ ให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 3-5 นิ้ว

            3.3.3 นำต้นหญ้าวางลงในร่องให้แต่ละต้นห่างกันประมาณ 1-2 นิ้ว       แล้วกลบดินให้เสมอกับระดับดินเดิม

        สรุปข้อปฎิบัติหลังจากการปูหญ้าสวนประดับ

        1. ใช้กรรไกรหรือมีดที่คมๆตัดเล็มขอบหญ้าบริเวณโคนต้นไม้ กลุ่มต้นไม้ เพื่อให้เห็นขอบสนามเด่นชัด

        2. ซ่อมหญ้าในส่วนที่ยังไม่ปราณีต ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม

        3. ทุบหญ้าซ้ำหรือใช้ลูกกลิ้งกิ้งหลายๆครั้งในบริเวณที่เตรียมดินไม่ค่อยเรียบร้อยหรือบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างหญ้าหนากับหญ้าบาง

        4. ในการปูหญ้าบริเวณพื้นที่ขนาดเล็กหรือการปูในสวนหย่อมที่มีการแข่งขัน ควรปูด้วยความปราณีต ใช้กรรไกรตัดเล็มขอบตัดซ่อมปะหญ้า และตัดหญ้าให้เรียบสม่ำเสมอทั้งพื้นที่

        5. หลังจากปูหญ้าแล้วต้องรีบให้น้ำทันทีและควรให้น้ำตลอดทั้งวันในช่วงสัปดาห์แรก หลังจากนั้นจึงค่อยให้น้ำน้อยลง เมื่อรากหญ้าเดินดีแล้วควรให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ให้ในตอนเช้าจะดีกว่าเวลาอื่น

        6. ในช่วงสัปดาห์แรกหมั่นใช้ลูกกลิ้งทับหญ้าหรือใช้ไม้ตบทุบหญ้าทุกๆ วัน จะช่วยทำให้สนามหญ้าเรียบสวยงามขึ้น

        7. หลังจากปูหญ้าได้นานประมาณ 1 เดือน ให้เริ่มตัดหญ้าได้ จากนั้นเมื่อครบ       10 วัน หรือ 15 วัน ให้ตัดหญ้าครึ่งหนึ่ง

        8. เมื่อจัดสวนปูหญ้าเสร็จแล้วในช่วง 1 เดือนแรกควรใช้เชือกขึงปิดกั้นหรือเขียนข้อความห้ามเข้า ติดไว้บริเวณขอบเขตของสวน เพื่อป้องกันการเข้าไปเหยียบย่ำ จะทำให้หญ้าบอบช้ำและเป็นหลุมเป็นบ่อ

        4. ประเภทของพรรณไม้

        การเลือกใช้พรรณไม้เพื่อนำมาจัดสวน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 

        1. ไม้ต้น (trees) หมายถึง พรรณไม้ที่มีอายุยืน มีเนื้อไม้ (woody plants) ซึ่งอาจจะมีเนื้อไม้อ่อน (soft wood) หรือมีเนื้อไม้แข็ง (hard wood) ไม้ต้นจะมีความสูงจากพื้นดินตั้งแต่ 240 เซนติเมตรขึ้นไป จุดประสงค์ของการปลูกไม้ต้นเพื่อเป็นร่มเงาป้องกันฝุ่นละออง กรองเสียงและเป็นจุดสนใจในที่โล่ง            การออกแบบจัดสวนในพื้นที่กว้างๆ จะใช้ไม้ต้นเป็นไม้หลักในการวางแผนเบื้องต้น ซึ่งไม้ต้นอาจจะเป็นไม้        ที่มีดอก หรือไม่มีก็ได้ เช่น ก้ามปู แคแสด ราชพฤกษ์ นนทรี ศรีตรัง ประดู่ หางนกยูงฝรั่ง ฯลฯ หรืออาจจะเป็นไม้ผล เช่น ขนุน ชมพู มะม่วง สาเก เป็นต้น 

        2. ไม้พุ่ม (shrubs) เป็นไม้ที่มีลำต้นตั้งตรงเป็นอิสระ มีเนื้อไม้ มักจะแตกกิ่งก้านแขนงออกมาในระดับที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก ไม้พุ่มเป็นไม้หลักที่สองรองจากไม้ต้น จุดประสงค์ของการปลูกไม้พุ่ม       เพื่อเป็นขอบเขต ทิศทาง หรือเน้นจุดสนใจต่างๆ ไม้พุ่มจะแบ่งออกเป็น 

            2.1  ไม้พุ่มเตี้ย ความสูงจากพื้นดินเฉลี่ยไม่เกิน 45 เซนติเมตร ใช้ปลูกเป็นแปลง เป็นกอ เป็นแถว มักจะเป็นไม้ให้ดอกสวยงาม เช่น เข็มญี่ปุ่น ดาวเรือง ดาวกระจาย หงอนไก่ บานชื่น บานไม่รู้โรย เป็นต้น 

            2.2  ไม้พุ่มเล็ก ความสูงจากพื้นดินเฉลี่ยไม่เกิน 90 เซนติเมตร ใช้ปลูกเป็นแนวในลักษณะรั้วหรือปลูกสองข้างทางเพื่อนำสายตา เช่น ขาไก่ เข็มเศรษฐี พยับหมอก ผกากรอง หูปลาช่อน เป็นต้น 

            2.3  ไม้พุ่มกลาง ความสูงจากพื้นดินเฉลี่ยไม่เกิน 180 เซนติเมตร ใช้เป็นฉากหลัง      ในการจัดสวนขนาดเล็ก เช่น ยี่โถ ยี่เข่ง ประยงค์ เป็นต้น 

            2.4  ไม้พุ่มสูง ความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 240 เซนติเมตร ใช้ปลูกเป็นไม้พุ่มไว้ตัดแต่ง เช่น แก้ว หรือเสริมจุดต่างๆ เช่น บุหงาสาหรี่ ทรงบาดาล หางนกยูงไทย เป็นต้น 

        3. ไม้เลื้อย (vines) เป็นไม้ที่เจริญเติบโตทุกทิศทาง ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ตามลำพัง จะต้องพาดพิงพันเกาะพืชอื่น หรือสิ่งค้ำจุน หรือไม่ก็เลื้อยไปตามผิวดิน จุดประสงค์ของการปลูกไม้เลื้อยเพื่อทำรั้ว หรือทำร่มบังแดด ป้องกันลม ฝุ่น รวมทั้งปกปิดส่วนของอาคารที่ไม่น่าดู ไม้เลื้อยมีลักษณะดีเด่นที่ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย มีการเคลื่อนไหว ซึ่งไม้เลื้อยส่วนใหญ่จะมีดอกสวยงามและมีกลิ่นหอม ช่วยให้บรรยากาศของสวนสวยงาม มีเสน่ห์ยิ่งขึ้น ตัวอย่างของไม้เลื้อย ได้แก่ การเวก บานบุรี พวงชมพู พุทธชาติ  พวงทองเถา ชมนาค เล็บมือนาง ฯลฯ 

        4. ไม้คลุมดิน  (ground covers) เป็นไม้ที่มีต้นเตี้ย เจริญเติบโตเป็นกลุ่มก้อนติดๆ กัน         ไม้คลุมดินจะมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 30 เซนติเมตร จุดประสงค์ของการปลูกไม้คลุมดินก็เพื่อจะยึดผิวหน้าดินไม่ให้พังทะลาย ลดความร้อนระอุของผิวดินอันเนื่องจากแสงแดด รวมทั้งใช้ตกแต่งสวนหย่อม หรือปลูกประดับโคนต้นไม้ใหญ่ เพื่อเพิ่มความงามโดยใช้ลักษณะผิวสัมผัส รวมทั้งสีสันของหมู่พรรณไม้นั้นๆ ตัวอย่างของไม้คลุมดิน ได้แก่ หญ้าต่างๆ กระดุมทองเลื้อย แพรเซียงไฮ้ ผักเป็ดเขียว ผักเป็ดแดง ฟ้าประดิษฐ์ เป็นต้น 



        5. ไม้น้ำ (aquatic plants) เป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตอยู่ในน้ำได้ดี แบ่งออกเป็น

            5.1 ไม้น้ำที่รากหยั่งถึงดิน เช่น กกธูป กกญี่ปุ่น บัวชนิดต่างๆ ทั้งบัวหลวง        (ปทุมชาติ : lotus) และบัวกินสาย บัวผัน บัวเผื่อน (อุบลชาติ : water-lily) 

            5.2  ไม้น้ำที่รากลอยน้ำ เช่น ผักบุ้ง  ผักกระเฉด  ผักตบชวา จอก แหน เป็นต้น 

        พรรณไม้ต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วการเลือกใช้จะต้องพิจารณาว่า พรรณไม้นั้นๆ เป็นไม้กลางแจ้ง (outdoor plants) หรือไม้ในร่ม (indoor plants) เป็นไม้ดอก (flowering plants) หรือไม้ใบ (foliage plants) จะปลูกเป็นกอในแปลงหรือปลูกเป็นไม้กระถาง (pot plants) แล้วนำไปวางประดับตามที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีไม้ประเภทอื่นๆ เช่น ไม้ในตระกูลปาล์ม ไผ่ สน ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดสวนได้สวยงาม การเลือกพรรณไม้สำหรับการจัดสวนที่ถูกต้อง จะทำให้การจัด ตกแต่ง ตลอดจนการดูแลรักษาสวน ทำได้ง่าย สวนจะมีลักษณะสวยงามและอำนวยประโยชน์ในการใช้สอยให้กับเจ้าของได้อย่างดียิ่ง

5. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE)) 

        หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงานโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆหรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วย      เพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

        6. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554

        ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA)และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)





        7. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน      พ.ศ. 2554

        หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

        มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

        ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย           ให้นายจ้างจัดให้มี        

        การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง       ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

        มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

18.2 การสอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ