หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมพื้นที่

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-1-055ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมพื้นที่

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักตกแต่งสวนสาธารณะ ระดับ 1

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนี้ประกอบไปด้วย การปรับพื้นที่จัดเตรียมดิน สำหรับการจัดพื้นที่การจัดสวน ผู้ปฎิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการปรับพื้นที่จัดเตรียมดิน วางแผน กำหนดขั้นตอนการปฎิบัติงานตามแบบแปลนได้อย่างถูกต้อง   

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03311 สำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวน 1.1 อธิบายหลักการสำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวน ในด้านของสภาพภูมิอากาศบริเวณพื้นที่ ทิศ สิ่งก่อสร้าง พรรณไม้เดิม 03311.01 79894
03311 สำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวน 1.2 ระบุประโยชน์ของการสำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวนก่อนการจัดสวน 03311.02 79895
03311 สำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวน 1.3 รายงานผลการสำรวจพื้นที่ในการใช้จัดสวน 03311.03 79896
03312 สำรวจแนวท่อน้ำท่อประปา 2.1 อธิบายหลักการสำรวจแนวท่อน้ำ ท่อประปา 03312.01 79897
03312 สำรวจแนวท่อน้ำท่อประปา 2.2 อธิบายหลักการสำรวจแนวท่อประปา 03312.02 79898
03312 สำรวจแนวท่อน้ำท่อประปา 2.3 รายงานผลการสำรวจแนวท่อน้ำ ท่อประปา 03312.03 79899
03313 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสวนตามแบบแปลน 3.1 ระบุวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสวนตามแบบแปลน 03313.01 79900
03313 จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดสวนตามแบบแปลน 3.2 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ใช้ในการจัดสวน 03313.02 79901

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการใช้เครื่องมือการเกษตร

2. ความสามารถในการขุดดิน ปรับดิน เพื่อปลูกพันธ์พืชและเพื่องานระบบ

3. ความสามารถในการใช้วัสดุรองก้นหลุม ปุ๋ยชนิดต่างๆ ก่อนการปลูกพันธ์พืช

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในการใช้เครื่องมือการเกษตร

2. ความรู้ในการขุดดิน ปรับดิน เพื่อปลูกพันธ์พืชชนิดต่างๆและเพื่องานระบบ

3. ความรู้ในการใช้วัสดุรองก้นหลุม ปุ๋ยชนิดต่างๆ ก่อนการปลูกพันธ์พืช

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1.วุฒิการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6

        2.หนังสือรับรองการประสบการณ์ทำงาน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        1. ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือการเกษตร 

        2. ผู้เข้ารับการประเมินมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการใช้เตรียมพื้นที่จัดและตกแต่งสวน

    (ง) วิธีการประเมิน

        1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้ 

        2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

        3. การประเมินผลโดยการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

1 . การเตรียมพื้นที่ (Ground preparation)  เป็นขั้นตอนของการปลูกเพื่อให้ต้นไม้อยู่รอด (Survival) สูง   และมีการเจริญเติบโตในระยะแรกเร็ว โดยการเตรียมพื้นที่เพื่อ ควบคุมการแข่งขันของพันธ์ไม้ จำกัดอุปสรรคด้านสรีระของต้นไม้ต่อการเจริญเติบโต ปรับปรุงโครงสร้างของดินในระยะแรกเพื่อช่วยในการพัฒนารากของต้นไม้และเพื่อให้ต้นไม้รับออกซิเจน น้ำและอาหารอย่างเพียงพอ การปรับปรุงการระบายน้ำจากพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wes sites) และรักษาความชื้นในที่แห้งแล้ง (Dry sites) โดยการเตรียมพื้นที่มี 2 ลักษณะ คือ โดยใช้แรงงานคน (Manual clearance) และการใช้เครื่องจักรกล ( Mechanical clearance) (สัจจาพร หงษ์ทองและคณะ,2553) การเตรียมดินปรับแต่งพื้นที่ จะต้องเตรียมพื้นที่โดยดายหญ้า เก็บวัชพืชออกจากพื้นที่ให้หมด แล้วใช้หน้าดินร่วน ถมปรับแต่งพื้นที่ให้ได้รูปเนดินตามที่ต้องการ โดยทั่วไปนิยมแต่งเนินดินให้มีรูปทรงต่างๆ ได้แก่



        1.1.เนินแบบขั้นบันได การทำเป็นชั้นๆโดยแต่ละชั้นจะคำนึงถึงเส้นระดับ ( Conture Line) ทำให้เนินแบบนี้มีมุมมองได้หลายระดับ แต่มีข้อเสียตรงที่ถ้าปรับเนินดินแต่ละชั้นเป็นมุม จะทำให้การตัดหญ้าตรงตัดได้ต้องใช้คนเล็มเก็บงานรอยต่อของเนินลำบาก มาสามารถใช้เครื่อง  แต่ถ้าปรับให้เนินแต่ละชั้นมีลักษณะโค้งมนจะทำให้ตัดหญ้าได้สะดวกกว่า นิยมทำเนินลักษณะนี้ในพื้นที่บริเวณไม่กว้าง และพื้นที่ความลาดเท เช่น บริเวณริมลำน้ำที่มีชายตลิ่งหรือบริเวณบ้านที่มีบ้านอยู่บนเนิน

        1.2. สร้างเนินดินให้มีลักษณะนูนคล้ายหลังเต่า รูปเนินจะดูกลมกลึง มีความสูงต่ำคล้ายธรรมชาติ มีส่วนโค้ง เว้า นูน หากผู้จัดศิลปะในการตกแต่งเนินแบบนี้จะมีความสวยงามมาก เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีบริเวณกว้าง เช่นสนามกอล์ฟ รีสอร์ท บริษัท โรงงาน เนินดินที่สวยงามควรมีลักษณะดังนี้  นูนเด่นดูเป็นธรรมชาติ ผสมผสานกลมกลืนกับกลุ่มหินและพรรณไม้ ความสูงของเนินแต่ละเนินลดหลั่นกันอย่างเหมาะสม เส้นขอบของเนินมีลีลาอ่อนช้อยสอดคล้องระหว่างต่อเนิน มองดูไม่ขัดความรู้สึก

        1.3. เนินแบบลูกคลื่น เป็นเนินที่มีลักษณะเป็นลูกลอนเหมือนลูกคลื่นทะเล ผู้ที่จะสร้างเนินแบบนี้ได้สวยงามต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและมีประสบการณ์สูง นิยมทำในสนามกอล์ฟที่มีแต่เนินหญ้าและบ่อทราย ปกติจะไม่นิยมปลูกพรรณไม้ใดๆบนเนินลักษณะนี้ ทำค่อนข้างยาก เพราะต้องใช้เครื่องมือหนักสร้างแบบหลังเต่าคร่าวๆก่อน แล้วจึงแต่งเนินให้เป็นลูกลอนแบบคลื่นน้ำ

        การปรับปรุงดินเป็นงานต่อเนื่องจากการปรับแต่งเนิน ควรปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะดินที่เป็นดินเหนียว ควรใส่ถ่านแกลบ ทรายและปูนขาว เพื่อปรับสภาพ พี.เอช ของดินและจะช่วยทำให้ดินร่วนโปร่งระบายน้ำ อากาศได้ดีขึ้น ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ย กทม. หากเป็นปุ๋ยคอกควรหมักให้เมล็ดวัชพืชตายก่อน จึงจะนำไปใช้ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาวัชพืชงอกในภายหลัง

                  ข้อคำนึงในการปรับแต่งพื้นที่

            1. พื้นที่ๆกว้างมากๆ ควรใช้กล้องส่องจับระดับพื้นที่จะได้ทราบความสูงต่ำ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปรับถมพื้นที่ที่กว้างมากๆ ควรใช้รถแทรคเตอร์ล้อยาง รถตีนตะขาบหรือรถเกรด แต่ถ้าพื้นที่ไม่มากอาจใช้จอบ คราด จะทำได้สะดวกและประหยัดกว่า ระดับของพื้นที่หากต้องการความละเอียดมากๆ ควรใช้สายยางใส่น้ำจับระดับแล้วใช้หมุดตอกทำเครื่องหมายบอกระดับ

            2. เก็บเศษวัสดุ อิฐซีเมนต์ วัชพืช กิ่งไม้ ท่อนไม้ออกจากพื้นที่ให้หมด เพื่อให้หญ้าเจริญได้สม่ำเสนอ  และเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องตัดหญ้าได้รับความเสียหายขณะปฎิบัติงาน

            3. ถ้าบริเวณที่จะต้องถมดินให้สูงกว่าระดับดินเดิมมากๆ และมีต้นไม้ใหญ่อยู่ควรก่อฉาบปูนรอบๆโคนต้นไม้ไว้ก่อนที่จะถมเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้ตาย

            4. การปรับพื้นที่รอบตัวอาคารในกรณีที่ถนนภายในบ้านอยู่สูงกว่าพื้นอาคารต้องปรับพื้นที่ให้ลาดเทไปสู่จุดระดับระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าตัวบ้าน  แต่ถ้าถนนภายในบ้านอยู่ต่ำกว่าพื้นบ้านควรปรับพื้นที่ให้ลาดเทไปที่ถนน เพื่อให้น้ำจากสนามหญ้าระบายไปที่ถนนและไหลลงสู่ร่องหรือท่อระบายน้ำ      อีกทีหนึ่ง

            5. บริเวณที่มีความลาดเทมากๆ หากปรับพื้นที่ให้มีความลาดเทน้อยกว่า 25 % ไม่ได้ก็ควรจะก่ออิฐหรือกำแพงคอนกรีตเป็นผนังกั้นไว้ หรืออาจใช้หินวางเป็นชั้นกันดินไหลและใช้เป็นขั้นบันไดเหยียบขึ้นเนินได้ด้วย

            6. ออกแบบปรับแต่งพื้นที่ให้เป็นเนินลักษณะต่างๆ เพื่อให้สนามหญ้ามีความโดดเด่นสวยงาม

2. การสร้างลำธาร น้ำตก

    สิ่งดังกล่าวนี้หากได้กำหนดไว้ในแบบจะจ้องดำเนินไปพร้อมๆกับการปรับแต่งพื้นที่ 

        2.1.การสร้างลำธารและน้ำตก มีขั้นตอนในการปฎิบัติดังนี้

            2.1.1 เลือกสถานที่ทำลำธาร บ่อ โดยพิจารณาเลือกบริเวณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ

            2.1.2 กำหนดขอบเขตรูปทรงของบ่อลำธาร ทำได้ดังนี้

                หากผู้ปฎิบัติมีประสบการณ์หรือมีความชำนาญสูง อาจใช้ไม้ขีดลงไปบนพื้นที่ให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการได้เลย

            ถ้าผู้ปฎิบัติยังมีประสบการณ์น้อยให้ใช้สายยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5- 1นิ้ว เป็นอุปกรณ์ในการกำหนดของเขตรูปทรงของลำธารจะทำได้ง่ายและสะดวกกว่า จากนั้นจึงใช้ปูนขาวโรยตามแนวสายยาง

            2.1.3 ขุดดินลำธารให้ได้ความลึกตามที่ต้องการ (ประมาณ 0.5-1 เมตร)

            2.1.4 หาระดับขอบบ่อ โดยใช้อุปกรณ์ดังนี้

                     (1) สายยางใช้กับบ่อขนาดเล็ก

                (2) กล้องส่องระดับใช้กับบ่อที่มีความกว้างใหญ่

            2.1.5 ขุดฝังท่อต่างๆดังนี้

                (1) ท่อสะดือบ่อ เพื่อใช้สำหรับระบายน้ำทื้งหรือล้างบ่อ

                (2) ท่อสำหรับดูดน้ำหมุนเวียนทำน้ำตก

                (3) ท่อระบายน้ำล้น

            2.1.6 การทำพื้นบ่อปฎิบัติดังนี้

                (1) ขุดหลุมให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.50 เมตร ลึกประมาณ 0.30 เมตร เตรียมไว้สำหรับจุ่มหัวกระโหลกดูดน้ำทำน้ำตก ส่วนบริเวณที่ปลูกบัวเล็กน้อย ให้ขุดหลุมขนาดโตกว่ากระถางปลูกบัวเล็กน้อย นำกระถางบัวใส่หลุมไว้แล้ว เทคอนกรีตให้รอบกระถางพอคอนกรีตใกล้จะแห้งให้ดึงกระถางออก





                (2) ถ้าดินมีลักษณะอ่อนตัวให้ตอกเสาเข็มบริเวณที่จำทำพื้นลำธารด้วย

                (3) ขุดปรับแต่งก้นบ่อให้มีความลาดเทไปทางสะดือบ่อ เพื่อให้สะดวกต่อการล้างทำความสะอาดบ่อในโอกาสต่อไป

                (4) โรยหินที่ก้นบ่อแล้วตบทุบแน่น

                (5) ผูกเหล็กเทคอนกรีตพื้นลำธาร

            2.1.7 การทำผนังบ่อ ถ้าเป็นบ่อขนาดเล็กอาจก่ออิฐฉาบปูน แต่ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ให้ใช้วิธีการโครงเหล็กเส้น ผูกเหล็กแล้วเทคอนกรีต จะทำให้บ่อแข็งแรงไม่แตกร้าวได้ง่ายและควรใส่น้ำยากันซึมด้วย ที่ขอบของบ่อลำธารต้องจับระดับเพื่อให้ระดับน้ำเสมอกับขอบ ตรงบริเวณที่จะมีการวางหินให้เว้นช่องว่างไว้

            2.1.8 ทำชั้นน้ำตก ปฎิบัติดังนี้

            ถ้าดินบริเวณที่จะทำชั้นน้ำตกอ่อนตัว ควรตอกเสาเข็มเพื่อป้องกันชั้นน้ำตกอ่อนตัว ควรตอกเสาเข็มเพื่อป้องกันชั้นน้ำตกทรุดภายหลัง

            ผูกเหล็กเส้นเทคอนกรีตบริเวณที่จะทำแท่นน้ำตก แล้วก่ออิฐทำแท่นน้ำตกให้มีลักษณะเป็นชั้นตามแบบที่กำหนดไว้

            2.1.9 จัดวางหินทำชั้นน้ำตกและวางหินขอบลำธารถ้าหินที่จะวางขอบลำธารมีขนาดใหญ่มากๆ ตรงจุดที่จะวางหินควรตอกเสาเข็มเสียก่อน แล้วเททับด้วยคอนกรีต จากนั้นจึงนำหินไปวาง ใช้ปูนซีเมนต์อุดยารอยต่อ อย่าให้น้ำรั้วซึ่มได้ (ถ้าหินที่จะวางขอบลำธารมีขนาดไม่เกิน 100 กก. อาจไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มก็ได้)

            2.1.10 ฉาบปูนบริเวณแท่นน้ำตกและผนังคอนกรีตให้อุดยาแนวให้ดีเป็นกรณ๊พิเศาและควรใส่ยากันซึมลงในส่วนผสมของคอนกรีตด้วย

            ข้อคำนึงในการสร้างบ่อ ลำธาร

                1. ในการผสมคอนกรีตเทพื้นหรือฉาบผนัง ควรผสมน้ำยากันซึมเข้าไปด้วย

                2. หลังจากทำบ่อเสร็จแล้ว ควรปล่อยน้ำใส่บ่อหรือบ่มปูนไว้ 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงถ่ายเปลี่ยนน้ำ

                3. ถ้าบ่อมีขนาดไม่ใหญ่โต มีพื้นที่ไม่เกิน 10 ตารางเมตร ผนังบ่อควรทำให้มีลักษณะตั้งตรงจะดีกว่าแบบลาดเอียง เพราะจะทำให้บ่อดูลึกและกว้างเพิ่มขึ้น

                4. ในกรณีทำบ่อเลียนแบบธรรมชาติควรมีการจัดวางหินบริเวณขอบบ่อและก้นบ่อด้วย

                5. บริเวณชายบ่อที่ตื้นเขิน อาจทำเป็นหาดกรวดโดยใช้กรวดกดติดกับปูนซีเมนต์

                6. ในระหว่าขุดพื้นบ่อหากต้องการต้องการปลูก ไม้น้ำให้ขุดหลุมให้มีขนาดโตพอที่จะวางกระถาง

                7. บริเวณข้างบ่อที่มองเห็นท่อ เช่นท่อระบายน้ำล้น ท่อดูดน้ำหมุนเวียน ควรวางหินหรือปลูกพรรณไม้ปิดบังไว้



    3. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร 

เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งานคือ

        3.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์

        3.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์     ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง

        3.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ย เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด

        3.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง 

        3.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนาม เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกรตัดหญ้า มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า

        3.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณ ประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง

        3.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 

            3.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยว และแบบสองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได 

            3.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่

                    3.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแวมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวด หินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ

                    3.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ 

                    3.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์

        3.8 การทำความสะอาดและเก็บรักษาเครื่องมือการเกษตรเบื้องต้น (โยธะคง, 2541)

        จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน อีเตอร์ จอบดายหญ้าหรือจอบถาก และมีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด มีดดายหญ้า มีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง และทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม

        กรรไกรตัดแต่งกิ่ง กรรไกรตัดหญ้า และเลื่อยตัดแต่งกิ่ง ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมหรือหยอดน้ำมัน เก็บเข้าที่โดยการแขวน

บัวรดน้ำ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้แล้วควรล้างทำความสะอาดถัง ตัวถัง และฝักบัวเพื่อป้องกันการอุดตัน คว่ำให้แห้งและเก็บเข้าที่

        สปริงเกอร์ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้งานควรใช้น้ำแรงดันสูงล้างเพื่อป้องกันการอุดตันจากคราบสกปรกต่างๆ

        ถังน้ำ สายยาง และปุ้งกี๋ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรทำความสะอาด ทำให้แห้ง และเก็บคว่ำเข้าที่ โดยสายยางให้ม้วนเก็บเข้าที่ อย่าให้มีส่วนใดหักงอ

    4. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือ Personal Protective Equipment (PPE)) 

     หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตราย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิม การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะมีการป้องกัน และควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้น แยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่น หรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนกรรมวิธีการทำงาน ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงาน มิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือ นิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

        (ก) คำแนะนำ

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเลือกใช้ วัสดุอุปกรณ์ในการการเตรียมพื้นที่ แต่ละประเภทของลักษณะพื้นที่

         2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับประเภทของดิน ลักษณะของดิน รูปแบบของงานระบบต่างๆ

         (ข) คำอธิบายรายละเอียด    

        1. การปรับที่ (Getting plant) หมายถึง การปรับสภาพหน้าดินตามระดับที่ต้องการ ทำการปรับหน้าดินให้เรียบตามที่ต้องการ การปรับดินจะต้องคำนึงถึงการระบายน้ำด้วย จะต้องไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนจะต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ใกล้ชายคาบ้าน ซึ่งน้ำจะไหลลงมามากเมื่อฝนตก ควรพิจารณาปรับทางระบายน้ำ รวมทั้งการเลือกพรรณไม้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ (สัจจาพร หงษ์ทองและคณะ,2553)

        2. การปรับหลุมปลูกต้นไม้ (Soil preparation) หมายถึง วิธีการเตรียมตำแหน่งของต้นไม้นั้นๆจากแปลน ขนาดของหลุมตามชนิดของต้นไม้ เมื่อขุดดินออกแล้วควรย่อยดินให้ละเอียดผสมกับปุ๋ย เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอต้นไม้ การขุดหลุมปลูกไม้พุ่มควรขุดลึกประมาณ 0.4-0.5 เมตร ถ้าไม้พุ่มอยู่ติดกันหลายต้น ควรขุดต่อกันเป็นแปลง ตามรูปร่างของตำแหน่งที่จะปลูกขุดหลุมปลูกไม้คลุมดินควรขุดลึกเพียง 0.25 – 0.3 เมตร ดินปลูกก็ดูตามชนิดของต้นไม้ด้วย ไม้คลุมดินที่นิยมปลูกทั่วไป คาดตะกั่ว, หัวใจม่วง, ก้ามปูหลุด, มหากาษ, โป๊ยเซียนแคระ ฯลฯ[1]  

        3. การกำจัดวัชพืช (Weed Control)  ในระยะที่ทำการขุดหลุม เพื่อเตรียมปลูกต้นไม้นั้นหรือหลังจากปรับที่ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ วัชพืชก็จะงอกขึ้นมาภายหลัง ก็ควรกำจัดวัชพืชบริเวณนั้นออกให้ได้มากที่สุด ถ้ามีมากควรใช้ยากำจัดวัชพืชฉีดแต่ถ้าฉีดก็ควรทิ้งไว้นานพอสมควร (ตามฉลากยา) จึงปลูกหญ้า [2]  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 กระบวนการประเมินความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดแผน ดำเนินงานปรับพื้นที่ตามแบบแปลน ใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในการปรับพื้นที่ เตรียมพื้นที่ระบบงานสวน ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบไฟ  การกำจัดวัชพืชเพื่องานจัดสวนจากการทดสอบความรู้ แฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์

    18.2 กระบวนการประเมินความรู้และทักษะปรับระดับแต่งพื้นที่  ปรับหลุมเตรียมปลูกพรรณไม้การดูแลต้นไม้ในระยะรับประกัน การดูแลการทำงานของงานระบบ ประเมินจากแบบทดสอบการปฎิบัติงาน แฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ