หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการจัดสร้างงานตามแบบและแผนงานที่กำหนด

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-4-030ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการจัดสร้างงานตามแบบและแผนงานที่กำหนด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

    อาชีพนักจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความสามารถเข้าใจในรูปแบบและรายการ มีทักษะในการควบคุมงานให้มีความสอดคล้องกับแผนงานโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    6162 นักภูมิสถาปัตย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02231 รับใบงานและรูปแบบและรายการเข้าใจลักษณะพื้นที่ ประกอบรูปแบบและรายการ 1.1 ระบุรายละเอียดของงานโครงสร้างตามรูปแบบและรายการ 02231.01 79641
02231 รับใบงานและรูปแบบและรายการเข้าใจลักษณะพื้นที่ ประกอบรูปแบบและรายการ 1.2 ระบุรายละเอียดของงานระบบสาธารณูปโภคตามรูปแบบและรายการ 02231.02 79642
02231 รับใบงานและรูปแบบและรายการเข้าใจลักษณะพื้นที่ ประกอบรูปแบบและรายการ 1.3 ระบุรายละเอียดของพรรณไม้ตามรูปแบบและรายการ 02231.03 79643
02232 เตรียมพื้นที่เพื่อการทำงานโครงสร้าง งานระบบสาธารณูปโภค และพรรณไม้ 2.1 กำหนดลักษณะของพื้นที่ที่จะทำงานโครงสร้าง 02232.01 79644
02232 เตรียมพื้นที่เพื่อการทำงานโครงสร้าง งานระบบสาธารณูปโภค และพรรณไม้ 2.2 กำหนดลักษณะของพื้นที่ที่จะทำงานระบบสาธารณูปโภค 02232.02 79645
02232 เตรียมพื้นที่เพื่อการทำงานโครงสร้าง งานระบบสาธารณูปโภค และพรรณไม้ 2.3 กำหนดลักษณะของพื้นที่ที่จะทำงานพรรณไม้ 02232.03 79646

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    สามารถเข้าใจถึงรูปแบบและรายการ, ทำการปฏิบัติการควบคุมงานตามแผน, แก้ปัญหาหน้างานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    ความรู้เรื่องงานเขียนแบบ เช่น รูปแปลนความหมายของรูปแปลนความหมายของรูปด้านความหมายของรูปตัดแบบขยายรายละเอียดทางวิศวกรรม เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

        2. เอกสารรับรองผลจากการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

        3. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบและรายการ ทักษะ และความเข้าใจในการปฏิบัติงานจริงและการแก้ปัญหาในการสร้างงานได้ โดยพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน หลักฐานจากแบบทดสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์ในสมรรถนะนี้ ครอบคลุมการกำกับดูแล ตรวจสอบและประเมินผลงาน ในสายงานด้านพรรณไม้ ด้านโครงสร้างตกแต่ง และด้านระบบสาธารณูปโภค

    (ก) คำแนะนำ 

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและรายการ

        2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะความสามารถในการควบคุมงาน

        3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และเข้าใจในปัญหาของงานและสามารถแก้ปัญหาได้

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        ข1 ความรู้เรื่องงานเขียนแบบ 

        งานเขียนแบบเป็นการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ด้วยการเขียนหรือวาดเส้น รูปภาพสัญลักษณ์ และรายการประกอบแบบ ลงบนกระดาษเขียนแบบหรือคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้การสร้างหรือการซ่อมแซมชิ้นงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยแบบจะแสดงรายละเอียดหรือข้อกำหนดของงานที่ช่างหรือผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจตรงกันกับผู้ออกแบบ สามารถอ่านแบบได้ถูกต้องและปฏิบัติตามรูปแบบรายการที่กำหนดไว้ได้โดยลักษณะของแบบโดยทั่วไปมี 3 ลักษณะ ได้แก่ รูปแปลนและรูปด้าน รูปตัดและรูปขยาย (ฝ่ายวิชาการ บริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด, 2553)

            ข1.1 รูปแปลน

            ในอดีตแผนที่เป็นแบบแผ่นแรกของมนุษย์ ที่แสดงตำแหน่งที่ตั้ง ภูมิประเทศ ทิศเหนือ ถนน แม่น้ำ แหล่งน้ำ ภูเขา สิ่งก่อสร้างต่างๆ มีประโยชน์ต่อการเดินทาง และการค้นหาทรัพย์สมบัติ การเขียนแผนที่ในยุคแรกอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านใช้จินตนาการขึ้นเอง นับเป็นการฝึกเขียนภาพ 2 มิติ ที่มีลักษณะคล้ายการเขียนแปลนพื้นหรือผังพื้นในปัจจุบัน

        ความหมายของรูปแปลน

            รูปแปลนหมายถึง รูปตัดในทางราบหรือทางนอนเป็นภาพ 2 มิติ (กว้างกับยาว)   ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับขนาดรูปร่าง การจัดแบบพื้นที่ใช้สอย เขียนออกมาในลักษณะของสัญลักษณ์เส้น คำย่อ ตัวเลข ตัวอักษร ระดับความสูง และมาตราส่วนประกอบกัน เพื่อใช้สื่อความหมาย การเรียกชื่อแปลนพื้นจะกำหนดตามตำแหน่งของแปลนพื้นตั้งอยู่ 

        สัญลักษณ์ในรูปแปลน

            รูปแปลน เป็นแบบที่แสดงจำนวนสัญลักษณ์ที่มีมากที่สุด ได้แก่ เสา ผนัง ประตู หน้าต่าง บันได ทิศเหนือ การบอกขนาดมิติกว้างยาว ระดับความสูง ชื่อห้อง วัสดุปูพื้น แนวเส้นตัด รายการประกอบแบบ และรหัสรูปด้าน เป็นต้น

            ข1.2 รูปด้าน

            รูปภาพที่คนทั่วไปทำความเข้าใจและอ่านออกได้ง่ายที่สุด อีกทั้งบุคคลที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ในวิชาเขียนแบบมาก่อน และเป็นภาพที่เกือบทุกคนสามารถจะร่างภาพออกมาเป็นลักษณะของภาพลายเส้นด้วยตนเองอย่างคร่าวๆ เนื่องจากเป็นภาพที่พบเห็นในชีวิตประจำวันจนเคยชินต่อสายตา ภาพดังกล่าวจัดเป็นรูปทรงเรขาคณิต 2 มิติ ประเภทหนึ่งสิ่งนั้น คือ รูปด้าน

        ความหมายของรูปด้าน

            รูปด้าน (Elevation) หมายถึง รูปที่ปรากฏในแนวดิ่งของอาคารแสดงรูปร่างรายละเอียดภายนอกโดยรอบเป็นการมองในลักษณะขนานกับพื้นดินทีละด้านจนครบ 4 ด้าน ประกอบการใช้สัญลักษณ์ เส้น ตัวย่อ ตัวอักษร ตัวเลข และมาตราส่วนรวมกันเพื่อใช้สื่อความหมาย รูปด้านมีลักษณะคล้าย

        การกำหนดชื่อหรือการเรียกชื่อรูปด้าน แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

            1. กำหนดชื่อตามลักษณะของการมองเห็นภาพจากแปลนพื้น ให้ครบ 4 ด้าน เช่น รูปด้านหน้า รูปด้านซ้าย รูปด้านขวาและรูปด้านหลัง เป็นต้น เหมาะสำหรับแปลนพื้นโดยรวมเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีประตูทางเข้าหลักอยู่ด้านอาคาร

            2. กำหนดชื่อตามทิศสี่ทิศ เป็นทิศที่รูปด้านนั้นหันไปทางทิศดังกล่าว จนครบ 4 ด้าน เช่น รูปด้านทิศเหนือ รูปด้านทิศใต้ รูปด้านทิศตะวันออก และรูปด้านทิศตะวันตก เป็นต้น เหมาะสำหรับ กรณีรูปแปลนพื้นรูปทรงสี่เหลี่ยม วางในแนวขนานหรือวางตั้งฉาก กับเครื่องหมายทิศเหนือในรูปแปลนอย่างชัดเจน

            3. กำหนดชื่อตามเครื่องหมายรหัส (Code) รหัสที่ใช้กำหนดเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรให้ครบ 4 ด้าน เช่น รูปด้าน 1 รูปด้าน 2 รูปด้าน 3 และรูปด้าน 4 หรือ รูปด้าน ก รูปด้าน ข รูปด้าน ค และรูปด้าน ง เป็นต้น เหมาะสำหรับกรณีรูปแปลนพื้น มีลักษณะเป็นรูปหลายเหลี่ยม รูปวงกลม รูปทรงอิสระ หรือรูปทรงใดๆ ให้เขียนแสดงเครื่องหมายรหัสลงในแปลนพื้น โดยให้ตัวเลข 1 หรือตัวอักษรตัวแรกเป็นรูปด้านหน้า

            ข1.3 รูปตัด

            เราผ่าวัตถุสิ่งของก็เพื่อต้องการทราบรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ภายใน สาเหตุเนื่องจากไม่สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ ในงานเขียนแบบก็เช่นเดียวกัน ถ้าตัดบ้านในแนวนอนขนานกับพื้นดินระดับกึ่งกลางหน้าต่าง เอาส่วนบนออกทิ้ง มองดูส่วนล่างในลักษณะตั้งฉากกับพื้นดิน จะเป็นรูปของแปลนพื้นแต่ละชั้นในทำนองเดียวกัน ถ้าตัดบ้านในแนวตั้ง เอาส่วนหลังลูกศรออกทิ้ง แล้วมองให้ขนานกับพื้นดินไปตามลูกศร จะได้ภาพ 2 มิติ ที่เรียกว่า รูปตัด

        ความหมายของรูปตัด

            รูปตัด (Section) หมายถึง รูปซึ่งเกิดจากการตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุ ที่ตัดด้วยระนาบเดียวหรือหลายระนาบ เพื่อแสดงให้เห็นส่วนของวัตถุที่ต้องการ ณ จุดระนาบแนวตัด และส่วนที่มองเห็นได้เบื้องหลัง ตามแนวเส้นตัดที่กำหนดไว้ในแปลนพื้น เพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียดในแนวดิ่งของงานโครงสร้างและงานสถาปัตยกรรม ตั้งแต่ใต้ดินขึ้นมาถึงส่วนที่อยู่บนดินไปสิ้นสุดที่หลังคา ด้วยการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ในงานเขียนแบบประกอบกันเพื่อสื่อความหมาย

        รูปตัดในงานเขียนแบบ

        รูปตัดในงานเขียนแบบแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ รูปตัดตามขวาง และรูปตัดตามยาว มีรายละเอียดดังนี้

            1. รูปตัดตามขวาง (Transverse Section) หมายถึง รูปตัดที่ตัดตามแนวเส้นตัดในแปลนพื้นที่ตัดผ่านด้านแคบ หรือด้านสั้นของอาคาร

            2. รูปตัดตามยาว (Longitudinal Section) หมายถึง รูปตัดที่ตัดตามแนวเส้นตัดในแปลนพื้นที่ตัดผ่านด้านยาวของอาคาร กรณีที่รูปแปลนพื้นอาคารเป็นรูปร่างอื่นใดที่มิใช่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้แยกไม่ออกว่าด้านใดเป็นด้านสั้นหรือด้านยาว การกำหนดแนวตัดก็ต้องกำหนดเป็น 2 แนวตัด เช่นเดียวกัน โดยให้แนวเส้นตัดทั้ง 2 เส้น ตั้งฉากกัน

            ข1.4 แบบขยายรายละเอียดทางวิศวกรรม

        งานวิศวกรรมโครงสร้างที่วิศวกรได้กำหนดขึ้น เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยของตัวอาคารเป็นหลัก เริ่มจากใต้ดินขึ้นมาเหนือดินไปสิ้นสุดที่หลังคาของโครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก และ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ไม่สามารถเขียนแสดงเป็นมาตราส่วนปกติได้ เนื่องจากมีรายละเอียดปลีกย่อยมากจะต้องนำมาเขียนแยกขยายต่างหาก ซึ่งเปรียบเหมือนการมองผ่านแว่นขยายให้มองเห็นได้อย่างละเอียดชัดเจน

            1. ความหมายของแบบขยายรายละเอียดทางวิศวกรรม

            แบบขยายรายละเอียดทางวิศวกรรม หมายถึง แบบที่แสดงรายละเอียดในบางจุด ที่ต้องเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโครงสร้าง ในแปลนพื้น รูปด้าน รูปตัด ที่เขียนแสดงด้วยมาตราส่วนขยายให้ใหญ่โตขึ้น เพื่อให้เกิดความละเอียดชัดเจนในเชิงลึก เขียนแสดงตัดตอนออกมาเป็นรูปแปลน รูปด้าน รูปตัด และภาพ 3 มิติ ด้วยการใช้สัญลักษณ์ เส้น ตัวย่อ ตัวเลข ตัวอักษร และมาตราส่วน รวมกันเพื่อใช้สื่อความหมาย

            2. การแบ่งประเภทของแบบขยายรายละเอียดทางวิศวกรรม

            แบบขยายรายละเอียดทางวิศวกรรมโครงสร้าง โดยทั่วไปเป็นแบบรูปที่เขียนด้วยมาตราส่วนขยายขนาดโตประกอบคำบรรยายในเชิงลึก แบ่งออกได้ดังนี้

                2.1 แบบขยายเฉพาะจุด ได้แก่ แบบขยายที่ตัดตอนออกมาเฉพาะตามรายการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง เช่น แบบขยายรอยต่อ รอยเชื่อม ของโครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น

                2.2 แบบขยายที่กฎหมายกำหนดขึ้น ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 ตัวอย่างเช่น แบบขยายรูปหน้าตัดโครงสร้างแบบขยายรายละเอียดการเสริมเหล็กงานคอนกรีต เช่น เสาเข็ม ฐานราก เสา คาน พื้น ผนัง บันได โครงหลังคา และขยายอื่นๆตามความเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    18.1 การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

    18.2 การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ