หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนงานจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-4-028ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนงานจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์ ชั้น 3



ISCO-08 รหัสอาชีพ 6162 นักภูมิสถาปัตย์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ มีความสามารถในการสื่อสารรับข้อมูลจากผู้ออกแบบและผู้ว่าจ้างได้ มีความเข้าใจในรูปแบบและรายการ มีความสามารถในการวางแผนงานให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
    ไม่ระบุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02211 กำหนดแผนงานในการทำงานจัดผังบริเวณภูมิทัศน์ 1.1 จัดหมวดหมู่ของงานจากแบบที่ได้รับ 02211.01 79630
02211 กำหนดแผนงานในการทำงานจัดผังบริเวณภูมิทัศน์ 1.2 กำหนดแผนงานตามหมวดหมู่งาน 02211.02 79631
02212 จัดการรายละเอียดรูปแบบและรายการและข้อมูลความต้องการ 2.1 ระบุรายละเอียดรูปแบบและรายการตามหมวดหมู่ของงาน 02212.01 79632
02212 จัดการรายละเอียดรูปแบบและรายการและข้อมูลความต้องการ 2.2 แยกแยะข้อมูลความต้องการตามหมวดหมู่ของงาน 02212.02 79633

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

        สามารถเข้าใจถึงรูปแบบและรายการ เข้าใจลักษณะการทำงานของแต่ละหน่วยของงานในการจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านรูปแบบและรายการแก้ปัญหางานกำหนดวางผังบริเวณได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

        1. รูปแบบและรายการเป็นเนื้องานที่แล้วเสร็จ จากขั้นการพัฒนางานออกแบบ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนางานออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม

        2. การจัดทำแบบประกอบเอกสารสำหรับการขออนุญาตของงานที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบ

        3. การจัดทำแบบและเอกสารสำหรับการก่อสร้าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

        1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

        2. แบบบันทึกรายการผลจากการสังเกต

    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. เอกสารรับรองจากสถานประกอบการ หรือ

        2. เอกสารรับรองผลจากการเรียนหรือผลการอบรม หรือ

        3. แบบบันทึกประกอบผลการสัมภาษณ์ หรือ

        4. ใบบันทึกผลการสอบข้อเขียนหรือแนวคำถามที่ใช้ประเมิน

    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบและรายการ ทักษะ และความเข้าใจในการกำหนดวางแผนงานจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์ โดยพิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน หลักฐานจากแบบทดสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    การจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์ในสมรรถนะนี้ ครอบคลุมการจัดสร้างงาน ในสายงานด้านพรรณไม้  ด้านโครงสร้างตกแต่ง และด้านระบบสาธารณูปโภค

    (ก) คำแนะนำ 

        1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและรายการ

        2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีทักษะความสามารถในการกำหนดวางแผนงานจัดผังบริเวณและภูมิทัศน์

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    รูปแบบและรายการ

        ข1 รูปแบบและรายการ เป็นเนื้องานที่แล้วเสร็จ จากขั้นการพัฒนางานออกแบบ ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนางานออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม ซึ่งได้รับความเห็นชอบในขั้นการออกแบบร่างจากผู้รับบริการแล้ว โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนงานออกแบบให้สอดคล้องกับข้อมูล และ/หรือ ความต้องการที่เปลี่ยนไปเพื่อนำเสนอต่อผู้รับบริการ จนกระทั่งได้ข้อสรุปเป็นแบบพัฒนาขั้นสุดท้าย เอกสารที่สถาปนิกควรจัดทำในขั้นตอนนี้ อย่างน้อยประกอบด้วย 

            1) ผังบริเวณ แสดงตำแหน่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ภายนอกอาคารหรือกลุ่มอาคาร ถนน ลานจอดรถ และส่วนประกอบที่สำคัญอื่นๆ ภายในบริเวณ

            2) แนวทางการใช้วัสดุในส่วนสำคัญต่างๆ ทางภูมิสถาปัตยกรรม

            3) กรณีงานที่ไม่มีความซับซ้อนมาก ขั้นตอนการพัฒนางานออกแบบนี้อาจผนวกอยู่กับขั้นตอนการออกแบบร่าง

        ข2 การจัดทำแบบประกอบเอกสารสำหรับการขออนุญาตของงานที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบ ในกรณีที่โครงการนั้นเป็นโครงการที่มีชนิดและขนาดภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายหรือข้อกำหนดขององค์กรท้องถิ่น เพื่อให้ผู้รับบริการทำการยื่นแบบ และเอกสารขออนุญาตก่อนดำเนินการจริง

        ข.3 การจัดทำแบบและเอกสารสำหรับการก่อสร้าง กระบวนการสุดท้ายของช่วงการก่อสร้าง เป็นการจัดทำแบบก่อสร้าง และรายการประกอบแบบก่อสร้างของงานที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบโดยมีข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมที่เพียงพอต่อการนำไปใช้เพื่อการก่อสร้าง และเหมาะสมกับประเภทของงานนั้นๆ แบบและเอกสารสำหรับการก่อสร้างนี้ ต้องสามารถสื่อสารกับบุคลากรฝ่ายต่างๆ ได้ข้อมูลครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ กรณีที่เป็นงานก่อสร้างในประเทศไทย ให้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักของแบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบก่อสร้าง เว้นแต่จะตกลงกันเป็นอย่างอื่น เอกสารที่สถาปนิกควรจัดทำในขั้นตอนนี้ อย่างน้อยประกอบด้วย

            1) แบบแสดงผังบริเวณและงานที่เกี่ยวข้องตามขอบเขตความรับผิดชอบ

            2) แบบแสดงรายละเอียดและแบบขยายต่างๆ ที่จำเป็น เช่น แบบผังขยายพื้นที่สำคัญ แบบแสดงวัสดุพืชพันธุ์ แบบแสดงรูปด้านบริเวณ แบบแสดงรูปตัดบริเวณตามความจำเป็น

            3) รายการประกอบแบบก่อสร้าง เพื่อกำหนดเงื่อนไข มาตรฐาน วิธีการ และวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการก่อสร้าง

            4) เอกสารประกอบอื่นๆ ในขอบเขตงานตามข้อตกลงกับผู้รับบริการ โดยสถาปนิกจะจัดเตรียมแบบก่อสร้างและเอกสารตามจำนวนที่ตกลงกับผู้รับบริการ

            5) สถาปนิกจะจัดเตรียมแบบก่อสร้างและเอกสารตามจำนวนที่ตกลงกับผู้รับบริการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    - การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

    - การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ