หน่วยสมรรถนะ
ประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ECM-ZZZ-5-011ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว ชั้น 5 1 2631 นักเศรษฐศาสตร์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม เชิงเศรษฐกิจโดยมีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
2631 นักเศรษฐศาสตร์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01251 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม | 1.1 ระบุผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว | 01251.01 | 79396 |
01251 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม | 1.2 อธิบายผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวในด้านการจ้างงาน ภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ประชากร ลักษณะโครงสร้างของสังคม วัฒนธรรม ทัศนคติและความต้องการของชุมชน | 01251.02 | 79397 |
01252 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม | 2.1 ระบุผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว | 01252.01 | 79398 |
01252 วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม | 2.2 อธิบายผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจในธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียวในด้านพื้นที่ สภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากร ธรรมชาติ ระบบนิเวศ มลพิษ ขยะมูลฝอยกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม | 01252.02 | 79399 |
01253 วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ | 3.1 ระบุองค์ประกอบหลักๆ ในการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) | 01253.01 | 79400 |
01253 วิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ | 3.2 อธิบายความหมายและความสำคัญในการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจของหน่วยธุรกิจการจัดการพื้นที่สีเขียว | 01253.02 | 79401 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะในการประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ 2. ทักษะในการในใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน (ข) ความต้องการด้านความรู้ การวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคม เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการทางด้านสังคมว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนและมีผลต่อสวัสดิการทางสังคมโดยเน้นที่ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันหรือการกระจายรายได้ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ความเป็นอยู่ของชุมชน วัฒนธรรมและความต้องการของคนในชุมชนและจูงใจให้คนในชุมชนเข้ามา มีส่วนร่วมในโครงการ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมของโครงการและลดผลกระทบทางลบของโครงการ ให้เหลือน้อยที่สุดหรือหมดไปและในขณะเดียวกันสามารถเพิ่มผลกระทบทางบวกให้เพิ่มขึ้น เพื่อวิเคราะห์สภาพสิ่งแวดล้อมก่อนที่จะมีโครงการ ศึกษาสภาพแวดล้อมทางด้านต่างๆก่อนที่จะมีโครงการ โดยจะเริ่มวิเคราะห์ผลกระทบที่มี ต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มจัดเตรียมวางแผนโครงการเพื่อจะนำผลวิเคราะห์ไปร่วมพิจารณากับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเทคนิคเพื่อจะได้ออกแบบวางแผนโครงการและเลือกเทคนิคการผลิตที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่ก่อให้เกิดมลภาวะซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อมิต้องหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงภายหลัง นอกจากนั้นยังจะนำผลการวิเคราะห์ทางด้านสิ่งแวดล้อมไปใช้ร่วมกับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาต้นทุนและผลตอบแทนซึ่งต้องคำนึงถึงผลกระทบภายนอก เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมหลังจากที่มีโครงการเกิดขึ้นแล้ว เพื่อคาดคะเนหรือประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมหลังจากที่มีโครงการว่ามีผลกระทบกับระบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือไม่อย่างไรโดยกำหนดขอบเขตการศึกษา ประมาณการผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและวิเคราะห์ตีค่าหาต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการโดยนำผลกระทบภายนอกทางลบเข้ามารวมเป็นต้นทุนของโครงการเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะลงทุนในโครงการหรือไม่อย่างไร เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม หาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน แก้ไขหรือลดผลกระทบภายนอกทางลบ รวมทั้งหาแนวทางเพิ่มผลกระทบภายนอกทางบวกให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดในขณะที่ลดต้นทุนของโครงการและ หาแนวทางในการฟื้นฟูปรับปรุงและชดเชยสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมไป เพื่อวางแผนติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกระทบ เพื่อคาดคะเนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และกำหนดแผนการบริหารสิ่งแวดล้อม มาตรการหรือแนวทางในการป้องกัน ปรับปรุงแก้ไขหรือลดผลกระทบภายนอกทางลบแล้ว ยังต้องมีการวางแผนเพื่อติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง และประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างและหลังดำเนินโครงการ ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านสังคม การวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการทางด้านสังคม โดยเริ่มแรกจะต้องศึกษาพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ สภาพแวดล้อม ประชากร ลักษณะโครงสร้างของสังคม วัฒนธรรม ทัศนคติและความต้องการของชุมชน และประมาณการขอบเขต ขนาดของผลกระทบ กลุ่มประชากรที่จะได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ระยะเวลาในการได้รับผลกระทบ รวมทั้งสำรวจความต้องการของประชากรและสร้างฐานข้อมูล ประเมินสถานภาพและผลกระทบทางด้านสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการ ประมาณการมูลค่าผลกระทบทางสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบ วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยคำนึงถึงผลกระทบภายนอกทั้งทางลบและทางบวกที่มีต่อสวัสดิการทางสังคมซึ่งจะให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกันหรือถ่วงน้ำหนักให้กับกลุ่มที่มีรายได้ต่ำมากกว่าผู้มีรายได้สูง นอกจากนั้นจะประมาณการเปรียบเทียบผลกระทบทางสังคมทั้งทางบวกและทางลบในกรณีที่ไม่มีโครงการกับกรณีที่มีโครงการเกิดขึ้นว่าจะมีผลกระทบอย่างไรหรือประมาณการต้นทุนและผลตอบแทนว่าเป็นอย่างไร แนวทางการปรับปรุงแก้ไขโครงการให้เหมาะสม วิเคราะห์หาผลกระทบที่จะมีต่อสวัสดิการของสังคม โครงสร้างของสังคม สถาบัน วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมของประชากรแล้วยังต้องหามาตรการหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขโครงการให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมของชุมชนและหามาตรการหรือแนวทางในการลดผลกระทบทางลบให้เหลือน้อยที่สุดและในขณะเดียวกันต้องหามาตรการในการเพิ่มผลกระทบทางบวกหรือเพิ่มสวัสดิการทางสังคมให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยจะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส การติดตามประเมินผล ประมาณการผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแล้วจะต้องมีแผนการในการติดตามประเมินผลว่าเป็นไปตามที่ประมาณการหรือคาดคะเนไว้หรือไม่อย่างไร เนื่องจากในทางปฏิบัติอาจจะเกิดผลกระทบทางลบอย่างอื่นที่มิได้คาดไว้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามประเมินผลตามมาภายหลัง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นและหากสามารถเพิ่มขึ้นความสามารถของชุมชนและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการจะมีผลทำให้โครงการประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลจะทำให้โครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางด้านสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการทางด้านสิ่งแวดล้อม เริ่มแรกจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการและกำหนดขอบเขตการศึกษา พื้นที่ สภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งก่อนเกิดโครงการและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลังจากมีโครงการว่ามีผลกระทบอย่างไร การประมาณการหรือประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลังจากวิเคราะห์ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการจะประเมินผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนภายนอก จึงประมาณการมูลค่าผลกระทบภายนอกทั้งทางบวกและทางลบซึ่งจะนำไปวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของโครงการและนำข้อมูลในการวิเคราะห์โครงการทางด้านสิ่งแวดล้อมไปร่วมพิจารณากับการวิเคราะห์โครงการทางด้านเทคนิคและทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อนำไปศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การป้องกันและปรับปรุงแก้ไข วางแผนหาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือหาแนวทางในการลดผลกระทบภายนอกทางลบให้เหลือน้อยที่สุดหรือกำจัดให้หมดไปแล้วยังหามาตรการในการเพิ่มผลกระทบภายนอกทางบวกหรือฟื้นฟู สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการในการชดเชยแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบและพัฒนาคุณภาพชีวิต ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมเพื่อจะทำให้โครงการสามารถดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประชาสัมพันธ์ สื่อสารทำความเข้าใจกับชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปได้ควรมีการวางแผนประชาสัมพันธ์ สื่อสารเพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน หน่วยงานต่างๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ การติดตาม ตรวจสอบ การวิเคราะห์โครงการทางด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการวางแผน จัดระบบการติดตาม ตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งอาจจะคาดเคลื่อนจากที่ประมาณการไว้ ทั้งนี้อาจจะเป็นไปได้ทั้งผลทางด้านบวกและด้านลบ ทั้งนี้ ในการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการบางโครงการอาจไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของแต่ละโครงการ บางโครงการอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้ก็จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์โครงการทางด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม พร้อมเสนอแนวทางป้องกันหรือแก้ไขผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นอกจากนั้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบังคับให้โครงการบางประเภทต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาเรื่อยๆเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ สำหรับประกาศแก้ไขเพิ่มเติมใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2555 เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดทำรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมี 35 ประเภท เช่น โครงการเหมืองแร่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ เป็นต้น
|
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากนายจ้าง หรือ 2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์หรือ 3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมินผล และศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ 2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก 2. แฟ้มสะสมผลงาน 3. การสอบสัมภาษณ์
|
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบและมูลค่าเพิ่ม เชิงเศรษฐกิจ 2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคม วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (ข) คำอธิบายรายละเอียด การประเมินผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่จำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อมเพราะมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ยอมจะมีผลกระทบกับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน ยอมเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์และกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์หรือกลุ่มการเมืองท้องถิ่น และต้องศึกษาระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับในแต่ละพื้นที่ จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นโครงการขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์โครงการทางด้านการบริหารจัดการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริหารโครงการและองค์กรจะสามารถดำเนินโครงการได้สำเร็จลุล่วง เนื่องจากการดำเนินโครงการจะต้องประสบกับความเสี่ยง ความไม่แน่นอนและมีข้อจำกัดทางด้านเวลา งบประมาณและคุณภาพตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องมีการวิเคราะห์โครงการหรือการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการที่เลือกมีความเหมาะสมคุ้มค่าต่อการลงทุนและสามารถดำเนินการได้จริงตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยสามารถพิจารณาได้ ดังข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ข) ความต้องการด้านความรู้ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก - แฟ้มสะสมผลงาน - การสอบสัมภาษณ์ |