หน่วยสมรรถนะ
ควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ECM-ZZZ-5-021ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักการตลาดพื้นที่สีเขียว ชั้น 5 1 2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำกับการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาดรายงานผลการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดโดยมีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01391 กำกับการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติ | 1.1 ระบุกลยุทธ์ทางการตลาดที่นำสู่การปฏิบัติ | 01391.01 | 79539 |
01391 กำกับการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติ | 1.2 อธิบายขั้นตอนการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติ | 01391.02 | 79540 |
01392 ตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 2.1 อธิบายขั้นตอนการตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 01392.01 | 79541 |
01392 ตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 2.2 ระบุหลักการตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 01392.02 | 79542 |
01393 ประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 3.1 อธิบายวิธีการประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 01393.01 | 79543 |
01393 ประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 3.2 จำแนกรูปแบบของการประเมินผลการทำงานทางการตลาด | 01393.02 | 79544 |
01394 ทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาด | 4.1 ระบุหลักการวางกลยุทธ์ทางการตลาด | 01394.01 | 79545 |
01394 ทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาด | 4.2 อธิบายวิธีการทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาด | 01394.02 | 79546 |
01395 รายงานผลการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 5.1 ระบุสาระสำคัญที่ต้องรายงานในรายงานผลการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 01395.01 | 79547 |
01395 รายงานผลการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 5.2 จัดทำรายงานผลการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด | 01395.02 | 79548 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด 2. ทักษะในการสื่อสาร 3. ทักษะการใช้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนงาน (ข) ความต้องการด้านความรู้ แผนควบคุมการปฏิบัติงาน องค์ประกอบสุดท้ายของแผนการตลาด เป็นการควบคุมดูแลและปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะได้ตรวจสอบและทบทวนผลที่ออกมาจากระบวนการที่ทำและดำเนินตามความจำเป็น ซึ่งถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดหรือไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ ก็ยังสามารถเตรียมแผนสำรองมารองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสงครามราคาเมื่อมีคู่แข่งตัดราคาหรือมีกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ทำให้เราเสียเปรียบในระยะยาว การถูกลอกเลียนแบบสินค้าโดยไม่ผิดกฎหมาย หรือแม้กระทั่งการที่กลุ่มพนักงานรวมตัวหยุดงานก็เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่เราควรมีแผนรับมือไว้บ้าง การปฏิบัติการทางการตลาด การปฏิบัติการทางการตลาด (Marketing Operating) ในขั้นนี้จะเกี่ยวข้องกับการสั่งการและการปฏิบัติการทางการตลาดตามโปรแกรมที่วางไว้ งานที่เกี่ยวข้องในขั้นนี้จะประกอบด้วย การมอบหมายงาน การประสานงาน การจูงใจและติดต่อสื่อสาร ดังนี้ 1. การมอบหมายงาน (Delegation) ในขั้นนี้ผู้บริหารจะมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ความสามารถของผู้บริหารอาจจะวัดจาความสามารถของตัวเขา หรือวัดจากความสามารถในการมอบหมายงานก็ได้ 2. การประสานงาน (Coordination) หมายถึงการจัดให้กลุ่มบุคคลระหว่างฝ่ายต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันได้โดยบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3. การจูงใจ (Motivation) หมายถึงการชักนำ หรือโน้มน้าวคนให้มีทัศนคติและพฤติกรรมไปในทางที่ผู้จูงใจต้องการ การที่จะจูงใจพนักงานได้สำเร็จนั้นต้องขึ้นอยู่กับเทคนิคของผู้บริหารที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ผู้จูงใจของพนักงานให้เป็นไปในทิศทางขององค์กร 4. การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง "การถ่ายทอดข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยที่ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารต่างก็มีความเข้าใจในข่าวสารนั้น" การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการปฏิบัติการทางการตลาด เพราะทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน การประเมินผลการทำงานทางการตลาด การประเมินผลการทำงานทางการตลาด (Performance Evaluation) หมายถึง การตรวจสอบหรือวัดผลการปฏิบัติงานทางการตลาดและแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่ผ่านมา เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนการตลาดที่วางไว้ การประเมินผลเป็นงานขั้นสุดท้าย ในการบริหารการตลาดกระบวนการประเมินผลการทำงานทางการตลาดมีดังนี้ 1. การเปรียบเทียบผลการทำงานกับแผนการตลาด เพื่อดูว่าผลการทำงานเป็นอย่างไร (What happened?) เสร็จแล้วก็นำผลการทำงานนั้นไปเปรียบเทียบกับเป้าหมาย กลยุทธ์หรือยุทธวิธีหรือโปรแกรมการตลาดที่กำหนดไว้ ในขั้นนี้คือการวางแผนการตลาด เช่น วัดผลยอดขายจริงได้ 8 ล้านบาทจะนำไปเปรียบเทียบกับยอดขายที่กำหนดไว้ 10 ล้านบาท 2. วิเคราะห์สาเหตุที่เกิดผลในการทำงานนั้น (Why? it happened?) เป็นการค้นหาถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นจากผลการทำงานที่แตกต่างจากแผนที่กำหนดไว้ เช่นวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ยอดขายต่ำกว่าเป้าหมาย อาจเนื่องมาจากผลิตภัณฑ์ล้าสมัย 3. การแก้ไขปรับปรุง เป็นการพิจารณาว่าจะทำอะไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น (What to do?) แนวทางการแก้ไขปรับปรุงจะนำมาใช้ในการวางแผนการตลาดต่อไปในอนาคต เช่น ถ้าทราบว่าสาเหตุที่ยอดขายลดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ล้าสมัย บริษัทจะต้องค้นหาความต้องการของลูกค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งวางแผนโปรแกรมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ต่อไป รูปแบบของการประเมินผลการทำงานทางการตลาด รูปแบบของการประเมินผลการทำงานทางการตลาดที่ใช้กันมาก คือการวิเคราะห์ยอดขาย การวิเคราะห์ส่วนครองตลาด โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การวิเคราะห์ยอดขาย (Analysis of Sales Volume) หมายถึง การเปรียบเทียบระหว่างยอดขายจริงกับยอดขายตามเป้าหมายในรูปแบบของจำนวนหน่วย หรือจำนวนเงิน (รายได้จากการขาย) การวิเคราะห์ยอดขายอาจจะถือเกณฑ์วิเคราะห์ยอดขายรวม ยอดขายสำหรับสายผลิตภัณฑ์หรือแต่ละผลิตภัณฑ์หรือแต่ละตรายี่ห้อ ยอดขายตามอาณาเขตต่างๆ และยอดขายตามกลุ่มลูกค้า เมื่อวัดยอดขายจริงได้แล้วจะนำมาเปรียบเทียบกับยอดขายตามเป้าหมายแล้ววิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและสาเหตุของปัญหารวมทั้งเสนอแนะวิธีแก้ไขปรับปรุงปัญหานั้นต่อไป 2. การวิเคราะห์ส่วนครองตลาด (Market share Analysis) คำว่าส่วนครองตลาดหมายถึงอัตรายอดขายของบริษัทต่อยอดขายทั้งสิ้นของอุตสาหกรรม หรือยอดขายของคู่แข่งขัน ในการวิเคราะห์ส่วนครองตลาดบริษัทจะหาส่วนครองตลาดที่เกิดขึ้นแล้วนำไปเปรียบเทียบกับอัตราส่วนครองตลาดที่ได้กำหนดไว้ แล้ววิเคราะห์ถึงผลต่างที่เกิดขึ้นว่าเกิดจากสาเหตุอะไรแล้วจึงหาวิธีแก้ไขปรับปรุงต่อไป |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำกับการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาดกลยุทธ์ทางการตลาดรายงานผลการดำเนินจากนายจ้าง หรือ 2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการกำกับการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติ ตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด ประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด ทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด รายงานผลการดำเนิน หรือ 3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำกับการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติ ตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด ประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด ทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด รายงานผลการดำเนิน และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด 2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 2. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบอัตนัย 3. การสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด 2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการกำกับการนำกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การปฏิบัติ ตรวจสอบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด ประเมินผลสำเร็จการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด ทบทวนการวางกลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด รายงานผลการดำเนิน (ข) คำอธิบายรายละเอียด การควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดเป็นการควบคุมดูแลและปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะได้ตรวจสอบและทบทวนผลที่ออกมาจากระบวนการที่ทำและดำเนินตามความจำเป็น ซึ่งถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดหรือไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ ก็ยังสามารถเตรียมแผนสำรองมารองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดสงครามราคาเมื่อมีคู่แข่งตัดราคาหรือมีกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ทำให้เราเสียเปรียบในระยะยาว การถูกลอกเลียนแบบสินค้าโดยไม่ผิดกฎหมาย หรือแม้กระทั่งการที่กลุ่มพนักงานรวมตัวหยุดงานก็เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่เราควรมีแผนรับมือไว้บ้างดังคำอธิบายข้อ 13 ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)(ข) ความต้องการด้านความรู้ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย - แฟ้มสะสมผลงาน - การสอบสัมภาษณ์ |