หน่วยสมรรถนะ
วางแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ECM-ZZZ-5-019ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วางแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักการตลาดพื้นที่สีเขียว ชั้น 5 1 2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวนำเสนอสถานการณ์ทางการตลาดประเมินโอกาสทางการตลาดกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดจัดทำแผนการดำเนินงานจัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงานรายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวโดยมีทักษะ ทางเทคนิคในการปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนมีส่วนร่วมในการวางแผนบริหารจัดการและกำหนดนโยบายขององค์กรโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาอย่างอิสระสามารถพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆได้สามารถใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานและสามารถอบรมและฝึกฝนบุคคลอื่นได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01371 กำหนดขอบเขตแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 1.1 ระบุความสำคัญของแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 01371.01 | 79496 |
01371 กำหนดขอบเขตแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 1.2 อธิบายองค์ประกอบของแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 01371.02 | 79497 |
01372 นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด | 2.1 อธิบายประเด็นสำคัญของสถานการณ์การตลาดที่ต้องนำเสนอ | 01372.01 | 79498 |
01372 นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด | 2.2 ระบุสาระสำคัญของสถานการณ์การตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 01372.02 | 79499 |
01373 ประเมินโอกาสทางการตลาด | 3.1 ระบุผลวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด | 01373.01 | 79500 |
01373 ประเมินโอกาสทางการตลาด | 3.2 ประยุกต์ใช้ผลวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดทั้งภายนอกและภายในและสถานการณ์ทางการตลาดเพื่อนำมาประเมินโอกาสทางการตลาด | 01373.02 | 79501 |
01373 ประเมินโอกาสทางการตลาด | 3.3 ระบุโอกาสทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 01373.03 | 79502 |
01374 กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด | 4.1 ระบุวัตถุประสงค์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ | 01374.01 | 79503 |
01374 กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด | 4.2 ระบุเป้าหมายของวัตถุประสงค์ทางการตลาดทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ | 01374.02 | 79504 |
01375 กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด | 5.1 ระบุผลการวิเคราะห์กลยุทธ์ตลาดเป้าหมาย (STP Marketing) | 01375.01 | 79505 |
01375 กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด | 5.2 ระบุผลการวิเคราะห์กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) | 01375.02 | 79506 |
01375 กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด | 5.3 บ่งชี้กลยุทธ์ทางการตลาดที่นำมาใช้ซึ่งประยุกต์ใช้จากกลยุทธ์ตลาดเป้าหมายและกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด | 01375.03 | 79507 |
01376 จัดทำแผนการดำเนินงาน | 6.1 อธิบายขั้นตอนของการดำเนินงาน | 01376.01 | 79508 |
01376 จัดทำแผนการดำเนินงาน | 6.2 ระบุความสอดคล้องของแต่ละขั้นตอนของแผนการดำเนินงานกับวัตถุประสงค์ | 01376.02 | 79509 |
01376 จัดทำแผนการดำเนินงาน | 6.3 ระบุความสอดคล้องของแต่ละขั้นตอนของแผนการดำเนินงานกับกลยุทธ์ทางการตลาด | 01376.03 | 79510 |
01377 จัดทำแผนทางการเงิน | 7.1 อธิบายที่มาของประมาณการรายรับ | 01377.01 | 79511 |
01377 จัดทำแผนทางการเงิน | 7.2 อธิบายที่มาของประมาณการรายจ่าย | 01377.02 | 79512 |
01377 จัดทำแผนทางการเงิน | 7.3 ระบุวิธีการจัดทำประมาณการกระแสเงินสด | 01377.03 | 79513 |
01377 จัดทำแผนทางการเงิน | 7.4 ระบุวิธีการคำนวณประมาณการกำไรขาดทุน | 01377.04 | 79514 |
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน | 8.1 อธิบายแนวทางการกำกับดูแลการดำเนินงาน | 01378.01 | 79515 |
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน | 8.2 อธิบายแนวทางการตรวจสอบการดำเนินงาน | 01378.02 | 79516 |
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน | 8.3 ระบุแนวทางการทบทวนการปฏิบัติงาน | 01378.03 | 79517 |
01378 จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน | 8.4 ระบุแนวทางแก้ไขปัญหาจากการปฏิบัติงาน | 01378.04 | 79518 |
01379 รายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 9.1 อธิบายเนื้อหาที่ต้องกำหนดในรายงานแผนการตลาด | 01379.01 | 79519 |
01379 รายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 9.2 อธิบายรูปแบบการนำเสนอในรายงานแผนการตลาด | 01379.02 | 79520 |
01379 รายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 9.3 จัดทำรายงานแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว | 01379.03 | 79521 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่ระบุ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะการวางแผนการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 2. ทักษะในการสื่อสาร 3. ทักษะการใช้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนงาน (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ดำเนินกิจกรรมทางการตลาด 1.1 ข้อมูลกิจกรรมทางการตลาดกิจกรรมทางการตลาดหมายถึงการกระทำใดๆ ในทางปฏิบัติเพื่อจะทำให้หน้าที่ทางการตลาดบรรลุสมบูรณ์มากขึ้นเช่นหน้าที่ในการซื้อและการขายจะประสบความสำเร็จต้องกระทำกิจกรรมทางการตลาดเช่น การโฆษณาการวิจัยตลาดเพื่อเป็นการค้นหาความต้องการเป็นต้น กิจกรรมทางการตลาดเป็นกลุ่มของการกระทำต่างๆ ในหลายด้านที่จะทำให้การทำหน้าที่ทางการตลาดสามารถบรรลุผล ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้ในทางธุรกิจ สามารถโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ และสามารถเคลื่อนย้ายไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือผู้ใช้ทางธุรกิจที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายได้อย่างทั่วถึงซึ่งกิจกรรมการตลาดมีหลายลักษณะผู้มีหน้าที่การตลาดในแต่ละด้านจำเป็นต้องเลือกกิจกรรมการตลาดให้เหมาะสม กิจกรรมการตลาด จึงเป็นอีกกระบวนการหนึ่ง ซึ่ง ธุรกิจจะต้องปรับให้สอดคล้องกับภาพแวดล้อม สถานการณ์ เพื่อครองใจลูกค้า เกิดรายได้และทำให้องค์กรอยู่รอได้ การทำกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จจึงต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านด้วยกัน ทั้งเรื่องของคน, งบประมาณ, ลักษณะของกิจกรรม, สถานที่ และระยะเวลาที่เหมาะสม ได้แก่ 1) คน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการจัดทำกิจกรรมการตลาด ตั้งแต่ผู้บริหาร ลงมาถึงพนักงานระดับล่างที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรม การรวบรวมข้อมูล ระดมสมอง ประเมินผลงาน ปรับปรุงให้ดีขึ้น ติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหาโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจเสมอ 2) งบประมาณ การจัดกิจกรรมการตลาด ถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของกิจการบางธุรกิจ ใช้วิธีกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย อย่างไรก็ตามการใช้งบประมาณเพื่อจัดทำกิจกรรมการตลาดนั้น จะต้องมีการศึกษา เปรียบเทียบวิธีการเพื่อให้การใช้งบประมาณนั้นมีความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3) ลักษณะของกิจกรรม การคิดกิจกรรมที่ทำให้ลูกค้าจดจำได้แม่นยำ คือกิจกรรมที่เขาไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ต้องเห็นแล้วทึ่ง ประทับใจจนอยากรู้ว่าเป็นสินค้าของใคร 4) สถานที่ และระยะเวลาที่เหมาะสม ส่วนสำคัญอีกประการในการจัดกิจกรรม การตลาดให้ประสบความสำเร็จ ก็คือการคัดเลือกและบริหารจัดการสถานที่ไม่เพียงแต่ต้องเลือกสถานที่ ที่กลุ่มเป้าหมายเดินทางสะดวกแล้ว ยังต้องมีวิธีการดำเนินงานหรือมีสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมต้อนรับอย่างพอเพียง 1.2 กิจกรรมทางส่วนประสมทางการตลาด ต้องใช้ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) 7 อย่าง หรือ 7P's ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านผลิตภัณฑ์(Product) เป็นสิ่งซึ่งสนองความจำเป็นและความต้องการของมนุษย์ได้คือ สิ่งที่ผู้ขายต้องมอบให้แก่ลูกค้าและลูกค้าจะได้รับผลประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยทั่วไปแล้ว ผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ผลิตภัณฑ์ที่อาจจับต้องได้(Tangible Products) และ ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Products) 2) ด้านราคา (Price) หมายถึง คุณค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ลูกค้าจะเปรียบเทียบระหว่างคุณค่า (Value) ของบริการกับราคา (Price) ของบริการนั้น ถ้าคุณค่าสูงกว่าราคาลูกค้าจะตัดสินใจซื้อ ดังนั้น การกำหนดราคาการ ให้บริการควรมีความเหมาะสมกับระดับการให้บริการชัดเจน และง่ายต่อการจำแนกระดับบริการที่ต่างกัน 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) เป็น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในการนำเสนอ บริการให้แก่ลูกค้า ซึ่งมีผลต่อการรับรู้ของลูกค้าในคุณค่าและคุณประโยชน์ของบริการที่นำเสนอ ซึ่งจะต้องพิจารณาในด้านทำเลที่ตั้ง (Location) และช่องทางในการนำเสนอบริการ (Channels) 4) ด้านการส่งเสริม (Promotions) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญในการติดต่อสื่อสารให้ผู้ใช้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่แจ้งข่าวสารหรือชักจูงให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรม การใช้บริการและเป็นกุญแจสำคัญของการตลาดสายสัมพันธ์ 5) ด้านบุคคล (People) หรือพนักงาน (Employee) ซึ่งต้องอาศัยการคัดเลือก การฝึกอบรม การจูงใจ เพื่อให้สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้แตกต่างเหนือคู่แข่งขันเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการต่างๆ ขององค์การ เจ้าหน้าที่ต้องมีความสามารถ มีทัศนคติที่สามารถตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ มีความคิดริเริ่ม มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา สามารถสร้างค่านิยมให้กับองค์กร 6) ด้านกายภาพและการนำเสนอ (Physical Evidence/Environment and Presentation) เป็นแสดงให้เห็นถึงลักษณะทางกายภาพและการนำเสนอให้กับลูกค้าให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยพยายามสร้างคุณภาพโดยรวมทั้งทางด้ายกายภาพและรูปแบบการให้บริการเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านการแต่งกายสะอาดเรียบร้อย การเจรจาต้องสุภาพอ่อนโยน และการให้บริการที่รวดเร็ว หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ลูกค้าควรได้รับ 7) ด้านกระบวนการ (Process) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการและงานปฏิบัติในด้านการบริการ ที่นำเสนอให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมอบการให้บริการอย่างถูกต้องรวดเร็ว และทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความประทับใจ 2. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับกำหนดวิธีดำเนินกิจกรรมทางการตลาด 2.1 กิจกรรมทางการตลาดหมายถึงการกระทำใดๆ ในทางปฏิบัติเพื่อจะทำให้หน้าที่ทางการตลาดบรรลุสมบูรณ์มากขึ้น เช่น หน้าที่ในการซื้อและการขายจะประสบความสำเร็จต้องกระทำกิจกรรมทางการตลาด เช่น การโฆษณาการวิจัยตลาดเพื่อเป็นการค้นหาความต้องการเป็นต้นกิจกรรมทางการตลาดเป็นกลุ่มของการกระทำต่างๆ ในหลายด้านที่จะทำให้การทำหน้าที่ทางการ ตลาดสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ในทางธุรกิจสามารถโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ และสามารถเคลื่อนย้ายไป ตอบสนอง ความต้องการ ของผู้บริโภคหรือผู้ใช้ทางธุรกิจที่อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งกิจกรรมการตลาด มีหลายลักษณะผู้มีหน้าที่การตลาดในแต่ละด้านจำเป็นต้องเลือกกิจกรรมการตลาดให้เหมาะสม 2.2 การตลาดโดยการจัดกิจกรรมทางการตลาดหรือการจัดกิจกรรมพิเศษ (Event Marketing) การตลาดโดยการจัดกิจกรรมพิเศษ การจัดกิจกรรมพิเศษสามารถดึงคนเข้าไปร่วมกิจกรรมได้สามารถสร้างสรรค์ได้ดีกิจกรรมที่ทํานั้นมีค่าขึ้นอยู่กับกิจกรรมการสร้างสรรค์ (Creativity) การจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อ 1) สร้างภาพลักษณ์ (Image) โดยการใช้กิจกรรมเป็นตัวนําไปสู่การได้รับการลงข่าว(Media Coverage) เพราะถ้าธุรกิจไม่มีกิจกรรม ไม่มีเหตุการณ์ธุรกิจก็จะเงียบเหงา การจัดกิจกรรมพิเศษขึ้น เช่น จัดการแข่งขันจะมีคนมาถาม มาทําข่าว การสร้างกิจกรรมเหล่านี้จึงถือว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ 2) การใช้กิจกรรมพิเศษ (Event) เป็นพยานของจุดขาย (Testimonial) เป็นการติดต่อสื่อสารจุดขายของบริษัท กิจกรรมทางการตลาด (Event Marketing) เป็นกลยุทธ์ส่วนหนึ่งจากกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร หรือ IMC (Intergrated Marketing Communication) การจัดกิจกรรมทางการตลาด คือ การกําหนดวาระพิเศษขึ้นมา เพื่อช่วยในการส่งเสริมสินค้า และชื่อเสียงของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับ อีกทั้งเป็นการสร้างความเคลื่อนไหว และการรับรู้ข่าวสารในกลุ่มผู้บริโภค ด้วยการนําเสนอเหตุการณ์ต่างๆ ให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์และการหยิบยกเอาสถานการณ์ขึ้นมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมาะสมกับฐานการตลาดของสินค้า โดยรูปแบบของกิจกรรมพิเศษนั้น ไม่มีกําหนดตายตัว แต่คํานึงถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นสําคัญ (เสรี วงษ์มณฑา, 2540) รูปแบบของการจัดกิจกรรมทางการตลาด 2.1) การจัดการประกวด (Contest) เป็นกิจกรรมการประกวดต่าง ๆ 2.2) การจัดแข่งขัน (Competition) เป็นการจัดกิจกรรมในการแข่งขันรูปแบบต่างๆ 2.3) การจัดงานฉลอง (Celebration)การจัดกิจกรรมในลักษณะงานฉลองเนื่องในโอกาสต่างๆ 2.4) การจัดงานเปิดตัวสินค้า (Product Launching Presentation) การจัดกิจกรรมต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดตัวสินค้าใหม่ 2.5) การจัดงานมอบรางวัล (Award Day) การจัดงานเพื่อให้รางวัลพนักงานที่มีผลงานดีเด่น ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้เห็นว่าสินค้าขายดี มีนักการขายได้รับประกาศเกียรติคุณ หรือ บางครั้งครบรอบปี ก็แจกรางวัลพนักงานที่ทํางานกับบริษัทเป็นเวลานาน กรณีนี้เป็นกิจกรรมพิเศษที่ทําให้เกิดผลกระทบที่ดี เพราะก่อนที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้ดีในสายตาของผู้บริโภค จะต้องสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของพนักงานภายในบริษัทเสียก่อน เพื่อให้พนักงานเกิดความภักดีต่อบริษัทในขณะเดียวกันก็ทําให้ผู้บริโภครู้ข่าวเกี่ยวกับการแจกรางวัลอีกด้วย 2.6) การจัดงานขอบคุณ (Thank Party) การจัดงานเพื่อขอบคุณลูกค้าหรือสื่อมวลชน การจัดงานเพื่อขอบคุณลูกค้าเป็นสิ่งสําคัญมาก โดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมีหน้าที่ขายสินค้าของเราเพื่อส่งไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย สื่อมวลชนก็เป็นส่วนหนึ่งที่สําคัญ เพราะการจะทําการเผยแพร่ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวสินค้า ย่อมที่จะอาศัยสื่อ หากผู้ขายและสื่อมวลชนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อสินค้าบริการ ย่อมที่จะถ่ายทอดแต่สิ่งที่ดีๆ ไปยังผู้บริโภค ถือเป็นกระบอกเสียงและเป็นกําลังในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการ 2.7) การจัดงานสัมมนา (Seminar or Conference) การจัดงานสัมมนาในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ปัจจุบันนิยมทํากันมาก เพราะเป็นการให้ความรู้และสอดแทรกความสามารถของธุรกิจที่จัดสัมมนาลงไปด้วย ซึ่งจะดูน่าเชื่อถือและสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจน 2.8) การจัดนิทรรศการหรือแสดงสินค้า (Exhibition and Trade Show) งานแสดงสินค้าหลายชนิดรวมกัน เป็นเครื่องมือที่สามารถดึงความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มคนกลาง แหล่งจัดแสดงสินค้าและแหล่งจัดนิทรรศการภายในประเทศ 2.9) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Sales Promotion Activity) เครื่องมืออย่างหนึ่งของการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการซื้อให้เร็วและเข้มขึ้น 2.10) การจัดการแสดงพิเศษ (Entertainment) การจัดรายการบันเทิงต่างๆ ขององค์การ 3. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับเขียนเนื้อหารายงานกิจกรรมทางการตลาด เขียนเนื้อหารายงานประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดเป็นสิ่งที่กำหนดการดำเนินการด้านการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวอาจกล่าวได้ว่าการเขียนเนื้อหารายงานมีความสำคัญในการดำเนินการทางการตลาด ในการเขียนที่สำคัญควรเขียนจากความเป็นจริง ขั้นตอนการเขียนเนื้อหารายงาน 3.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานของธุรกิจ เป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ ขอบเขตของเจริญเติบโตทางธุรกิจ แสดงขีดความสามารถในการบริหารจัดการที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้สถานะของธุรกิจ กล่าวคือ ธุรกิจเราทำอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร มีการกำหนดระยะเวลาสู่ความสำเร็จ ชัดเจน 3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดของธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาด หรือเรียกว่า การทำวิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำหรับการหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวโดยการสำรวจสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า โดยคิดออกมาก่อนเขียนรายงาน เพราะขั้นตอนแต่ละขั้นนั้นมีความสำคัญและสลับซับซ้อนมีความละเอียดอ่อน จะต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา วิธีง่ายๆ เขียนสรุปไว้ก่อนที่จะเรียบเรียงร้อยถ้อยคำก่อนจัดพิมพ์ 3.3 ประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดของธุรกิจ สภาวะการแข่งขันในสภาพปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต 3.3.1 สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของตลาด 3.3.1.1 สภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจ เป็นต้นว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านกฎระเบียบกฎหมายที่เอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดอุปสรรคกับธุรกิจ ค่านิยม พฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจกำลังจะทำหรือไม่ หรือมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว การผลิตเพื่อขาย การบริการมีผลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ 3.3.1.2 ขนาดตลาด สำรวจธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับธุรกิจ ของเรา สังเกตการเจริญเติบโตของตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อน เป็นการสะท้อนจำนวนคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรของคู่แข่งขัน เพราะถ้าหากมีการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรสูงแสดงว่าผู้ประกอบการ จะอยู่ในธุรกิจนั้นเป็นเวลานาน 3.3.1.3 พิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factor)พิจารณาและวินิจฉัยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ธุรกิจเราประสบความสำเร็จ 3.3.2 สำรวจและค้นหาความต้องการของตลาดอาจกล่าวได้คือเป็นการทำวิจัยตลาดหรือการเขียนรายงานนั่นเอง การวิจัยนั้นเป็นการสำรวจและค้นหาความต้องการ รสนิยม ทัศนคติ ค่านิยม ของลูกค้าปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของลูกค้า ตลอดจนเป็นการหาแนวทางของธุรกิจจะสามารถเจาะตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้าได้ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาดนำเสนอสถานการณ์ทางการตลาดประเมินโอกาสทางการตลาดกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดจัดทำแผนการดำเนินงานจัดทำแผนทางการเงินจัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงานรายงานแผนการตลาด หรือ 2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาด นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด ประเมินโอกาสทางการตลาด กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน รายงานแผนการตลาด หรือ 3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตแผนการตลาด นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด ประเมินโอกาสทางการตลาด กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน รายงานแผนการตลาด และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด 2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัยและข้อสอบอัตนัย 2. แฟ้มสะสมผลงาน 3. การสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนการตลาด 2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดขอบเขตแผนการตลาด นำเสนอสถานการณ์ทางการตลาด ประเมินโอกาสทางการตลาด กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด จัดทำแผนการดำเนินงาน จัดทำแผนทางการเงิน จัดทำแผนควบคุมการปฏิบัติงาน รายงานแผนการตลาด (ข) คำอธิบายรายละเอียด การวางแผนทางการตลาด คือ แผนเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจฉะนั้นแล้วจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนงานทางการตลาดจะช่วยให้สามารถมองเห็นแนวทางที่ถูกต้องและขั้นตอนการลงมือทำงาน ต่างๆได้ ซึ่งแผนการตลาดสามารถช่วยแยกแยะว่าลูกค้ากลุ่มใดคือกลุ่มเป้าหมายที่ดีที่สุดมีการเปรียบเทียบข้อมูลของบริษัทกับข้อมูลของอุตสาหกรรมและตลาด มีการติดตามผลลัพธ์เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าอะไรที่ใช้ได้ ผลบ้าง เพราะถ้าหากไม่มีแผนก็อาจเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว แต่อาจไปไม่ถูกทิศทางก็ได้ ดังคำอธิบายข้อ 13ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ข) ความต้องการด้านความรู้ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่ระบุ |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย - แฟ้มสะสมผลงาน - การสอบสัมภาษณ์ |