หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-3-014ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักการตลาดพื้นที่สีเขียว ชั้น 3


1 2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการกำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาดวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดด้วยเครื่องมือ STP Step โดยมีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01321 กำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาด 1.1 อธิบายความหมายของ SWOT เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด 01321.01 79427
01321 กำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาด 1.2 อธิบายความหมายของ STP Step เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด 01321.02 79428
01321 กำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาด 1.3 จำแนกความแตกต่างของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดและสถานการณ์ทางการตลาด 01321.03 79429
01321 กำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาด 1.4. เลือกใช้เครื่องมือ SWOT หรือ STP Step ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้ 01321.04 79430
01322 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT 2.1 อธิบายหลักการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 01322.01 79431
01322 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT 2.2 อธิบายหลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วยเครื่องมือวิเคราะห์SWOT 01322.02 79432
01322 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT 2.3 เลือกใช้หลักการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วย SWOT ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ 01322.03 79433
01323 วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดด้วยเครื่องมือ STP Step 3.1 อธิบายหลักการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดเพื่อนำไปสู่การวางแผนทางการตลาด ด้วยเครื่องมือ STP Step 01323.01 79434
01323 วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดด้วยเครื่องมือ STP Step 3.2 เลือกใช้หลักการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดด้วย STP Step ในสถานการณ์ต่างๆได้ 01323.02 79435

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด

2. ทักษะในการสื่อสาร 

3. ทักษะการใช้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดและระบบการตลาด

จากแนวความคิดทางการตลาดและหน้าที่ทางการตลาด ที่ทำให้ความสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าไปพร้อมๆ กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจซึ่งกิจการต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบใช้กลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับการประสมทางการตลาด ได้แก่ผลิตภัณฑ์ราคาช่องทางการจัดจำหน่ายการ ส่งเสริมทางการตลาดให้เกิดความเหมาะสม กับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในขณะนั้นสภาพแวดล้อมภายนอกสภาพแวดล้อมภายในด้วยกระบวนการบริหารทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

ความหมายของสภาพแวดล้อมทางการตลาด

สภาพแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายในที่มีผลต่อโปรแกรมทางการตลาดของบริษัท ซึ่งสิ่งแวดล้อมภายนอกธุรกิจเป็นสิ่งแวดล้อมที่มีธุรกิจควบคุมไม่ได้แต่สิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจเป็นสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจควบคุมได้

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง ปัจจัยทุกชนิดที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านการตลาดและด้านอื่นๆของธุรกิจปัจจัยที่ส่งผลกระทบมีได้หลายปัจจัยและปัจจัยจะส่งผลในเวลาเดียวกันหรือต่างเวลากันก็ได้ทำให้มีการพิจารณาในลักษณะของผลรวม

สิ่งแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง ขายนอกต่างๆที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมได้หรืออาจควบคุมได้เพียงบางส่วนอีกครั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ที่สำคัญคือปัจจัยการต่างเหล่านั้นสามารถสร้างโอกาส หรือก่อให้เกิดอุปสรรคทางการตลาดให้มีการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้จึงมีความสำคัญต่อการตัดสินใจทางการตลาดอย่างมาก

สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง ปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลหรือมีผลกระทบต่อการดำรงการทางการตลาดโดยเฉพาะในด้านการวางแผนการตลาดการสร้างโอกาสทางการตลาดการจำกัดขอบเขตการตลาด และการตัดสินใจทางการตลาดในด้านต่างๆ

ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางการตลาด

การดำเนินการตลาดให้ประสบความสำเร็จนั้น นักการตลาดต้องมีความรู้ความเข้าใจและ   มีความสามารถในการนำข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอก และทำการวิเคราะห์และบริหารจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางตลาดภายในให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของตลาดภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของการตลาดได้อย่างเหมาะสมกับโอกาสและจังหวะเวลาสามารถตอบสนองความต้องการทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่กิจการกำหนดไว้ ซึ่งพอสรุปความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางการตลาดได้ ดังนี้

1. สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงโอกาส อุปสรรค เพื่อศึกษาและพยากรณ์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเพื่อหาแนวทางในการสร้างความสำเร็จหรือป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกิจการได้

2. สามารถนำข้อมูลมาใช้ประกอบในการตัดสินใจ เพื่อกำหนดแผนการทางการตลาดให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้นๆได้

3. สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของสถานการณ์ในด้านต่างๆได้ทันเวลา ทำให้มีข้อมูลทั้งสมัยในการนำมาบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

4. สามารถปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายใน ดูสภาพพยากรณ์ทั้งหมดที่กิจการหรือธุรกิจมีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

5. สามารถค้นพบตลาดใหม่ๆ ทำให้สามารถขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่องตัวอย่างเช่นช่วงเวลาวันที่ 26 กันยายนถึง 5 ตุลาคม 2556 เป็นเทศกาลของคนใจบุญประเพณีการกินเจ (เป็นสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอกเรียกว่าปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม) ปีนี้คึกคัก นักการตลาดสามารถนำมาใช้เป็นโอกาสในการกำหนดแนวทางการทำการตลาดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ(เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์) เพื่อใช้ในการวางแผนตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มที่นิยมกินเจและบำเพ็ญบุญในช่วงเวลาดังกล่าว

2. องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางการตลาด

สภาพแวดล้อมทางการตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ สภาพแวดล้อม  ทางการตลาดภายนอก ประกอบด้วย ปัจจัยต่างๆ ที่กิจการหรือธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ หรืออาจเรียกว่าปัจจัยนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ Uncontrollable or Internal Factors สภาพแวดล้อมทางการตลาดภายในประกอบด้วยปัจจัยในองค์การที่สามารถปรับเปลี่ยนได้หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าปัจจัยภายในหรือปัจจัยที่ควบคุมได้ controllable or Internal Factors

ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ External or Uncontrollable Factors

ปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หมายถึง ปัจจัยต่างๆที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการตลาดในด้านต่างๆ เป็นปัจจัยซึ่งกิจการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่กิจการต้องการได้กิจการจำเป็นต้องมีการศึกษาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการการตัดสินใจในการวางแผน หรือดำเนินงานทางการตลาดให้เกิดความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเหล่านี้ซึ่งปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญสรุปได้ 8 ประการ ดังนี้

1) ตัวแปรเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม Cultural and Social Variables เป็นปัจจัยที่มีอยู่ นอกเหนืออำนาจที่นักการตลาดจะควบคุมได้ เป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกันกับคนในสังคมที่เป็นกลุ่มตลาดเป้าหมาย กิจการจำเป็นต้องมีการศึกษาปัจจัยต่างๆเหล่านี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานการกลับทางการตัดสินใจ ในการวางแผนการดำเนินงานทางการตลาดให้เกิดความสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเหล่านี้ซึ่งปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ประกอบตัวแปรที่สำคัญสรุปได้ 8 ประการดังนี้

1.1) วัฒนธรรมคือ ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน แนวความคิด แนะแนวการปฏิบัติของกลุ่มคนในสังคมทั้งนี้เนื่องจากสังคมขนาดใหญ่ประกอบด้วยสังคมขนาดเล็กมากมายหลากหลายอาชีพ ศาสนาหลายเชื้อชาติและในทางสังคมเยอะๆจะมีการสืบทอดวัฒนธรรมของกลุ่มที่มีความเชื่อ หรือค่านิยมที่แตกต่างกันทำให้เกิดรูปแบบของวัฒนธรรมที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป กลุ่มคนที่อยู่ในสังคมเดียวกันมีรูปแบบวัฒนธรรมเดียวกันจะมีพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน

1.2) สังคม องค์ประกอบของสังคมที่สำคัญที่สุดได้แก่คนและสังคมที่เล็กที่สุดคือสังคมครอบครัว ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดค่านิยม ทัศนคติ ความคิดเห็นต่าง แนวทางปฏิบัติในสังคมนั้นการศึกษาสภาพแวดล้อมทางสังคมจะทำให้เกิดความ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติของคนในสังคมแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากครอบครัวหรือกลุ่มอ้างอิงและหนทางสังคมและนำข้อมูล เกี่ยวกับการปฏิบัติมากำหนดแนวการดำเนินงานทางการตลาดให้เหมาะสมกับความต้องการของสังคมนั้นๆ ต่อไป

1.3) ประชากร หมายถึง อัตราการเกิดและการอพยพของคนในสังคมต่างๆและคนคือปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดสินค้าและบริการต่างๆ คนเสื้อดำมาตอบสนองความต้องการ และจะนำมา ปริมาณมากหรือปริมาณน้อยเพียงใดนั้น สามารถพิจารณาได้จากการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากร    ในสังคม ถ้าหากประชาการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่เพิ่มขึ้นอัตราการเจริญเติบโตหรือการขยายตัวของตลาด จะมี โอกาสเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แต่ในทางตรงข้าม หากว่าถ้าการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ลดลงอัตราการขยายตัวทางการตลาดก็จะลดลงด้วยเช่นกัน

2) ตัวแปรที่เกี่ยวกับการเมืองและกฎหมาย Political and legal Variables ตัวแปรทางการเมือง กฎหมาย และข้อตกลงต่างๆ ระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์  กับการดำเนินกิจการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจ และทางด้านการตลาด เพราะธุรกิจทุกชนิด ทุกประเภททุกขนาด ต้องดำเนินงานภายใต้กฎหมาย ระเบียบ และข้อปฏิบัติที่กำหนด ปรับตัวไปตามสภาพการเมืองของแต่ละประเทศ เป็นความจริงที่ว่าในการดำเนินธุรกิจมีจุดมุ่งหมายหลักที่สำคัญคือผลกำไร แต่การแสวงหาผลกำไรที่ได้จะต้องดำเนินงานอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนดด้วย มิใช่คำนึงแต่กำไรสูงสุดตามที่กิจการต้องการ แต่ถ้าการดำเนินงานผิดกฎหมาย ขัดต่อระเบียบข้อบังคับก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีน่าที่เข้ามากำกับควบคุมดูแลสนับสนุนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้การดำเนินกิจการธุรกิจกับผู้บริโภคหรือระหว่าง      ผู้ประกอบธุรกิจหรือธุรกิจหรือระหว่างธุรกิจกับสังคมเช่นการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมผู้บริโภค กฎหมายควบคุมทางการค้าในลักษณะต่างๆกฎหมายที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพของสังคม กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเป็นต้น ฉะนั้นนักการตลาดต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายเข้าถึงสภาพการเมืองและประเทศที่การดำเนินทางการตลาดเข้าไปเกี่ยวข้องว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรเป็นการเปิดโอกาสหรือเป็นการสร้างปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินงานก่อนที่จะตัดสินใจการกำหนดแผนงานทางการตลาดที่จะปฏิบัติเพื่อให้กิจกรรมต่างๆทางการตลาดเกิดความสอดคล้องสภาพการเมืองการปกครองและสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

3) ตัวแปรเกี่ยวกับธุรกิจ Economic Variables การเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวแปรที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการตัดสินใจทางการตลาดและสภาพทางเศรษฐกิจ และมีผลกระทบโดยตรงแต่อำนาจซื้อขายของผู้บริโภคกล่าวคือ ถ้าหากภาวะเศรษฐกิจเติบโตประชาการจะมีอำนาจซื้อสูงการตลาดจะเกิดการขยายตัวในทางตรงกันข้ามเมื่อหาและเศรษฐกิจตกต่ำอำนาจซื้อของคนจะลดลงการตลาดซบเซาตามไปด้วย ฉะนั้นนักการตลาดจึงควรติดตามความเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ในขณะนั้น

4) ตัวแปรเกี่ยวกับการแข่งขัน Competition Variables ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม นักธุรกิจรู้ดีว่าสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการดำเนินงาน คือ การแข่งขัน เพราะในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ เข้ามาดำเนินการได้อย่างกว้างขวาง หากมีความสมารถและศักยภาพในการดำเนินงานเพียงพอ ทำให้ธุรกิจแต่ละประเภทมีผู้เช้ามาดำเนินการมากมาย แต่ละธุรกิจจะพยายามพัฒนากลยุทธ์การตลาดในต้านต่างๆ ให้เท่าเหนือกว่าคู่แข่งขันในทุกๆ ด้าน เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเป็นที่ต้องการของตลาดให้มากที่สุด ธุรกิจจึงสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโอต่อไปได้ คู่แข่งขันในทางการตลาดมี 3 ลักษณะ คือ คู่แข่งขันทางตรง ได้แก่ กิจการที่นำเสนอสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันส่วนคู่แข่งขันทางอ้อม ได้แก่ กิจการที่นำเสนอสินค้าหรือบริการที่สามารถใช้ทดแทนในรูปแบบต่างๆ และคู่แข่งขันลักษณะสุดท้าย คือ คู่แข่งที่มีโอกาสเข้ามาในอุตสาหกรรม การศึกษาเกี่ยวกับคู่แข่งขัน นักการตลาดหรือผู้ประกอบการควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงของสถานการณ์การแข่งขัน จำนวนคู่ แข่งขันและขนาดของคู่แข่งขัน ซึ่งสามารถประเมินได้จากขนาดการลงทุน ยอดขาย หรือส่วนแบ่งตลาดจำนวนพนักงาน และสัดส่วนกำลัง  การผลิตหรือกำลังในการให้บริการ รวมทั้งประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับจำนวนและจุดยืนของคู่แข่งขัน รวมถึง  จุดแข็งของคู่แข่งขัน เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดแนวทางในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และ สามรถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

อย่างไรก็ดีการศึกษาเกี่ยวกับคู่แข่งขันให้เกิดประสิทธิภาพ ผู้ประกอบการควรกำหนดวิธีการในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขันอยู่ตลอดเวลาทั้งใน ด้านคุณภาพของสินค้าหรือบริการ การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระดับ ราคา รูปแบบของการส่งเสริมการตลาดที่นำมาใช้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดกิจกรรมทางการตลาดของกิจการ

5) ตัวแปรเกี่ยวความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี Technology Variables ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการผลิต การดำเนินงานทางการตลาด หรือการดำเนินธุรกิจทุกประเภท เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน เช่น ธุรกิจการผลิตนำมาใช้ในการผลิต ทำให้ได้ประมาณสินค้า หรือบริการที่เพียงพอต่อความต้องการ การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ธุรกิจการตลาดนำมาใช้ในการจัดจำหน่ายและ ให้บริการแก่ผู้บริโภคได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ส่วนผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่เพียงพอต่อความต้องการในเวลาที่เหมาะสม ส่งผลให้การดำเนินชีวิตของประชากรในสังคมดีขึ้น เช่น ธุรกิจการผลิตนำเครื่องจักรที่ทันสมัย มีกำลังการผลิตสูงมาใช้ ทำให้ได้สินค้าในปริมาณมากขึ้น รวดเร็วขึ้น ทำให้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นไปอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ในด้านการจัดเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลข่างสารต่างๆ มีความถูกต้องเป็นระบบมากขึ้น เช่น การนำเครื่องบันทึกเงินสดมาใช้ควบคู่กับเครื่องอ่านแถบรหัสสินค้า Bar Code เพื่อคิดราคาสินค้าในธุรกิจการค้าปลีก ทำให้การบริการรวดเร็วสามารถจัดทำบัญชีและควบคุมสินค้าคงกลังไปพร้อมๆกัน การดำเนินงานเกิดความถูกต้องและให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทำให้การดำเนินงานมีความถูกต้องและรวดเร็ว การวางแผนทางการตลาด และการดำเนินกิจการทางการตลาดสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดแนวโน้มทางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่างๆมีอิทธิพลหรือมีบทบาท โดยตรงต่อรูปแบบการผลิตการจัดจำหน่ายและการนำเสนอสินค้าหรือบริการของกิจการโดยทั่วไป แล้วการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจจะมีบทบาทสำคัญในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานระยะเวลา และข้อผิดพลาดทางการดำเนินงานทำให้กิจการสามารถผลิตจัดจำหน่าย หรือบริการแก่ผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วถูกต้องและสร้างความพึงพอใจได้มากขึ้นจากนี้ยังมีการลดต้นทุนและข้อผิดพลาดในการดำเนินงานอีกด้วย

6) ตัวแปรที่เกี่ยวกับคนกลางทางการตลาด Middlemen Variables คนกลางที่มีอยู่ในตลาดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดเป้าหมายคนกลางทางการตลาดมีหลายประเภท แต่ละประเภทจะทำงานเป็นอิสระมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินงานขนาดของการประกอบการ การดำเนินงานทางการตลาดผู้ประกอบการจำเป็นต้องอาศัยคนกลางประเภทต่างๆเพื่อใช้เป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเสนอผลตอบแทนและเงื่อนไขที่คนกลางพอใจ คนกลางจึงจัดเต็มใจในการจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการให้แต่การที่ผู้ประกอบการเลือกใช้คนกลางประเภทใดจำนวนใดมากเพียงใดนั้น สามารถพิจารณาได้จากลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่กิจการจะจัดจำหน่าย ช่องทางการจัดจำหน่าย คู่แข่งในตลาดผู้บริโภคหรือตลาดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและผลตอบแทนที่จะได้รับเป็นต้น

7) ตัวแปรที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบและเครือข่ายกิจการ Suppliers Network Variables ผู้ประกอบการต้องรู้จักองค์กรและหน่วยงานต่างๆทั้งในภาครัฐบาลและเอกชนสามารถให้การสนับสนุนและช่วยส่งเสริมสนับสนุนและความสามารถในการดำเนินธุรกิจของกิจการใน 4 ด้าน ดังนี้

7.1) ด้านวัตถุดิบตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิตหรือการจัดให้บริการฮาร์ดแวร์ได้แก่บริษัทที่ผลิตจำหน่ายหรือนำเข้าวัตถุดิบเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะช่วยให้กระบวนการการผลิตหรือการให้บริการมีต้นทุนที่ต่ำลงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่มากขึ้นเช่นผู้ผลิต  หรือผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรและสินค้าการเกษตรแปรรูปกระดาษเหล็กและอลูมิเนียมตลอดจนเครื่องจักรเครื่องมือ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องผลิตน้ำเต้าหู้ เครื่องผสมอาหาร อุปกรณ์ถ่าย ภาพอุปกรณ์บันทึกเสียง เครื่องมือผ่าตัดเป็นต้นการรู้จักและสร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเหล่านี้เป็นแหล่งที่มาของการลดต้นทุนและการสร้างสนุกๆ ใหม่ๆ ทางธุรกิจ

7.2) การวิธีการหรือโปรแกรมที่ช่วยด้านการจัดการหรือการให้บริการซอฟต์แวร์ได้แก่บริษัทหรือหน่วยงานของรัฐที่บริการ หรือความช่วยเหลือในการออกแบบการคิดค้นวิธีการผลิตใหม่ๆ  การเพิ่มผลผลิตการตรวจสอบคุณภาพการปรับปรุงมาตรฐานในการทำงานตลอดจนผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการผลิตการจัดการให้บริการและการตัดสินจะตัดสินใจ เช่น การที่กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ได้ให้บริการแก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โดยการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การแข่งขันทางการค้าปลีกในปัจจุบัน ที่ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากร้านค้า Modem Trade จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและการจัดการเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และช่วยเหลือในภาคปฏิบัติเพื่อให้เห็นผลอย่างชัดเจนเป็นรูปประธรรม

7.3) ด้านบุคลากรที่มีความสามารถในการผลิต การจัด การบริการ People where ซึ่งหมายถึง สถาบันการศึกษาและหน่วยงานด้านการฝึกอบรมต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำหน้าที่ในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆได้แก่ สถาบันการศึกษาในด้านอาชีพต่างๆ สถาบันการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันฝึกอบรมบุคลากรทางด้านเทคนิคการผลิตหรือด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวเป็นต้น ตลอดจนการร่วมมือในการจัดการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ตามสาขาอาชีพที่ธุรกิจต่างๆ ต้องการ เช่น การจัดตั้งบริษัทร่วมค้าปลีกเข้มแข็งทางกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจัดซื้อสินค้าให้แก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็กเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองในเรื่องราคากับผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย เช่น โครงการรักษาบ้านเกิดเป็นต้น

ดังนั้น ผู้ประกอบการกิจการจำเป็นต้องรู้จักองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้ง      4 ประเภทดังกล่าวข้างต้นและวิเคราะห์แนวทางการดำเนินธุรกิจที่สามารถได้รับประโยชน์หรือความร่วมมือจากกลุ่มผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบและเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้จำหน่ายวัตถุดิบหรือเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้จึงสามารถทำให้กิจการสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

8) ตัวแปรเกี่ยวกับการตลาดหรือผู้บริโภค Market or customer Variables เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานทางการตลาด เพราะตัวแปรด้านการตลาดหรือผู้บริโภคเป็นตัวแปรที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมความต้องการได้ แต่เป็นตัวแปรที่การตลาดต้องตอบสนองความต้องการ ฉะนั้น นักการตลาดจำเป็นต้องศึกษาการตลาดหรือผู้บริโภคให้มากที่สุด     ทางการตลาด เพื่อดึงดูดให้ผู้บริโภคหรือตลาดเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือนำมาประกอบในการหาแนวทางกลยุทธ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดให้เกิดประสิทธิภาพ อันนำไปสู่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคหรือตลาดในที่สุด การศึกษาเกี่ยวกับตลาดหรือผู้บริโภคจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ตลาดผู้บริโภคตลาดธุรกิจ การศึกษาตลาดหรือผู้บริโภคทั้ง 2 ประเภทจะต้องศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไป เช่น ตลาดผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้บริโภคเองเป็นการส่วนตัวหรือใช้ในครอบครัวจะศึกษาเกี่ยวกับ

8.1) เพศ เพื่อศึกษาความสนใจสำหรับบางประเภทที่เพศเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ผ้าอนามัย เสื้อสำเร็จรูป เป็นต้น

8.2) ระดับการศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเลือกซื้อและข้อความที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

8.3) ทำเลที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเลือกทำเลที่ตั้งของร้านค้าหรือกิจการ คลังเก็บสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น

8.4) รูปแบบการดำเนินชีวิต เพื่อเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความสนใจและรูปแบบการใช้เวลาของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมาย

8.5) พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมาย เพื่อศึกษาความถี่และปริมาณการซื้อแต่ละครั้ง สถานที่ซื้อ จุดมุ่งหมายในการซื้อว่าซื้อเพื่อใช้เองหรือซื้อเพื่อคนอื่น

8.6) พฤติกรรมการใช้เพื่อศึกษาความถี่และปริมาณการใช้โอกาสในการใช้ ถ้าเป็นตลาดธุรกิจที่ผู้ซื้อเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีลักษณะการดำเนินงานในรูปแบบห้างหุ้นส่วนสมาคมและหน่วยงานราชการที่มีวัตถุประสงค์ในการซื้ออย่างใดอย่างหนึ่งในสหรัฐเสนอดังนี้คือนำไปใช้ในการผลิตการจัดจำหน่ายการบริการหรือการประกอบการของบุคลากรควรทำการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับจำนวนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสามารถคาดคะเนถึงขนาดของตลาดขนาดของกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เครือข่ายคะเนเกี่ยวกับปริมาณการซื้อและอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อประเภทของอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวลักษณะของความต้องการที่แตกต่างกันทำเลที่ตั้งที่ทำการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าถึงและการจัดส่งสินค้า

ผู้ประกอบการธุรกิจต้องเข้าใจเป็นอันดับแรกก่อนว่าลูกค้าเป้าหมายของกิจการเป็นบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคลหรือทั้ง 2 ประเภทในสัดส่วนเท่าไหร่เพื่อประโยชน์ในการทำกลยุทธ์ทางการตลาดให้เกิดความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 ประเภทมีความแตกต่างกันและพัฒนาอำนาจการซื้ออำนาจการต่อรอง ประเภทมีความแตกต่างกันและพัฒนาอำนาจการซื้ออำนาจการต่อรองกับการตัดสินใจซื้อ พฤติกรรมการซื้อ เงื่อนไขการชำระเงินและวัตถุประสงค์ในการซื้อ แหล่งข้อมูลที่ผู้ประกอบการสามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำมาประเมินศักยภาพของตลาดทั้งสองลักษณะ ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศได้แก่ เอกสารเผยเผยแพร่เขาหาราชการ รายงานของสำนักงานสถิติแห่งประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น

ปัจจัยภายในหรือปัจจัยที่ควบคุมได้ Internal or Controllable Factors

ปัจจัยภายในหรือภาษาที่สามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยการตลาดที่ผู้ประกอบการสามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจหรือธุรการได้ เพราะเป็นปัจจัยที่กิจการหรือธุรกิจจัดสรรมาใช้ในการดำเนินกิจการด้านต่างๆ ประกอบด้วยตัวแปรที่สำคัญคือ

1) ส่วนประสมทางการตลาด marketing mix คือ องค์ประกอบที่นำมาใช้ในการดำเนินงานทางการตลาดเรียกว่า 4’ps ประกอบด้วย

1.1) ผลิตภัณฑ์ product หมายถึง ตัวสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจและผลิตขึ้นหรือจัดหามาเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเป้าหมาย เป็นปัจจัยแรกที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานทางการตลาด เพราะการผลิตหรือการจัดหาผลิตภัณฑ์ได้ตรงความต้องการของเป้าหมาย จะทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับแก่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้และตลาดเป้าหมาย ฉะนั้นและการตลาดต้องใช้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อผลิตในด้านการพัฒนา การจัดมาตรฐาน การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์และการเพิ่มลดสายผลิตให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย

1.2) ราคา Price หมายถึง ข้อมูลของสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจผลิตหรือจัดมาเพื่อตอบสนองความต้องการ มูลค่าของสินค้าหรือบริการจะต้องมีความสอดคล้องกับอรรถประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจะได้รับเป็นสำคัญ การที่ธุรกิจจะกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะของตลาดเป้าหมายโดยพิจารณาจากอำนาจซื้อ พฤติกรรมรวมถึงกิจกรรมทางการตลาดที่ต้องดำเนินการ เช่น การโฆษณา การส่งเสริมการขาย ตลอดทางเป้าหมายในการดำเนินงานที่ ธุรกิจกำหนดไว้ เช่น ผลตอบแทนหรือกำไร การขยายตัวการครองส่วนตลาดหรือเป้าหมายอื่นๆ

1.3) การกำหนดช่องทางการจัดจำหน่าย Place หมายถึงกิจกรรมในการทำให้สินค้าหรือบริการเกิดการเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ต้องถูกต้องและเหมาะสม ดังกล่าว รายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้องกระทำอย่างรวดเร็ว ทันเวลาที่ผู้บริโภคต้องการในสถานที่ที่เหมาะสม มิฉะนั้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นหมดคุณค่าไปได้

ก. พ่อค้าคนกลาง Middlemen บุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำสินค้าหรือบริการจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้ในระดับต่างๆ ได้แก่ พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก นายหน้า ตัวแทน เป็นต้น

ข. เครื่องมือในการกระจายสินค้า Physical Distribution หมายถึง กิจกรรมทางการตลาดที่นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลต่างๆ หรือบริการที่กิจการเสนอแก่ตลาดเป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคหรือผู้ใช้มีความรู้พอเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่กิจการเสนอในประเภทของสินค้าบริการว่ามีอะไรบ้างมีประโยชน์อย่างไร จำหน่ายที่ไหน ราคาเท่าไหร่

ค. การส่งเสริมการขายในรูปแบบอื่นๆ Sales Promotion แปลงกิจกรรมทางการตลาดที่นำสิ่งจูงใจต่างๆมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการอย่างรวดเร็วขึ้น

ง. การประชาสัมพันธ์ Public Relation หมายถึง การดำเนินงานกิจการทางการตลาดในรูปแบบใดใด ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างธุรกิจหรือองค์การกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นผู้บริโภคและผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้บริโภค

จ. การตลาดทางตรง Direct marketing หมายถึง ระบบตัวต่อทางการตลาดที่ใช้สื่อโฆษณาหนึ่งหรือมากกว่า หนังสือ เพื่อให้เกิดผลที่วัดได้หรือเกิดการแลกเปลี่ยน และสถานที่ ที่หนึ่ง กิจกรรมเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้เป็นฐานข้อมูล

ส่วนประสมทางการตลาดหรือ 4’PS จัดเป็นปัจจัยภายนอกที่สามารถควบคุมได้เพราะเป็นกิจการสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยต่างๆเหล่านี้ไปตามความเหมาะสม แต่การจะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางใดต้องให้สอดคล้องกับปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นหลักสำคัญ เช่น กิจการต้องผลิตหรือจัดหาสินค้าที่มีลักษณะสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและกำหนดระดับราคาที่ผู้บริโภคสามารถซื้อได้เพื่อผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อได้อย่างเหมาะสมและที่สำคัญการดำเนินการ เกี่ยวกับปัจจัยทั้ง    4 ประการ ดังนี้ ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามต่อของสังคมการดำเนินงานธุรกิจถึงประสบผลสำเร็จและสามารถอยู่ในตลาดได้ตลอดไป

1.4) นโยบายของกิจการ policy เป็นตัวแปรที่กิจการสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์เช่นนโยบายการแข่งขัน นโยบายการส่งเสริมการตลาด เป็นต้น

1.5) ฐานะทางการเงิน Financial การวางแผนทางการเงินเป็นปัจจัยภายในที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่กิจการสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับปัจจัยภายนอก ทั้งในด้านการลงทุนและด้านการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานภายใต้

1.6) การบริหารจัดการ Management เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรที่กิจการองค์การมีอยู่อยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน วัสดุอุปกรณ์ หรือ กระบวนการในการดำเนินงาน

3. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด Marketing Environment Analysis

การวิเคราะห์ตลาด Marketing Analysis หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มี อิทธิพล  ต่อการดำเนินงานทางการตลาด และ องค์ประกอบการตลาดในด้านต่างๆ เพื่อค้นหาโอกาสทางการตลาดที่องค์การสามารถในการเช้าไปดำเนินการได้ แล้วนำมากำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานทางการตลาดให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ธุรกิจได้กำหนดไว้ ซึ่งวิธีการที่นักการตลาดนำมาใช้ในการรวบรวมหรือวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาด

3.1) การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดตามหลักการ SWOT Analysis ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือ   ที่ใช้ในการบริหารงานการตลาด เพื่อทำการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางการตลาดในด้านต่างๆ ที่เปิดโอกาสหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของกิจการ และบริหารจัดการ กับปัจจัยต่างๆ   ที่องค์การมีอยู่ให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตสามารถแข่งขันได้ กิจการสามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์นั้นๆ

S มาจากคำว่า Strength เป็นการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบหรือข้อดีเด่น หรือจุดแข็งของกิจการภายใต้สภาพแวดล้อมทางการตลาดหรือสถานการณ์การตลาดในขณะนั้น ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จากส่วนประสมทางการตลาด Marketing mix และสภาพแวดล้อมภายในอื่นๆขอกิจการ

W มาจากคำว่า Weaknesses เป็นการวิเคราะห์ข้อเสียเปรียบ หรือจุดอ่อนของกิจการซึ่งมักจะเกิดจากส่วนประสมทางการตลาดและสิ่งแวดล้อมภายใน การทราบถึงจุดอ่อน หรือ ข้อเสียเปรียบของกิจการ จะเป็นเครื่องมือช่วยให้กิจการสามารถค้นหาวิธีการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้อย่าถูกต้อง

O มาจากคำว่า Opportunities เป็นการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบหรือปัจจัยเอื้ออำนวยประโยชน์ไห้กับกิจการในแต่ละสถานการณ์ โดยการวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะช่วยกิจการสามารถนำมาใช้กำหนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับโอกาสนั้นๆ

T มาจากคำว่า Threats เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดจากเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกในแต่ละช่วงเวลาและส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจกิจการในด้านลบ กิจกรรมต้องนำข้อมูลต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการทำงานหรือปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดให้ประสบความสำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นประโยชน์ตามที่กิจการกำหนด ภายใต้สถานการณ์ในขณะนั้น

จากองค์ประกอบของวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT Analysis ทั้ง 4 ประการดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปเป็นหลักการวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานการณ์ทางตลาดได้ 2 ลักษณะที่สำคัญลักษณะแรกเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ เพราะเป็นปัจจัยที่เกิดจาสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอก เรียกว่า การวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานกรณีภายนอก หมายถึง การประเมินสภาพแวดล้อมทางการตลาดเกี่ยวกับปัจจัยต่างกิจการไม่สามารถควบคุมหรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อนักการตลาดจะได้นำมาใช้พิจารณาถึงโอกาส Opportunities และอุปสรรค Threats ในการดำเนินงานทางตลาดในอนาคต ส่วนในลักษณะที่สองเป็นวิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่กิจการตรวจสอบควบคุมหรือสามารถและความพร้อมของกิจการเกี่ยวกับทรัพยากรในด้านต่างๆ รวมทั้งนโยบายของกิจการ และที่สำคัญที่สุดคือส่วนประสมทางการตลาด

3.2) การวิเคราะห์โดยใช้หลัก STP Step หลังจากกิจการได้วิเคราะห์สถานการณ์การตลาด โดยนำหลังการวิเคราะห์ระบบวิเคราะห์แบบ SWOT Analysis มาใช้เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของกิจการแล้ว ก่อนที่นำไปสู่ขั้นตอนการวางแผนทางการตลาดโดยการใช้หลักการ STP step ซึ่งประกอบด้วย

S คือ Segmentation หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดคือ การกำหนดตลาดจากส่วนแบ่งตลาดที่กิจการให้ความสนใจในการเข้าไปตอบสนองความต้องการ การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาดเพื่อนำมาบริหารจัดการเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดให้มีความสอดคล้องมีลักษณะความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของกิจการกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งในสายตาผู้บริโภค

T คือ targeting หมายถึงการกำหนดเป้าหมายตลาดเมื่อกิจการดำเนินการแบ่งส่วนตลาดเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ลักษณะความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเพื่อกำหนลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จะนำเสนอให้แตกต่าง จากผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในตลาดแล้วขั้นต่อมาคือการกำหนดเป้าหมายที่กิจการจะเข้ามาดำเนินการตอบสนองความต้องการเพื่อ ดำเนินทางการตลาดเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดให้เกิดความเหมาะสม

P คือ Product Positioning หมายถึง การกำหนดตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ที่กิจการนำเสนอต่อตลาดเป้าหมายเป็น กิจกรรมการตลาดที่เกี่ยวกับการกำหนดลักษณะเด่นของคุณค่าของสินค้าและบริการให้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันของคู่แข่งที่สำคัญลักษณะเด่นหรือคุณค่าของสินค้าหรือบริการต้องมีความสอดคล้องกับความ ต้องการของผู้บริโภคและผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ถึงความแตกต่าง

ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์โอกาส หรือการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในด้านต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น นักการตลาดจะเริ่มจากการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายนอกก่อน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่นักการตลาดไม่สามารถควบคุมหรือปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ แต่เป็นปัจจัยที่สำคัญนักการตลาดต้องทำความเข้าใจและติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มทางการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในอนาคตของสภาพแวดล้อมทางด้านการตลาดโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อนำข้อมูลและความเข้าใจในสถานการณ์ภายนอกมาใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ภายใน หรือสภาพแวดล้อมทางการตลาดภายในเพื่อพิจารณา ตรวจสอบศักยภาพ ความสามารถ และเตรียมความพร้อมของกิจการในด้านต่างๆ และเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงจุดอ่อน สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกตลอดเวลา

การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาดเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมที่ไร้พรมแดน คู่แข่งขันที่มีจำนวนมากมีศักยภาพสูงขึ้นตลอดเวลา ธุรกิจจำเป็นต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อนำมาวิเคราะห์หาโอกาสทางตลาดที่เหมาะสม และเลือกประเภทธุรกิจที่เป็นที่ต้องการของตลาด ศึกษาพฤติกรรมของตลาดในปัจจุบันและอนาคต เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานทางการตลาดให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับความสามารถของธุรกิจ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาด

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT ด้วยเครื่องมือ STP Stepจากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการกำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาด

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT ด้วยเครื่องมือ STP Step หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการกำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาดวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT ด้วยเครื่องมือ STP Step และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office  ในการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย

2. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบอัตนัย

3. การสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการกำหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ตลาดวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT ด้วยเครื่องมือ STP Step

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

การประยุกต์ใช้เครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ทางเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดด้วยเครื่องมือ SWOT และ STP Step โดยสภาพแวดล้อมทางการตลาด หมายถึง สิ่งแวดล้อมภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายในที่มีผลต่อโปรแกรมทางการตลาดของบริษัท ซึ่งสิ่งแวดล้อมภายนอกธุรกิจเป็นสิ่งแวดล้อม   ที่มีธุรกิจควบคุมไม่ได้แต่สิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจเป็นสิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจควบคุมได้ดังคำอธิบายข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)(ข) ความต้องการด้านความรู้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

- แฟ้มสะสมผลงาน

- การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ