หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ZZZ-3-013ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
อาชีพนักการตลาดพื้นที่สีเขียว ชั้น 3

1 2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียววิเคราะห์สถานการณ์ด้านการตลาดวิเคราะห์สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการแข่งขันวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาดรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาดโดยมีกระบวนการคิดและปฏิบัติงานที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชาเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
2431 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านโฆษณาและการตลาด

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01311 วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.1 อธิบายแนวคิดทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 01311.01 79408
01311 วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.2 ระบุขอบเขตการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด 01311.02 79409
01311 วิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 1.3 จำแนกสาระสำคัญในประเด็นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด 01311.03 79410
01312 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการตลาด 2.1 อธิบายขอบเขตของสถานการณ์ด้านการตลาด 01312.01 79411
01312 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการตลาด 2.2 วิเคราะห์ขนาดของตลาดและแนวโน้มการเติบโตของตลาด 01312.02 79412
01313 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ 3.1 อธิบายขอบเขตของสถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ 01313.01 79413
01313 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ 3.2วิเคราะห์ยอดขายสินค้าในรูปปริมาณและมูลค่า 01313.02 79414
01313 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ 3.3 วิเคราะห์ผลกำไรต่อผลิตภัณฑ์ 01313.03 79415
01314 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการแข่งขัน 4.1 อธิบายขอบเขตของสถานการณ์ด้านการแข่งขัน 01314.01 79416
01314 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการแข่งขัน 4.2 วิเคราะห์คู่แข่งขัน ทั้งด้านขนาด จำนวนส่วนแบ่งตลาดจุดแข็งจุดอ่อน คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ทางการตลาด และพฤติกรรม 01314.02 79417
01314 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการแข่งขัน 4.3 ระบุเนื้อหาการวิเคราะห์ในแต่ละประเด็นของการวิเคราะห์คู่แข่งขัน 01314.03 79418
01315 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย 5.1 อธิบายขอบเขตของสถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย 01315.01 79419
01315 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย 5.2 อธิบายความสำคัญของแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย 01315.02 79420
01315 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย 5.3 ระบุขนาดของแต่ละช่องทางจัดจำหน่าย 01315.03 79421
01316 ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด 6.1 ระบุองค์ประกอบที่ต้องประเมินในการประเมินสถานการณ์ทางการตลาด 01316.01 79422
01316 ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด 6.2 ประยุกต์ใช้ความรู้และผลวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดมาประเมินสถานการณ์ทางการตลาดธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 01316.02 79423
01317 รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด 7.1 อธิบายแนวการประเมินตามผลการวิเคราะห์ของแต่ละสถานการณ์ 01317.01 79424
01317 รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด 7.2 ระบุรูปแบบการนำเสนอในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด 01317.02 79425
01317 รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด 7.3 จัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด 01317.03 79426

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

2. ทักษะในการสื่อสาร 

3. ทักษะการใช้โปรแกรมเพื่อสนับสนุนงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. แนวความคิดด้านการตลาด

1.1 แนวความคิดด้านการผลิต (The Production Concept) แนวความคิดนี้ยึดหลักว่าผู้บริโภคจะพอใจผลิตภัณฑ์ที่จัดหาได้ง่ายและต้นทุนต่ำ ผู้ผลิตควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และมีการจัดจำหน่ายให้ทั่วถึง

1.2 แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์ (The Product Concept) แนวคิดนี้ยึดหลักว่าผู้บริโภคจะพอใจผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพการทำงานและรูปลักษณะที่ดีที่สุด ผู้ผลิตควรทุ่มเททรัพยากรและใช้ความพยายามในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพสูงและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์

1.3 แนวความคิดด้านการขาย ( The Selling Concept) แนวคิดนี้ยึดหลักว่าตลาดมีการแข่งขันสูง ผู้บริโภคจะมีโอกาสเลือกซื้อจากผู้ผลิตรายใดก็ได้ ดังนั้นผู้ผลิตต้องใช้ความพยายามด้านการขายและการส่งเสริมการตลาดต่างๆ เพื่อ กระตุ้นและจูงใจให้เกิดการซื้อขายเพิ่มขึ้น

1.4 แนวความคิดด้านการตลาด ( The Marketing Concept) แนวคิดนี้ยึดหลักสำคัญคือ การค้นหาความจำเป็นและความต้องการของตลาดเป้าหมาย และนำเสนอสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความจำเป็นและความต้องการเหล่านั้น เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป้าหมายได้ดีกว่าคู่แข่งขัน โดยใช้เครื่องมือการตลาดร่วมกัน (Integrated Marketing) 

1.5 แนวความคิดด้านการตลาดเพื่อสังคม( The Societal Marketing Concept) แนวความคิดนี้ยึดหลักว่า องค์การต้องพิจารณาความจำเป็น ความต้องการ และความสนใจของตลาดเป้าหมาย และการสร้างความพึงพอใจเพื่อสร้างคุณค่าแก่ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหนือคู่แข่งขัน โดยยังสามารถรักษาความความผาสุกของสังคมและสิ่งแวดล้อม ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักจริยธรรม (Ethics) อนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อม ทำ Green Marketing หรือ Environmental Marketing 

ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจนเกิดความพึงพอใจสูงสุด และในขณะเดียวกันองค์การต้องสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การด้วยนั้น ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 

         4 P’s                                             ต้องคำนึงถึง 4 C ‘s

   1. ผลิตภัณฑ์ (Product)                      1. ความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า (Customer need/want/solution)

   2. ราคา ( Price)                               2. ต้นทุนของลูกค้า (Customer costs)

   3. การจัดจำหน่าย (Place)                   3. ความสะดวกของลูกค้า (Convenience)

   4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)     4. การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า (Communication)

2. การประเมินความต้องการของลูกค้า

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดได้กำหนดตัววัดผลขึ้นเพื่อใช้สะท้อนผลการปฏิบัติงาน และทราบถึงทิศทางการดำเนินงาน Peter F. Drucker มีความเชื่อว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของธุรกิจ (Purpose)      คือ การทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ ถึงแม้ว่าธุรกิจจำเป็นต้องทำกำไร แต่ก็ไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการดำเนินธุรกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ธุรกิจที่จะสามารถมีผลประกอบการทางการเงินที่ดีได้ก็ต่อเมื่อลูกค้าได้รับความ   พึงพอใจ ด้วยการใส่ใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ และการสร้างความพึ่งพอใจให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหนือคู่แข่งขัน (Armstrong and Kotler. 2003: G-4) Philip Kotler ศาสตราจารย์ด้านการตลาด ได้กล่าวว่าแนวคิดทางการตลาดเป็นสิ่งที่มีการพัฒนาไปไกลกว่าแนวคิดด้านการขาย เพราะแนวคิดด้านการขายเป็นหลักการที่ธุรกิจมุ่งให้ความสำคัญเฉพาะในการค้นหาผู้ซื้อ ที่จะซื้อสินค้าของตนเองโดยแลกเปลี่ยนกับเงินที่ธุรกิจจะได้รับ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับประเมินความต้องการของลูกค้าต้องหาความต้องการของลูกค้าก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร โดยทั่วไปความต้องการของลูกค้าแบ่งได้เป็น 2 เรื่อง คือ ความจำเป็น กับความคาดหวังซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1) ความจำเป็น ก็คือ สิ่งที่ลูกค้าจำเป็นต้องได้รับในธุรกิจนั้นๆ ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ลูกค้าจะได้รับเมื่อมาใช้บริการ 

2) ส่วนความคาดหวัง คือ สิ่งที่อยู่ในใจลูกค้า ลูกค้าต้องการได้รับความประทับใจ เมื่อมาใช้บริการที่พิเศษเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ

เมื่อเวลาผ่านไป ความคาดหวังก็จะกลายเป็นความจำเป็นไปเรื่อยๆ ผู้ประกอบการก็ต้องสร้างความคาดหวังเพิ่มขึ้นมาต่อยอดธุรกิจให้สูงขึ้นไปอีก คุณลักษณะของคุณภาพบริการ (Service Quality Attributes) ประกอบด้วย

1. ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) คือการให้บริการที่ถูกต้องในตั้งแต่ครั้งแรกเมื่อให้ บริการเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของธุรกิจบริการ 

2. ความสุภาพ มีมารยาท (Courtesy) เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก คือ สุภาพ มีมารยาท   มีน้ำใจ พูดจาไพเราะ เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ เข้าใจหัวอกลูกค้าหรือเรียกรวมๆ ว่ามี ใจบริการ (Service Mind) ซึ่งเราจะพบว่ามีหลักสูตรสอนเรื่อง การทำให้พนักงานมีใจบริการอยู่มากมาย หากองค์กรอย่างไทย มี Service Mind แล้วนำเอาคุณลักษณะของคุณภาพบริการเสริมเข้าไปแล้ว นั่นย่อมจะทำให้องค์กรเรามีความเหนือชั้นกว่าคู่แข่งที่เป็นต่างชาติด้วย

3. ความสอดคล้องคงเส้นคงวา (Consistency) คือ การมีรูปแบบการให้บริการที่เหมือนๆ กัน ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงมาตรฐานที่เราสร้างขึ้นมาอย่างเป็นระบบ เมื่อลูกค้าเข้าไปใช้บริการที่สาขาใด เวลาใดก็ตามก็จะได้รับบริการเหมือนกัน

4. การเข้าถึงได้ง่ายและสะดวก (Accessibility) คือการเปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับบริษัทได้หลากหลายช่องทาง และในแต่ละช่องทางที่ให้ลูกค้าติดต่อนั้น มีความสะดวกและง่ายในการติดต่อ พูดคุย และให้บริการ

5. การตอบสนอง (Responsiveness) คือ การแจ้งข้อมูลลูกค้าให้ลูกค้าทราบ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้ง ไม่สนใจ และลูกค้าไม่รู้สึกว่าแจ้งอะไรไปแล้วบริษัทเงียบหายไป

6. ความครบถ้วน สมบูรณ์ (Completeness) คือ การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ครบถ้วน เป็นการบริการเบ็ดเสร็จในครั้งเดียว (One Stop Service) มิใช่ต้องให้ลูกค้าต้องแจ้งข้อมูลหลายๆ ครั้ง พูดกับหลายๆ คน

7. เวลา (Timeliness) เวลาเป็นเรื่องที่ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นยุคของการแข่งขันสูง ลูกค้าอยากใช้เวลาที่สมเหตุสมผลในการได้รับบริการตามที่ต้องการ

การพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001 จะมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของลูกค้าอยู่หลายข้อกำหนด ได้แก่

1) การให้ความสำคัญกับลูกค้า ระบุว่าผู้บริหารระดับสูง จะต้องดูแลให้มั่นใจได้ว่าความต้องการของลูกค้าได้รับการนำมาพิจารณา และตอบสนอง เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

2) การจัดการทรัพยากร ระบุว่าองค์การจะต้องพิจารณา และจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า

3) ความพึงพอใจของลูกค้า ระบุว่าการวัดความพึงพอใจลูกค้า จะเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาใช้ในการวัดสมรรถนะของระบบบริหารคุณภาพ โดยองค์การจะต้องเฝ้าติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับของลูกค้าถึงความสามารถขององค์การในการตอบสนองต่อวามต้องการของลูกค้า โดยจะต้องมีการกำหนดวิธีการในการรวบรวมและใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิผลด้วย

4) การวิเคราะห์ข้อมูล ระบุว่า องค์การจะต้องมีการกำหนด รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อแสดงถึงความเหมาะสม และความมีประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ รวมถึงประเมินผลการปรับปรุงความมีประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ โดยจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าติดตาม และการวัด และจากแหล่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูล จะให้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้าด้วย

3. การประเมินสถานการณ์ทางการตลาด

การประเมินสถานการณ์ตลาด คือการอธิบายถึงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับตลาด ผลิตภัณฑ์  การแข่งขัน การจัดจำหน่าย และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการประเมิน การกำหนดและวิจัยตลาดเป้าหมายเพื่อค้นหาถึงลักษณะพฤติกรรมการซื้อ เพื่อการประมาณการงบกำไรขาดทุน รวมทั้งการประเมินความเป็นไปได้ทางการตลาด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

3.1 สถานการณ์ด้านตลาด เป็นการนำเสนอข้อมูลของตลาดเป้าหมาย ขนาด และความเติบโตของตลาด มีการแสดงให้เห็นตัวเลข หลายปีที่ผ่านมา และยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า การรับรู้ และแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อ

3.2 สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการนำเสนอยอดขายสินค้า (ในรูปจำนวนหน่วยและจำนวนเงิน) ในหลายปีที่ผ่านมา ราคา กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิ

3.3 สถานการณ์ด้านการแข่งขัน เป็นการระบุคู่แข่งขันรายสำคัญ (คู่แข่งขันทางตรง    คู่แข่งขันทางอ้อม) ขนาดคู่แข่งขัน เป้าหมาย ส่วนครองตลาด จุดแข็งจุดอ่อน คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ทางการตลาด และพฤติกรรมของคู่แข่งขัน

3.4 สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับขนาด และความสำคัญของช่องทางจำหน่ายแต่ละช่องทาง

3.5 สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมมหภาค เป็นการอธิบายแนวโน้มของสิ่งแวดล้อมมหภาคอย่างกว้างๆ เช่น ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง กฎหมาย สังคมและวัฒนธรรม       ซึ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ถือว่าเป็นโอกาสและอุปสรรคต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด

4. การวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน

ใช้หลักการของ Five force Model ของ Michael Porter เป็นตัววิเคราะห์ ซึ่งมีหลักสำคัญ 5 ประการ 

Force ตัวที่ 1 New Entrants คือ การเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ ในธุรกิจที่เราอยู ผู้แข่งขัน    รายใหม่เข้ามาง่ายหรืออยาก เช่น เทคโนโลยีการผลิตยากหรือง่าย การจัดวัตถุดิบยากหรือง่าย ตลาดมีความดึงดูดใจมากหรือไม่ ถ้าทุกอย่างง่ายไปหมด คู่แข่งขันรายใหม่จะเข้ามาได้ง่าย เราจะมีจำนวนคู่แข่งขันมากขึ้น

Force ตัวที่ 2 Suppliers of Key Inputs คือ อำนาจต่อรองของผู้ขาย คุณมีผู้ขาย (Supplier) อยู่ในมือกี่ราย คุณมีอำนาจในการต่อรองเขามากน้อยแคไหน ความสันพันธ์กับเขาดีมากน้อยแค่ไหน ธุรกิจที่ต้องมีการกู้เงิน ก็จำเป็นต้องดูเรื่องนี้ด้วย

Force ตัวที่ 3 Substitute Products คือ การเข้ามาของสินค้าทดแทน เช่น อายุของผลิตภัณฑ์   life ของลูกค้าที่เปลี่ยนไปจากเดิม ยกตัวอย่างให้เห็นได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงจากฟิล์มถ่ายรูปเป็นกล้องดิจิตอล การเปลี่ยนจากส่งจดหมายทางตู้ไปรษณีย์มาเป็นอีเมล์ เป็นต้น คุณต้องลองคิดดูว่า ธุรกิจของคุณมีแนวโน้มที่จะถูกสินค้าชนิดมาแทนทีหรือไม่ หรือสินค้าของคุณมีแนวโน้มที่จะแทนที่สินค้าชนิดได้หรือไม่

Force ตัวที่ 4 Buyers คือ อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ ในธุรกิจคุณเป็นผู้ครองตลาดหรือไม่  หรือคุณเป็นรายเล็ก ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองกับคุณมากน้อยแค่ไหน อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือในยุคเริ่มแรก มีการล็อคเครือข่ายไว้ที่ตัวเครื่อง ลูกค้าจะต้องคิดหนักเมื่อต้องการเปลี่ยนค่ายเครือข่ายที่ใช้     งานอยู่ เพราะหมายความว่า ต้องซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่กันเลย ซึ่งปัจจุบันได้มีการปลดล็อคเครือข่ายที่ตัวเครื่องแล้ว ประกอบกับชิม และ ตัวเครื่องก็มีราคาถูกลงมาก ลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนค่ายเครือข่ายไปมาได้อย่างง่ายดาย ถ้าในขั้นตอนต่อไปมีการปลดล็อคหมายเลขโทรศัพท์ เชื่อว่าการแข่งขันของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องรุนแรงกว่านี้ เพราะลูกค้าอาจจะเปลี่ยนการใช้เครือข่ายเป็นว่าเล่น 

ดังนั้น ถ้าลูกค้าเปลี่ยนใจได้ง่าย การแข่งขันด้านราคา โปรโมชั่นต่างๆ ยิ่งรุนแรงมากขึ้น กลายเป็นลูกค้าได้เปรียบจากการแข่งขัน และมีอำนาจในการต่อรองสูง และ Force ตัวที่ 1-4 จะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ Force ตัวที่ 5 Rivalry among competing seller ที่อยู่ตรงกลาง คือ สภาวะการแข่งขัน   ในกลุ่มที่มีผลิตภัณฑ์และตลาดเดียวกับเรา มีกิจกรรมการแข่งขันทางการตลาดหมุนวนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหยุด ขอให้ตรวจสอบดูว่าคู่แข่งของเรามีกลยุทธ์อะไรบ้างที่มากระทบองค์กรของเรา

แนวทางการวิเคราะห์ให้เอาองค์กรของตัวเองเป็นที่ตั้ง 

วิเคราะห์ SWOT ขององค์กรว่ามีจุดอ่อนและจุดแข็งอะไร จะต้องใช้โอกาสมาเสริมจุดแข็งอย่างไร และต้องปรับจุดอ่อนหรือใช้จุดแข็งข้อใดมาสลายอุปสรรคขององค์กร

การวิเคราะห์แนวโน้มของสถานการณ์ตลาดและสภาวะการแข่งขัน 3 ปี ข้างหน้าให้นำปีที่ผ่านเป็นตัวตั้ง แล้วตรวจสอบดูว่าแนวโน้มของด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ จะเป็นอย่างไรใน 3 ปีข้างหน้า

แนวโน้มของสภาพแวดล้อมของธุรกิจเชิงมหภาค สังคม การเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย วัฒนธรรม และแนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบต่อเรา แนวโน้มของลูกค้า แนวโน้มของคู่แข่งแนวโน้มของสภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ เช่น สินค้าและบริการของเราเป็นอย่างไร กระบวนการผลิตของเราจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร ฐานะทางการเงิน ด้านบุคลากรจะเป็นอย่างไร

วิเคราะห์กันให้ลึกซึ้ง เพราะขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนการวิเคราะห์กระแสน้ำที่เราพายเรืออยู่ เป็นการทดสอบดูว่ากระแสน้ำนั้นแรงแค่ไหน มีแนวโน้มว่าจะไหลไปทิศทางไหนและเรากำลังพายทวนน้ำหรือตามน้ำอยู่ เราต้องออกแรงขนาดไหนเพื่อพายเรือไปสู่เป้าหมายในปีถัดไปและอีก 3 ปีข้างหน้า

5. การรายงานผลการประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาด

           การเขียนเนื้อหารายงานประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดเป็นสิ่งที่กำหนดการดำเนินการด้านการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวอาจกล่าวได้ว่าการเขียนเนื้อหารายงาน    มีความสำคัญในการดำเนินการทางการตลาด ในการเขียนที่สำคัญควรเขียนจากความเป็นจริง ขั้นตอนการเขียนเนื้อหารายงาน

5.1 กำหนดแนวทางการดำเนินงานของธุรกิจ เป็นการแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของธุรกิจ ขอบเขตของเจริญเติบโตทางธุรกิจ แสดงขีดความสามารถในการบริหารจัดการ ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ประกอบการจะต้องรู้สถานะของธุรกิจ กล่าวคือธุรกิจเราทำอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร มีการกำหนดระยะเวลาสู่ความสำเร็จ ชัดเจน 

5.2 เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดของธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดหรือเรียกว่าการทำวิจัยตลาดเป็นขั้นตอนสำหรับการหาความต้องการของผู้บริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจจัดการพื้นที่ สีเขียวโดยการสำรวจสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า โดยคิดออกมาก่อนเขียนรายงาน เพราะขั้นตอนแต่ละขั้นนั้นมีความสำคัญและสลับซับซ้อน    มีความละเอียดอ่อน จะต้องเขียนอย่างตรงไปตรงมา วิธีง่ายๆ เขียนสรุปไว้ก่อนที่จะเรียบเรียงร้อยถ้อยคำก่อนจัดพิมพ์

5.3 ประเมินความต้องการของลูกค้าและสถานการณ์ตลาดของธุรกิจ สภาวะการแข่งขันในสภาพปัจจุบันและอาจเกิดขึ้นในอนาคต

      5.3.1 สำรวจสถานการณ์ปัจจุบันของตลาด

      5.3.1.1 สภาวะเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจ เป็นต้นว่ามีการสนับสนุนจากภาครัฐ ด้านกฎระเบียบกฎหมาย ที่เอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดอุปสรรคกับธุรกิจ ค่านิยม พฤติกรรม ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความสนใจสินค้าหรือบริการที่ธุรกิจกำลังจะทำหรือไม่ หรือมีแนวโน้มไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว การผลิตเพื่อขายการบริการมีผลอย่างมากเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจ

      5.3.1.2 ขนาดตลาด สำรวจธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกับธุรกิจของเรา สังเกตการเจริญเติบโตของตลาด ตลอดจนผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่ก่อน เป็นการสะท้อนจำนวนคู่แข่งขัน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรของคู่แข่งขัน เพราะถ้าหากมีการลงทุนของสินทรัพย์ถาวรสูงแสดงว่าผู้ประกอบการ จะอยู่ในธุรกิจนั้นเป็นเวลานาน

      5.3.1.3 พิจารณาปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factor) พิจารณาและวินิจฉัยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดที่ทำให้ธุรกิจเราประสบความสำเร็จ 

      5.3.2 สำรวจและค้นหาความต้องการของตลาดอาจกล่าวได้คือเป็นการทำวิจัยตลาดหรือการเขียนรายงานนั่นเอง การวิจัยนั้นเป็นการสำรวจและค้นหาความต้องการ รสนิยม ทัศนคติ ค่านิยม ของลูกค้าปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของลูกค้า ตลอดจนเป็นการหาแนวทางของธุรกิจจะสามารถเจาะตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้าได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ด้านการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการแข่งขันด้านการจัดจำหน่าย ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาดจากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ด้านการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการแข่งขันด้านการจัดจำหน่าย ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ด้านการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการแข่งขันด้านการจัดจำหน่าย ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด และสามารถใช้โปรแกรม Microsoft Office ในการทำงาน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวการประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

2. พิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย

2. การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบอัตนัย

3. แฟ้มสะสมผลงาน

4. การสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)
(ก) คำแนะนำ 
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด ด้านการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ด้านการแข่งขันด้านการจัดจำหน่าย ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
การประเมินสถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว หมายถึง ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดของธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียวการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดวิเคราะห์สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการแข่งขันวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่ายประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด และรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านการตลาด ดังคำอธิบายข้อ 13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)(ข) ความต้องการ ด้านความรู้

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

- แฟ้มสะสมผลงาน

- การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ