หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบปัจจัยการผลิตยาจากสมุนไพร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HRB-3-017ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบปัจจัยการผลิตยาจากสมุนไพร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ทวนสอบความถูกต้องของการประกอบเครื่องจักร ทวนสอบความพร้อมของวัตถุดิบ และทวนสอบวัสดุการบรรจุ ให้พร้อมสำหรับการผลิตยาจากสมุนไพร รวมทั้งทวนสอบความถูกต้องของเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตยาจากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10206-01 ตรวจความพร้อมเครื่องจักร 1 ตรวจความสะอาดของเครื่องจักร 10206-01.01 77043
10206-01 ตรวจความพร้อมเครื่องจักร 2 ทวนสอบการประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักร 10206-01.02 77044
10206-01 ตรวจความพร้อมเครื่องจักร 3 ตรวจความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร 10206-01.03 77045
10206-02 ตรวจความพร้อมวัตถุดิบ 1 ทวนสอบเอกลักษณ์ทางกายภาพของวัตถุดิบ 10206-02.01 77049
10206-02 ตรวจความพร้อมวัตถุดิบ 2 ตรวจการเตรียมวัตถุดิบ 10206-02.02 77050
10206-02 ตรวจความพร้อมวัตถุดิบ 3 ตรวจเอกสารการเตรียมวัตถุดิบ 10206-02.03 77051
10206-03 ตรวจความพร้อมของวัสดุการบรรจุ 1 ทวนสอบความถูกต้องของวัสดุการบรรจุ 10206-03.01 77055
10206-03 ตรวจความพร้อมของวัสดุการบรรจุ 2 ทวนสอบความสะอาดของวัสดุการบรรจุ 10206-03.02 77056
10206-03 ตรวจความพร้อมของวัสดุการบรรจุ 3 ทวนสอบเอกสารการเตรียมวัสดุการบรรจุ 10206-03.03 77057

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต

2. ทักษะการใช้เครื่องมือทดสอบคุณภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต

2. มีความรู้เรื่องตรวจเอกลักษณ์ทางกายภาพของวัตถุดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          2. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาชีพผู้ผลิตยาจากสมุนไพร ชั้น 2

          3. เอกสารรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. ตรวจความสะอาดของอุปกรณ์ เครื่องจักร โดยดูจากความสะอาดภายหลังทำความสะอาดแล้ว และมีป้ายหรือบันทึกแสดงสถานะการทำความสะอาด

          2. ทวนสอบการประกอบเครื่องมือ โดยการทดสอบเดินเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตให้สามารถใช้งานได้อย่างปกติและพร้อมใช้งาน

          3. ทวนสอบความถูกต้องของการตรวจเอกลักษณ์ทางกายภาพของวัตถุดิบ ว่าชนิดและปริมาณของวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตถูกต้องและครบถ้วนตามเอกสารการผลิต รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึกการผลิต

          4. ทวนสอบความถูกต้องของวัสดุการบรรจุ โดยดูจากชนิด น้ำหนัก ปริมาณของวัสดุบรรจุ

          5. ทวนสอบความสะอาดของวัสดุการบรรจุ โดยดูจากความสะอาด ปราศจากฝุ่นและสิ่งแปลกปลอม ไม่ชำรุด แตก หรือร้าว

          6. ทวนสอบเอกสารการเตรียมวัสดุการบรรจุโดยดูจากข้อมูลที่บันทึกผล

          7. ตรวจสอบปัจจัยการผลิตยาจากสมุนไพร ตามคู่มือการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559และ คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาล จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พุทธศักราช 2555

          8. วัตถุดิบ คือ สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิต

          9. วัตถุดิบสมุนไพร คือ สมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติและยังไม่ผ่านกรับวนการใดๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิต ทั้งนี้รวมถึงวัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ หรือแร่

          10. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านทุกขั้นตอนของการดำเนินการผลิตรวมถึงการบรรจุใส่ภาชนะสุดท้าย

          11. ผลิตภัณฑ์ คือ ผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต

          12. เครื่องจักร คือ เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องผสม เครื่องตัดเม็ด เครื่องรีดเส้น ตู้อบ เครื่องบรรจุแคปซูลด้วยมือ เครื่องบรรจุแคปซูลกึ่งอัตโนมัติ เครื่องบรรจุแคปซูลอัตโนมัติ เครื่องขัดฝุ่นแคปซูล เครื่องผลิตแกรนูล เครื่องบด เครื่องร่อน เครื่องตอกเม็ด เครื่องเคลือบเม็ดยา เครื่องบรรจุยาลงขวด เครื่องติดฉลาก เครื่องบรรจุแผงบลิสเตอร์ เครื่องบรรจุแคปซูลนิ่ม  เครื่องนับเม็ดยา เครื่องบรรจุผงลงซอง

          13. วัสดุการบรรจุ คือ วัสดุที่ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ อาจเป็นชนิดปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ขึ้นกับว่ามีการสัมผัสกับผลิตภัณฑ์หรือไม่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.3 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ