หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการผลิตยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HRB-2-013ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการผลิตยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ดำเนินการผลิตยาจากสมุนไพรได้อย่างถูกต้องตามใบสั่งการผลิตและคู่มือการปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตยาจากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10202-01 ผลิตยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง 1 จัดลำดับการผสมวัตถุดิบตามเอกสารการผลิต 10202-01.01 76995
10202-01 ผลิตยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง 2 ผสมวัตถุดิบให้เข้ากัน 10202-01.02 76996
10202-01 ผลิตยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง 3 บันทึกเอกสารการผลิต 10202-01.03 76997
10202-02 บรรจุยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง 1 พิมพ์ฉลากวัสดุการบรรจุตามเอกสารการผลิต 10202-02.01 77001
10202-02 บรรจุยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง 2 นำผลิตภัณฑ์บรรจุลงในวัสดุการบรรจุเอกสารการผลิต 10202-02.02 77002
10202-02 บรรจุยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง 3 บันทึกเอกสารการบรรจุ 10202-02.03 77003

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ขั้นตอนการผลิตยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง

2. มีความรู้ขั้นตอนการบรรจุยาสมุนไพรรูปแบบของแข็ง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารรับรองผลการเรียน (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. การจัดลำดับการผสมวัตถุดิบ ได้แก่ การจัดลำดับขนาดของวัตถุดิบที่จะผสม ผสมวัตถุดิบจากปริมาณน้อยก่อน ค่อยๆเพิ่มปริมาณจนได้ปริมาณที่ถูกต้อง

          2. การผสมวัตถุดิบให้เข้ากัน ได้แก่ การผสมเปียก และอบแห้ง การผสมแห้งด้วยเครื่อง V-shape, cubic  เป็นต้น

          3. บันทึกเอกสารการผลิตโดยระบุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการผลิต จำนวนการผลิต ข้อผิดพลาด ของเสีย สิ่งผิดปกติ วิธีการดำเนินงาน จำนวนที่สุ่มตัวอย่าง ผลการสุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิต ผู้ดำเนินการผลิต ผู้บันทึกเอกสารการผลิต บันทึกการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น

          4. พิมพ์ฉลากวัสดุการบรรจุโดยระบุหมายเลขรุ่น วันที่ผลิต วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

          5. บรรจุผลิตภัณฑ์ลงในวัสดุการบรรจุ โดยการบรรจุด้วยมือ การบรรจุด้วยเครื่องชั่ง เครื่องบรรจุ เช่น เครื่องนับเม็ดยา เครื่อง blister เครื่อง strip เป็นต้น และบรรจุได้ครบถ้วน ถูกต้อง ผลิตภัณฑ์ไม่เสียหาย มีของเสียในปริมาณที่กำหนด

          6. บันทึกเอกสารการบรรจุโดยระบุ ปริมาณที่บรรจุ จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้ จำนวนผลิตภัณฑ์ที่เสีย ฉลากเสีย วันเดือนปีที่บรรจุ ลายมือชื่อผู้บรรจุ เป็นต้น

          7. ผลิตยาจากสมุนไพรรูปแบบของแข็ง ตามคู่มือการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559และ คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาล จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พุทธศักราช 2555

          8. วัตถุดิบ คือ สิ่งที่เตรียมไว้เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิต

          9. วัตถุดิบสมุนไพร คือ สมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติและยังไม่ผ่านกรับวนการใดๆ เพื่อนำไปใช้ในการผลิต ทั้งนี้รวมถึงวัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ หรือแร่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ