หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพทางเคมี

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HRB-3-052ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพทางเคมี

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ปฏิบัติงานสุ่มตัวอย่าง วัตถุดิบ วัสดุการบรรจุ ผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อนำมาทดสอบลักษณะทางกายภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10502-01 เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพ 1 คำนวณจำนวนตัวอย่างที่สุ่มเก็บ 10502-01.01 77574
10502-01 เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพ 2 สุ่มเก็บตัวอย่าง 10502-01.02 77575
10502-01 เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพ 3 เก็บรักษาตัวอย่างเพื่อรอการตรวจ 10502-01.03 77576
10502-02 ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพ 1 ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบสมุนไพร 10502-02.01 77580
10502-02 ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพ 2 ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัสดุการบรรจุ 10502-02.02 77581
10502-02 ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพ 3 ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์แต่ละรูปแบบ 10502-02.03 77582
10502-02 ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพ 4 ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 10502-02.04 77583

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้การเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพทางเคมี

2. มีความรู้การตรวจคุณลักษณะทางกายภาพทางเคมี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารรับรองผลการเรียน (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. คำนวณจำนวนตัวอย่างที่สุ่มเก็บ เช่น วัตถุดิบ จำนวน 1-10 ห่อ ให้นำมาวิเคราะห์ 1-3 ห่อ เป็นต้น

          2. สุ่มเก็บตัวอย่าง เช่น การเก็บตัวอย่างที่เป็นผงใช้ท่อเหล็กสแตนเลสในการเก็บ โดยเก็บให้ครบทั้งช่วงบน กลาง และล่างของภาชนะจัดเก็บนำมาผสมกัน ถ้าจำนวนที่เก็บเกิน ไม่ควรเทกลับคืน เพื่อป้องกันการสับสนผิดพลาด, การเก็บตัวอย่างที่เป็นของเหลวใช้ปิเปต เป็นต้น

          3. การเก็บรักษาตัวอย่าง โดยภาชนะบรรจุตัวอย่างต้องสะอาด และสามารถป้องกันการปนเปื้อน ภาชนะที่ดีที่สุดคือขวดแก้วที่มีฝาปิดสนิท

          4. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบสมุนไพร ได้แก่ ลักษณะภายนอกของวัตถุดิบสมุนไพร เช่น รูปร่าง ขนาด ลักษณะผิวนอก รอยหัก รอยย่น สีเนื้อในของสมุนไพร ตรวจสอบโดยดูลักษณะภายนอกที่เห็นด้วยตาเปล่า หรือการใช้แว่นขยาย และโดยการใช้สัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดูสีทั้งภายในและภายนอก การดมกลิ่น การชิมรส การฟังเสียงหักหรือแตก การสัมผัส การตรวจสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น

          5. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัสดุการบรรจุ ได้แก่ การแตกร้าว การปิดสนิทของฝา รอยรั่ว เป็นต้น

          6. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิต ได้แก่ การแตกของเม็ดยา การบุบของแคปซูล การเข้ากันของเนื้อครีม เป็นต้น

          7. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ น้ำหนักบรรจุต่อหน่วย ปริมาณบรรจุต่อหน่วย เป็นต้น

          8. ตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพทางเคมี ตามคู่มือการปฏิบัติงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559และคู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาล จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ พุทธศักราช 2555

          9. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป คือ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านทุกขั้นตอนของการดำเนินการผลิตรวมถึงการบรรจุใส่ภาชนะสุดท้าย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน และการสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

18.2 การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ