หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-HRB-4-070ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2163 นักออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องแต่งกาย

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ปฏิบัติงานพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยศึกษาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ตั้งสูตรตำรับ จัดทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10603-01 พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 1 ศึกษาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 10603-01.01 77856
10603-01 พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 2 ตั้งสูตรตำรับได้ 10603-01.02 77857
10603-01 พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 3 จัดทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างตามแผนการทดลองได้ตามสูตรตำรับ 10603-01.03 77858
10603-01 พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 4 ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง 10603-01.04 77859
10603-01 พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 5 ทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง 10603-01.05 77860
10603-01 พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 6 ประเมินความพึงพอใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง 10603-01.06 77861
10603-01 พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 7 จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาสูตรตำรับ 10603-01.07 77862
10603-02 แก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ 1 วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา 10603-02.01 77870
10603-02 แก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ 2 เลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา 10603-02.02 77871
10603-02 แก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ 3 จัดทำรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต 10603-02.03 77872

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. สามารถพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. มีความรู้ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)

          2. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

          3. เอกสารรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ สาขาผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาชีพนักวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ชั้น 3


15. ขอบเขต (Range Statement)

          1. ศึกษาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยต้องศึกษาและติดตามประกาศหรือข้อกำหนดต่างๆของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์

          2. ตั้งสูตรตำรับได้ โดยต้องทราบข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท และมีข้อมูลวัตถุดิบหรือสารเคมีที่ใช้ เป็นต้น

          3. จัดทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างตามแผนการทดลองได้ตามสูตรตำรับ โดยต้องรู้วิธีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องตามสูตรการผลิตและผลิตผลิตภัณฑ์ตามสูตรตำรับที่พัฒนาขึ้นได้ถูกต้อง เป็นต้น

          4. ทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ได้แก่ ปริมาณสารสำคัญ การแตกกระจายตัว ปริมาณสารสกัด ปริมาณความชื้น เป็นต้น

          5. ทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ได้แก่ การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ การปนเปื้อนของโลหะหนัก เป็นต้น

          6. ประเมินความพึงพอใจการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง โดยรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายการตลาดหรือลูกค้า หรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

          7. จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาสูตรตำรับ โดยรวบรวมข้อมูลการพัฒนาสูตรตำรับ ได้แก่วัตถุดิบ สารเคมี เครื่องมืออุปกรณ์ เป็นต้น ที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

          8. วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา เช่น การพัฒนาสูตรตำรับของยาตอกเม็ด กรณียาไม่สามารถตอกให้เป็นเม็ดได้ เกิดจากสาเหตุอะไร เป็นต้น

          9. เลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา เช่น กรณีผลิตยาประเภทเจล แล้วเจลเหลวจนเกินไปต้องเพิ่มปริมาณสารก่อเจลเพิ่มขึ้น เป็นต้น

          10. จัดทำรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต โดยรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการแก้ปัญหา สรุปผลการแก้ปัญหา เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์

18.2 การสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ